ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กระแสไฟฟ้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Prem4826 (คุย | ส่วนร่วม)
ก่อกวน
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Ohm's Law with Voltage source TeX.svg|thumb|upright=1.2|วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย โดยที่กระแสถูกแสดงด้วยอักษร ''i'' ความสัมพันธ์ระหว่างแรงดันไฟฟ้า (V), ตัวต้านทาน (R), และกระแส (I) คือ V=IR; ความสัมพันธ์นี้เป็นไปตาม [[กฏของโอห์ม]]]]
{{ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า}}
'''กระแสไฟฟ้า''' ({{lang-en|Electric current}}) คือการไหลของ [[ประจุไฟฟ้า]] ในวงจรไฟฟ้า [[อิเล็กตรอน]] ที่เคลื่อนที่ในประจุยังสามารถถูกนำพาโดย [[ไอออน]] ได้เช่นกันในสาร [[อิเล็กโทรไลต์]] หรือโดยทั้งไอออนและอิเล็กตรอนเช่นใน [[พลาสมา]]<ref>{{cite book
| title = The electronics companion
| author = Anthony C. Fischer-Cripps
| publisher = CRC Press
| year = 2004
| isbn = 978-0-7503-1012-3
| page = 13
| url = http://books.google.com/?id=3SsYctmvZkoC&pg=PA13
}}</ref>
 
กระแสไฟฟ้ามีหน่วยวัด SI เป็น [[แอมแปร์]] ซึ่งเป็นการไหลของประจุไฟฟ้าที่ไหลข้ามพื้นผิวหนึ่งด้วยอัตราหนึ่ง [[คูลอมบ์]] ต่อวินาที กระแสไฟฟ้าสามารถวัดได้โดยใช้ [[แอมป์มิเตอร์]]<ref name="learn-physics-today" >{{cite web
| url = http://library.thinkquest.org/10796/ch13/ch13.htm
| title = Learn Physics Today!
| accessdate = 2009-03-10
| author = Lakatos, John
| coauthors = Oenoki, Keiji; Judez, Hector; Oenoki, Kazushi; Hyun Kyu Cho
|date=March 1998
| publisher = Colegio Dr. Franklin D. Roosevelt
| location = Lima, Peru
}}</ref>
 
กระแสไฟฟ้าก่อให้เกิดผลหลายอย่าง เช่นความร้อน ([[Joule heating]]) ซึ่งผลิต [[แสงสว่าง]] ในหลอดไฟ และยังก่อให้เกิด [[สนามแม่เหล็ก]] อีกด้วย ซึ่งถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายใน [[มอเตอร์]], ตัวเหนี่ยวนำ, และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
 
อนุภาคที่นำพาประจุถูกเรียกว่า [[พาหะของประจุไฟฟ้า]] ใน [[โลหะ]] ตัวนำไฟฟ้า อิเล็กตรอนจากแต่ละอะตอมจะยึดเหนี่ยวอยู่กับอะตอมอย่างหลวม ๆ และพวกมันสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระอยู่ภายในโลหะนั้นภายใต้สภาวะการณ์หนึ่ง อิเล้กตรอนเหล่านี้เรียกว่า [[อิเล็กตรอนนำกระแส]] ({{lang-en|conduction electron}}) พวกมันเป็นพาหะของประจุในโลหะตัวนำนั้น
 
กระแสไฟฟ้า  (I)  เกิดขึ้นจากการไหลของอิเล็กตรอน   ผ่านวัสดุชนิดหนึ่งนั่นคือการถ่ายโอนประจุไฟฟ้า  อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่ถ้าอยู่ในสนามไฟฟ้า   ซึ่งสร้างความต่างศักย์ไฟฟ้า ระหว่างสองบริเวณเพราะฉะนั้น  ความต่างศักย์ไฟฟ้า  จึงจำเป็นในการทำให้เกิดกระแสไฟฟวงจรไฟฟ้า  เป็นวงจรปิดประกอบด้วยแหล่งกำเนิดกระแสไฟฟ้า และอุปกรณ์อื่นๆ  ที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน
ระบบไฟฟ้าแบ่งออกได้เป็น 2 ระบบ ดังนี้
 
1. ระบบไฟฟ้า 1 เฟส คือระบบไฟฟ้าที่มีสายไฟฟ้าจำนวน 2 เส้น เส้นที่มีไฟเรียกว่าสายไฟหรือสายเฟส หรือสายไลน์ เขียนแทนด้วยตัวอักษร L (Line) เส้นที่ไม่มีไฟเรียกว่าสายนิวทรอล หรือสายศูนย์ เขียนแทนด้วยตัวอักษร N (Neutral) ทดสอบได้โดยใช้ไขควงวัดไฟ เมื่อใช้ไขควงวัดไฟแตะสายเฟส หรือสายไฟ หรือสายไลน์ หลอดไฟเรืองแสงที่อยู่ภายไขควงจะติด สำหรับสายนิวทรอล หรือสายศูนย์ จะไม่ติด แรงดันไฟฟ้าที่ใช้มีขนาด 220 โวลท์ (Volt) ใช้สำหรับบ้านพักอาศัยทั่วไปที่มีการใช้ไฟฟ้าไม่มากนัก
 
2. ระบบไฟฟ้า 3 เฟส คือระบบไฟฟ้าที่มีสายเส้นไฟจำนวน 3 เส้น และสายนิวทรอล 1 เส้น จึงมีสายรวม 4 เส้น ระบบไฟฟ้า 3 เฟส สามารถต่อใช้งานเป็นระบบไฟฟ้า 1 เฟส ได้ โดยการต่อจากเฟสใดเฟสหนึ่งและสายนิวทรอลอีกเส้นหนึ่ง แรงดันไฟฟ้าระหว่างสายเฟสเส้นใดเส้นหนึ่งกับสายนิวทรอลมีค่า 220 โวลท์ และแรงดันไฟฟ้าระหว่างสายเฟสด้วยกันมีค่า 380 โวลท์ ระบบนี้จึงเรียกว่าระบบไฟฟ้า 3 เฟส 4 สาย 220/380 โวลท์ ระบบนี้มีข้อดีคือสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้มากกว่าระบบ 1 เฟส ถึง 3 เท่า จึงเหมาะสมกับสถานที่ที่ต้องการใช้ไฟฟ้ามากๆ เช่น อาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก เป็นต้น
 
 
== ประกายไฟฟ้า ==
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแรงสูง สร้างประกายไฟฟ้าขึ้น  โดยประกายไฟฟ้าเกิดขึ้นจากโดมตัวใหญ่จะวิ่งเข้าหาทรงกลมอันเล็ก ที่ต่อกับสายดินไว้