ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้จัดการรายวัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 2:
 
'''ผู้จัดการออนไลน์''' ({{lang-en|MGR Online}}) เป็น[[เว็บไซต์]][[ข่าว]] [[ผู้จัดการออนไลน์]] [[ภาษาไทย]] ในเครือ[[ผู้จัดการ]] เสนอข่าวทั่วไป ข่าวด่วน ข่าวออนไลน์ ข่าวอาชญากรรม ข่าวบันเทิง ข่าวดารา ข่าววันนี้ ทันเหตุการณ์ ข่าว[[ธุรกิจ]] นอกจากนี้ยังมี [[นิตยสาร]][[ข่าว]] [[ผู้จัดการสุดสัปดาห์]] และ [https://mgronline.com/ เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ]
 
== ประวัติ ==
''หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน'' เริ่มวางจำหน่ายออกปฐมฤษฐ์ เมื่อวันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 โดย[[สนธิ ลิ้มทองกุล]] เริ่มมีชื่อเสียงโดดเด่น ใน[[เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ]]พ.ศ. 2535 หลังการปราบปรามประชาชน ที่ชุมนุมต่อต้านรัฐบาล [[สุจินดา คราประยูร|พล.อ.สุจินดา คราประยูร]] ขณะที่สื่อโทรทัศน์ในประเทศ ถูกควบคุมการเสนอข่าวโดยรัฐบาล และไม่รายงานการสูญเสียชีวิตของประชาชน ต่อมามีการตรวจสอบ และควบคุมการเสนอข่าว และภาพข่าว ที่ลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์อย่างเข้มงวด อย่างไรก็ตาม ผู้จัดการรายวัน ร่วมกับหนังสือพิมพ์อื่น เช่น [[เดอะเนชั่น]], [[กรุงเทพธุรกิจ]] และ แนวหน้า ตีพิมพ์ภาพข่าวการปราบปรามประชาชน นอกจากนั้น ยังมีการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์ผู้จัดการฉบับพิเศษ แจกฟรีไปทั่ว[[กรุงเทพมหานคร]] เพื่อรายงานข่าวการชุมนุมบน[[ถนนราชดำเนิน]] จนถูกรัฐบาลดำเนินคดี และสั่งปิดเป็นเวลาสองวัน
 
อย่างไรก็ตาม วิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ก็ทำให้เครือผู้จัดการประสบปัญหาทางการเงินอย่างรุนแรง และในที่สุด [[ธนาคาร]]หลายแห่งก็ฟ้องล้มละลาย และศาลได้ตัดสินให้สนธิเป็นบุคคลล้มละลาย ในช่วงปี พ.ศ. 2544 โดยผู้จัดการรายวัน มีชื่อเสียงโดดเด่น จากคอลัมน์''ข่าวปนคน คนปนข่าว'' ของ''เซี่ยงเส้าหลง'' ซึ่งเป็น[[นามปากกา]]ของสนธิ, คอลัมน์''คันปาก'' โดยนามปากกา''[[ซ้อเจ็ด]]'' และหนังสือพิมพ์ล้อเลียน''ผู้จัดกวน'' ทั้งนี้ หลังจากสนธิเริ่มจัดรายการ[[เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร]] เมื่อปี พ.ศ. 2548 ซึ่งพัฒนาไปเป็น[[พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย]] ในปี พ.ศ. 2549 นั้น ผู้จัดการรายวัน ก็ได้แปรสภาพไปเป็นกระบอกเสียงของรายการฯ และกลุ่มพันธมิตรฯ ร่วมกับ[[สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอเอสทีวี]] ช่อง[[NEWS1|นิวส์วัน]]เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 [[ศาลล้มละลายกลาง]]พิจารณาเห็นสมควรให้ บริษัท แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เจ้าของหนังสือพิมพ์และนิตยสารในเครือผู้จัดการ มีสภาพล้มละลาย เนื่องจากมีหนี้สินกว่า 4,726 ล้านบาท จึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์สินของบริษัทดังกล่าวโดยเด็ดขาด ซึ่งชื่อหนังสือพิมพ์และนิตยสารในเครือทั้งหมด ก็ถือเป็นทรัพย์สินของบริษัทฯ ตามกฎหมายเช่นกัน จึงไม่สามารถออกหนังสือพิมพ์และนิตยสาร โดยใช้ชื่อเดิมอีกต่อไปหลังจากใช้ชื่อเดิมไม่ได้อีกต่อไป ทีมงานกองบรรณาธิการชุดเดิมของผู้จัดการรายวัน ยังคงปฏิบัติงานตามปกติ และยังพยายามออกหนังสือพิมพ์อย่างต่อเนื่อง โดยเลี่ยงไปใช้ชื่อใหม่ที่คล้ายคลึงกับชื่อเดิม ซึ่งอาจเข้าข่ายเป็นการลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ทั้งนี้ ชื่อต่างๆ ที่ใช้ออกหนังสือพิมพ์ในแต่ละวัน มีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้
* วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 - ''ผู้จัดการ 2551 รายวัน'' โดยยังคงนับจำนวนปี และจำนวนฉบับ ต่อเนื่องจากหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันเดิม
* วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 - ''สารจากเอเอสทีวี โดยทีมงานผู้จัดการ'' ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า ไม่ปรากฏการนับปี และเลขฉบับบนหัวหนังสือ รวมถึงไม่มีบรรณลักษณ์ภายในฉบับอีกเช่นกัน
* เมื่อวันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ทีมงานกองบรรณาธิการชุดเดิมของผู้จัดการรายวัน ออกหนังสือพิมพ์โดยใช้ชื่อว่า ''เอเอสทีวีผู้จัดการรายวัน'' โดยเริ่มระบุการนับเลขปี และเลขฉบับบนหัวหนังสือ เป็นฉบับปฐมฤกษ์ มีราคาจำหน่าย 20 บาท โดยในเบื้องต้นระบุในบรรณลักษณ์ว่า บริษัท เอเอสทีวี (ประเทศไทย) จำกัด เป็นเจ้าของ ปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเป็น บริษัท เอเอสทีวีผู้จัดการ จำกัด เป็นเจ้าของ
ภายหลังการ[[คณะรักษาความสงบแห่งชาติ|รัฐประหาร พ.ศ. 2557]] จำนวนพิมพ์ก็เพิ่มขึ้นไปหลายสิบเท่าตัว เป็นผลให้เจ้าของใบอนุญาตออกหนังสือพิมพ์ ขอชื่อกลับคืนไปดำเนินการเอง ขณะเดียวกัน [[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61|รัฐบาลสมัยที่]] พลเอก [[ประยุทธ์ จันทร์โอชา]] เป็น[[นายกรัฐมนตรี]] คืนใบอนุญาตออกหนังสือพิมพ์รวมผู้จัดการกลับมา กองบรรณาธิการเอเอสทีวีผู้จัดการ จึงเปลี่ยนมาใช้ชื่อปัจจุบัน ''ผู้จัดการรายวัน'' จนถึงปัจจุบัน<ref name="profiles"/>
 
* ปัจจุบันดำเนินการโดย บริษัท ผู้จัดการ 360 จำกัด
 
== ผู้จัดการออนไลน์ ==