ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทิก เญิ้ต หั่ญ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Supotmails (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มชื่อที่ใช้เรียกทั่วไป
Kiknoobz (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มเติมข้อมูลจาก http://www.thaiplumvillage.org/index.php?option=com_content&view=article&id=2&Itemid=35
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Thich Nhat Hanh 12.jpg|thumb|200px|พระภิกษุทิก เญิ้ต หั่ญ]]
'''ทิก เญิ้ต หั่ญ''' หรือ ชื่อที่ใช้เรียกทั่วไป ติช นัท ฮันห์<ref>หนังสือของฝากจากหลวงปู่ สำนักพิมพ์มูลนิธิหมู่บ้านพลัม หน้าปก พิมพ์ มีนาคม พ.ศ. 2554</ref> ({{lang-vi|Thích Nhất Hạnh}}) (fr: Thich Nhat Hanh) เป็น[[พระภิกษุ]][[ชาวเวียดนาม]]ใน[[พุทธศาสนา]][[นิกายเซน]] ชื่อทิก เญิ้ต หั่ญ เป็นฉายาในทางศาสนา โดยคำว่า "ทิก" เป็นคำใช้เรียกพระ ส่วน "เญิ้ต หั่ญ" เป็นนามทางธรรมที่มีความหมายว่า "การกระทำเพียงหนึ่ง (One Action)" ท่านเป็นพระมหาเถระนิกายเซน กวี และผู้สนับสนุนในเรื่องสันติภาพ มีงานเขียนเผยแผ่ตีพิมพ์ภาษาต่าง ๆ มากมาย และเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักปฏิบัติธรรมชาวตะวันตก
 
Thich Nhat Hanh เป็นนามทางธรรมที่ได้รับหลังการบวช
 
ติช : Thich ในเวียดนามใช้เรียกพระ มีความหมายว่าเป็นผู้สืบทอดพุทธศาสนา
 
นัท ฮันห์ : Nhat Hanh เป็นนามทางธรรมของท่าน มีความหมายว่า การกระทำเพียงหนึ่งเดียว (One Action) ซึ่งก็คือการเจริญสติ
 
ไถ่ : Thay เป็นภาษาเวียดนาม แปลว่า อาจารย์ ซึ่งศิษย์ต่างชาตินิยมเรียกท่านเช่นนั้น แต่ ศิษย์ชาวเวียดนามจะเรียกท่านว่า ซือองม์ : Su Ong ซึ่งอาจแปลเป็นไทยว่า หลวงปู่
 
หลวงปู่ ติช นัท ฮันห์ (Thich Nhat Hanh) เป็นพระภิกษุชาวเวียดนาม ผู้นำเสนอความคิด พุทธศาสนาต้องเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน และพุทธธรรม เป็นสิ่งที่สามารถประยุกต์ใช้ให้เข้ากับวิธีชีวิตยุคปัจจุบันได้ (Engage Buddhism)
 
ท่านเป็นที่รู้จักในฐานะ พระเถระชั้นผู้ใหญ่ พระอาจารย์เซน พระมหาเถระในพุทธศาสนามหายานผู้สอนการฝึกสมาธิภาวนา เป็นกวี นักเขียน นักต่อสู้เพื่อสันติภาพ
 
หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ กำเนิดเมื่อปี พ.ศ.2469 (ค.ศ.1926) ในจังหวัดกวางสี ภาคกลางของเวียดนาม มีนามเดิมว่า เหงวียน ซวน เป๋า (Nguyễn Xuân Bảo) ส่วน “ ติช นัท ฮันห์ ”Thich Nhat Hanh) ที่ถูกต้องออกเสียงว่า "ทิจ ญัด หัญ"
 
== ประวัติ ==
ทิก เญิ้ต หั่ญ เกิดเมื่อวันที่ [[11 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2469]] ที่[[จังหวัดกว๋างจิ]] ในภาคกลางของ[[ประเทศเวียดนาม]] ท่านมีชื่อเดิมว่า เหงียน ซวน เบ๋า ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรที่ วัดตื่อฮิ้ว[ วัดตื่อเฮี้ยว (Từ Hiếu Temple (Tu Hieu)) เมืองเว้] เมื่อ [[พ.ศ. 2485]] ขณะมีอายุได้ 16 ปี ท่านได้เรียนรู้การฝึกปฏิบัติสติภาวนา โดยมีหลักคำสอนของพระอาจารย์และวิถีชีวิตประจำวันของผู้บวชใหม่ อันเป็นรากฐานสำคัญของชีวิตนักบวช และได้อุปสมบทเป็นพระในเวลาต่อมาปี[[ พ.ศ.2492]] อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่ออายุ 23 ปี เดินทางไปไซ่ง่อนเพื่อฟื้นฟูพุทธศาสนาและเขียนบทความ ทำให้ถูกต่อต้านจากผู้นำองค์กรชาวพุทธและรัฐบาลในระยะนั้น ช่วงแรกที่อยู่ในเวียดนาม ท่านได้พยายามฟื้นฟูพระพุทธศาสนาด้วยการเขียนบทความ แต่กลับได้รับการต่อต้านจากผู้นำองค์กรชาวพุทธและรัฐบาลเป็นอย่างมาก
 
ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2505]] ท่านได้รับทุนไปศึกษาศาสนาเปรียบเทียบ ณ [[มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน]] [[สหรัฐอเมริกา]] ท่านได้ศึกษาที่นั่นเป็นเวลา 1 ปี แม้จะได้รับทุนจาก[[มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย]]ต่อ แต่ท่านก็ตัดสินใจเดินทางกลับเวียดนาม เพื่อต่อตั้ง รร.ยุวชนรับใช้สังคม เยียวยาความเสียหายจากสงคราม และพัฒนาวงการสงฆ์ด้วยการสอน และนำเสนอข้อเขียนต่อสถาบันพุทธศาสนาชั้นสูงด้วยคติว่า การกระทำและปัญญา ต้องไปด้วยกัน (Tiep Hien) หรือ คณะดั่งกันและกัน (The Order of Interbeing) โดยปฏิบัติตามสิกขาบท 14 ประการ ซึ่งเลือกเฟ้นมาจากแก่นคำสอนในพระพุทธศาสนา และทำงานด้านความร่วมมือระหว่างพระพุทธศาสนา[[นิกายมหายาน]]และ[[เถรวาท]]ในเวียดนาม ท่านพยายามสอนแนวคิดเรื่องพระพุทธศาสนาเพื่อการรับใช้สังคม เพื่อฟื้นฟูความเสียหายจากสงคราม ท่านพยายามพัฒนาวงการสงฆ์ด้วยการสอนและเขียนในสถาบันพระพุทธศาสนาชั้นสูง ภารกิจที่สำคัญของท่านคือ ก่อตั้ง "คณะเทียบหิน" ในปี [[พ.ศ. 2509]]
 
[[รณรงค์เพื่อสันติภาพ]]
ในช่วงนั้นเป็นช่วงที่คุกรุ่นด้วยไฟสงคราม และท่านตระหนักถึงการต่อสู้เพื่อสันติภาพโดยรณรงค์ให้แก้ปัญหาที่ต้นเหตุคือ รณรงค์ให้หยุดการสนับสนุนสงความโดยเฉพาะการแทรกแซงของสหรัฐฯ มุ่งเน้นสันติภาพ โดยปลูกจิตสำนึกผู้คนทั่วโลก จนในปี [[พ.ศ. 2510]] [[มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ (Martin Luther King , Jr)]] ได้เสนอชื่อของท่านให้เป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ โดยกล่าวว่า "ข้าพเจ้าไม่รู้จักใครเป็นการส่วนตัวอีกที่จะมีคุณค่าพอสำหรับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ นอกเหนือไปจากพระผู้มีเมตตาจากเวียดนามผู้นี้" ด้วยเหตุนี้รัฐบาลเวียดนามจึงปฏิเสธการกลับประเทศของท่าน แม้ว่าภายหลังจะมีการรวมประเทศก็ตาม
 
เมื่อเวียดนามปฏิเสธการกลับเข้าประเทศ ท่านจึงต้องลี้ภัยอย่างเป็นทางการไปพำนักที่ประเทศฝรั่งเศส โดยเป็นอาจารย์สอนประวัติศาสตร์ในมหาวิทยาลัย และสร้างอาศรมนอกเมืองปารีสเพื่อเขียนหนังสือและปลูกพืชสมุนไพร ระหว่างนั้นท่านยังคงทำงานเพื่อสันติภาพ และเพื่อผู้ลี้ภัยอย่างสม่ำเสมอ การได้ร่วมทุกข์กับเพื่อนผู้ลี้ภัย ทำให้ท่านพบเห็นชะตากรรมของผู้ตกทุกข์ได้ยากมากมาย และมีวิธีการช่วยเหลือได้หลายช่องทาง หลายวิธีการ
 
== หมู่บ้านพลัม ==
กำเนิดหมู่บ้านพลัม
หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ ได้สร้าง "สังฆะ" ชุมชนแห่งการฝึกปฏิบัติเพื่อดำเนินชีวิตอย่างมีสติของพุทธบริษัท 4 ด้วยความตั้งใจที่จะแลกเปลี่ยนพระพุทธศาสนาในดินแดนตะวันตก สังฆะแห่งแรกตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2518 ชื่อว่า อาศรมมันเทศ (Sweet Potato Hermitage) ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส จากนั้นได้ย้ายลงไปทางตอนใต้และตั้งชื่อสังฆะแห่งใหม่นี้ว่า หมู่บ้านพลัม (Plum Village) ตามชื่อต้นพลัมที่ปลูกอยู่ทั่วผืนดินแห่งนี้
 
ปัจจุบัน มีชุมชนการปฏิบัติธรรมแห่งหมู่บ้านพลัมกระจายอยู่ในหลายประเทศ อาทิประเทศฝรั่งเศส อเมริกา เยอรมัน ฮ่องกง และล่าสุดที่ประเทศไทยโดยมีนักบวชกว่า 500 รูป จาก 20 ประเทศทั่วโลก และมีกลุ่มปฏิบัติธรรมตามแนวทางหมู่บ้านพลัม หรือ “สังฆะ” เกือบหนึ่งพันกลุ่ม กระจายอยู่ใน 31 ประเทศทั่วโลก
 
แต่การรณรงค์เพื่อหยุดการสนับสนุนสงครามของท่านทำให้รัฐบาลเวียดนาม ที่ถึงแม้จะรวมประเทศได้แล้วก็ตาม ไม่ยอมรับท่าน และปฏิเสธการเข้าประเทศของท่าน ทำให้ท่านต้องลี้ภัยอย่างเป็นทางการที่ประเทศฝรั่งเศส และก่อตั้ง "หมู่บ้านพลัม" เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของชุมชนสงฆ์ของท่าน ที่เมือง[[บอร์โดซ์]] [[ประเทศฝรั่งเศส]] ในปี [[พ.ศ. 2525]] ในระยะแรกเป็นแหล่งพักพิงของผู้ลี้ภัย ก่อนจะเริ่มมีนักบวชตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2531]]
 
เส้น 23 ⟶ 45:
 
นอกจากนี้ยังมีสังฆะอื่นๆ อยู่ในหลายประเทศทั่วโลก
 
[[วิถีการปฏิบัติที่ไม่แยกขาดจากสังคม]]
ชุมชนการปฏิบัติธรรมแต่ละแห่ง มีวิถีการฝึกปฏิบัติเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อม และดำเนินชีวิตในวิถีที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อน โดยเลือกรับประทานอาหารมังสวิรัติ งดนมและผลิตภัณฑ์จากนม งดบริโภคไข่ เพื่อลดการใช้ทรัพยากรและลดมลภาวะต่างๆ ที่เกิดจากการเลี้ยงปศุสัตว์ ทั้งยังมีการฝึกปฏิบัติ ‘วันงดใช้รถ’ หรือ Car Free Day เพื่อลดการใช้พลังงาน ลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่ปล่อยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ การฝึกปฏิบัติเช่นนี้เป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้คนทั่วไป เพื่อช่วยกันเยียวยาโลกที่กำลังอยู่ในภาวะวิกฤติทั้งสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและความรุนแรงในสังคม โดยเริ่มจากการฝึกสติตระหนักรู้ มีสันติในตนเอง ผ่านการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ผ่านการกระทำในชีวิตประจำวัน
 
ปัจจุบัน หลวงปู่ ติช นัท ฮันห์ ยังคงพำนักอยู่ที่หมู่บ้านพลัมประเทศฝรั่งเศส และเดินทางไปนำการภาวนาในประเทศต่างๆ ทั้งในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา เพื่อสร้างสรรค์ความรัก ความเข้าใจ และศานติสุขให้กับผู้คนทั่วโลก
 
== ผลงานเขียน ==
เส้น 56 ⟶ 83:
 
== อ้างอิง ==
<ref>http://www.thaiplumvillage.org/index.php?option=com_content&view=article&id=2&Itemid=35</ref>
* [http://www.thaiplumvillage.org/plum_abount_p1.html ชีวประวัติท่านทิก เญิ้ต หั่ญ] {{ลิงก์เสีย}}
* [http://www.komchadluek.net/2007/06/13/s001_122531.php?news_id=122531 พุทธศาสนาความสุข และบทสนทนากับ "หลวงปู่ทิก เญิ้ต หั่ญ"] {{ลิงก์เสีย}}
เส้น 64 ⟶ 92:
* [http://www.oknation.net/blog/mhanation/2007/05/28/entry-1 ตามรอยทิก เญิ้ต หั่ญตามรอยพระบาทพระศาสดาวิสาขบูชาโลก]
* [http://www.thaiplumvillage.org เว็บไซต์หมู่บ้านพลัม ประเทศไทย]
 
 
{{เกิดปี|2469}}