ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยมหิดล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 38:
}}
 
'''มหาวิทยาลัยมหิดล''' เป็นสถาบันที่มีที่มาจากการเป็นโรงเรียนแพทย์ ณ [[โรงศิริราชพยาบาล]] ชื่อว่า '''โรงเรียนแพทยากร''' ซึ่งก่อตั้งขึ้นในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]
'''มหาวิทยาลัยมหิดล''' เป็นสถาบันที่มีที่มาจากการเป็นโรงเรียนแพทย์ ณ [[โรงพยาบาลศิริราช]] ชื่อว่า '''โรงเรียนแพทยากร''' ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2432 ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย[[สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ]] เสด็จพระราชดำเนินเปิดตึกของโรงเรียนแพทย์ จึงได้พระราชทานนามโรงเรียนแพทยากรใหม่ว่า '''โรงเรียนราชแพทยาลัย''' ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2460 โรงเรียนราชแพทยาลัยถูกรวมเข้ากับ[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] ภายใต้ชื่อ คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และถูกเปลี่ยนชื่อเป็น '''คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล''' ในเวลาต่อมา<ref>ราชกิจจานุเบกษา. “ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง รวมโรงเรียนราชแพทยาลัยเข้ากับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.” ''ratchakitcha.soc.go.th.'' 15 เมษายน 2460. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2460/A/21.PDF (21 มีนาคม 2561 ที่เข้าถึง).</ref> คณะแพทย์แห่งนี้ได้รับการพัฒนาวิชาการจนได้มาตรฐานแพทยศาสตร์ศึกษาสมัยใหม่ด้วยความช่วยเหลือของ[[มูลนิธิร็อกเกอะเฟลเลอร์]]<ref>Becker, William H. Innovative Partners The Rockefeller Foundation and Thailand. New York, New York: The Rockefeller Foundation, 2013. William H. Becker. “Assets: Rockefellerfoundation.” Rockefellerfoundation. 2013. https://assets.rockefellerfoundation.org/app/uploads/20131001203515/Innovative-Partners.pdf (21 March 2018 accessed).</ref> จนสามารถจัดการศึกษาถึงขั้นประสาทปริญญาบัตรได้ ภายใต้สังกัดและการประสานงาน<ref>Chulalongkorn University. "การปรับหลักสูตรระดับปริญญา – CU100." CU100. March 26, 2017. Accessed May 11, 2018. <nowiki>http://www.cu100.chula.ac.th/story/การปรับหลักสูตรระดับปริญญา/</nowiki>. </ref>ของ[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]<ref>ราชกิจจานุเบกษา. “ประกาศตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.” ''ratchakitcha.soc.go.th.'' 3 พฤศจิกายน 2478. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2478/D/2327.PDF (21 มีนาคม 2561 ที่เข้าถึง).</ref>
 
ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 ในรัฐบาล[[แปลก พิบูลสงคราม|จอมพลแปลก พิบูลสงคราม]] ได้มีการแยก[[คณะวิชา]]ด้านแพทยศาสตร์ อันประกอบด้วย [[คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล]] [[คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย|แผนกอิสระทันตแพทยศาสตร์]] [[คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย|แผนกอิสระเภสัชศาสตร์]] และ[[คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย|แผนกอิสระสัตวแพทยศาสตร์]] พร้อมงบประมาณอันเกี่ยวข้องกับคณะวิชาดังกล่าว<ref>เงินทุนพระมรดกสมเด็จพระราชบิดา. Accessed March 22, 2018. https://si-eservice.mahidol.ac.th/donation/fund_detail.aspx?f_id=0003.</ref>จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาจัดตั้งเป็น '''มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์'''<ref name="พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแพทยสาตร">[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2486/A/007/212.PDF พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแพทยสาตร]</ref> ถือเป็นจุดเริ่มต้นการเป็น[[มหาวิทยาลัย]]โดยสมบูรณ์ การนับรุ่นและอายุของมหาวิทยาลัยมหิดลจึงไม่สามารถนับจากปีก่อตั้งโรงเรียนราชแพทยาลัยได้ เพราะในขณะนั้นโรงเรียนยังไม่มีสภาพและคุณสมบัติเป็นมหาวิทยาลัย
 
ต่อมา [[คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย|แผนกอิสระทันตแพทยศาสตร์]] [[คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย|แผนกอิสระเภสัชศาสตร์]] และ[[คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย|แผนกอิสระสัตวแพทยศาสตร์]] ได้กลับคืนสู่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามประกาศคณะปฏิบัติ ฉบับที่ 121 สมัยจอมพลถนอม กิตติขจร คงเหลือแต่คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล ที่ยังสังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม "มหิดล" อันเป็นพระนามของ[[สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก]] ใช้แทนชื่อมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2512<ref>[http://www.op.mahidol.ac.th/orla/law/index.php/mahidol-act/83-prb-2512 พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล]</ref>
 
มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย จากการจัดอันดับของสำนักจัดอันดับหลายสำนัก และมหาวิทยาลัยมหิดลได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 9 [[มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ]] จาก[[กระทรวงศึกษาธิการ]] ในปี พ.ศ. 2552 และเป็นสมาชิก [[เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน]] (ASEAN University Network; AUN)