ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประติมากรรมไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thyj (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 13:
* [[ศิลปะลพบุรี]]
* [[ศิลปะล้านนา]]
 
== ศิลปะศรีวิชัย ==
[[ไฟล์:Avalokiteshvara Srivijaya Art Chaiya.JPG|thumb|140px|left|เทวรูปสมัยศรีวิชัย]]
 
'''[[อาณาจักรศรีวิชัย]]''' (พุทธศตวรรษที่ 13 - 18 ) อยู่ทางภาคใต้ มีศูนย์กลางอยู่ที่[[ชวา]]ภาคกลาง
และมีอาณาเขตมาถึงทางภาคใต้ของไทย มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุ สมัยศรีวิชัยอยู่มากมายทั่วไป โดยเฉพาะที่[[อำเภอไชยา]] [[จังหวัดสุราษฎร์ธานี]]นิยมสร้างรูป[[พระโพธิสัตว์]]มากกว่าพระพุทธรูป เนื่องจากสร้างตาม
ลัทธิ[[มหายาน]] พระพุทธรูปสมัยศรีวิชัยมีลักษณะสำคัญ คือ พระวรกาย
อวบอ้วนได้ส่วนสัด พระโอษฐ์เล็กได้สัดส่วน พระพักตร์คล้ายพระพุทธรูปเชียงแสน
 
== ศิลปะลพบุรี ==
 
[[ไฟล์:Maravijaya Buddha 14th century Lopburi Jim Thompson Museum IMG 7264.jpg|thumb|150px|right|ศิลปะลพบุรี]]
'''[[ละโว้|ศิลปะลพบุรี]]''' (พุทธศตวรรษที่ 16 - 18) มีอาณาเขตครอบคลุม[[ภาคกลาง]] [[ภาคตะวันออก]] และภาคตะวันออกเฉียง
เหนือ ตลอดจนใน[[ประเทศกัมพูชา]] ซึ่งเป็นของชนชาติ[[ขอม]] แต่เดิมเป็น[[ศิลปะขอม]] แต่เมื่อชนชาติไทยเข้ามาครอบดินแดนแถบนี้ และมีการผสมผสานศิลปะขอมกับ[[ศิลปะไทย]] จึงเรียกว่า ศิลปะลพบุรี ลักษณะที่สำคัญของ[[พระพุทธรูป]]แบบลพบุรีคือ พระพักตร์สั้นออกเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีพระเนตรโปน พระโอษฐ์แบะกว้าง พระเกตุมาลาทำเป็นต่อมพูน บางองค์เป็นแบบฝาชีครอบ พระนาสิกใหญ่ พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา
พระกรรณยาวย้อยลงมาและมีกุณฑลประดับด้วยเสมอ
 
== ศิลปะสุโขทัย ==
[[ไฟล์:Buddha sukhothaistylb.jpg|left|thumb|150px|]]
พุทธศตวรรษที่ 17 - 20
 
[[อาณาจักรสุโขทัย]] นับเป็นราชธานีที่มีความชัดเจนเป็นครั้งแรกของชนเผ่าไทยสยาม ศิลปะสุโขทัยจึง
นับเป็นสกุลศิลปะแบบแรกของชนชาติไทย แต่ไม่ใช่แรกสุดเพราะก่อนหน้านั้นมีศิลปะที่ใกล้เคียงกับศิลปะสุโขทัยมาก คือ ศิลปะเชียงแสน ริมแม่น้ำโขงในแถบจังหวัดเชียงราย ศิลปะสุโขทัยผ่านการคิดค้น สร้างสรรค์
คลี่คลาย สังเคราะห์ในแผ่นดินที่เป็นปึกแผ่น มั่นคงจนได้รูปแบบที่งดงาม
พระพุทธรูปสุโขทัย ถือว่ามีความงามตามอุดมคติไทยอย่างแท้จริง อุดมคติของพระพุทธรูปสุโขทัยเกิดจากต้นแบบศิลปะที่ส่งอิทธิพลต่อช่างสมัยนั้นด้วย คือ อิทธิพลศิลปะจากศรีลังกาและอินเดีย ลักษณะ
สำคัญของพระพุทธรูปสุโขทัย คือ พระวรกายโปร่ง เส้นรอบนอกโค้งงาม
ได้จังหวะ พระพักตร์รูปไข่ยาวสมส่วน ยิ้มพองาม พระขนงโก่ง รับกับ
พระนาสิกที่งุ้มเล็กน้อย พระโอษฐ์แย้มอิ่ม ดูสำรวม มีเมตตา พระเกตุมาลา
รูปเปลวเพลิง พระสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี พระศกแบบก้นหอย ไม่มีไร
พระศก พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยมีความงดงามมาก ที่มีชื่อเสียงมากได้แก่
[[พระพุทธชินราช]] [[พระพุทธชินสีห์]] พระศาสดา [[พระพุทธไตรรัตนายก]]
และ [[พระพุทธรูปปางลีลา]] นอกจากพระพุทธรูปแล้ว ในสมัยสุโขทัยยังมี
งานประติมากรรมที่มีชื่อเสียงอีกอย่างหนึ่งคือ [[เครื่องสังคโลก]] ซึ่งเป็นเครื่อง
ปั้นดินเผาสมัยสุโขทัยที่มีลักษณะเฉพาะ มีชื่อเสียงไปทั่วโลก เครื่องปั้น
ดินเผาสังคโลก เป็นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบ [[สีเขียวไข่กา]] สีน้ำตาล สีใส
เขียนทับลายเขียนรูปต่าง ๆ มี ผิวเคลือบแตกราน สังคโลกเป็นสินค้าออก
ที่สำคัญของอาณาจักรสุโขทัยที่ ส่งไปจำหน่ายนอกอาณาเขต จนถึง[[ฟิลิปปินส์]]
[[อินโดนีเซีย]] และ[[ญี่ปุ่น]]
 
== ศิลปะเชียงแสน ==
[[ไฟล์:Buddha chiangsaenstyle.jpg|left|thumb|150px|]]เมื่อแคว้นล้านนาในภาคเหนือได้สถาปนาเมืองเชียงใหม่เป็นนครหลวงเมื่อ พ.ศ. ๑๘๓๙ หลังจากได้รวมเอาแคว้นหริภุญไชยเข้าไว้ด้วยแล้ว   ได้มีการสร้างสรรค์ศิลปะไทยที่มีเอกลักษณ์เฉพาะเดิมเรียกว่า“ศิลปะเชียงแสน” ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น “ศิลปะล้านนา”   อันหมายถึงรูปแบบศิลปะที่กระจายอยู่ในภาคเหนือตอนบนตั้งแต่จังหวัดตาก  แพร่ น่าน ขึ้นไป
          ตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่๒๒ เป็นต้นมา ล้านนาพบกับการแตกแยกภายในการแก่งแย่งชิงอำนาจกันเอง   ภัยจากภายนอกที่เข้ามาแทรกแซงทั้งจากพม่ากรุงศรีอยุธยาและล้านช้าง ทำให้อำนาจอิสระที่คงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของแคว้นล้านนาล่มสลายลง
ประติมากรรมไทยสมัยเชียงแสน    ประติมากรรมไทยสมัยเชียงแสนเป็นประติมากรรมในดินแดนสุวรรณภูมิที่นับว่าสร้างขึ้นโดยฝีมือช่างไทยเป็นครั้งแรกเกิดขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 16-21 มีปรากฏแพร่หลายอยู่ตามหัวเมืองต่างๆ ทางภาคเหนือของไทย แหล่งสำคัญอยู่ที่เมืองเชียงแสนวัสดุที่นำมาสร้างงานประติมากรรมที่ทั้งปูนปั้นและโลหะต่างๆที่มีค่าจนถึงทองคำบริสุทธิ์ประติมากรรมเชียงแสนแบ่งได้เป็น2 ยุค
เชียงแสนยุคแรก มีทั้งการสร้างพระพุทธรูปและภาพพระโพธิสัตว์หรือเทวดาประดับศิลปสถาน พระพุทธรูปโดยส่วนรวมมีพุทธลักษณะคล้ายพระพุทธรูปอินเดียสมัยราชวงปาละ มีพระวรกายอวบอ้วนพระพักตร์กลมคล้ายผลมะตูม พระขนงโก่ง พระนาสิกโค้งงุ้ม พระโอษฐ์แคบเล็ก พระห นุเป็นปมพระรัศมีเหนือเกตุมาลาเป็นต่อมกลม ไม่นิยมทำไรพระสก เส้นพระสกขมวดเกษาใหญ่พระอุระนูน ชายสังฆาฏิสั้น ตรงปลายมีลักษณะเป็นชายธงม้วนเข้าหากัน เรียกว่า เขี้ยวตะขาบส่วนใหญ่นั่งขัดสมาธิเพชรปางมารวิชัยฐานที่รององค์ พระทำเป็นกลีบบัวประดับ มี ทั้งบัวคว่ำบัวหงาย และทำเป็นฐานเป็นเขียงไม่มีบัวรองรับ ส่วนงานปั้นพระโพธิสัตว์ประดับเจดีย์วัดกู่เต้าและภาพเทวดาประดับหอไตรวัดพระสิงห์ เชียงใหม่ มีสัดส่วนของร่างกาย สะโอดสะองใบหน้ายาวรูปไข่ทรงเครื่องอาภรณ์เช่นเดียวกับพระโพธิสัตว์ในศิลปะแบบปาละเสนะของอินเดียหรือแบบ ศรีวิชัย
เชียงแสนยุคหลัง มีการสร้างพระพุทธรูปที่มีแบบของลัทธิลังกาวงศ์จากสุโขทัยเข้ามาปะปนรูปลักษณะโดยส่วนรวมสะโอดสะ องขึ้น ไม่อวบอ้วนบึกบึน พระพักตร์ยาวเป็นรูปไข่มากขึ้นพระรัศมีทำเป็นรูปเปลว พระศกทำเป็นเส้นละเอียดและมีไรพระศกเป็น เส้นบาง ๆชายสังฆาฏิ ยาวลงมาจรดพระนาภี พระพุทธรูปโดยส่วนรวมนั่งขัดสมาธิราบ พระพุทธรูปที่นับว่าสวยที่สุดและถือเป็นแบบอย่างของพระพุทธรูปที่นับว่าสวยที่สุดถือเป็นแบบอย่างของพระพุทธรูปที่นับว่าสวยที่สุดพระพุทธสิหิงค์ในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพฯพระพุทธรูปเชียงแสนนี้มักหล่อด้วยโลหะทองคำ และสำริด
 
{{โครง-ส่วน}}
 
== ศิลปะอู่ทอง ==
พุทธศตวรรษที่ 17 - 20
 
[[อาณาจักรอู่ทอง]] เป็นอาณาจักรเก่าแก่ก่อนอาณาจักรอยุธยา ซึ่งมีความ
สัมพันธ์กับอาณาจักรต่าง ๆ ได้แก่ ทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี รวมทั้งสุโขทัย
ดังนั้นรูปแบบศิลปะจึงได้รับอิทธิพลของสกุลช่างต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว
ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปอู่ทอง คือ พระวรกายดูสง่า พระพักตร์ขรึม
ดูเป็นรูปเหลี่ยม คิ้วต่อกันไม่โก่งอย่างสุโขทัยหรือเชียงแสน พระศกนิยมทำ
เป็นแบบหนามขนุน มีไรพระศก สังฆาฏิยาวจรดพระนาภี ปลายตัดตรง
พระเกตุมาลาทำเป็นทรงแบบฝาชี รับอิทธิพลศิลปะลพบุรี แต่ยุคต่อมาเป็น
แบบเปลวเพลิงตามแบบศิลปะสุโขทัย
 
== ศิลปะรัตนโกสินทร์ ==
พุทธศตวรรษที่ 25 - ปัจจุบัน
ศิลปะรัตนโกสินทร์ในตอนต้น เป็นการสืบทอดมาจากสกุลช่างอยุธยา
ไม่ว่าจะเป็น การเขียนลายรดน้ำ ลวดลายปูนปั้น การแกะสลักไม้ [[เครื่องเงิน]]
[[เครื่องทอง]] การสร้างพระพุทธรูป ล้วนแต่สืบทอดความงามและวิธีการ
ของศิลปะอยุธยาทั้งสิ้น ต่อมา ในสมัยรัชกาลที่ 4 มีการติดต่อกับชาวต่างชาติ
มากขึ้นโดยเฉพาะชาติตะวันตก ทำให้ลักษณะศิลปะตะวันตกหลั่งไหลเข้าสู่
ประเทศไทย และมีอิทธิพลต่อศิลปะไทยในสมัยต่อมา หลังจากการเสด็จประ
พาสยุโรปทั้ง 2 ครั้งของ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้มีการนำเอาแบบอย่าง
ของศิลปะตะวันตกเข้ามาผสมผสานกับศิลปะไทย ทำให้ศิลปะไทยแบบ
ประเพณี ซึ่งเป็นแบบดั้งเดิม มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปเป็นศิลปะไทย
แบบร่วมสมัย ในที่สุด ลักษณะของพระพุทธรูปเน้นความเหมือนจริงมากขึ้น
เช่น [[พระศรีศากยทศพลญาณ ฯ]] พระประธาน[[พุทธมณฑล]] [[จังหวัดนครปฐม]]
เป็นพระพุทธรูปปางลีลาโดยการผสมผสานความงามแบบสุโขทัยเข้ากับความ
เหมือนจริง เกิดเป็นศิลปะการสร้างพระพุทธรูปในสมัยรัตนโกสินทร์
 
 
<gallery>
[[ไฟล์:Sculp2.jpg|ภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ ฯลฯ บ้านเชียง ยุคก่อนประวัติศาสตร์]]
[[ไฟล์:Sculp1.jpg|ขวานหินขัดยุคก่อนประวัติศาสตร์]]
[[ไฟล์:pra srivichai2.jpg|[[พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร]]สมัยศรีวิชัย]]
[[ไฟล์:pra lopburi2.jpg|เทวรูปพระอิศวร ศิลปะลพบุรี]]
[[ไฟล์:pra sukothai1.jpg|เศียรพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย]]
[[ไฟล์:sangkalok1.jpg|ชามสังคโลก ศิลปะสมัยสุโขทัย]]
[[ไฟล์:pra Ayuttaya2.jpg|พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ทรงเครื่องวัดหน้าพระเมรุ ศิลปะสมัยอยุธยายุคกลาง]]
</gallery>
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
{{เริ่มอ้างอิง}}
* http://student.buu.ac.th/~47041144/thai.html {{ลิงก์เสีย}}
{{จบอ้างอิง}}
 
{{ประเทศไทย}}
 
[[หมวดหมู่:ประติมากรรมไทย]]
{{โครงศิลปะ}}