ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Supanut Arunoprayote (คุย | ส่วนร่วม)
better img
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 25:
ในแง่ของการท่องเที่ยวแล้ว วัดโพธิ์ได้รับความนิยมเที่ยวเป็นลำดับที่ 24 ของโลก ในปี พ.ศ. 2549 โดยมีนักท่องเที่ยวมาเยือนในปีนั้นถึง 8,155,000 คน<ref>Global Market Information Database, ''Tourist Attractions - World'', 10 Apr 2008</ref>
 
เป็นวัดที่ครูแอร์สั่งงาน
== ประวัติ ==
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามตามประวัติสร้างมาตั้งแต่ครั้ง[[อาณาจักรอยุธยา|สมัยอยุธยา]] แต่ไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการสร้าง เดิมเรียกว่า "วัดโพธาราม" หรือ "วัดโพธิ์" ได้ถูกยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงในสมัย[[กรุงธนบุรี]] ครั้งถึงรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]]โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดนี้ใหม่ในปี [[พ.ศ. 2331]] โดยทรงสร้างพระอุโบสถ พระระเบียง พระวิหาร ตลอดจนบูรณะของเดิม
เมื่อแล้วเสร็จใน [[พ.ศ. 2344]] ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาส" เป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
 
[[ไฟล์:สมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์.jpg|left|150px|thumb|พิธีราชาภิเษกของพระนโรดมที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร]]
นับจากนั้นวัดพระเชตุพนได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] และได้โปรดเกล้าฯ ให้จารึกสรรพตำราต่าง ๆ ลงบนแผ่นหินอ่อนประดิษฐ์ไว้ตามศาลารายต่าง ๆ ครั้งถึงรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แก้สร้อยนามพระอารามว่า "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร" และภายในพระอารามยังได้เคยใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีราชาภิเษกของ[[พระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร]] โดยนิตินัย ก่อนที่จะมีพิธีราชาภิเษกอีกครั้งที่กรุง[[พนมเปญ]] โดยพฤตินัย
 
พระมหากษัตริย์ใน[[ราชวงศ์จักรี]]ทุกพระองค์ทรงถือว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นพระอารามหลวงที่มีความสำคัญมาก และทรงถือเป็นพระราชประเพณี ที่จะทรงบูรณะซ่อมแซมวัดนี้ทุกรัชกาล นอกจากนี้ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามยังเป็นเสมือนมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย เพราะเป็นแหล่งรวบรวมวิชาความรู้ด้านต่าง ๆ ทั้งประวัติศาสตร์ วรรณกรรม และการแพทย์
 
นามวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามนี้ ปรากฏในประกาศรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] [[พ.ศ. 2411]] ว่า "วัดนี้แม้จะมีนามพระราชทานมาตั้งแต่รัชกาลที่ 1 แต่ชื่อพระราชทานมีผู้เรียกแต่อยู่ในพระราชวัง คนยังเรียกว่าวัดโพธิ์กันทั้งแผ่นดิน" และมีพระราชดำริว่า "ชื่อพระราชทานเป็นชื่อตั้งไม่ปิดไม่แน่นจะคิดแปลงใหม่เห็นจะไม่ชนะ"<ref>[http://www.royin.go.th/upload/292/FileUpload/914_1649.pdf พจนานุกรมวิสามานยนามไทย : วัด วัง ถนน สะพาน ป้อม], หน้า 86-87, จากเว็บไซต์[[ราชบัณฑิตยสถาน]]</ref>
 
== สิ่งก่อสร้างภายในวัด ==