ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การศึกษาในประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 39:
 
เนื่องจากการขาดแคลนงบประมาณทางการศึกษาแก่โรงเรียนชนบท ส่งผลให้นักเรียนที่อาศัยอยู่ในเขตชนบทเลือกที่จะเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนเอกชนมากกว่าโรงเรียนของรัฐ เนื่องจากมีความเชื่อมั่นว่าคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียนเอกชนอยู่ในระดับมาตรฐานที่ดี<ref>{{cite web|url=http://unigang.com/Article/7562|title=เผยพฤติกรรมเลือก ร.ร.พ่อแม่ยึดคุณภาพ-ฐานะครอบครัวเป็นหลัก|publisher=Unigang|accessdate =16 January 2014}}</ref> หรือเข้าศึกษาต่อในเขตเมืองของจังหวัดนั้น ๆ
 
== ระดับชั้น ==
การจัดการศึกษาในประเทศไทยในระดับชั้นประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาและในระดับอาชีวศึกษาจะแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาโดยภาคการศึกษาแรกจะจัดการเรียนการสอนระหว่างวันที่ 16 พฤษภาคมถึงวันที่ 11 ตุลาคมของทุกปี ในขณะที่ภาคการศึกษาปลายจะเริ่มวันที่ 1 พฤศจิกายนถึงวันที่ 1 เมษายน<ref name="eduzone">{{cite web|url=http://blog.eduzones.com/socialdome/115735|title=ข้อสรุปใหม่กระทรวงศึกษาธิการ "ไม่เลื่อนเปิดเทอม" สถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและอาชีวศึกษา|publisher=Eduzone|accessdate =16 January 2014}}</ref> อย่างไรก็ตามมีความพยายามในการปรับเปลี่ยนเวลาการเปิดภาคการศึกษาใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับกลุ่มประเทศอาเซียน แต่กระทรวงศึกษาธิการยังคงยืนยันที่จะกำหนดวันเปิดปิดภาคเรียนตามเดิม<ref name="eduzone"/> สำหรับในระดับอุดมศึกษานั้นมีการจัดการเรียนการสอนออกเป็นทวิภาค ยกเว้นหลักสูตรนานาชาติที่จัดการเรียนการสอนแบบไตรภาค โดยมีภาคฤดูร้อนให้นิสิต/นักศึกษาสามารถเข้ามาศึกษาได้ สำหรับประเทศไทยได้แบ่งระดับชั้นการศึกษาไว้ดังตารางด้านล่างนี้<ref>{{cite web|url=http://www.bic.moe.go.th/th/index.php?option=com_content&view=article&id=661&catid=61|title=ระบบการศึกษา-ไทย|publisher=สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ|accessdate =17 January 2014}}</ref>
 
{| border="1" cellpadding="5" cellspacing="0" style="border-collapse:collapse;"
|-
! colspan=2 | ระดับชั้น
! rowspan=2 | อายุ
|-
! สายสามัญ
! สายอาชีพ
|- style="background:silver;"
| colspan = 3 | [[การศึกษาปฐมวัย]]
|-
| [[เตรียมอนุบาล]] || rowspan=2| || 2-3
|-
| [[โรงเรียนอนุบาล|อนุบาล]] || 3-5
|- style="background:silver;"
| colspan = 3 | [[ประถมศึกษา]]
|-
| ประถมศึกษาปีที่ 1 || rowspan=6| || 6 - 7
|-
| ประถมศึกษาปีที่ 2 || 7 - 8
|-
| ประถมศึกษาปีที่ 3 || 8 - 9
|-
| ประถมศึกษาปีที่ 4 || 9 - 10
|-
| ประถมศึกษาปีที่ 5 || 10 - 11
|-
| ประถมศึกษาปีที่ 6 || 11 - 12
|- style="background:silver;"
| colspan = 3 | [[มัธยมศึกษา|มัธยมศึกษาตอนต้น]]
|-
| มัธยมศึกษาปีที่ 1|| rowspan=3| ||12 - 13
|-
| มัธยมศึกษาปีที่ 2 || 13 - 14
|-
| มัธยมศึกษาปีที่ 3 || 14 - 15
|- style="background:silver;"
| colspan = 3 | [[มัธยมศึกษา|มัธยมศึกษาตอนปลาย]]และ[[อาชีวศึกษา]]
|-
| มัธยมศึกษาปีที่ 4 || ประกาศนียบัตรวิชาชีพปี 1 || 15 - 16
|-
| มัธยมศึกษาปีที่ 5 || ประกาศนียบัตรวิชาชีพปี 2 || 16 - 17
|-
| มัธยมศึกษาปีที่ 6 || ประกาศนียบัตรวิชาชีพปี 3 || 17 - 18
|- style="background:silver;"
| colspan = 3 | [[อุดมศึกษา]]และเทียบเท่า
|-
!สายตรงทั่วไป
!สาย[[อนุปริญญา]]
!สายอาชีวศึกษา
|-
|บัณฑิตปี 1
|อนุปริญญาปี 1
|ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปี 1
|-
|บัณฑิตปี 2
|อนุปริญญาปี 2
|ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปี 2
|-
|บัณฑิตปี 3
| colspan="2" |ต่อเนื่องปี 1
|-
|บัณฑิตปี 4 - 6
| colspan="2" |ต่อเนื่องปี 2 - 4
|-
| colspan="3" | [[บัณฑิต]] (ปริญญาตรี)
|-
| colspan="3" |[[ปริญญาโท|มหาบัณฑิต]] (ปริญญาโท)
|-
| colspan="3" |[[ปริญญาเอก|ดุษฎีบัณฑิต]] (ปริญญาเอก)
|}
<nowiki>*</nowiki>หมายเหตุ&nbsp;: การเรียนในระดับอุดมศึกษาระดับบัณฑิต (ป.ตรี) แบ่งสายทางการศึกษาได้ 3 ประเภทดังตารางข้างต้น และเมื่อหลักสูตรใดกำหนดให้ต้องศึกษาระยะเวลาเท่าใดอยู่ที่กำหนดการของหลักสูตรนั้น และสถาบันอุดมศึกษานั้นที่เปิดสอน ผู้เรียนต้องศึกษารายละเอียดของหลักสูตรนั้นให้เข้าใจ สมมุติผู้เรียนต้องการศึกษาหลักสูตรบัณฑิต 4 ปี
 
1.ผู้เรียนสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ ศึกษาต่อบัณฑิต 4 ปีในสถานศึกษานั้นจนครบหลักสูตร ก็จะเป็นไปตามตารางสายตรงทั่วไป
 
2.ผู้เรียนสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ ศึกษาต่ออนุปริญญา เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาแล้ว ก็สามารถเทียบโอนผลการศึกษาเข้าศึกษาต่อหลักสูตรบัณฑิตในสถานศึกษาอื่น ๆ อีก 2 ปี ก็จะเป็นไปตามตารางสายอนุปริญญา หลักสูตรอนุปริญญานี้เปิดสอนที่ [[สถาบันวิทยาลัยชุมชน]]และสถานศึกษาอื่น ๆ ที่ให้อนุปริญญาได้
 
3.ผู้เรียนสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ ศึกษาต่ออาชีวศึกษา เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษาแล้วจะได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ก็สามารถเทียบโอนผลการศึกษาเข้าศึกษาต่อหลักสูตรบัณฑิตใสถานศึกษาอื่น ๆ อีก 2 ปี ก็จะเป็นไปตามตารางสายอาชีวศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงนี้เปิดสอนที่ สถาบันด้านอาชีวศึกษาหรือเรียกกันว่า "สายอาชีพ" ทั้งรัฐและเอกชน
 
=== ระดับการศึกษาในมัธยมศึกษา <ref>[http://www.onec.go.th/onec_web/page.php?mod=Category&categoryID=CNT0000145 นิยามทางการศึกษา]</ref>===
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นการจัดการศึกษาให้แก่ผู้เรียนอายุระหว่าง 12 ถึง 14 ปี ที่สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาแล้ว ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจัดการเรียนการสอน 3 ปี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นการจัดการศึกษาให้แก่ผู้เรียนอายุระหว่าง 15 ถึง 17 ปี ที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษ แล้วโดยจัดการเรียนการสอน 3 ปี โดยการเรียนการสอนมี 2 ประเภท แบ่งออกดังนี้
 
==== การศึกษาขั้นพื้นฐาน ====
* มัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 ใช้เวลาในการศึกษาตามหลักสูตรคือ 3 ปีโดยแบ่งการศึกษาออกเป็นกลุ่มสาระต่างๆ ตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียน<ref>[http://www.trueplookpanya.com/true/guidance_after_m3.php?cms_category_id=112 การศึกษาต่อสายสามัญ (ม.4-ม.6)]</ref>
; กลุ่มที่เน้นการเรียนรู้ด้าน วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์(วิทย์-คณิต)
; กลุ่มที่เน้นการเรียนรู้ด้าน ศิลปศาสตร์-คณิตศาสตร์ (ศิลป์-คำนวณ)
; กลุ่มที่เน้นการเรียนรู้ด้าน ศิลปศาสตร์-ภาษา (ศิลป์-ภาษา)
; กลุ่มที่เน้นการเรียนรู้ด้าน ศิลปศาสตร์-สังคม (ศิลป์-สังคม)
 
==== การศึกษาต่อสายอาชีวศึกษา ====
การศึกษาต่อสายอาชีวศึกษา เป็นการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 3 ปี โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีหน้าที่โดยตรงในการจัดการศึกษาวิชาชีพ เพื่อพัฒนากำลังคนเฉพาะสาขาวิชาชีพ (ระดับเทคนิค) ให้สอดคล้องกับตลาดแรงงาน สภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม สามารถเป็นผู้ปฏิบัติงานหัวหน้างานหรือเป็นผู้ประกอบการ และการประกอบอาชีพอิสระได้โดยเน้นการแก้ปัญหาสร้างองค์ความรู้ในอาชีพ มีบุคลิกภาพ คุณธรรมและเจตคติที่ดี หลังจากศึกษาจบแล้วสามารถศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) อีก 2 ปี หรืออาจจะศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี 4 ปีก็ได้เช่นกัน โดยเมื่อผู้เรียนจบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สามารถเลือกเรียนทางด้านสายอาชีพอาชีวศึกษาได้<ref>[http://www.trueplookpanya.com/true/guidance_after_m3.php?cms_category_id=114 การศึกษาต่อสายอาชีวศึกษา (ปวช.)]</ref>
 
=== หลักสูตรในสายอาชีวศึกษา ===
; 1. ประเภทวิชาอุตสาหกรรม
# สาขาวิชาเครื่องกล แบ่งออกเป็น สาขางานยานยนต์ เครื่องกลอุตสาหกรรม เครื่องกลเรือ เครื่องกลเกษตร ตัวถังและสีรถยนต์
# สาขาวิชาเครื่องมือกลและซ่อมบำรุง แบ่งออกเป็น สาขางานเครื่องมือกล ซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล เขียนแบบเครื่องกล ชิ้นส่วนเครื่องจักรกลเกษตร แม่พิมพ์พลาสติก แม่พิมพ์โลหะ
# สาขาวิชาโลหะการแบ่งออกเป็น สาขางานเชื่อมโลหะ อุตสาหกรรมต่อตัวถังรถโดยสาร
# สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็น สาขางานไฟฟ้ากำลัง อิเล็กทรอนิกส์ โทรคมนาคม เมคคาทรอนิกส์ เทคนิคคอมพิวเตอร์
# สาขาวิชาการก่อสร้างแบ่งออกเป็น สาขางานก่อสร้าง โยธา สถาปัตยกรรม เครื่องเรือนและการตกแต่งภายใน สำรวจ
# สาขาวิชาการพิมพ์ แบ่งออกเป็น สาขางานการพิมพ์
# สาขาวิชาแว่นตาและเลนส์ แบ่งออกเป็น สาขางานแว่นตาและเลนส์
# สาขาวิชาการต่อเรือ แบ่งออกเป็น สาขางานต่อเรือโลหะ ต่อเรือไม้ ต่อเรือไฟเบอร์กล๊าส นาวาสถาปัตย์ ซ่อมบำรุงเรือ
# สาขาวิชาผลิตภัณฑ์ยาง แบ่งออกเป็น สาขางานผลิตภัณฑ์ยาง
 
; 2. ประเภทวิชาพณิชยกรรม/บริหารธุรกิจ
# สาขาวิชาพณิชยการแบ่งออกเป็น สาขางานการบัญชี การขาย การเลขานุการ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจสถานพยาบาล การประชาสัมพันธ์ ภาษาต่างประเทศ งานสำนักงานสำหรับผู้พิการทางสายตา
# สาขาวิชาธุรกิจบริการ แบ่งออกเป็น สาขางานการจัดการความปลอดภัย การจัดการความสะอาด
 
; 3.ประเภทวิชาศิลปกรรม
# สาขาวิชาศิลปกรรมแบ่งออกเป็น สาขางาน วิจิตรศิลป์ การออกแบบ ศิลปหัตถกรรม อุตสาหกรรมเครื่องหนัง เครื่องเคลือบดินเผา เทคโนโลยีการถ่ายภาพฯ เครื่องประดับอัญมณี ช่างทองหลวง เทคโนโลยีศิลปกรรม การพิมพ์สกรีน คอมพิวเตอร์กราฟิก ศิลปหัตถกรรมโลหะ รูปพรรณและเครื่องประดับ ดนตรีสากล เทคโนโลยีนิเทศศิลป์ ช่างทันตกรรม
 
; 4. ประเภทวิชาคหกรรม
# สาขาวิชาผ้าและเครื่องแต่งกายแบ่งออกเป็น สาขางาน ผลิตและตกแต่งสิ่งทอ ออกแบบเสื้อผ้า ตัดเย็บเสื้อผ้า อุตสาหกรรมเสื้อผ้า ธุรกิจเสื้อผ้า
# สาขาวิชาอาหารและโภชนาการแบ่งออกเป็น สาขางาน อาหารและโภชนาการ แปรรูปอาหาร ธุรกิจอาหาร
# สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์แบ่งออกเป็น สาขางาน คหกรรมการผลิต คหกรรมการบริการ ธุรกิจคหกรรม คหกรรมเพื่อการโรงแรม
# สาขาวิชาเสริมสวยแบ่งออกเป็น สาขางาน เสริมสวย
 
;5. ประเภทวิชาเกษตรกรรม
# สาขาวิชาเกษตรศาสตร์แบ่งออกเป็น สาขางาน พืชศาสตร์ สัตวศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร ช่างเกษตร เกษตรทั่วไป การประมง
 
;6. ประเภทวิชาประมง
# สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ แบ่งออกเป็น สาขางาน เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
# สาขาวิชาแปรรูปสัตว์น้ำ แบ่งออกเป็น สาขางาน แปรรูปสัตว์น้ำ การผลิตซูริมิและผลิตภัณฑ์
# สาขาวิชาประมงทะเล แบ่งออกเป็น สาขางาน ประมงทะเล
 
; 7. ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
# สาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น สาขางาน การโรงแรม การท่องเที่ยว
 
; 8. ประเภทวิชาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
# สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งทอ แบ่งออกเป็น สาขางาน เทคโนโลยีสิ่งทอ
# สาขาวิชาเคมีสิ่งทอ แบ่งออกเป็น สาขางาน เคมีสิ่งทอ
# สาขาวิชาอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป แบ่งออกเป็น สาขางาน อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป
 
; 9. ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
# สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ แบ่งออกเป็น สาขางาน เทคโนโลยีสารสนเทศ
# สาขาวิชาเทคโนโลยีระบบเสียง แบ่งออกเป็น สาขางาน เทคโนโลยีระบบเสียง
 
; 10. หลักสูตรประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) 2551
# สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิชาเอก คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
# สาขาวิชาเครื่องกล วิชาเอก เทคนิคช่างยนต์
# สาขาวิชาเทคนิคการผลิต วิชาเอก เชื่อมและประสาน
# สาขาวิชาโยธา วิชาเอก เทคนิคโยธา
# สาขาวิชาไฟฟ้า วิชาเอก เทคนิคไฟฟ้ากำลัง
# สาขาวิชาไฟฟ้า วิชาเอก เทคนิคไฟฟ้าสื่อสาร
 
== เครื่องแบบนักเรียนนักศึกษา ==