ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
TPCheenmanee (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 68:
บจก.ไทยโทรทัศน์ เริ่มออกอากาศเป็นภาพสี 625 เส้น ในย่านความถี่[[วีเอชเอฟ]] ทางช่องสัญญาณที่ 9 ตั้งแต่ราวเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2513 โดยแพร่ภาพออกอากาศคู่ขนานกับช่องสัญญาณที่ 4 ในระบบภาพขาวดำ เป็นเวลาประมาณ 4 ปี<ref>หนังสือประวัติศาสตร์ อสมท 59 ปี สื่อไทย (หน้า 24) </ref> กระทั่งราวต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2517 จึงยุติการออกอากาศในระบบภาพขาวดำ 525 เส้น ทางช่องสัญญาณที่ 4 คงไว้เพียงระบบภาพสี มาจนถึงราวปี พ.ศ. 2519 โดยทางช่องสัญญาณที่ 9 อย่างสมบูรณ์ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "'''สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9'''" ({{lang-en|Thai Color Television Channel 9}}) พร้อมทั้งย้ายห้องส่งโทรทัศน์ รวมถึงที่ทำการทั้งหมด ไปยังอาคารพาณิชย์ขนาด 5 คูหา ย่านถนนพระสุเมรุ แขวงบางลำพู (ดังที่ผู้ชมทั่วไป มักเรียกว่า "'''ช่อง 9 บางลำพู'''" ในสมัยนั้น) เนื่องจาก[[ธนาคารแห่งประเทศไทย]] เสนอซื้อที่ดิน, อาคารที่ทำการ บจก.ไทยโทรทัศน์ และสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด ซึ่งอยู่ภายในบริเวณวังบางขุนพรหม {{อ้างอิง-เส้นใต้|ด้วยมูลค่า 39 ล้านบาท เพื่อแลกกับ[[บ้านมนังคศิลา]] ตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2502]]}}
 
==== สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ==== เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 คณะรัฐมนตรี ที่นำโดย[[ศาสตราจารย์]] (พิเศษ) [[ธานินทร์ กรัยวิเชียร]] นายกรัฐมนตรี มีมติให้ยุบเลิกกิจการ บจก.ไทยโทรทัศน์ ส่งผลให้การดำเนินงานของ'''สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9''' สิ้นสุดลงด้วย ต่อมาวันที่ [[26 มีนาคม]] พ.ศ. 2520 มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง "องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย" ({{lang-en|The Mass Communication Organisation of Thailand}} ชื่อย่อ: อ.ส.ม.ท.; M.C.O.T.) ให้เป็น[[รัฐวิสาหกิจไทย|รัฐวิสาหกิจ]] ในสังกัด[[สำนักนายกรัฐมนตรี]] โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อดำเนินกิจการสื่อสารมวลชนของรัฐ ให้มีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นที่เชื่อถือของสาธารณชน โดยรัฐบาลมอบทุนประเดิม 10 ล้านบาท และให้รับโอนกิจการสื่อสารมวลชนของ บจก.ไทยโทรทัศน์ คือ สถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. และ'''สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9''' เพื่อดำเนินกิจการต่อไป<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2520/A/024/1.PDF พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย], ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 94 ตอน 24 ก, 25 มีนาคม 2520, หน้า 1-17.</ref> ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2520 ซึ่งเป็นวันสถาปนา อ.ส.ม.ท.<ref name="mcot_profile"/> ส่งผลให้เปลี่ยนชื่อเป็น "'''สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท.'''" โดยอัตโนมัติ
 
[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด อาคารที่ทำการ อ.ส.ม.ท. บนเนื้อที่ 14 ไร่ ที่มีห้องส่งโทรทัศน์ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยขณะนั้น เมื่อเวลา 09:25 น. ของวันอาทิตย์ที่ [[28 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2524]]<ref>[http://www.ohmpps.go.th/documents/BR2524013/pdf/T0010_0010.pdf ข่าวพระราชกรณียกิจข่าวพระราชกรณียกิจ ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2523-กันยายน พ.ศ. 2524 บทที่ 10 หน้า 10] จากเว็บไซต์[[สำนักราชเลขาธิการ]]</ref> ต่อมาระหว่างปี [[พ.ศ. 2528]]-[[พ.ศ. 2532|2532]] [[ผู้ช่วยศาสตราจารย์]] [[ดอกเตอร์|ดร.]][[สมเกียรติ อ่อนวิมล]] อาจารย์ประจำ[[คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] และพิธีกรรายการ [[ความรู้คือประทีป]] ในขณะนั้น ตอบรับคำเชิญของ ผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท. ในขณะนั้น ให้เข้ามาช่วยปรับปรุงการนำเสนอข่าว 9 อ.ส.ม.ท. ร่วมกับ [[บริษัท แปซิฟิค คอร์ปอเรชัน จำกัด]] ส่งผลให้ผู้ประกาศข่าวคู่ ซึ่งมีชื่อเสียงที่สุด ของยุคนั้นก็คือ ดร.สมเกียรติ และ[[กรรณิกา ธรรมเกษร]] (ซึ่งทำหน้าที่ ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ส่วนวันเสาร์และวันอาทิตย์ ดร.สมเกียรติ ประกาศคู่กับ [[อรุณโรจน์ เลี่ยมทอง]])