ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนวัดนวลนรดิศ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 25:
== ประวัติโรงเรียน ==
 
[[พ.ศ. 2433]]
โรงเรียนวัดนวลนรดิศเปิดทำการสอนเมื่อวันที่ [[9 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2433]] ตรงกับวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ร.ศ.109 ปีแรกมีนักเรียน 9 คน ใช้ศาลาการเปรียญและกุฏิเป็นที่เรียน มีพระเดชพระคุณพระสาสนานุรักษ์อดีตเจ้าอาวาสวัดนวลนรดิศ เป็นผู้ทำการสอนและมีครูช่วยอีก 2 คน คือ ครูหวาดและครูแก้ว สาลิคุปต์
 
โรงเรียนวัดนวลนรดิศ เริ่มเปิดสอน เมื่อวันที่ [[9 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2433]] ปีแรกมีนักเรียน 9 คน ใช้ศาลาการเปรียญและกุฏิเป็นที่เรียน มีพระเดชพระคุณพระสาสนานุรักษ์อดีตเจ้าอาวาสวัดนวลนรดิศ เป็นผู้ทำสอนและมีครูช่วยสอนอีก 2 คน คือ ครูหวาดและครูแก้ว สาลิคุปต์ ใช้ศาลาการเปรียญและกุฏิวัดนวลนรดิศเป็นที่เรียนมี พระเดชพระคุณพระสาสนานุรักษ์ (ทิม รตนโชโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดนวลนรดิศเป็นผู้ควบคุม ตั้งแต่ปี 2433-2437
 
[[พ.ศ. 2437]]
 
หลวงสรรวิชาเพิ่ม (ผ่อง โกมลวิศ) ขณะดำรงสมณเพศเป็นฐานานุกรมที่พระสมุห์ ทำหน้าที่ครูใหญ่ ตั้งแต่ปี 2437-2454
 
จากศาลาการเปรียญได้ย้ายมาสอนที่ศาลาคณะล่าง (รื้อถอนแล้วเนื่องจากเสื่อมสภาพ) ซึ่งเป็นที่ดินของวัดนวลนรดิศ มีเนื้อที่ 4 ไร่ 1 งาน 67 ตารางวา ทำการสอนตั้งแต่ประโยค 1 ถึงประโยค 2 มีทั้งนักเรียนชายและนักเรียนหญิง
 
[[พ.ศ. 2457]]
 
[[17 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2457]] พระสอนถูกระบอบ (เรือง หิญชีระนันท์) มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ จนถึง [[18 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2462]]
 
เปิดสอน 3 ระดับชั้น คือ ชั้นมูล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา จำนวน 9 ห้องเรียน มีนักเรียน 320 คน ครู 12 คน
 
[[พ.ศ. 2462]]
 
[[16 เมษายน]] [[พ.ศ. 2462]] ขุนการุญสิกขพันธุ์ (บุนนาค พฤกษาชีวะ) มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ จนถึง [[30 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2479]]
 
เปิดชั้นเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาถึงชั้นมัธยมศึกษา (ป.1-ม.6) จำนวน 11 ห้องเรียน มีนักเรียน 320 คน ครู 12 คน
 
[[พ.ศ. 2479]]
 
ได้ขยายชั้นเรียนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 8 จำนวน 18 ห้องเรียน มีนักเรียน 372 คน ครู 24 คน มี นายเพี้ยน บัวแย้มเจริญ เป็นครูใหญ่
 
[[พ.ศ. 2482]]
 
ยุบชั้นเรียนประถมศึกษา และเปิดสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-8 จำนวน 18 ห้องเรียน มีนักเรียน 460 คน ครู 25 คน
 
[[พ.ศ. 2484]]
 
[[18 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2482]] ขุนปราศรัยจรรยา (สอน กัลปพันธุ์) มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่
 
เปิดสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-8
 
[[พ.ศ. 2488]]
 
[[11 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2488]] ขุนปราศรัยจรรยา (สอน กัลปพันธุ์) สิ้นสุดการดำรงตำแหน่งครูใหญ่
 
[[23 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2488]] นายโชค สุคันธวนิช มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่
 
ลดชั้นเรียนลงคงเปิดสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 15 ห้องเรียน มีนักเรียน 611 คน ครู 18 คน
 
[[พ.ศ. 2490]]
 
[[15 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2490]] นายสำเนียง ตีระวนิช มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
 
ขยายชั้นเรียนถึงขั้นเตรียมอุดมศึกษา แผนกวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ จำนวน 16 ห้องเรียน มีนักเรียน 462 คน ครู 24 คน
 
[[พ.ศ. 2496]]
 
[[26 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2496]] นายถวิล สุริยนต์ มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
 
[[พ.ศ. 2497]]
 
นายไพโรจน์ บุญศิริธรรม ได้มอบที่ดินจำนวน 72 ตารางวา มูลค่า 28,800 บาท ให้แก่โรงเรียน เพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่นางส้มจีน บุญศิริธรรม ผู้เป็นมารดา ที่ดินของโรงเรียน จึงเพิ่มเป็น 4 ไร่ 2 งาน 39 ตารางวา และได้ขยายชั้นเรียนภาคบ่ายขึ้น จึงมีจำนวนห้องเรียนทั้งหมดเป็น 19 ห้องเรียน มีนักเรียน 750 คน ครู 29 คน โดยมีนายถวิล สุริยนต์ เป็นอาจารย์ใหญ่
 
[[พ.ศ. 2501]]
 
ขยายชั้นเรียนภาคบ่ายเพิ่มเติมอีก จึงมีจำนวนห้องเรียนทั้งหมด 39 ห้องเรียน นักเรียน 1,574 คน ครู 50 คน
 
[[3 มกราคม]] [[พ.ศ. 2501]] นายถวิล สุริยนต์ สิ้นสุดการดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
 
[[พ.ศ. 2502]]
 
พระราชสังวรวิมล (แช่ม ธัมมานันโท) เจ้าอาวาสวัดนวลนรดิศในขณะนั้น ได้มอบที่ดินของวัดจำนวน 2 ไร่ 3 งาน เพื่อเป็นที่สร้างโรงเรียน (บริเวณ 2)
 
[[13 มกราคม]] [[พ.ศ. 2501]] นายเดช เดชกุญชร มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
 
[[พ.ศ. 2504]]
 
ลดชั้นเรียนภาคบ่ายลง แล้วยุบมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 คงเปิดสอนแต่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.ศ.1-3) และชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.ศ. 4-5) แผนกวิทยาศาสตร์และแผนกศิลปะ จำนวน 37 ห้องเรียน นักเรียน 1,307 คน ครู 76 คน
 
[[พ.ศ. 2505]]
 
กรมสามัญศึกษาได้ซื้อที่ดินเพิ่มเติมในบริเวณ 2 อีก 2 ไร่ เป็นเงิน 480,000 บาท (สี่แสนแปดหมื่นบาทถ้วน) ที่ดินบริเวณ 2 จึงเพิ่มขึ้นเป็น 4 ไร่ 3 งาน
 
[[พ.ศ. 2506]]
 
[[1 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2506]] นายเดช เดชกุญชร สิ้นสุดการดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
 
[[1 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2506]] นายทองสุก เกตุโรจน์ มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
 
[[พ.ศ. 2507]]
 
เปิดสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 และมัธยมศึกษาปีที่ 4-5 แผนกวิทยาศาสตร์และแผนกศิลปะ จำนวน 38 ห้องเรียน มีนักเรียน 1,520 คน ครู 67 คน
 
[[21 มกราคม]] [[พ.ศ. 2507]] นายทองสุก เกตุโรจน์ สิ้นสุดการดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
 
[[21 มกราคม]] [[พ.ศ. 2507]] นายทองหยิบ วิจิตรสุข มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
 
[[พ.ศ. 2509]]
 
สร้างอาคารโรงฝึกงานคอนกรีต 2 ชั้น วงเงิน 300,000 บาท (สามแสนบาทถ้วน) ที่บริเวณ 2 (ปัจจุบันรื้อแล้วจัดสร้างอาคารหอประชุม 100 ปีนวลนรดิศ) เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-5 แผนกวิทยาศาสตร์และแผนกศิลปะ จำนวน 38 ห้องเรียน มีนักเรียน 1,307 คน ครู 76 คน
 
[[พ.ศ. 2515]]
 
[[1 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2515]] นายทองหยิบ วิจิตรสุข สิ้นสุดการดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
 
[[12 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2515]] นายชาลี ถาวรานุรักษ์ มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
 
[[พ.ศ. 2516]]
 
เปิดสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-5 แผนกวิทยาศาสตร์และแผนกศิลปะ จำนวน 39 ห้องเรียน มีนักเรียน 1,730 คน ครู 67 คน
 
[[พ.ศ. 2517]]
 
เปิดสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-5 แผนกวิทยาศาสตร์และแผนกศิลปะ จำนวน 48 ห้องเรียน มีนักเรียน 2,000 คน ครู 85 คน (ในปีนี้ได้เพิ่มชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รอบบ่าย อีก 8 ห้องเรียน)
 
[[พ.ศ. 2518]]
 
[[1 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2518]] นายชาลี ถาวรานุรักษ์ สิ้นสุดการดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
 
[[1 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2518]] นายธีรพล วงศ์ธัญญากรณ์ มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
 
[[พ.ศ. 2519]]
 
ก่อสร้างอาคารเรียนแบบพิเศษ 4 ชั้น (อาคาร 3 ตึกอำนวยการ) ขึ้นในบริเวณ 2 งบประมาณ 3,920,000 บาท (สามล้านเก้าแสนสองหมื่นบาทถ้วน) แล้วเสร็จเมื่อวันที่ [[4 มกราคม]] [[พ.ศ. 2520]]
 
[[พ.ศ. 2521]]
 
ได้ใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น [[พ.ศ. 2521]] อีกจำนวน 10 ห้องเรียน มีนักเรียน 450 คน
 
[[พ.ศ. 2522]]
 
นายธีรพล วงศ์ธัญญากรณ์ สิ้นสุดการดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
 
[[29 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2522]] นายเทพ เที่ยงตรง มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
 
มีการก่อสร้างอาคารเรียนแบบพิเศษ 5 ชั้นในบริเวณ 1 งบประมาณ 4,615,950 บาท (แล้วเสร็จ เมื่อวันที่ [[18 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2524]])
 
[[พ.ศ. 2524]]
 
ได้ใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย [[พ.ศ. 2524]] เปิดสอนอีกจำนวน 6 ห้องเรียน
 
[[พ.ศ. 2525]]
 
[[20 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2525]] นายเทพ เที่ยงตรง สิ้นสุดการดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
 
[[28 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2525]] นายจรรยา มานิตกุล มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
 
[[พ.ศ. 2526]]
 
นางสาวเลื่อม พึ่งตน ได้มอบที่ดินบริเวณประตูทางเข้าบริเวณ 2 จำนวน 7 ตารางวา มูลค่า 26,250 บาท (สองหมื่นหกพันสองร้อยห้าสิบบาทถ้วน) ที่ดินบริเวณ 2 จึงเพิ่มขึ้นเป็น 4 ไร่ 3 งาน 7 ตารางวา
 
[[พ.ศ. 2527]]
 
สมาคมนักเรียนเก่านวลนรดิศ สมาคมผู้ปกครองและครูนวลนรดิศ และมูลนิธินวลนรดิศครบรอบ 80 ปี ได้ร่วมจัดหาเงิน 2,795,219 บาท (สองล้านเจ็ดแสนเก้าหมื่นห้าพันสองร้อยสิบเก้าบาทถ้วน) ร่วมสมทบทุนกับเงินงบประมาณของกรมสามัญศึกษาจำนวน 2,417,781 บาท (สองล้านสี่แสนหนึ่งหมื่นเจ็ดพันเจ็ดร้อยแปดสิบเอ็ดบาทถ้วน) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 5,213,000 บาท (ห้าล้านสองแสนหนึ่งหมื่นสามพันบาทถ้วน) ซื้อที่ดินจำนวน 4 ไร่ 4 ตารางวา (ติดกับบริเวณ 2 ปัจจุบันใช้เป็นสนามกีฬาของโรงเรียน) และได้ก่อสร้างต่อเติมอาคาร 5 ชั้น ในบริเวณ 1 เพื่อเป็นอาคารอเนกประสงค์ งบประมาณ 5,700,000 บาท (ห้าล้านเจ็ดแสนบาทถ้วน)
 
[[พ.ศ. 2528]]
 
ก่อสร้างอาคารแบบพิเศษ 5 ชั้น ในบริเวณ 2 งบประมาณ 5,700,000 บาท (ห้าล้านเจ็ดแสนบาทถ้วน) มีจำนวนห้องเรียนในอาคาร 28 ห้องเรียน โดยแบ่งสร้าง 16 ห้องเรียน งบประมาณในปี [[พ.ศ. 2528]] และอีก 12 ห้องเรียนงบประมาณในปี [[พ.ศ. 2529]]
 
[[พ.ศ. 2529]]
 
[[18 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2529]] นายจรรยา มานิตกุล สิ้นสุดการดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
 
[[25 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2529]] นายไพบูลย์ ฉิ่งทองคำ มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
 
[[พ.ศ. 2530]]
 
ก่อสร้างต่อเติมอาคารแบบพิเศษ 5 ชั้น ในบริเวณ 2 อีก 12 ห้องเรียน งบประมาณ 4,000,000 บาท (สี่ล้านบาทถ้วน)
 
[[พ.ศ. 2531]]
 
ได้งบประมาณจำนวน 180,000 บาท (หนึ่งแสนแปดหมื่นบาทถ้วน) ซื้อที่ดิน ขยายเนื้อที่บริเวณ 1 จึงมีที่ดินเพิ่มอีก 74.40 ตารางวา (3.20 x 93.00 เมตร) รวมเป็น 4 ไร่ 3 งาน 13.40 ตารางวา
 
[[29 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2531]] นายไพบูลย์ ฉิ่งทองคำ สิ้นสุดการดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
 
[[29 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2531]] นายสุชาติ ไชยมะโน มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
 
[[พ.ศ. 2533]]
 
โรงเรียนวัดนวลนรดิศ มีอายุครบ 100 ปี เมื่อวันที่ [[9 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2533]]
 
ได้งบประมาณจำนวน 4,000,000 บาท (สี่ล้านบาทถ้วน) กับที่โรงเรียนจัดหาสมทบอีก 500,000 บาท (ห้าแสนบาทถ้วน) รวมเป็นเงิน 4,500,000 บาท (สี่ล้านห้าแสนบาทถ้วน) สร้างอาคารหอประชุมโรงอาหาร (อาคาร 100 ปีนวลนรดิศ) เมื่อวันที่ [[9 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2533]]
 
[[5 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2533]] นายสุชาติ ไชยมะโน สิ้นสุดการดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
 
[[1 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2533]] นายเจริญ ทั่งทอง มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
 
[[พ.ศ. 2534]]
 
เริ่มใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น [[พ.ศ. 2521]] (ฉบับปรับปรุง [[พ.ศ. 2533]]) หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย [[พ.ศ. 2524]] (ฉบับปรับปรุง [[พ.ศ. 2533]]) มีห้องเรียนจำนวน 55 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 2,626 คน ครู-อาจารย์ 150 คน
 
ได้ปรับปรุงพื้นที่สนามบริเวณ 2 ต่อเติมโรงอาหารใหม่ สร้างห้องอาคารครู ห้องประชาสัมพันธ์ ห้องกิจกรรมสหกรณ์ ป้ายชื่อโรงเรียน เสาธงชาติ สำนักงานบริหารทุกฝ่าย บ้านพักนักการภารโรง อ่างล้างมือ ที่เก็บขยะ เตาเผาขยะ และห้องน้ำห้องส้วมนักเรียน
 
ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาดีเด่นประจำปี [[พ.ศ. 2534]] ของกรมสามัญศึกษา
 
ได้รับรางวัลบรรเลงเพลงไทยชนะเลิศ กับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 5 ในการประกวดวงโยธวาทิตนักเรียนนิสิตนักศึกษาชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย รางวัลถ้วยพระราชทานประจำปี [[พ.ศ. 2535]] ของกระทรวงศึกษาธิการ
 
[[พ.ศ. 2538]]
 
โรงเรียนวัดนวลนรดิศ ได้เริ่มเปิดรับนักเรียนเป็นแบบสหศึกษาเป็นปีแรกทั้งระดับ ม.1 และ ม.4
 
ได้จัดทอดผ้าป่าการศึกษาเพื่อนำเงินมาจัดสร้างหอประดิษฐานพระพุทธรูปประจำโรงเรียนขึ้นที่บริเวณ 2 ซึ่งได้เงินทำบุญในการทอดผ้าป่าครั้งนี้จำนวนกว่า 2 ล้านบาท
 
[[พ.ศ. 2539]]
 
โรงเรียนได้ดำเนินการวางศิลาฤกษ์หอประดิษฐานพระพุทธรูป และทำการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ พร้อมทั้งได้รับพระเมตตาจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ขนาดหน้าตักกว้าง 50 นิ้ว แล้วได้อัญเชิญมาประดิษฐาน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ [[9 มกราคม]] [[พ.ศ. 2540]]
 
ได้วางศิลาฤกษ์อาคารกาญจนาภิเษกเพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงครองราชสมบัติครบปีที่ 50 และดำเนินการก่อสร้าง แต่ยังไม่แล้วเสร็จเนื่องจากยังขาดเงินอีก พร้อมกันนี้ได้ปรับปรุงหอประชุม 100 ปีนวลนรดิศ เป็นห้องปรับอากาศ จัดสร้างกันสาดด้านหน้าอาคาร 3 และอาคาร 4 จัดสร้างห้องน้ำ ห้องส้วม และปรับปรุงสนามบริเวณ 1
 
[[พ.ศ. 2540]]
 
โรงเรียนได้งบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน 6 ชั้น ที่บริเวณ 1 และได้สร้างอาคารเรียนชั่วคราว เพื่อใช้เป็นห้องเรียนอีก 3 ห้อง
 
ได้ดำเนินการให้ขยายและปรับปรุงห้องสมุดให้เต็มพื้นที่ชั้นล่างอาคาร 4 เพื่อให้บริการนักเรียนและครูอาจารย์ได้อย่างเต็มที่และให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก
 
ได้ปรับปรุง และติดตั้งเครื่องปรับอากาศให้ห้องพักครูอาจารย์ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
 
[[30 กันยายน]] [[พ.ศ. 2540]] นายเจริญ ทั่งทอง ผู้อำนวยการโรงเรียนเกษียณอายุราชการ
 
[[17 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2540]] นายประเสริฐ อหิงสโก มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
 
[[พ.ศ. 2541]]
 
อาคารเรียน 6 ชั้น ได้ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อย และจัดแบ่งให้บริเวณ 1 เป็นที่เรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น บริเวณ 2 เป็นที่เรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
 
ย้ายเสาธงชาติไว้หน้าอาคารหอประชุม 100 ปีนวลนรดิศ เพื่อไม่ให้แสงแดดส่องตานักเรียนขณะทำกิจกรรมหน้าเสาธงในตอนเช้า
 
ปรับปรุงสนามบริเวณ 2 ระหว่างอาคาร 3 และอาคาร 4 ให้เป็นสนามคอนกรีตโล่ง
 
ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษกของโรงเรียนวัดนวลนรดิศได้รับโล่รางวัลชนะเลิศให้เป็นห้องสมุดดีเด่นขนาดใหญ่พิเศษ ของกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
 
ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วม "โครงการห้องเรียนสีเขียว" ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตและกรมสามัญศึกษา
 
ได้รับมอบหมายให้เป็นโรงเรียนประธานสหวิทยาเขต "ปากน้ำ-ภาษีเจริญ"
 
[[พ.ศ. 2542]]
 
ปรับปรุงสนามบริเวณ 1 เป็นลานอเนกประสงค์ ด้วยงบประมาณจำนวน 500,000 บาท (ห้าแสนบาทถ้วน) จัดสร้างห้องคอมพิวเตอร์จำนวน 2 ห้อง สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นเรียนที่บริเวณ 1 จำนวน 1 ห้องเรียน และสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายเรียนที่บริเวณ 2 จำนวน 1 ห้อง โดยเสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 1,600,000 (หนึ่งล้านหกแสนบาทถ้วน)
 
อาคารกาญจนาภิเษก ซึ่งดำเนินการก่อสร้างมาตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2539]] นั้นก็ได้สร้างแล้วเสร็จ
 
โรงเรียนวัดนวลนรดิศ ได้รับเลือกให้เป็นโรงเรียนประธานกลุ่ม โรงเรียนกรมสามัญศึกษาส่วนกลาง กลุ่มที่ 8 ในปี [[พ.ศ. 2542]] ด้วยเช่นเดียวกัน
 
== อาคารสถานที่ ==