ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สางห่า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 38:
สางห่าจะมีพฤติกรรมการหลบหนีศัตรูเอาตัวรอดด้วยการสลัดหางทิ้ง เป็นพฤติกรรมหนึ่งของการเอาตัวรอดด้วยการดัดแปลงส่วนบริเวณโคนหาง ให้สามารถหลุดขาดออกจากลำตัวได้อย่างง่ายดาย โดยที่กระดูกปลายหางตอนกลางจะมีร่องตามขวาง เมื่อถูกศัตรูจับหรือตะปบได้ รอยต่อตรงร่องกระดูกจะขาดออกแล้วสลัดหางทิ้งเพื่อเป็นการดึงดูดความสนใจก่อนจะหลบหนีไป หลังจากนั้นร่างกายจะสร้างกระดูกบริเวณส่วนหางและกล้ามเนื้อขึ้นมาแทนใหม่อีกครั้ง อีกทั้งความสำเร็จในการเอาตัวรอดของสัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่า เกิดจากการวิวัฒนาการขากรรไกร ทำให้เกิดความคล่องตัวและการเคลื่อนไหวไปมาอีกด้วย
 
== ความเชื่อ ==
สางห่า เป็นสัตว์ที่[[ชาวไทย]]ที่[[ภาคอีสาน]]มี[[ความเชื่อ]]ว่ามี[[พิษ]]ร้ายแรง อาศัยอยู่ตาม[[กุมภลักษณ์|แอ่งน้ำ]]หรือแอ่งน้ำใน[[ถ้ำ]] บ้างว่ามีพิษอยู่ที่เขี้ยว บ้างว่ามีพิษอยู่ที่เล็บ หรือมีพิษอยู่ที่หางที่ยาว จนเชื่อกันว่า หากใครถูกหางของสางห่าฟาดเข้าแล้วจะเกิดเป็นรอยแผลไหม้จนถึงแก่ความ[[ตาย]]ได้ หรือถูก[[หวาย]] หวายก็ไหม้ ขณะที่ทางแถบ[[ภาคกลาง]]เชื่อว่า สางห่าเป็น[[งู]]ขนาดเล็กชนิดหนึ่งที่มีขา อาศัยอยู่ตามยอดหญ้า พอหญ้าเหี่ยวเฉา ก็จะย้ายไปหาหญ้าใหม่ ขณะที่บางท้องที่เชื่อว่า สางห่าเป็น[[คางคก]]ป่าชนิดหนึ่ง และมีเสียงร้องคล้ายเสียง[[สุนัข ]]เห่า<ref>[http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=682 สางห่า มีอันตรายร้ายกาจจริงหรือ ? จาก[[ราชบัณฑิตยสถาน]]]</ref> แต่ความจริงแล้ว สางห่าไม่มีพิษ และไม่มีภัยอะไรต่อมนุษย์เลย ซึ่งจากความเชื่อนี้ ทำให้สางห่าได้ถูกอ้างอิงถึงใน[[วรรณกรรม]]เรื่อง "[[เพชรพระอุมา]]" ของ[[พนมเทียน]] เป็น[[สัตว์ประหลาด]]หรือธิดาของ[[พญานาค]]<ref>[http://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=122788951130362&id=184680031574029 เพชรพระอุมา]</ref>
 
นอกจากนี้แล้ว สางห่ายังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "งูคา", "กิ้งก่าน้อยหางยาว"<ref>[http://dict.longdo.com/search/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%B2 สางห่า ตาม[[พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542]]]</ref> <ref>[http://www.tistr.or.th/sakaerat/Flora_Fauna/reptile/REPTILE1/%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A7.pdf กิ้งก่าน้อยหางยาว จิ้งเหลนน้อยหางยาว งูคา สางห่า]</ref> หรือ"กระห่าง"<ref>''เจอ"กระห่าง"สัตว์หายากในป่าลึก'' หน้า 18, [[เดลินิวส์]]ฉบับที่ 23,035: วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 แรม 7 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง</ref>
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/สางห่า"