ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศไทยในสงครามโลกครั้งที่สอง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Shoshui (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ย้อนไปยังรุ่นของ Setawut
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
'''[[สงครามโลกครั้งที่สอง]]ใน[[ประเทศไทย]]'''
 
==รัฐนิยม==
{{โครง-ส่วน}}
หลัง[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475]] ในช่วงรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] [[คณะราษฎร]]เข้ามามีบทบาทสูงในการนำสังคม จอมพล [[ป. พิบูลสงคราม]] ผู้นำคนหนึ่งของคณะราษฎร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 2481 ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองไม่กี่ปี ในยุคนี้ มีการปรับปรุงประเทศในด้านต่าง ๆ ให้ทันสมัย รัฐบาลออก "[[รัฐนิยม]]" ซึ่งแสดงนโยบายของประเทศว่าต้องการให้ประชาชนคนไทยรักหวงแหนและภูมิใจในความเป็นไทย เช่น ให้ข้าราชการแต่งเครื่องแบบตามที่กำหนด ห้ามสวมกางเกงแพร ให้ทักทายกันด้วยคำว่า “ สวัสดี “ ห้ามกินหมาก ให้สวมหมวกทุกครั้งที่ออกจากบ้าน ใช้คำขวัญปลุกใจทุกเช้าก่อนเรียน การยกเลิกบรรดาศักดิ์โดยให้ใช้เพียงชื่อ สกุล เหมือนคนทั่วไป การเคารพธงชาติ ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีการปลุกระดมความรู้สึกชาตินิยมอย่างรุนแรงด้วย
==ภูมิหลัง==
{{multiple image
| align = right
| direction = horizontal
| header =
| header_align = left/right/center
| footer =
| footer_align = left
| image1 = Field Marshal Plaek Phibunsongkhram.jpg
| width1 = 145
| caption1 = [[จอมพล ป. พิบูลสงคราม]]
| image2 = Phraya Sonsuradet.jpg
| width2 = 130
| caption2 = [[พระยาทรงสุรเดช]]
}}
 
หลัง[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475]] ในช่วงรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] [[คณะราษฎร]]เข้ามามีบทบาทสูงในการนำสังคม
 
สภาพสังคมหลัง[[การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475]] ทำให้สังคมไทยเป็นสังคมประชาธิปไตย ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญ คือ ประชาชนขึ้นมาเป็นเจ้าของประเทศและมีบทบาทในการปกครองประเทศด้วยกระบวนการกฎหมายรัฐธรรมนูญ ชนชั้นกลาง พวกพ่อค้า ปัญญาชน ขึ้นมามีบทบาทในสังคมแต่ผู้กุมอำนาจยังคงได้แก่ทหารและข้าราชการ นายทุนเติบโตจากการค้าและอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วพร้อมทั้งมีอิทธิพลและบทบาทจนได้เปรียบในสังคม
เกิดช่องว่างในสังคมทำให้ชาวไร่ ชาวนา และกรรมกรมีฐานะและชีวิตอยู่กับความยากจนและถูกเอารัดเอาเปรียบจากสังคม{{อ้างอิง}}
 
จอมพล [[ป. พิบูลสงคราม]] ผู้นำคนหนึ่งของคณะราษฎร ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นหลังจากเข้าร่วมการปราบปราม[[กบฎบวรเดช]] และได้รวบอำนาจเข้าสู่ตัวเองมากขึ้น จอมพล ป. มองว่า พระยาทรงสุรเดชเป็นคู่แข่งของตน ความขัดแย้งระหว่างตัวของจอมพล ป. กับ[[พระยาทรงสุรเดช]] นำไปสู่เหตุการณ์[[กบฏพระยาทรงสุรเดช]] ทำให้พระยาทรงสุรเดชต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ จอมพล ป. เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2481
 
==ลัทธิชาตินิยมและรัฐนิยม==
ฝ่ายทหาร ซึ่งขณะนี้นำโดยพลตรีหลวงพิบูลสงครามเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และพลเรือนเสรีนิยม นำโดยปรีดีเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทำงานรวมกันอย่างสมานฉันท์เป็นเวลาหลายปี แต่เมื่อหลวงพิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2481 ความร่วมมือนี้กลับพังลง และการครอบงำของทหารกลายมาเด่นชัดขึ้น หลวงพิบูลสงครามเป็นผู้เลื่อมใส[[เบนิโต มุสโสลินี]] และรัฐบาลของเขาเริ่มมีลักษณะ[[ฟาสซิสต์]]บางประการ ต้น พ.ศ. 2482 คู่แข่งทางการเมือง 40 คน ทั้งนิยมพระมหากษัตริย์และนิยมประชาธิปไตย ถูกจับกุม และหลังจากการพิจารณาคดีที่เป็นแผนหลอกลวง 18 คนถูกประหารชีวิต นับเป็นการประหารชีวิตทางการเมืองครั้งแรกในสยามในรอบกว่าศตวรรษ [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ|สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] และพระยาทรงสุรเดช ต่างเสด็จลี้ภัย หลวงพิบูลสงครามเริ่มการรณรงค์ซึ่งเป็นการปลุกปั่นต่อชนชั้นธุรกิจชาวจีน โรงเรียนและหนังสือพิมพ์จีนถูกปิด และมีการเพิ่มภาษีต่อธุรกิจจีน
 
จอมพล ป. พิบูลสงครามและ[[หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ)]] โฆษกด้านอุดมการณ์ของรัฐบาล ลอกเทคนิค[[การโฆษณาชวนเชื่อ]]ที่[[ฮิตเลอร์]]และมุสโสลินีใช้เพื่อสร้างลัทธิผู้นำ ด้วยตระหนักถึงพลังของสื่อมวลชน ทั้งสองจึงใช้การผูกขาดการแพร่สัญญาณวิทยุของรัฐบาลเพื่อให้ประชาชนสนับสนุนรัฐบาล คำขวัญของรัฐบาลซึ่งเป็นที่นิยมมีการออกอากาศอย่างต่อเนื่องทางวิทยุและมีการปิดประกาศทางหนังสือพิมพ์และป้ายโฆษณา ภาพของหลวงพิบูลสงครามสามารถพบเห็นได้ทุกหนแห่งในสังคม ขณะที่พระบรมฉายาลักษณ์ของอดีตพระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงวิจารณ์ระบอบเผด็จการ ถูกห้าม ในขณะเดียวกัน เขาผ่านกฎหมายเผด็จการออกมาจำนวนหนึ่งซึ่งให้อำนาจแก่รัฐบาลแทบไร้ข้อจำกัดในการจับและตรวจพิจารณาสื่ออย่างสมบูรณ์ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง หนังสือพิมพ์ได้รับคำสั่งให้พิมพ์แต่ข่าวดีที่ส่งมาจากแหล่งข่าวฝ่ายอักษะ ขณะที่ความคิดเห็นเสียดสีเกี่ยวกับสถานการณ์ภายในประเทศถูกห้าม
 
[[Image:Thai culture poster.PNG|thumb|250px|right|ป้ายประกาศนโยบายรัฐนิยมในเรื่องการแต่งกาย]]
ในวันที่ เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2482 จอมพล ป. พิบูลสงครามได้เปลี่ยนชื่อประเทศจาก '''สยาม''' มาเป็น '''ไทย'''<ref name="ThaiCSM">[http://www.csmngt.com/thailand_history.htm Thailand (Siam) History], CSMngt-Thai.</ref> หมายถึง "ดินแดนของเสรีชน" (land of the free) ซึ่งนับเป็นท่าทีชาตินิยม เป็นการแสดงนัยเอกภาพของประชาชนที่พูด[[ภาษาไท]]ทั้งหมด รวมทั้ง[[ภาษาลาว]]และ[[ภาษาฉาน]] แต่ไม่รวมภาษาจีน คำขวัญของรัฐบาลได้เปลี่ยนเป็น "ประเทศไทยสำหรับคนไทย" (Thailand for the Thai) อีกทั้งจอมพล ป. ได้ประกาศนโยบาย '''มหาอาณาจักรไทย''' โดยเป็นนโยบายขยายดินแดนของไทย มีแนวความคิดจะรวม ประเทศลาว กัมพูชา รัฐฉาน ในพม่า มณฑลยูนนาน และ เวียดนาม เข้าเป็นส่วนหนึ่งของไทย
 
การทำให้ทันสมัยยังเป็นอีกแก่นหนึ่งที่สำคัญในชาตินิยมไทยใหม่ของหลวงพิบูลสงคราม ตั้งแต่ พ.ศ. 2482 ถึง 2485 เขาออกประกาศ[[รัฐนิยม]] 12 ฉบับ นอกเหนือจากการกำหนดให้คนไทยทุกคนเคารพ[[ธงชาติ]] รู้จัก[[เพลงชาติ]] และพูด[[ภาษาไทย]]สำเนียงภาคกลางแล้ว รัฐนิยมดังกล่าวยังกระตุ้นให้คนไทยทำงานหนัก ติดตามข่าวสารปัจจุบัน และแต่งกายแบบตะวันตก ห้ามผู้ชาย นุ่ง[[โสร่ง]] โจงกระเบน ผู้หญิงเลิกนุ่ง[[ผ้าซิ่น]] [[สไบ]] รัฐบาลได้ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารมาตรวจตราตามสถานที่ต่างๆ และเอากรรไกรมาตัดโจงกระเบนสำหรับผู้ที่ขัดขืนทิ้ง อีกทั้งจะมีคำสั่งห้ามกิน[[หมาก]] โดยให้เจ้าหน้าที่ไปตัดทำลายต้นหมากและจุดไฟเผาสวนหมากเสีย ด้านการดนตรีได้มีคำสั่งให้นัก[[ดนตรีไทย]]ห้ามนั่งเล่นดนตรี ต้องยืนเล่น และต้องมีใบอนุญาติเล่นดนตรีไทย หากขัดขืนก็ให้จะถูกยึดเครื่องดนตรี
 
จนถึง พ.ศ. 2484 การเยาะเย้ยผู้พยายามส่งเสริมจารีตประเพณีไทยเป็นการผิดกฎหมาย โครงการดังกล่าวยังครอบคลุมถึงวิจิตรศิลป์ด้วย การแสดงและภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาชาตินิยมอย่างดุเดือดได้รับการอุปถัมภ์จากรัฐบาล บ่อยครั้งที่การแสดงและภาพยนตร์ประเภทนี้จะแสดงอดีตอันเกรียงไกรเมื่อนักรบไทยต่อสู้เพื่อให้ประเทศมีเสรีภาพอย่างไม่หวาดกลัว ปกป้องเกียรติหรือสละชีพตน ความรักชาติมีสอนในโรงเรียนและเป็นแก่นไม่รู้จบในเพลงและการเต้นรำต่าง ๆ
 
==ลัทธิชาตินิยมและรัฐนิยมขยายตัว==
ในขณะเดียวกัน หลวงพิบูลสงครามพยายามอย่างแข็งขันเพื่อขจัดอิทธิพลของผู้สนับสนุนพระมหากษัตริย์จากสังคม วันหยุดเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ (royal holiday) แต่โบราณ ถูกแทนที่ด้วยเหตุการณ์แห่งชาติใหม่ และมีการยกเลิก[[บรรดาศักดิ์ไทย]]ของชนชั้นสูง แม้แต่สถาบันสงฆ์ก็ยังได้รับผลกระทบเมื่อสถานภาพ[[ธรรมยุตินิกาย]]ที่ได้รับการอุปถัมภ์จากพระมหากษัตริย์ถูกลดระดับลง
{{โครง-ส่วน}}
 
ขณะเดียวกัน โรงภาพยนตร์ทุกแห่งได้รับคำสั่งให้แสดงภาพของเขาในตอนจบการแสดงทุกครั้งราวกับเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ และผู้ชมถูกคาดหวังว่าจะลุกขึ้นยืนและโค้งคำนับ [[ลัทธิบูชาบุคคล]]ที่กำลังเติบโตขึ้นของหลวงพิบูลสงครามอีกด้านหนึ่ง คือ การกลายมาปรากฏชัดในการตกแต่งอย่างเป็นทางการ เขาเกิดในปีระกา และสัญลักษณ์นี้เริ่มใช้แทนกงล้อ คล้ายกับการที่สีเขียว (สีประจำวันพุธอันเป็นวันเกิดของเขา) ก็ถูกใช้ในการตกแต่งเช่นกัน
==กรณีพิพาทอินโดจีน==
{{บทความหลัก|กรณีพิพาทอินโดจีน}}
เส้น 50 ⟶ 22:
ด้าน[[กองทัพอากาศไทย]] เครื่องบินรบของไทยและฝรั่งเศสได้ปะทะกันในภาคตะวันออก การต่อสู้ที่ได้รับการกล่าวขานอย่างที่สุด คือ ในวันที่ 10 ธันวาคม เรืออากาศโท [[ศานิต นวลมณี]] ได้นำเครื่องขับไล่แบบคอร์แซร์เข้าโจมตีทิ้งระเบิดเมืองเวียงจันทน์ในระยะต่ำ เครื่องบินของเรืออากาศโทศานิตได้ถูกกระสุนปืนต่อสู้อากาศของฝ่ายฝรั่งเศส ทำให้เกิดไฟลุกท่วมเครื่องบิน นักบินพลปืนหลังได้เสียชีวิตทันทีเนื่องจากถูกกระสุน เรืออากากาศโทศานิตได้กระโดดร่มลงในฝั่งไทย แต่ได้รับบาดเจ็บสาหัสเนื่องจากถูกไฟคลอกและกระสุนทะลุหัวเข่า ถูกส่งเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลที่กรุงเทพมหานคร และได้เสียชีวิตในเวลาต่อมา{{อ้างอิง}}
 
การต่อสู้ยังคงดำเนินไปถึงปลายเดือนมกราคม 2484 ไม่มีทีท่าว่าจะสงบ ทางญี่ปุ่นแสดงเจตจำนงเข้ามาไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง เหตุการณ์ได้จบลงโดยที่ฝรั่งเศสได้มอบดินแดนบางส่วนคืนให้แก่ไทย ฝ่ายไทยจึงจัดการปกครองเป็น 4 จังหวัด คือ [[จังหวัดพิบูลสงคราม]] [[จังหวัดพระตะบอง]] [[จังหวัดนครจัมปาศักดิ์]] และ[[จังหวัดลานช้าง]] หลังสงคราม มีการสร้าง[[อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ]]ขึ้นเป็นที่ระลึกถึงเหตุการณ์ครั้งนี้
 
หลังสงคราม มีการสร้าง[[อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ]]ขึ้นเป็นที่ระลึกถึงเหตุการณ์ครั้งนี้
 
==เริ่มสงคราม==
{{บทความหลัก|การบุกครองไทยของญี่ปุ่น}}
[[ไฟล์:Yuwacho Tahan-Battle of Tha Nang Sang.jpg|thumb|ภาพจำลองเหตุการณ์การรบของ[[ยุวชนทหาร]]ที่เชิง[[สะพานท่านางสังข์]] [[จังหวัดชุมพร]]]]
หลังการเข้ามามีบทบาทของญี่ปุ่นในเหตุการณ์นี้ เป็นที่คาดหมายว่า ญี่ปุ่นจะยาตราทัพเข้าสู่ประเทศไทยแน่ในอนาคต<ref name="Reynolds-1994"/><ref>Charivat Santaputra (1985) ''Thai Foreign Policy 1932–1946''. Thammasat University Press. ISBN 974-335-091-8</ref><ref name="Stowe-1991">Judith A. Stowe. (1991) ''Siam becomes Thailand: A Story of Intrigue''. University of Hawaii Press. ISBN 0-8248-1393-6</ref>{{อ้างอิง}} ขณะเดียวกัน จอมพล ป. ประกาศให้ประเทศไทยเป็นกลาง{{อ้างอิง}} และได้รณรงค์ให้ประชาชนปลูก[[ผักสวนครัว]] เลี้ยงสัตว์ และการเสริมสร้างเศรษฐกิจระดับต้น ๆ อย่างเข้มแข็ง เพื่อรองรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น เช่นการออกพระราชบัญญัติสงวนอาชีพบางประเภท ที่ส่วนมากเป็นงานฝีมือ เฉพาะแก่คนไทย เป็นต้น{{อ้างอิง}}
 
หลังการเข้ามามีบทบาทของญี่ปุ่นในเหตุการณ์นี้ เป็นที่คาดหมายว่า ญี่ปุ่นจะยาตราทัพเข้าสู่ประเทศไทยแน่ในอนาคต<ref name="Reynolds-1994"/><ref>Charivat Santaputra (1985) ''Thai Foreign Policy 1932–1946''. Thammasat University Press. ISBN 974-335-091-8</ref><ref name="Stowe-1991">Judith A. Stowe. (1991) ''Siam becomes Thailand: A Story of Intrigue''. University of Hawaii Press. ISBN 0-8248-1393-6</ref> ขณะเดียวกัน จอมพล ป. ประกาศให้ประเทศไทยเป็นกลาง{{อ้างอิง}} และได้รณรงค์ให้ประชาชนปลูก[[ผักสวนครัว]] เลี้ยงสัตว์ และการเสริมสร้างเศรษฐกิจระดับต้น ๆ อย่างเข้มแข็ง เพื่อรองรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น เช่นการออกพระราชบัญญัติสงวนอาชีพบางประเภท ที่ส่วนมากเป็นงานฝีมือ เฉพาะแก่คนไทย เป็นต้น{{อ้างอิง}}
 
ทูตทหารบกของกลุ่มประเทศตะวันตกประจำกรุงเทพมหานครแจ้งต่อ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ให้เร่งรัดปรับปรุงกองทัพ เพื่อรับมือกับสถานการณ์สงครามขนาดใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กับทั้งมีความเห็นว่าควรหลีกเลี่ยงการสู้รบกับกองทัพญี่ปุ่น เพราะจะทำให้เกิดความสูญเสียอย่างหนัก และประเทศไทยจะหวังพึ่งชาติอื่นไม่ได้เลย ก่อนกองทัพญี่ปุ่นจะบุกเอเชียอาคเนย์ 2 เดือน บรรดาทูตทหารตะวันตกประจำประเทศไทยได้แจ้งให้ทราบเป็นการลับเฉพาะว่า ญี่ปุ่นจะบุกอินโดจีนผ่านประเทศไทยทางด้านอรัญประเทศ เพื่อมุ่งไปโจมตีพม่า และจะมีกำลังหนึ่งกองพลตรึงอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ส่วนอีกสี่กองทัพใหญ่จะกระจายขึ้นตามฝั่งทะเลภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ไปถึงโกตาบารู ซึ่งเป็นแผนการที่แน่นอน{{อ้างอิง}}
เส้น 67 ⟶ 36:
ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ตั้งแต่เวลาประมาณ 02.00 น. กองทัพญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่[[จังหวัดประจวบคีรีขันธ์]] [[ชุมพร]] [[นครศรีธรรมราช]] [[สงขลา]] [[สุราษฎร์ธานี]] [[ปัตตานี]]และ[[บางปู]] [[สมุทรปราการ]] และบุกเข้าประเทศไทยทางบกที่[[อรัญประเทศ]] กองทัพญี่ปุ่นสามารถขึ้นบกได้โดยไม่ได้รับการต่อต้านที่บางปู ส่วนทางภาคใต้และทางอรัญประเทศมีการต่อสู้ต้านทานอย่างหนักของทหารไทย ประชาชนทั่วไปและอาสาสมัครที่เป็นเยาวชน ที่เรียกว่า [[ยุวชนทหาร]] ในบางจังหวัด เช่นการรบที่สะพานท่านางสังข์ จังหวัด[[ชุมพร]] กล่าวคือ กลุ่มยุวชนทหารและกองกำลังผสมทหารตำรวจซึ่งกำลังจะต่อสู้ปะทะกันอยู่ที่สะพานท่านางสังข์ โดยที่กลุ่มยุวชนทหารนั้นมีผู้บังคับการคือ[[ร้อยเอกถวิล นิยมเสน]] ในระหว่างการสู้รบร้อยเอกถวิลนำกำลังยุวชนทหารออกมาปะทะกองทหารญี่ปุ่น แม้ร้อยเอกถวิลจะถูกทหารญี่ปุ่นยิงเสียชีวิต แต่ยุวชนทหารยังคงสู้ต่อไปจนกระทั่งรัฐบาลสั่งหยุดยิง เมื่อเวลา 11.00 น. โดยประมาณ เมื่อรัฐบาลญี่ปุ่นทราบว่ากลุ่มยุวชนทหารหลายคนเป็นเพียงนักเรียน[[มัธยมศึกษา]] จึงส่งหนังสือเชิดชูความกล้าหาญมายัง[[กระทรวงกลาโหม]] และร้อยเอกถวิล นิยมเสน ได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นพันโท ส่วนการเชิดชูเกียรติของยุวชนทหารผู้เสียชีวิตและผู้ร่วมต่อสู้ในครั้งนั้น มีอนุสาวรีย์อยู่ที่ริมสะพานท่านางสังข์ เป็นรูปยุวชนทหารพร้อมกับอาวุธปืนยาวติด[[ดาบปลายปืน]] ในท่าเฉียงอาวุธ ยืนอยู่บนแท่น สร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2524{{อ้างอิง}}
 
ซึ่งในระยะแรกกองทัพญี่ปุ่นยังไม่อาจบุกเข้ามาได้ ทางญี่ปุ่นเองได้ประกาศว่า ไม่ต้องการยึดครองประเทศไทยแต่จะขอใช้ไทยเป็นทางผ่านไปยัง[[พม่า]]และ[[อินเดีย]] เท่านั้น การต่อสู้ทำท่าว่าจะยืดเยื้อต่อไป จนกระทั่งอัครราชทูตญี่ปุ่นเดินทางมาพบนายกรัฐมนตรีเมื่อเวลาประมาณ 07.55 น. พร้อมกับคำขู่ว่า ญี่ปุ่นได้เตรียมเครื่องบินทิ้งระเบิดไว้ 250 ลำที่[[ไซ่ง่อน]] เพื่อจะมาทิ้งระเบิดกรุงเทพมหานคร ถ้าไทยไม่ยอมให้ผ่าน มีกำหนดเวลา 10.30 น. <ref>พีระพงศ์ ดามาพงศ์, ท่องอดีตกับสามเกลอ เล่ม 5, 2550 ISBN 978-974-7297-29-0</ref> รัฐบาลไทยเห็นว่า ไม่อาจต้านทานกองกำลังญี่ปุ่นได้นาน จึงยอมยุติการต่อสู้ และประกาศทางวิทยุให้ทุกฝ่ายหยุดยิง เมื่อเวลา 10.00 น. ในวันที่ 11 ธันวาคม และในวันที่ 17 ธันวาคม รัฐบาลไทยโดยจอมพล.ป ได้รับคำปรึกษาจากทูตทหารเยอรมันให้ร่วมมือเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นเนื่องจากสถานการณ์ทางการรบของญี่ปุ่นกำลังเป็นฝ่ายได้เปรียบ จนในที่สุดในอีก 4 วันต่อมา รัฐบาลไทยได้ทำพิธีลงนามร่วมเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นในวันที่ 21 ธันวาคม ที่พระอุโบสถ[[วัดพระศรีรัตนศาสดาราม]] และในวันที่ 25 มกราคม สถานการณ์ผลจากสงครามทวีความรุนแรงขึ้นอัครราชทูตญี่ปุ่นได้ชักชวนรัฐบาลไทยให้ร่วมลงนามเป็นพันธมิตรทางการทหารกับ[[ฝ่ายอักษะ]]ย่างเต็มตัวโดยมีการลงนามโดยผ่านสถานทูตญี่ปุ่นและเยอรมันประจำกรุงเทพมหาครและได้ยกเลิกความสัมพันธ์กับประเทศกลุ่มฝ่ายสัมพันธมิตรทั้งหมด<ref name="Reynolds-1994">E. Bruce Reynolds. (1994) ''Thailand and Japan's Southern Advance 1940–1945''. St. Martin's Press ISBN 0-312-10402-2.</ref>{{อ้างอิง}}
 
==ระหว่างสงคราม==
{{บทความหลัก|การบุกครองพม่าของไทย พ.ศ. 2485–2488}}
[[ไฟล์:โปสเตอร์สามัคคี เก่า.jpg|thumb|240px|โปสเตอร์โฆษณาชวนเชื่อของรัฐบาลไทยใน[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] เผยแพร่โดย[[กรมโฆษณาการ]]]]
[[ไฟล์:Phot and Tojo.jpg|thumb|left|300px|[[พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)]]เป็นตัวแทนของจอมพลแปลกเข้าเจรจาร่วมกับ [[ฮิเดะกิ โทโจ]] ซึ่งมีความเห็นที่จะเข้าร่วมเป็น [[ฝ่ายอักษะ]]]]
ในเวลานั้น ทหารญี่ปุ่นจำนวนมากได้เข้าสู่พระนครเต็มไปหมด และได้ใช้สถานที่ทางราชการบางแห่งเป็นที่ทำการ รัฐบาลได้ประกาศให้ญี่ปุ่นเป็น '''มหามิตร''' ประชาชนทุกคนต้องให้ความร่วมมือและสนับสนุนกับทางญี่ปุ่นอย่างเต็มที่ การกระทำใด ๆ ที่เป็นปรปักษ์มีโทษถึง[[ประหารชีวิต]] แต่ก็มีประชาชนบางส่วนลับหลังได้เรียกญี่ปุ่นอย่างดูถูกว่า "ไอ้ยุ่น" หรือ "หมามิตร" เป็นต้น{{อ้างอิง}}
 
ในวันที่ 25 มกราคม 2485 รัฐบาลไทยประกาศสงครามกับ[[สหราชอาณาจักร]]และ[[สหรัฐอเมริกา]]<ref name="Reynolds-1994"/> ผลทำให้ไทยได้ดินแดนในแหลมมลายูที่เสียให้อังกฤษกลับคืน ([[จังหวัดมาลัย]]) ซึ่งในขณะเดียวกัน ในสหรัฐอเมริกา [[หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช]] เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา ไม่ยอมรับการประกาศเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นของรัฐบาลไทย และตั้งขบวนการ[[เสรีไทย]]ขึ้นที่นั่นในวันที่ 12 ธันวาคม พร้อม ๆ กับขบวนการเสรีไทยในที่อื่น ๆ สมาชิกคณะราษฎรฝ่ายพลเรือนหลายคน เช่น [[ปรีดี พนมยงค์]] [[ทวี บุณยเกตุ]] [[ควง อภัยวงศ์]] ได้แยกตัวออกมา เนื่องจากไม่อาจรับกับการกระทำของรัฐบาลเช่นเดียวกัน และกลายมาเป็นขบวนการเสรีไทยในประเทศ
ในวันที่ 28 มกราคม 2485 ประเทศไทยลงนามร่วมรบกับญี่ปุ่น จึงเข้ามาตั้งทัพในไทยฐานะพันธมิตร อีกทั้งในเดือนกรกฎาคม นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น พลเอก [[ฮิเดะกิ โทโจ]] ได้ทางเยือนกรุงเทพมหานครและได้เจรจาวางแผนและแบ่งเขตการรบกับไทย นัยว่าเพื่อหวังจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทยตามที่ตกลงไว้ในสนธิสัญญา ในการเจรจาสรุปได้ว่ากองทัพไทยต้องถูกส่งไปรบที่[[เชียงตุง]] โดยก่อตั้งกองพลพายัพเพื่อรบกับอังกฤษและ[[สาธารณรัฐจีน]] ตามข้อตกลงแบ่งเขตการรบที่ทำไว้กับญี่ปุ่นว่าตั้งแต่รัฐกะยาห์จนถึงครึ่งใต้ของเมือง[[มัณฑะเลย์]]โดยยึดเส้นแบ่งเขตใต้ของเมืองเป็นของไทย จนถึงแม่น้ำโขงเป็นเขตการรบของไทย ฝ่ายทางรัฐบาลไทยต้องรบเพื่อรักษาอาวุธยุทธภัณฑ์ไว้ไม่ให้[[ขบวนการเสรีไทย]]ลักลอบขโมยไปจนหมด กองทัพไทยยังสามารถขออาวุธของญี่ปุ่นมาเพิ่มเติมได้ด้วย ส่วนทางญี่ปุ่นก็ได้สร้างเส้นทางรถไฟสายไทย-พม่าหรือ[[ทางรถไฟสายมรณะ]]เพื่อลำเลียงกองทัพไปรบยังพม่า{{อ้างอิง}}
 
ช่วงกลางปี 2485 รัฐบาลจอมพล.ป ก่อตั้ง[[สหรัฐไทยเดิม]]<ref>[https://books.google.com/books?id=Gdr4Sd8GMu8C&pg=PA19&lpg=PA19&dq=thailand+annexed+laos+1941+japanese&source=bl&ots=YeJxZar8GA&sig=LYA1Ex7VMbZqygJY0oNiwf0BnSI&hl=en&sa=X&ei=B2D9U_OeLoyyuASWwoDwDw&ved=0CDwQ6AEwBA#v=onepage&q=thailand%20annexed%20laos%201941%20japanese&f=false{{อ้างอิง}} Ronald Bruce St. John, ''The Land Boundaries of Indochina: Cambodia, Laos and Vietnam,'' p. 20]</ref>โดยรวมดินแดนที่ส่งกองทัพเข้ายึดดินแดนที่มีทรัพยากรจำนวนมาก ได้แก่ แคว้น[[รัฐฉาน]] ([[เชียงตุง]] เมืองพาน), [[รัฐกะยา]] รวมไปถึงเมือง[[ตองยี]]และครึ่งใต้ของเมือง[[มัณฑะเลย์]]ในเขตประเทศพม่าอีกด้วย<ref name="Reynolds-1994"/><ref>Young, Edward M. (1995) ''Aerial Nationalism: A History of Aviation in Thailand''. Smithsonian Institution Press. ISBN 1-56098-405-8</ref> ผลจากสงครามทำให้สถานการณ์รุนแรงภายในของไทยถึงขนาดมีการปลุกระดมให้เกิด[[ลัทธิคลั่งชาติ]]อย่างรุนแรง ถึงปลูกฝังความคิดชาตินิยม จอมพล ป.พิบูลสงคราม ยังได้เริ่มกำหนดนโยบายต่อสู้กับฝ่ายสัมพันธมิตรร่วมกับจักรวรรดิญี่ปุ่น{{อ้างอิง}}
ในวันที่ 28 มกราคม 2485 ประเทศไทยลงนามร่วมรบกับญี่ปุ่น จึงเข้ามาตั้งทัพในไทยฐานะพันธมิตร อีกทั้งในเดือนกรกฎาคม นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น พลเอก [[ฮิเดะกิ โทโจ]] ได้ทางเยือนกรุงเทพมหานครและได้เจรจาวางแผนและแบ่งเขตการรบกับไทย นัยว่าเพื่อหวังจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทยตามที่ตกลงไว้ในสนธิสัญญา ในการเจรจาสรุปได้ว่ากองทัพไทยต้องถูกส่งไปรบที่[[เชียงตุง]] โดยก่อตั้งกองพลพายัพเพื่อรบกับอังกฤษและ[[สาธารณรัฐจีน]] ตามข้อตกลงแบ่งเขตการรบที่ทำไว้กับญี่ปุ่นว่าตั้งแต่รัฐกะยาห์จนถึงครึ่งใต้ของเมือง[[มัณฑะเลย์]]โดยยึดเส้นแบ่งเขตใต้ของเมืองเป็นของไทย จนถึงแม่น้ำโขงเป็นเขตการรบของไทย ฝ่ายทางรัฐบาลไทยต้องรบเพื่อรักษาอาวุธยุทธภัณฑ์ไว้ไม่ให้[[ขบวนการเสรีไทย]]ลักลอบขโมยไปจนหมด กองทัพไทยยังสามารถขออาวุธของญี่ปุ่นมาเพิ่มเติมได้ด้วย
===ทางรถไฟสายมรณะ===
{{บทความหลัก|ทางรถไฟสายมรณะ}}
ทางญี่ปุ่นก็ได้สร้างเส้นทางรถไฟสายไทย-พม่าหรือ[[ทางรถไฟสายมรณะ]]เพื่อลำเลียงกองทัพไปรบยังพม่า ญี่ปุ่นได้เริ่มโครงการใน มิถุนายน 2485<ref>[http://www.roll-of-honour.org.uk/cemeteries/chungkai_war_cemetery/html/thailand_-_burma_railway.htm roll-of-honour.org.uk] </ref> โดยใช้แรงงานจาก[[เชลยศึก]]ฝ่ายสัมพันธมิตรในการก่อสร้าง<ref name="mansell.com">{{cite web| last=MacPherson| first=Neil| title=Death Railway Movements| url=http://www.mansell.com/pow_resources/camplists/death_rr/movements_1.html| accessdate=6 January 2015}}</ref> 16 กันยายน 2485 ลงนามข้อตกลงระหว่างไทยกับญี่ปุ่น เพื่อสร้างทางรถไฟสายพม่า แยกจากทางรถไฟสายใต้ของไทยที่สถานี หนองปลาดุก ผ่านจังหวัดกาญจนบุรี ญี่ปุ่นขอยืมเงินไทย 4 ล้านบาทในการก่อสร้าง
===การร่วมมือทางการทหาร===
ช่วงกลางปี 2485 รัฐบาลจอมพล.ป ก่อตั้ง[[สหรัฐไทยเดิม]]<ref>[https://books.google.com/books?id=Gdr4Sd8GMu8C&pg=PA19&lpg=PA19&dq=thailand+annexed+laos+1941+japanese&source=bl&ots=YeJxZar8GA&sig=LYA1Ex7VMbZqygJY0oNiwf0BnSI&hl=en&sa=X&ei=B2D9U_OeLoyyuASWwoDwDw&ved=0CDwQ6AEwBA#v=onepage&q=thailand%20annexed%20laos%201941%20japanese&f=false Ronald Bruce St. John, ''The Land Boundaries of Indochina: Cambodia, Laos and Vietnam,'' p. 20]</ref>โดยรวมดินแดนที่ส่งกองทัพเข้ายึดดินแดนที่มีทรัพยากรจำนวนมาก ได้แก่ แคว้น[[รัฐฉาน]] ([[เชียงตุง]] เมืองพาน), [[รัฐกะยา]] รวมไปถึงเมือง[[ตองยี]]และครึ่งใต้ของเมือง[[มัณฑะเลย์]]ในเขตประเทศพม่าอีกด้วย<ref name="Reynolds-1994"/><ref>Young, Edward M. (1995) ''Aerial Nationalism: A History of Aviation in Thailand''. Smithsonian Institution Press. ISBN 1-56098-405-8</ref> ผลจากสงครามทำให้สถานการณ์รุนแรงภายในของไทยถึงขนาดมีการปลุกระดมให้เกิด[[ลัทธิคลั่งชาติ]]อย่างรุนแรง ถึงปลูกฝังความคิดชาตินิยม จอมพล ป.พิบูลสงคราม ยังได้เริ่มกำหนดนโยบายต่อสู้กับฝ่ายสัมพันธมิตรร่วมกับจักรวรรดิญี่ปุ่น{{อ้างอิง}}
 
หลังจากนั้น [[ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง|ฝ่ายสัมพันธมิตร]]เริ่มส่งเครื่องบินเข้ามาทิ้งระเบิดในพระนคร การทิ้งระเบิดครั้งแรก เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2485 สถานการณ์โดยทั่วไปในพระนครนั้น ประชาชนได้รับคำสั่งให้พรางไฟ คือการใช้[[ผ้าขนหนู]]หรือ[[ผ้าขาวม้า]]ปิดบังแสงไฟในบ้าน ให้เหลือเพียงแสงสลัว ๆ เพื่อป้องกันมิให้เครื่องบินของฝ่ายข้าศึกมาทิ้งระเบิดลงได้{{อ้างอิง}} ส่วนสถานการณ์โดยรวมของสงคราม [[ฝ่ายอักษะ]]มีทีท่าว่าจะได้รับชัยชนะในยุทธบริเวณยุโรปและแอฟริกาเหนือ ส่วนในเอเชีย ญี่ปุ่นก็สามารถยึด[[มลายู]]และ[[สิงคโปร์]]ได้แล้ว
===ความขัดแย้งระหว่างไทยและญี่ปุ่น===
{{บทความหลัก|วงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา}}
ในเดือนกันยายนเดียวกันนั้นญี่ปุ่นเตรียมการจัดตั้ง "กระทรวงกิจการมหาเอเซียบูรพา" หรือ "วงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา" โดยมีความมุ่งประสงค์สำคัญคือ รวมประเทศต่างๆ ในเอเซียตะวันออกให้กระชับแน่นยิ่งขึ้น ประโยชน์เฉพาะหน้าคือรวบรวมกำลังไว้สำหรับดำเนินสงครามทั้งในทางวัตถุสัมภาระและทางยุทธศาสตร์ นอกจากนี้ ญี่ปุ่นคิดว่า ถ้าชนะสงครามจะได้อาศัยประเทศเหล่านี้ เป็นแหล่งสำคัญสำหรับเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเป็นตลาดจำหน่ายสินค้า ประเทศเหล่านี้จะเป็นยุ้งฉางสำหรับจะใช้เลี้ยงประชาชนพลเมืองญี่ปุ่นต่อไป การรวมประเทศต่างๆ ดังกล่าวให้อยู่ภายใต้การ "คุ้มครอง" และ "การนำ" ของญี่ปุ่น รัฐบาลไทยซึ่งนำโดยจอมพล ป. มีนโยบาย '''มหาอาณาจักรไทย''' อยู่แล้วซึ่งขัดแย้งวงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพาของญี่ปุ่น และมองกระทรวงกิจการมหาเอเซียบูรพาเป็น กระทรวงอาณานิคม ในรูปแบบใหม่
 
เอกอัครราชฑูตไทยประจำญี่ปุ่น ศาสตราจารย์ [[ดิเรก ชัยนาม]] ได้รายงานรัฐบาลไทยพร้อมทั้งความเห็น ในความไม่พอใจในการเรื่องการตั้งกระทรวงใหม่นี้ และแจ้งเรื่องร้องเรียนให้รัฐบาลญี่ปุ่นทราบว่า รัฐบาลไทยประท้วงและไม่เห็นด้วยกับกระทรวงกิจการมหาเอเซียบูรพาเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม [[สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ]]ได้ทรงลงพระนามประกาศตั้งกระทรวงกิจการมหาเอเซียบูรพาในเดือน ตุลาคม 2485
จอมพล ป. ได้ตอบโต้โดยการไม่เข้าร่วม[[:en:Greater East Asia Conference|การประชุมมหาเอเชียบูรพา]] โดยส่ง[[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์|พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร]]ไปประชุมแทนเพราะถือว่าประเทศไทยไม่อยู่ใต้อิทธิพลของญี่ปุ่น<ref>Peter Dumus, Roman H. Meyers, and Mark R. Peattie, eds. (1996) ''The Japanese Wartime Empire, 1931-1945''. Princeton University Press Press. ISBN 9780691145068</ref>
 
รัฐบาลจักรวรรดิญี่ปุ่นยังมีโครงการสร้างความไม่พอใจให้ฝ่ายไทยอีก โดยการเสนอ[[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย]] ให้กับนายพลระดับสูงของไทยหลายนาย [[หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต)|หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต]], [[จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์]] แม่ทัพกองทัพพายัพ รวมทั้งจอมพล ป. ด้วย และเสนอ[[เครื่องราชอิสริยาภรณ์ว่าวทองคำ]] ให้แก่นายทหารระดับสูงของไทยในการรบที่เชียงตุงและพม่า แต่จอมพล ป. ได้ปฎิเสธการรับเครื่องราช และได้สั่งให้ทหารระดับสูงบางส่วนปฎิเสธเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากญี่ปุ่น<ref>Honor awarded 1942: Tsuji, Masanobu. (1997). ''Japan's Greatest Victory, Britain's Worst Defeat'', p. 108.</ref>
===ทิ้งระเบิด===
[[ไฟล์:WWII Rama VI Bridge1.jpg|200px|right|thumb|เครื่องบินทิ้งระเบิดฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดที่[[สะพานพระราม 6]]]]
การที่ไทยประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร ทางสหรัฐอเมริกาและอังกฤษได้ส่งเครื่องบิน [[บี 24]], [[บี-29 ซูเปอร์ฟอร์เทรส|บี 29]] และ บริสตอลVickers เบลนไฮม์ (Mk.1 L6739)Windsor ทิ้งระเบิด ทำลายสนามบิน ชุมทางรถไฟ ท่าเรือ สะพาน อันเป็นปมคมนาคมเพื่อตัดเส้นทางลำเลียงของญี่ปุ่น พระนครและธนบุรีถูกเครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรโจมตีทิ้งระเบิดระหว่างปี พ.ศ. 2485 ถึง 2488 รวม 34 ครั้ง{{อ้างอิง}} สถานที่ที่ถูกโจมตีได้แก่ [[สถานีรถไฟหัวลำโพง]] [[สถานีรถไฟบางกอกน้อย]] สถานีรถไฟช่องนนทรีย์ [[สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ|สถานีรถไฟบางซื่อ]] โรงงานซ่อมสร้างหัวรถจักรมักกะสัน โรงไฟฟ้าวัดเลียบ โรงงานปูนซีเมนต์บางซื่อ [[สะพานพุทธยอดฟ้า]] [[สะพานพระราม 6]] ท่าเรือคลองเตย [[ท่าอากาศยานดอนเมือง|สนามบินดอนเมือง]] [[สถานทูตญี่ปุ่น]] ที่พักและคลังอาวุธของทหารญี่ปุ่น ที่ตั้งปืนต่อสู้อากาศยานบริเวณถนน กาติ๊บ สนามเป้า กองสัญญาณทหารเรือข้างสวนลุมพินี ประตูทดน้ำบางซื่อ โรงเก็บสินค้าและโรงงาน{{อ้างอิง}} การทิ้งระเบิดในระยะแรก ระหว่างปี 2486 ถึงกลางปี 2487 เป็นการโจมตีทิ้งระเบิดในเวลากลางคืน ต่อมาในเดือนมิถุนายน 2487 จึงได้เริ่มโจมตีทิ้งระเบิดในเวลากลางวัน{{อ้างอิง}} การทิ้งระเบิดมีการทิ้งผิดเป้าหมายที่ต้องการเป็นจำนวนไม่น้อย เช่น [[วัดราชบุรณราชวรวิหาร]] ทำให้ภาพวาดของ[[ขรัวอินโข่ง]]ถูกทำลาย{{อ้างอิง}} เครื่องบินทิ้งระเบิดที่ใช้มีแบบบี-24 ซึ่งส่วนใหญ่จะมาทิ้งระเบิดเวลากลางคืน ปืนต่อสู้อากาศยานได้ยิงต่อสู้โดยใช้ไฟฉายส่อง ค้นหาเป้าหมายแบบประสานกันจากจุดต่าง ๆ บนพื้นดิน เมื่อจับเป้าคือเครื่องบินได้แล้ว ก็เกาะเป้าไว้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ปืนต่อสู้อากาศยาน ยิงทางเครื่องบินทิ้งระเบิด จะต่อสู้โดยยิงปืนกลอากาศสวนมาตามลำแสงของไฟฉาย ซึ่งจะเห็นได้จากกระสุนส่องวิถีจากปืนกลอากาศ ที่ยิงมาเป็นชุดยาว{{อ้างอิง}}
 
ทางกองทัพอากาศไทยได้ส่งเครื่องบินขับไล่ขึ้นต่อสู้สกัดกั้น แต่ไม่ได้ผลเพราะเครื่องบินที่มีสมรรถนะต่ำกว่า และต่อมาในระยะหลังที่ใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบบี -29 ซึ่งจะบินมาเป็นหมู่ในระยะสูง ปืนต่อสู้อากาศยานยิงไม่ถึง จึงได้มีการมาทิ้งระเบิดเวลากลางวันอย่างเสรี อีกทั้งรัฐบาลต้องประกาศให้ประชาชนเตรียมพร้อมสำหรับการทิ้งระเบิด เมื่อมาถึงทางการจะเปิดเสียงสัญญาณหวอเสียงดังเพื่อเตือนให้ประชาชนได้ระวังตัว เช่น หลบอยู่ในหลุมพรางที่ขุดขึ้นเอง หรือพรางไฟ เป็นต้น แต่ประชาชนบางส่วนก็ได้อพยพย้ายไปอยู่ตามชานเมืองหรือต่างจังหวัด ตลอดจนลงไปอยู่ในหลุมที่ทางการจัดสร้างไว้ เป็นต้น ซึ่งการอพยพนั้นมักจะเดินกันไปเป็นขบวนกลุ่มใหญ่เหมือน[[ขบวนคาราวาน]] โดยชานเมืองที่ผู้คนนิยมไปกันเป็นจำนวนมากคือ บริเวณ[[ถนนสุขุมวิท]] ซึ่งในเวลานั้นเรียกว่า [[เขตบางกะปิ|บางกะปิ]]{{อ้างอิง}}
 
ตั้งแต่เดือนมกราคม 2487 ถึงเดือนมกราคม 2488 ประเทศไทยถูกโจมตีทางอากาศจากฝ่ายสัมพันธมิตร ประมาณ 250 ครั้ง{{อ้างอิง}} มีเครื่องบินเข้าปฏิบัติการประมาณ 2,490 เที่ยวบิน{{อ้างอิง}} ทิ้งลูกระเบิดทำลายประมาณ 18,600 ลูก ระเบิดเพลิงประมาณ 6,100 ลูก ทุ่นระเบิดประมาณ 250 ลูก พลุส่องแสงประมาณ 150 ลูก มีผู้เสียชีวิตประมาณ 1,900 คน บาดเจ็บประมาณ 3,000 คน อาคารถูกทำลายประมาณ 9,600 หลัง เสียหายประมาณ 1,200 หลัง รถจักรเสียหาย 73 คัน รถพ่วงเสียหาย 617 คัน เรือจักรกลเสียหาย 14 ลำ เรืออื่น ๆ ประมาณ 100 ลำทรัพย์สินเสียหายประมาณ 79 ล้านบาท{{อ้างอิง}}
 
==== ฝ่ายสัมพันธมิตร ====
<gallery>
Image:Blenheim - Duxford (17782655268).jpg|บริสตอลเบลนไฮม์ (Mk.1 L6739) ของ[[กองทัพสหราชอาณาจักร|กองทัพอากาศอังกฤษ]]
Image:B-24 Liberators in Formation, 1980.JPEG|[[บี-24]] ของ[[กองทัพอากาศสหรัฐ]]
Image:B-29 in flight.jpg|thumb|[[บี-29 ซูเปอร์ฟอร์เทรส]] ของ[[กองทัพอากาศสหรัฐ]]
</gallery>
==== ฝ่ายไทยและญี่ปุ่น ====
<gallery>
Image:Ki43Thailand.jpg|left|thumb|เครื่องบินรุ่น [[:en:Nakajima Ki-43|นากาจิม่า กิ-43 ฮายาบูซ่า]] ของญี่ปุ่น ใช้โดย[[กองทัพอากาศไทย]]
Image:RTAF Tachikawa Ki-36.jpg|เครื่องบินรุ่น [[:en:Tachikawa Ki-36|ทะชิกาวา กิ-36]] ของญี่ปุ่น ใช้โดย[[กองทัพอากาศไทย]]
Image:Japanese Type 88 75mm AA Gun.jpg|ปืนต่อต้านอากาศยานของญี่ปุ่น
</gallery>
=== อุทกภัยปี 2485 ===
[[ไฟล์:พระที่นั่งอนัน2475.jpg|thumb|200px|right|น้ำท่วมใหญ่ปี 2485 ที่[[ลานพระบรมรูปทรงม้า]]]]
ในปลายปี 2485 เกิดน้ำท่วมใหญ่ขึ้นที่พระนครและ[[ธนบุรี]]<ref>D. Proverbs, S. Mambretti, C.A. Brebbia and D. de Wrachien, eds. (2012) ''Flood Recovery, Innovation and Response III''. WIT Press. ISBN 9781845645885, p. 158</ref> ทำให้สภาพความเป็นอยู่ของประชาชนเลวร้ายลงไปอีก ซ้ำสภาพเศรษฐกิจของกินของใช้ก็ขาดแคลนไปแทบทุกอย่าง ทั้งข้าวสาร ยารักษาโรค ราคาข้าวสารถังละ 6 บาท แม้จะหาซื้อได้ยากอยู่แล้วก็ยังต้องกักตุนเพื่อให้ไว้สำหรับกองทัพญี่ปุ่นด้วย และมีพ่อค้าคนไทยบางส่วนได้กักตุนสินค้าไว้เพื่อโก่งราคา ซึ่งเรียกกันว่า ตลาดมืด และพ่อค้าที่ได้ผลประโยชน์ในครั้งนี้ว่า เศรษฐีสงคราม เพราะร่ำรวยไปตาม ๆ กันจากเหตุนี้ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าเมื่อถึงคราวนี้ เครื่องบิน[[บี 29]] กลับไม่ได้มาทิ้งระเบิดเหมือนอย่างเคย{{อ้างอิง}}
 
รัฐบาลไทยโดยจอมพล ป. พิบูลสงครามได้เปิด[[ทำเนียบรัฐบาล]]ซึ่งขณะนั้นตั้งอยู่ที่[[พระที่นั่งอนันตสมาคม]] ให้ประชาชนทั่วไปมารับแจกข้าวสาร โดยนำหลักฐานคือสำมะโนครัวไปด้วย โดยทำการแจก 1 ครั้งต่อ 1 สัปดาห์ คณะผู้แจกโดยมากจะเป็นนักเรียนนายร้อยทหารบกและ[[ยุวชนทหาร]]{{อ้างอิง}}
เส้น 124 ⟶ 71:
”กองทัพญี่ปุ่นประจำประเทศไทย” นั้นมีกองบัญชาการอยู่ที่หอการค้าจีนที่ถนนสาทร กรุงเทพ อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของพลโท[[นะกะมุระ อะเกะโตะ]] โดยมีหน้าที่สำคัญสองประการคือ ป้องกันไทยซึ่งเป็นที่มั่นแนวหลังให้กับสมรภูมิพม่า และหน้าที่ในการดูแลกองทัพญี่ปุ่นที่เดินทัพผ่านประเทศไทย จะเห็นได้ว่าหน้าที่หลักทั้งสองของกองทัพญี่ปุ่นประจำประเทศไทยมีลักษณะในการดูแลความสงบเรียบร้อยมากกว่าที่จะเป็นกองทัพเพื่อการสู้รบ กล่าวจนถึงที่สุดก็คือการจัดตั้งกองทัพญี่ปุ่นประจำประเทศไทยก็เพื่อรักษาวินัยของทหารญี่ปุ่นเพื่อให้บรรลุเจตนารมณ์ของสัญญาพันธไมตรีระหว่างประเทศทั้งสองนั่นเอง<ref name="เหตุการณ์สำคัญในศตวรรษที่ 20_11">ธนู แก้วโอภาส, '''เหตุการณ์สำคัญในศตวรรษที่ 20''', ฝ่ายโรงพิมพ์ บริษัท ตภาตา พับลิเคชั่น จำกัด, 2549, หน้า 436</ref>
 
การที่ญี่ปุ่นเข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศไทยเพื่อป้องกันการโจมตีของฝ่ายสัมพันธมิตรทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรมองรัฐบาลไทยของจอมพล ป. ในสถานะเดียวกันกับ[[ราชอาณาจักรอิตาลี (ค.ศ. 1861-1946)|ราชอาณาจักรอิตาลี]]ซึ่งเห็นได้จาก[[การบุกครองเกาะซิซิลีของฝ่ายสัมพันธมิตร|การที่สัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกที่เกาะซิซิลี]]ที่[[นาซีเยอรมนี|เยอรมนี]]ส่งกองทัพเข้ามาตั้งฐานทัพในอิตาลีเพื่อปกป้องการคงอยู่ของพันธมิตร[[มุสโสลินี]]<ref>James F. Dunnigan. ''The World War II Bookshelf: Fifty Must-Read Books''. Kensington Pub Corp, 2005 ISBN 0-8065-2649-1, p.16</ref><ref name="Reynolds-2005"/>
 
==รัฐบาลพลเรือนควง อภัยวงศ์==
เส้น 131 ⟶ 78:
พันตรี[[ควง อภัยวงศ์]]หนึ่งในสมาชิกขบวนการเสรีไทยได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 รัฐบาลของนาย ควง อภัยวงศ์ ได้แถลงนโยบายต่อสภาฯ ว่า “ จะร่วมมือกับฝ่ายญี่ปุ่นโดยใกล้ชิดตามสัญญาพันธกรณีที่ได้มีต่อกันไว้ด้วยดี ” และให้ความร่วมมือกับญี่ปุ่นตามข้อเรียกร้องของญี่ปุ่นทุกประการ แต่รัฐบาลชุดนี้ก็ได้แต่งตั้งบุคคลระดับหัวหน้าใน “องค์กรต่อต้านญี่ปุ่น” เป็นรัฐมนตรีด้วยกันหลายคน และได้ช่วยเหลือการดำเนินงานของขบวรการเสรีไทยอย่างลับๆ นอกจากนั้นผู้นำทางการเมืองและการปกครองสำคัญๆ หลายคนก็ได้เข้าร่วมในองค์การต่อต้านญี่ปุ่น เช่น พลตรี[[สังวร สุวรรณชีพ]] และ พล.ต.อ.[[อดุล อดุลเดชจรัส]] อธิบดีกรมตำรวจ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการควบคุมตัว “เสรีไทย” จากสหรัฐอเมริกาและอังกฤษที่เดินทางเข้าประเทศ
 
==[[การลักทรัพย์ยามสงคราม]]==
ในเวลาเดียวกัน ก็เกิดขบวนการต่อต้านญี่ปุ่นโดยคนไทยด้วยกันเอง เรียกว่า '''ขบวนการไทยถีบ''' ขบวนการนี้ทำหน้าที่ดักปล้นของเล็กของน้อย ยุทธปัจจัยต่าง ๆ ของกองทัพญี่ปุ่น ไปซ่อนตามป่าเขา โดยเฉพาะการตัดขบวน[[รถไฟ]]ขณะลำเลียงสิ่งของต่าง ๆ ให้ขาดจากกัน อีกทั้งบางครั้งยังแอบเข้าไปลักลอบขโมย[[ดาบซามูไร]]ของทหารญี่ปุ่นในเวลาหลับอีกด้วย เรียกว่า ไทยลักหลับ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ขบวนการนี้บางครั้งขโมยแม้แต่ทรัพย์สินของรัฐบาลไทยเอง เช่น ลวดทองแดง สายโทรศัพท์ เป็นต้น อีกทั้ง[[ขบวนการเสรีไทย]]ก็ไม่ได้นับขบวนการไทยถีบเป็นแนวร่วมแต่อย่างใด
 
เส้น 145 ⟶ 92:
 
ม.ร.ว.เสนีย์ ออกเดินทางจากสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2488 ถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 17 กันยายน และได้ดำเนินการเจรจากับอังกฤษและตกลงข้อสัญญาบางประการกับทางอังกฤษ ไทยได้ตกลงทำสัญญาที่เรียกว่า [[สัญญาความตกลงสมบูรณ์แบบ]]เพื่อเลิกสถานะสงคราม ระหว่างไทยกับสัมพันธมิตร ประกอบด้วยสัญญา 24 ข้อ<ref>http://www1.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/pastevent/past_ram83.htm</ref> จนแล้วเสร็จและได้ทำบันทึกอย่างเป็นทางการลงวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2489 เป็นอันเสร็จภารกิจและ ม.ร.ว.เสนีย์ ก็ได้ยื่นใบลาออกในวันนั้นทันที แต่ต้องอยู่รักษาการไปจนกระทั่งสิ้นเดือนมกราคม [[พ.ศ. 2489]]
 
== การเสด็จนิวัติพระนคร ==
[[ไฟล์:King Ananda Mahidol and Prince Bhumibol Adulyadej.jpg|thumb|left|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เสด็จประพาสเยาวราช สำเพ็ง ด้วยการพระราชดำเนิน]]
ในขณะเดียวกันรัฐบาลได้กราบบังคมทูลเชิญ[[พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร]]เสด็จนิวัติพระนครพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี และ[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช]] ซึ่งการเสด็จนิวัติประเทศในครั้งนี้ ทางราชการได้จัดพระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับ
 
ในวันที่ [[3 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2489]] [[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล]] พร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ([[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช]] ในปัจจุบัน) เสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรด้วยการพระราชดำเนินที่เยาวราช สำเพ็ง ยังความปิติยินดีอย่างมากต่อชาวเยาวราช ซึ่งได้จัดซุ้มเฉลิมพระเกียรติถวายการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติ ในครั้งนั้นพระองค์ได้เสด็จเข้าไปเยี่ยมเยียนถึงในบ้านพักและร้านค้าของราษฎรอย่างใกล้ชิด และในเวลาเที่ยง ก็ได้ทรงเสวยพระกระยาหารเที่ยงที่ชาวเยาวราชจัดถวาย ที่สมาคมพ่อค้าไทย-จีน [[ถนนสาทร]]
[[File:King Ananda Mahidol 03-05-1946 (1).jpg||thumb|250px|center|พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จเยี่ยมราษฎร]]
== การดำเนินการอาชญากรสงคราม ==
ระหว่างนี้ได้มีการออกกฎหมายอาชญากรสงครามมาเพื่อให้ผู้กระทำผิดต้องขึ้นศาลไทย จอมพล ป. พิบูลสงคราม รวมทั้งอดีตผู้ใต้บังคับบัญชาระดับสูงหลายคน เช่น [[หลวงวิจิตรวาทการ]], [[จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์]], พลเอก[[มังกร พรหมโยธี]] เป็นต้น จึงถูกจับกุมและถูกดำเนินคดีในประเทศไทย และต่อมาไม่ต้องรับโทษเพราะ[[ศาลฎีกา]]วินิจฉัยว่ากฎหมายไม่มีผลย้อนหลังและอ้าง[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย]]ที่ระบุเรื่องสิทธิเสรีภาพของบุคคลซึ่งเป็นกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่ากฎหมาย[[อาชญากรสงคราม]] ทั้งนี้มีผู้วิจารณ์ว่าการออกกฎหมายอาชญากรสงครามก็เพื่อไม่ให้คนไทยถูกส่งไปดำเนินคดีในต่างประเทศอันจะส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของประเทศและทำให้เสียเปรียบในการเจรจาหลังสงคราม หรือบางแหล่งก็ว่าเป็นการช่วยเหลือจอมพล ป. ให้พ้นโทษ ในขณะที่อาชญากรสงครามของประเทศอื่นๆ ถูกจับกุมและประหารชีวิตในที่สุด{{อ้างอิง}}