ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอเอสทีวีผู้จัดการ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 26:
'''บริษัท ผู้จัดการ 360 จำกัด ''' ({{lang-en|MGR 360 Company Limited}}) เป็น[[บริษัท]][[สื่อสารมวลชน]]ครบวงจรขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อปี [[พ.ศ. 2546]]มีบุคคลสำคัญประกอบด้วย [[จินตนาถ ลิ้มทองกุล]], และ
[[ปรเมนทร์ ภักดิ์วาปี]]
 
== ประวัติ ==
=== ผู้จัดการรายวัน ===
''หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน'' ก่อตั้งเมื่อ[[วันพุธ]]ที่ [[7 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2533]] โดย [[สนธิ ลิ้มทองกุล]] เริ่มมีชื่อเสียงโดดเด่น<ref>หนังสือปรากฏการณ์สนธิ จากเสื้อสีเหลืองถึงผ้าพันคอสีฟ้า โดย คำนูณ สิทธิสมาน. [[พ.ศ. 2549]]. ISBN 9749460979</ref> ใน[[เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ]] [[พ.ศ. 2535]] หลังการปราบปรามประชาชน ที่ชุมนุมต่อต้านรัฐบาล [[สุจินดา คราประยูร|พล.อ.สุจินดา คราประยูร]] ขณะที่สื่อโทรทัศน์ในประเทศ ถูกควบคุมการเสนอข่าวโดยรัฐบาล และไม่รายงานการสูญเสียชีวิตของประชาชน ต่อมามีการตรวจสอบ และควบคุมการเสนอข่าว และภาพข่าว ที่ลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์อย่างเข้มงวด
อย่างไรก็ตาม ผู้จัดการรายวัน ร่วมกับหนังสือพิมพ์อื่น เช่น [[เดอะเนชั่น]], [[กรุงเทพธุรกิจ]] และ [[แนวหน้า]] ตีพิมพ์ภาพข่าวการปราบปรามประชาชน<ref>[http://www.oknation.net/blog/yong/2007/03/02/entry-1/comment บทสุดท้าย..ทีวีเสรี (ตอนที่ 1)] [[บล็อก]]ของ[[เทพชัย หย่อง]] ใน[[โอเคเนชั่น]]</ref> นอกจากนั้น ยังมีการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์ผู้จัดการฉบับพิเศษ แจกฟรีไปทั่ว[[กรุงเทพมหานคร]] เพื่อรายงานข่าวการชุมนุมบน[[ถนนราชดำเนิน]] จนถูกรัฐบาลดำเนินคดี และสั่งปิดเป็นเวลาสองวัน
 
อย่างไรก็ตาม [[วิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540]] ก็ทำให้เครือผู้จัดการประสบปัญหาทางการเงินอย่างรุนแรง และในที่สุด [[ธนาคาร]]หลายแห่งก็ฟ้องล้มละลาย และศาลได้ตัดสินให้สนธิเป็นบุคคลล้มละลาย ในช่วงปี [[พ.ศ. 2544]] โดยผู้จัดการรายวัน มีชื่อเสียงโดดเด่น จากคอลัมน์''ข่าวปนคน คนปนข่าว'' ของ''เซี่ยงเส้าหลง'' ซึ่งเป็น[[นามปากกา]]ของสนธิ, คอลัมน์''คันปาก'' โดยนามปากกา''[[ซ้อเจ็ด]]'' และหนังสือพิมพ์ล้อเลียน''ผู้จัดกวน'' ทั้งนี้ หลังจากสนธิเริ่มจัดรายการ[[เมืองไทยรายสัปดาห์]]สัญจร เมื่อปี [[พ.ศ. 2548]] ซึ่งพัฒนาไปเป็น[[พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย]] ในปี [[พ.ศ. 2549]] นั้น ผู้จัดการรายวัน ก็ได้แปรสภาพไปเป็นกระบอกเสียงของรายการฯ และกลุ่มพันธมิตรฯ ร่วมกับ[[สถานีโทรทัศน์]]ผ่าน[[ดาวเทียม]][[เอเอสทีวี]] ช่อง[[NEWS1|นิวส์วัน]]เมื่อวันที่ [[18 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2551]] [[ศาลล้มละลายกลาง]]พิจารณาเห็นสมควรให้ [[บริษัท แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)]] เจ้าของหนังสือพิมพ์และนิตยสารในเครือผู้จัดการ มีสภาพล้มละลาย เนื่องจากมีหนี้สินกว่า 4,726 ล้านบาท จึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์สินของบริษัทดังกล่าวโดยเด็ดขาด ซึ่งชื่อหนังสือพิมพ์และนิตยสารในเครือทั้งหมด ก็ถือเป็นทรัพย์สินของบริษัทฯ ตามกฎหมายเช่นกัน จึงไม่สามารถออกหนังสือพิมพ์และนิตยสาร โดยใช้ชื่อเดิมอีกต่อไป<ref name="prachachat">[http://www.matichon.co.th/prachachat/news_detail.php?id=2265&catid=2 เส้นทางขรุขระ MANAGER-ลิ้มทองกุล เสี่ยงจนหมด หรือถูกกลั่นแกล้ง? / ไขปม ทำไม“แมเนเจอร์ มีเดีย”ล้มละลาย ไม่เกี่ยวต้าน"แม้ว"-อะไรจะเกิดขึ้นกับหนี้ก้อนโต 4,726 ล้านบาท] รายงานพิเศษ [http://www.prachachat.net หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ]</ref>หลังจากใช้ชื่อเดิมไม่ได้อีกต่อไป ทีมงานกองบรรณาธิการชุดเดิมของผู้จัดการรายวัน ยังคงปฏิบัติงานตามปกติ และยังพยายามออกหนังสือพิมพ์อย่างต่อเนื่อง โดยเลี่ยงไปใช้ชื่อใหม่ที่คล้ายคลึงกับชื่อเดิม ซึ่งอาจเข้าข่ายเป็นการลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น<ref name="prachachat"/> ทั้งนี้ ชื่อต่างๆ ที่ใช้ออกหนังสือพิมพ์ในแต่ละวัน มีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้
 
=== ระยะเปลี่ยนผ่าน ===
* วันพุธที่ [[19 พฤศจิกายน]] พ.ศ. 2551 - ''ผู้จัดการ 2551 รายวัน'' โดยยังคงนับจำนวนปี และจำนวนฉบับ ต่อเนื่องจากหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันเดิม<ref>[http://www.khonthai.com/NewsPaper/images/mgr_2551111901.JPG ภาพหน้า 1 หนังสือพิมพ์ “ผู้จัดการ 2551 รายวัน”]</ref> แต่ไม่มี[[บรรณลักษณ์]]ภายในฉบับ
* วันพฤหัสบดีที่ [[20 พฤศจิกายน]] พ.ศ. 2551 - ''สารจากเอเอสทีวี โดยทีมงานผู้จัดการ'' ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า ไม่ปรากฏการนับปี และเลขฉบับบนหัวหนังสือ<ref>[http://www.palawat.com/politicbase/images/c/c9/New_manager_brand.JPG ภาพหัวหนังสือพิมพ์ “สารจากเอเอสทีวี โดยทีมงานผู้จัดการ”]</ref><ref>[http://www.khonthai.com/NewsPaper/images/mgr_2551112001.JPG ภาพหน้า 1 หนังสือพิมพ์ “สารจากเอเอสทีวี โดยทีมงานผู้จัดการ”]</ref> รวมถึงไม่มีบรรณลักษณ์ภายในฉบับอีกเช่นกัน
=== เอเอสทีวีผู้จัดการ ===
ต่อมาเมื่อวันศุกร์ที่ [[21 พฤศจิกายน]] พ.ศ. 2551 ทีมงานกองบรรณาธิการชุดเดิมของผู้จัดการรายวัน ออกหนังสือพิมพ์โดยใช้ชื่อว่า ''เอเอสทีวีผู้จัดการรายวัน'' โดยเริ่มระบุการนับเลขปี และเลขฉบับบนหัวหนังสือ เป็นฉบับปฐมฤกษ์ มีราคาจำหน่าย 20 บาท<ref>[http://www.khonthai.com/NewsPaper/images/mgr_2551112101.JPG ภาพหน้า 1 หนังสือพิมพ์ “เอเอสทีวีผู้จัดการรายวัน”]</ref> โดยในเบื้องต้นระบุในบรรณลักษณ์ว่า บริษัท เอเอสทีวี (ประเทศไทย) จำกัด เป็นเจ้าของ ปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเป็น บริษัท ผู้จัดการ 360 จำกัด
 
== สิ่งพิมพ์และสื่อในเครือ ==