ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สัญกรณ์วิทยาศาสตร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘(?mi)\{\{Link GA\|.+?\}\}\n?’ ด้วย ‘’: เลิกใช้ เปลี่ยนไปใช้วิกิสนเทศ
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 10:
 
การเขียนตัวเลขแบบมาตรฐาน ''a''{{e|''n''}} จะเลือกค่า ''n'' มาหนึ่งค่าที่ทำให้[[ค่าสัมบูรณ์]]ของ ''a'' มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ [[1]] แต่น้อยกว่า [[10]] (1 ≤ |''a''| < 10) นั่นคือ 350 จะสามารถเขียนได้เป็น 3.5{{e|2}} เพียงแบบเดียว รูปแบบนี้ช่วยให้สามารถเปรียบเทียบค่าระหว่างสองจำนวนใน ''a'' ที่เป็นบวกหรือลบเหมือนกัน และใช้เลขชี้กำลัง ''n'' เป็นตัวแทนของ[[อันดับของขนาด]] (order of magnitude) ได้อย่างง่ายดาย ในสัญกรณ์แบบมาตรฐานนี้ เลขชี้กำลัง ''n'' จะมีค่าติดลบก็ต่อเมื่อจำนวนนั้นมีค่าอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1 (เช่น 0.5 เขียนแทนด้วย 5{{e|−1}}) ถ้าหากเลขชี้กำลังเป็น 0 มักจะไม่เขียนการคูณกับ {{10^|0}}
 
สัญกรณ์วิทยาศาสตร์ใช้มาตรฐานเช่นนี้ในหลายสาขาวิชา เว้นแต่ในระหว่างการคำนวณหรือ[[สัญกรณ์วิศวกรรม]] (engineering notation) ซึ่งจำเป็นต้องใช้งานรูปแบบที่ไม่มาตรฐาน สัญกรณ์แบบมาตรฐานมักจะเรียกกันว่าเป็น [[สัญกรณ์ยกกำลัง]] (exponential notation) ถึงแม้ว่าคำนี้อาจหมายถึงตัวเลขที่ไม่ได้อยู่ระหว่าง 1 ถึง 10 หรือการคูณเลขฐานอื่นที่ไม่ใช่ 10 ก็ตาม
 
=== ตัวอย่าง ===
{| class="wikitable"
|-
! จำนวนธรรมดา
! สัญกรณ์วิทยาศาสตร์
|-
| 1
| 1{{e|0}}
|-
| 30
| 3{{e|1}}
|-
| 0.5
| 5{{e|-1}}
|-
| 256
| 2.56{{e|2}}
|}
 
== สัญกรณ์อี ==
เนื่องจาก[[เครื่องคิดเลข]]และ[[คอมพิวเตอร์]]ส่วนใหญ่ไม่สามารถนำเสนอตัวเลขให้อยู่ในรูปแบบ " {{e|''b''}} " ซึ่งใช้[[ตัวยก]] (superscript) บนเลขชี้กำลัง จึงมีการใช้สัญกรณ์อักษรอีแสดงผลแทน โดยใช้ "E" หรือ "e" (มาจาก ''exponent'' ที่แปลว่าเลขชี้กำลัง) แทนความหมายของ " {{e|''b''}} " และเขียนเลขยกกำลังไว้บนบรรทัดเดียวกัน ซึ่งเลขชี้กำลังที่เป็นบวกอาจใส่หรือไม่ใส่เครื่องหมายก็ได้ ตัวอย่างเช่น
* มวลของอิเล็กตรอน เท่ากับประมาณ 9.1093826E−31 กิโลกรัม ซึ่งมีความหมายเหมือนกับ 9.1093826{{e|−31}} กิโลกรัม
* มวลของโลก เท่ากับประมาณ 5.9736E+24 กิโลกรัม หรือ 5.9736E24 กิโลกรัม ซึ่งมีความหมายเหมือนกับ 5.9736{{e|24}} กิโลกรัม
 
[[หมวดหมู่:ระบบเลข]]
[[หมวดหมู่:สัญกรณ์คณิตศาสตร์| ]]
[[หมวดหมู่:การวัด]]
{{โครงคณิตศาสตร์}}