ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บุญบั้งไฟ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 14:
}}
 
กูจะฆ่ามึงไอ่โช
'''ประเพณีบุญบั้งไฟ''' เป็นประเพณีหนึ่งของ[[ภาคอีสาน]]ของ[[ประเทศไทย|ไทย]]รวมไปถึง[[ประเทศลาว|ลาว]] โดยมีตำนานมาจาก[[นิทานพื้นบ้าน]]ของภาคอีสานเรื่อง[[พระยาคันคาก]] เรื่อง[[ผาแดงนางไอ่]] ซึ่งในนิทางพื้นบ้านดังกล่าวได้กล่าวถึง การที่ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชา พระยาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่ง ชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล และมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมาก หากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้ โดยทั้งนี้การจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ของ [[จังหวัดยโสธร]] ได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในการประชาสัมพันธ์งานประเพณี เป็นที่รู้จักแก่ชาวไทย และต่างประเทศ นับแต่ ปี 2515 ซึ่ง งานประเพณีบุญบั้งไฟจังหวัดยโสธร จะจัดขึ้นในวันเสาร์ อาทิตย์ สัปดาห์ที่สอง ของเดือนพฤษภาคม ในทุกปี โดยทั้งนี้ ในงานที่จัดของจังหวัดยโสธร ยังมีความโดดเด่น ในวันก่อนแห่ มีการประกวดกองเชียร์ จำนวนมาก รวมทั้ง วันแห่บั้งไฟ จะมีขบวนบั้งไฟแบบโบราณ และการรำเซิ้งแบบโบราณ จาก ทั้ง 9 อำเภอของจังหวัดยโสธร เข้าร่วมด้วย นอกจากนี้ ยังพบว่า การจัดงานบั้งไฟในอดีต และปัจจุบัน ในพื้นที่ [[จังหวัดร้อยเอ็ด]] มีความโดดเด่น และเก่าแก่ มานาน มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเฉพาะ ที่ [[อำเภอสุวรรณภูมิ]] ที่มีการจัดงาน ในทุกวันเสาร์ อาทิตย์ ในสัปดาห์แรก ของเดือนมิถุนายนในทุกปี ซึ่งเป็นงานที่มี บั้งไฟเอ้สวยงามขนาดใหญ่ ([[ลายศรีภูมิ]] หรือ ลายกรรไกรตัด) รวมทั้งขบวนรำสวยงามมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ , [[อำเภอพนมไพร]] ที่ มีการจัดงาน ในทุกวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ ของทุกปี ตามรูปแบบประเพณีดั้งเดิม ตาม ฮีตสองสอง คองสิบสี่ โดยมีการจุดบั้งไฟถวาย มากที่สุดในประเทศ โดยในแต่ละปี จะมีบั้งไฟหมื่น บั้งไฟแสน บั้งไฟล้าน รวมกันกว่า ๑,๐๐๐ บั้ง
 
ทั้งนี้ จากข้อมูลในปัจจุบัน แหล่งที่มีช่างในการจัดทำ บั้งไฟเอ้ ตกแต่งสวยงามมากที่สุด คือ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยเฉพาะ อำเภอเสลภูมิ, อำเภอธวัชบุรี, อำเภออาจสามารถ, อำเภอสุวรรณภูมิ, อำเภอจตุรพักตร์พิมาน เป็นต้น, ส่วนค่ายบั้งไฟ ที่มีการทำบั้งไฟจุด พบได้จำนวนมาก ในเขตอำเภอพนมไพร [[จังหวัดร้อยเอ็ด]], [[อำเภอมหาชนะชัย]] [[จังหวัดยโสธร]] และ เขตจังหวัดอื่นๆ ทางอีสานเหนือ ได้แก่ [[อุดรธานี]] [[หนองคาย]] เป็นต้น
 
นอกจากนี้แล้วในพื้นที่ภาคเหนือ มีการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ของ [[ตำบลพุเตย]] [[อำเภอวิเชียรบุรี]] [[จังหวัดเพชรบูรณ์]] จัดงานประเพณีบุญบั้งไฟที่ยิ่งใหญ่ โดยการสนับสนุนของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ เช่นกัน ทั้งนี้ เนื่องจากประชากรในเขตพื้นที่ ส่วนใหญ่ อพยพมาจาก เขตภาคอีสาน ในหลายสิบปีก่อนหน้า ส่วนภาคใต้ ยังสามารถพบการจัดงานบุญบั้งไฟ ในเขต[[อำเภอสุคิริน]] [[จังหวัดนราธิวาส]] โดยเป็นการละเล่นของชาวอีสานที่ย้ายถิ่นฐานมาปักหลักทีนี่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 โดยถือเป็นเพียงพื้นที่เดียวในภาคใต้ของไทย นอกจากภาคอีสานที่มีการเล่นประเพณีนี้<ref>{{cite web|url=http://www.mediastudio.co.th/video/192128/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%9F_1_%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89_%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88_%E0%B8%AD.%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%99_%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B2.html|title=ประเพณีบุญบั้งไฟ 1 เดียวในภาคใต้ ที่ อ.สุคิริน นราธิวาส |date=15 June 2015|accessdate=15 June 2015|publisher=ช่อง 7}}</ref>
 
และนอกจากนี้ในพื้นที่ภาคเหนือ ก็มีการละเล่นประเพณีบุญบั้งไฟเช่นเดียวกัน โดยเป็นหนึ่งในประเพณีของล้านนา โดยมีความเชื่อคล้ายกับภาคอีสาน คือ เป็นการถวายเป็นพุทธบูชาและขอฝน<ref>{{cite web|url=http://www.mediastudio.co.th/video/192359/%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2.html|title=เชียงใหม่จัดแข่งบั้งไฟหมื่นสืบสานประเพณีล้านนากว่า 100 ปี|date=16 June 2015|accessdate=16 June 2015|publisher=ช่อง 7}}</ref>
 
'''ความเชื่อของชาวบ้านกับประเพณีบุญบั้งไฟ'''
 
ชาวบ้านเชื่อว่ามีโลกมนุษย์ โลกเทวดา และโลกเทวดา มนุษย์อยู่ใต้อิทธิพลของเทวดา การรำผีฟ้าเป็นตัวอย่างที่แสดงออกทางด้านการนับถือเทวดา และเรียกเทวดาว่า “แถน” เมื่อถือว่ามีแถนก็ถือว่า ฝน ฟ้า ลม เป็นอิทธิพลของแถน หากทำให้แถนโปรดปราน มนุษย์ก็จะมีความสุข ดังนั้นจึงมีพิธีบูชาแถน การจุดบั้งไฟก็อาจเป็นอีกวิธีหนึ่งที่แสดงความเคารพหรือส่งสัญญาณความภักดีไปยังแถน ชาวอีสานจำนวนมากเชื่อว่าการจุดบั้งไฟเป็นการขอฝนจากพญาแถน และมีนิทานปรัมปราเช่นนี้อยู่ทั่วไป แต่ความเชื่อนี้ยังไม่พบหลักฐานที่แน่นอน นอกจากนี้ในวรรณกรรมอีสานยังมีความเชื่ออย่างหนึ่งคือ เรื่องพญาคันคาก หรือคางคก พญาคันคากได้รบกับพญาแถนจนชนะแล้วให้พญาแถนบันดาลฝนลงมาตกยังโลกมนุษย์
ความหมายของบั้งไฟ
คำว่า “บั้งไฟ” ในภาษาถิ่นอีสานมักจะสับสนกับคำว่า “บ้องไฟ” แต่ที่ถูกนั้นควรเรียกว่า”บั้งไฟ”ดังที่ เจริญชัย ดงไพโรจน์ ได้อธิบายความแตกต่างของคำทั้งสองไว้ว่า บั้งหมายถึง สิ่งที่เป็นกระบอก เช่น บั้งทิง สำหรับใส่น้ำดื่ม หรือบั้งข้าวหลาม เป็นต้น
ส่วนคำว่า บ้อง หมายถึง สิ่งของใดๆ ก็ได้ที่มี 2 ชิ้น มาสวมหรือประกอบเข้ากันได้ ส่วนนอกเรียกว่า บ้อง ส่วนในหรือสิ่งที่เอาไปสอดใสจะเป็นสิ่งใดก็ได้ เช่น บ้องมีด บ้องขวาน บ้องเสียม บ้องวัว บ้องควาย ดังนั้น คำว่า บั้งไฟ ในภาษาถิ่นอีสานจึงเรียกว่า บั้งไฟ ซึ่งหมายถึงดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง มีหางยาวเอาดินประสิวมาคั่วกับถ่านไม้ตำให้เข้ากันจนละเอียดเรียกว่า หมื่อ (ดินปืน) และเอาหมื่อนั้นใส่กระบอกไม้ไผ่ตำให้แน่นเจาะรูตอนท้ายของบั้งไฟ เอาไผ่ท่อนอื่นมัดติดกับกระบอกให้ใส่หมื่อโดยรอบ เอาไม้ไผ่ยาวลำหนึ่งมามัดประกบต่อออกไปเป็นหางยาว สำหรับใช้ถ่วงหัวให้สมดุลกัน เรียกว่า “บั้งไฟ” ในทัศนะของผู้วิจัย บั้งไฟ คือการนำเอากระบอกไม้ไผ่ เลาเหล็ก ท่อเอสลอน หรือเลาไม้อย่างใดอย่างหนึ่งมาบรรจุหมื่อ (ดินปืน) ตามอัตราส่วนที่ช่างกำหนดไว้แล้วประกอบท่อนหัวและท่อนหางเป็นรูปต่างๆ ตามที่ต้องการ เพื่อนำไปจุดพุ่งขึ้นสู่อากาศ จะมีควันและเสียงดัง บั้งไฟมีหลายประเภท ตามจุดมุ่งหมายของประโยชน์ในการใช้สอย
 
'''ส่วนประกอบของบั้งไฟ'''
1. '''เลาบั้งไฟ''' เลาบั้งไฟคือส่วนประกอบที่ทำหน้าที่บรรจุดินปืน มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกกลมยาว มีความยาวประมาณ 1.5 - 7 เมตร ทำด้วยลำไม้ไผ่แล้วใช้ริ้วไม้ไผ่ (ตอก) ปิดเป็นเกลียวเชือกพันรอบเลาบั้งไฟอีกครั้งหนึ่งให้แน่น และใช้ดินปืนที่ชาวบ้านเรียกว่า"หมื่อ" อัดให้แน่นลงไปในเลาบั้งไฟ ด้วยวิธีใช้สากตำแล้วเจาะรูสายชนวน เสร็จแล้วนำเลาบั้งไฟ ไปมัดเข้ากับส่วนหางบั้งไฟ ในสมัยต่อมานิยมนำวัสดุอื่นมาใช้เป็นเลาบั้งไฟแทนไม้ไผ่ ได้แก่ ท่อเหล็ก ท่อพลาสติก เป็นต้น เรียกว่าเลาเหล็กซึ่งสามารถอัดดินปืนได้แน่นและมีประสิทธิภาพในการยิงได้สูงกว่า
2. '''หางบั้งไฟ''' หางบั้งไฟถือเป็นส่วนสำคัญทำหน้าที่คล้ายหางเสือ ของเรือคือสร้างความสมดุลให้กับบั้งไฟคอยบังคับทิศทางบั้งไฟให้ยิงขึ้นไปในทิศทางตรงและสูง บั้งไฟแบบเดิมนั้น ทำจากไม้ไผ่ทั้งลำ ต่อมาพัฒนาเป็นหางท่อนเหล็กและหางท่อนไม้ไผ่ติดกันหางท่อนเหล็กมีลักษณะเป็นท่อนกลม ทรงกระบอกมีความยาวประมาณ 8-12 เมตร ทำหน้าที่เป็นคานงัดยกลำตัวบั้งไฟชูโด่งชี้เอียงไปข้างหน้าทำมุมประมาณ 30-40 องศากับพื้นดิน โดยบั้งไฟจะยื่นไปข้างหน้ายาวประมาณ 7-8 เมตร ปลายหางด้านหนึ่งตั้งอยู่บนฐานที่ตั้งบั้งไฟ
3. '''ลูกบั้งไฟ''' เป็นลำไม้ไผ่ที่นำมาประกอบเลาบั้งไฟโดยมัดรอบลำบั้งไฟ บั้งไฟลำหนึ่งจะประกอบด้วยลูกบั้งไฟประมาณ 8-15 ลูก ขึ้นอยู่กับขนาดของบั้งไฟ เดิมลูกบั้งไฟมีแปดลูกมีชื่อเรียกเรียงตามลำดับคู่ขนาดใหญ่ไปหาคู่ที่มีขนาดเล็กกว่าได้แก่ ลูกโอ้ ลูกกลาง ลูกนางและลูกก้อย ลูกบั้งไฟช่วยให้รูปทรงของบั้งไฟกลมเรียวสวยงาม นอกจากนี้ลูกบั้งไฟยังเป็นพื้นผิวรองรับการเอ้หรือการตกแต่งลวดลายปะติดกระดาษ ( โดยที่นิยมทั่วไป คือ ลายสับ ส่วนที่เป็นเอกลักษณ์เพียงหนึ่งเดียวที่มีการกำหนดมาตรฐาน ลายกรรไกรตัด ในประเทศไทย คือ "[[ลายศรีภูมิ]]" พบมีการทำในเขต[[อำเภอสุวรรณภูมิ]] [[จังหวัดร้อยเอ็ด]] )
[[ไฟล์:Laisriphume09.JPG|left|thumb|บั้งไฟ ลายศรีภูมิ สุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด]][[ไฟล์:Laisriphume07.JPG|rigth|thumb|ลวดลายบั้งไฟ กรรไกรตัด หรือ ลายศรีภูมิ ที่เป็นเอกลักษณ์หนึ่งเดียว โดย จุดเด่น คือ หากลากลวดลายตามเส้นแล้ว จะพบว่า เส้นไม่ขาดจากกัน ทั้งนี้ "ลายศรีภูมิ" เป็นลายเอกลักษณ์ของงานประเพณีบุญบั้งไฟสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด]]
 
[[ไฟล์:Sueng Bung Fai Suwannaphum.JPG|left|thumb|ขบวนรำเซิ้งบั้งไฟ ในงานประเพณีบุญบั้งไฟลายศรีภูมิ อำเภอสุวรรรภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด]]
 
[[ไฟล์:Traditional Bung Fai dance.JPG|center|thumb|ขบวนฟ้อน เซิ้งบั้งไฟ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด]]
 
[[ไฟล์:Phya Thaen one of Isan god.JPG|left|thumb|พญาแถน หนึ่งใน องค์ประกอบ สำคัญ ของขบวนแห่บั้งไฟสวยงาม ในงานประเพณีบุญบั้งไฟ]]
 
[[ไฟล์:Isan modifie dressing.JPG|rigth|thumb|ชุดไทยอีสานประยุกต์ สาวงามผู้ถือป้าย ในขบวนแห่ คณะลูกหลานเมืองศรีภูมิ งานประเพณีบุญบั้งไฟสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด]]
'''องค์ประกอบการตกแต่งบั้งไฟ''' หรือ '''การเอ้บั้งไฟ'''
การเอ้บั้งไฟ เอ้ ในภาษาลาวหรือ ภาษถิ่นอีสาน นั้น แปลว่า ตกแต่ง ประดับ ให้สวยงาม โดย นอกจากใช้กับการตกแต่งรถบั้งไฟสวยงาม หรือ ตัวบั้งไฟให้สวยงามแล้ว ยังใช้รวมถึง กับ นางรำในขบวนฟ้อน เช่น "นางเอ้" หมายถึง นางรำ หรือ ช่างฟ้อน ที่หน้าตาสวย โดดเด่น หรือ รำสวยงาม เอาไว้ ประดับ ขบวน หรือรำในแถวหน้าของขบวนฟ้อน เป็นต้น โดยปกติ การเอ้บั้งไฟ ในสมัยก่อน ในแต่ละชุมชน จะมีการตกแต่ง บั้งไฟ และการตกแต่งเครื่องประกอบ ในรถที่ใช้แห่บั้งไฟ (เกวียน) หรือ รถยนต์ในปัจจุบัน เรียกว่า "เครื่องล่าง" โดยเครื่องล่าง หมายถึง ส่วนองค์ประกอบอื่นๆ ที่นอกเหนือ จาก ตัวบั้งไฟ โดย ในชุมชน คุ้มวัด ใน เขต [[เทศบาลเมืองยโสธร]] มีการจัดทำและตกแต่งบั้งไฟเอ้ ของชุมชน (ในราว ๓๐ ปีก่อน) และ [[อำเภอสุวรรณภูมิ]] จังหวัดร้อยเอ็ด ที่นิยมตกแต่งบั้งไฟ และเครื่องล่าง ด้วยลายกรรไกรตัด (มากกว่า ๒๐๐ ปี)
ซึ่งมีคุ้มวัดและชุมชนในเขตเทศบาลตำบลสุวรรณภูมิ (เมืองศรีภูมิ) มีบั้งไฟของตนเองในแต่ละชุมชน นอกจากนี้ ยังพบว่า ในหลายหมู่บ้าน ในเขตพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดยโสธร จังหวัดกาฬสินธุ์ มีการจัดทำบั้งไฟเอ้ ตกแต่งสวยงาม ในแต่ละชุมชน มาแต่ยุคก่อนที่ จะมีการประชาสัมพันธ์ ให้งานประเพณีบุญบั้งไฟจังหวัดยโสธร เป็นงานประเพณีประจำจังหวัดและโปรโมทโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในปี 2515 ซึ่งในปัจจุบัน หลังปี 2530 เป็นต้นมา พบว่า การทำบั้งไฟเอ้ตกแต่งสวยงาม เริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น ใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก โดยระยะหลัง ในเขตเทศบาลเมืองยโสธร ไม่มีการทำบั้งไฟเอ้หรือการตกแต่งบั้งไฟโดยคนในชุมชนแล้ว แต่นอกเขตพื้นที่ ในอำเภอของจังหวัดยโสธร ยังคงมีการจัดทำและตกแต่งเอ้บั้งไฟ อาทิ [[อำเภอทรายมูล]] และ[[อำเภอคำเขื่อนแก้ว]] โดยเป็นบั้งไฟเอ้ ขนาดเล็ก และขนาดกลาง ส่วนที่อำเภอสุวรรณภูมิ พบว่า ยังคงมีการจัดทำและตกแต่งบั้งไฟ โดยคนในชุมชน และช่างในพื้นที่เรียกว่า "บั้งไฟลายศรีภูมิ" ส่วนบั้งไฟเอ้ขนาดใหญ่ และเครื่องล่าง (ตัวรถบั้งไฟ) ที่มีขนาดใหญ่ และสวยงามนั้น พบว่า มีการทำและพัฒนาต่อเนื่อง ในหมู่บ้าน โดยช่างพื้นบ้าน โดยเฉพาะ อ.ครุฑ ภูมิแสนโคตร บ้านทรายขาว ตำบลนาเมือง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ในการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟในพื้นที่จังหวัดยโสธร, [[อำเภอสุวรรณภูมิ]], [[อำเภอพนมไพร]] จังหวัดร้อยเอ็ด และในเขตภาคอีสาน ต่อเนื่อง และ อ.เลื่อน สามาลา ช่างบั้งไฟตกแต่งสวยงาม แห่ง บ้านแคน ตำบลโหรา [[อำเภออาจสามารถ]] จังหวัดร้อยเอ็ด ที่มีบั้งไฟสวยงาม ได้รางวัลชนะเลิศ ทั้งในงานประเพณีบุญบั้งไฟจังหวัดยโสธร อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด รวมทั้งเขตพื้นที่อื่นๆ ในภาคอีสาน และภาคกลางด้วย โดยทั้งนี้ ช่างที่จัดทำบั้งไฟและตกแต่งบั้งไฟสวยงาม ในรูปแบบเอกลักษณ์ ลายกรรไกรตัด หรือ "[[ลายศรีภูมิ]]" นั้น ที่มีชื่อเสียงและเป็น ปราชญ์แห่งท้องทุ่งกุลา คือ อ.เลียบ แจ้งสนาม ภูมิลำเนา บ้านเล้าข้าว ตำบลหินกอง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด (ปัจจุบัน พำนักในเขตตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด) โดยรายละเอียดของบั้งไฟและการตกแต่งบั้งไฟลายสับ หรือ ทั่วไป รวมทั้งเครื่องล่าง จะประกอบด้วย
 
ลายบั้งไฟ : ใช้ลายศิลปไทย คือ ลายกนก อันเป็นลายพื้นฐานในการลับลายบั้งไฟ โดยช่างจะนิยมใช้กระดาษดังโกทองด้านเป็นพื้นและสีเม็ดมะขามเป็นตัวสับลาย (ยกเว้น [[ลายศรีภูมิ]] ในเขตอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ที่เป็น ลายกรรไกรตัด และนิยมใช้สีแดงเลือกนก ตัด สีเหลืองทอง) เพื่อให้ลายเด่นชัดในการตกแต่งเพื่อให้ความสวยงาม
 
ตัวบั้งไฟ : มีลูกโอ้จะใช้ลายประจำยาม ลายหน้าเทพพนม ลายหน้ากาล ลูกเอ้ใช้ลายประจำยาม ก้ามปูเปลว และลายหน้ากระดาน ฯลฯ
กรวยเชิง : เป็นลวดลายไทยที่เขียนอยู่เชิงยาบที่ประดับพริ้วลงมาจากช่วงตัวบั้งไฟ
ยาบ : เป็นผ้าประดับใต้เลาบั้งไฟ จะสับลายใดขึ้นอยู่กับช่างบั้งไฟนั้น เช่น ลายก้านขูดลายก้าน ดอกใบเทศ
ตัวพระนาง : เป็นรูปลักษณ์สื่อถึงผาแดงนางไอ่ หรือตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ พระลักษณ์ พระราม เป็นต้น
กระรอกเผือก : ท้าวพังคี แปลงร่างมาเพื่อให้นางไอ่หลงใหล
ปล้องคาด : ลายรักร้อย ลายลูกพัดใบเทศ ลายลูกพัดขอสร้อย เป็นต้น
เกริน : เป็นส่วนที่ยื่นออกสองข้างของบุษบก เป็นรูปรอนเบ็ดลายกนก สำหรับตั้งฉัตรท้ายเกริน ราชรถประดับส่วนท้ายของหางบั้งไฟ
บุษบก : เป็นองค์ประกอบไว้บนราชรถ เพื่อสมมุติให้เป็นปราสาทผาแดงนางไอ่
ต้างบั้งไฟ : ลายกระจังปฏิญาณ ลายก้านขด ลายพุ่มข้าวบิณฑ์
ลายประกอบตกแต่งอื่นๆ : ลายกระจังตั้ง กระจังรวน กระจังตาอ้อย ลายน่องสิงห์ บัวร่วน กลีบขนุน
ส่วนการตกแต่งและองค์ประกอบของบั้งไฟ[[ลายศรีภูมิ]] ที่นิยมและจัดเป็นงานเอกลักษณ์หนึ่งเดียวในประเทศไทย ที่อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด นั้นจะมีลักษณะที่แตกต่างเพิ่มเติม ออกไป โดยคุณลักษณะพิเศษของลายกรรไกรตัด นั้น พบว่า การตัดกระดาษนั้น เส้นลวดลาย ทุกเส้น จะไม่มีการขาดออกจากกัน สามารถลากเส้นบรรจกันได้ทั้งหมด และการจัดกระดาษนั้น จะไม่มีการร่างลวดลายเอาไว้ก่อน ทั้งนี้ "บั้งไฟ[[ลายศรีภูมิ]]" มีองค์ประกอบหลัก 8 ประการ ได้แก่
๑. '''ลายลูก''' ใช้ลายกรรไกร กระดาษจังโกสีแดง พื้นใช้กระดาษขัดมันสีเหลือง
๒. '''ลายปลอก''' ใช้ลายประจำยามประดิษฐ์ พื้นใช้กระดาษขัดมันสีเหลือง มีการประดิษฐ์ลวดลายแข่วหมา (ฟันสุนัข) สลับสีดำ แดง เหลือง เป็นเส้นขนาดเล็ก ประดับกับลายประจำยาม
๓. '''ประดิษฐ์ลายแส้" หรือ '''แส้พระอินทร์''' เป็นเส้นเล็กๆ พับด้วยกระดาษขัดมันสีดำ สลับเหลืองสอดอยู่ระหว่างลูกบั้งไฟ
๔. '''อกนาค''' ใช้ไม้แกะสลักมีขนาดใหญ่เต็มหัวบั้งไฟ ลงสีสันเป็นเกล็ดนาค ด้วยสีเหลือง ส้ม แดง และดำ
๕. '''หัวนาค''' ใช้ไม้แกะสลัก เป็น [[พญานาค]] ประกอบลายกนก สีเหลือง ส้ม แดง และ ดำ ปากนาค ขยับขึ้นลง พร้อมประดิษฐ์ให้สามารถพ่นน้ำได้
๖. '''แผงนาค''' ใช้ไม้ลงสีสัน เป็นเกล็ดนาค ด้วยสีเหลือง ส้ม แดง และดำ
๗. '''หางนาค''' เป็นลายกนก ลงสีสันสลับกันกับแผงนาค และหัวนาค อย่างลงตัว
๘. '''ประดิษฐ์ลายยาบ''' หรือ '''ยาบบั้งไฟ''' ด้วยการหนีบกระดาษเป็นลวดลายต่างๆ เช่น ลายกนก ลานประจำยาม ลายพู่ ลายเฟื่อง ลายแข่วหมา (ฟันสุนัข) ตัวลายใช้กระดาษจังโกสีแดง พื้นลายใช้กระดาษขัดมันสีเหลืองสลับกับลายเส้นแข่วหมา (หันสุนัข) ได้อย่างลงตัว
 
'''ประเภทของบั้งไฟ'''
 
1. บั้งไฟโหวด
 
บั้งไฟโบดหรือโหวดเป็นบั้งไฟขนาดเล็กตัวกระบอกจะยาวขึ้น ประมาณ 4-10 นิ้ว บรรจุหมื่อหนักประมาณ 1 ส่วน 8 ถึง 1 ส่วน 2 กิโลกรัม ใช้หางยาวประมาณ 1-4 เมตร มีกระบอกไม้ไผ่เล็กๆ มัดวางรอบตัวบั้งไฟ นิยมทำประกอบกันในบั้งไฟใหญ่ (บั้งไฟหมื่น, บั้งไฟแสน) ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมทำ เพราะไม่มีช่าง
2. บั้งไฟม้า
บั้งไฟชนิดนี้เป็นบั้งไฟขนาดเล็กจุดไปตามทิศทางที่กำหนดใช้เส้นลวดเป็นวิถีตรึงไปยังเป้าหมายที่ต้องการ ลักษณะทั่วไปเป็นบั้งไฟที่ทำจากกระบอกไม้ไผ่ 1 ปล้อง ขนาดแล้วแต่ต้องการ โดยทั่วไปเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 นิ้ว ยาวประมาณ 1 ฟุตทางภาคกลางและภาคอีสานเรียกว่า “ลูกหนู” คล้ายม้าที่กำลังวิ่ง ถ้าติดรูปอะไรก็เรียกชื่อไปตามนั้น เป็นคนขี่ม้า รูปวัว แล้วแต่จะทำรูปอะไร บางครั้งภาคเหนือเรียกว่า บอกไฟยิง
3. บั้งไฟช้าง
 
บั้งไฟชนิดนี้ไม่มีหาง มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่ากระโพกหรือตะโพก เวลาจุดไม่ต้องการให้พุ่งขึ้นไปแต่ต้องการมีเสียงร้องคล้ายกับช้างร้อง วิธีทำบั้งไฟให้ใช้กระบอกไม้ไผ่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดยาวเพียงป้องเดียวให้มีข้อปิดทั้ง 2 ด้าน ทุบไม้ไผ่ให้แตกเล็กน้อย เจาะรู เพื่อบรรจุหมื่อแล้วต่อชนวนเข้ารูแท่งหมื่อทำจากหมื่อถ่าน 3-4 อัดลงในไม้ไผ่ขนาดเล็กให้แน่น แล้วผ่าเอาแท่งหมื่อออกมาคล้ายข้าวหลาม ให้ได้แท่งประมาณ 3 นิ้ว การจุดนั้นนิยมต่อพ่วงชนวนบั้งไฟใหญ่ เวลาจุดชนวนผ่าจะเกิดเสียงดังเหมือนเสียงช้างร้อง นิยมวางต่อกันเป็นช่วงๆ กระบอก ถ้าต้องการจะให้มีเสียงดังอย่างไรก็จะมีเทคนิคในการทำให้เกิดเสียงนั้นๆ
4. บั้งไฟแสน
 
บั้งไฟชนิดนี้เป็นบั้งไฟขนาดใหญ่ที่สุด บรรจุดินปืนหนัก 120 กิโลกรัมขึ้นไป บั้งไฟขนาดนี้ทำยากที่สุดจะต้องอาศัยความชำนาญเป็นพิเศษ เพราะบั้งไฟขนาดนี้หากแตกแล้วจะเป็นอันตรายมาก เพราะฉะนั้นก่อนทำบั้งไฟจะต้องมีพิธีกรรมบวงสรวงให้ถูกต้องตามหลักการทำบั้งไฟแสนเสียก่อนจึงจะลงมือทำ เมื่อตกบั้งไฟเสร็จเรียบร้อยแล้วจะมีการตกแต่งประดับประดาบั้งไฟ
5. บั้งไฟตะไล
 
บั้งไฟชนิดนี้ก็คือบั้งไฟจินายขนาดใหญ่นั่นเอง มีความยาวประมาณ 9-12 นิ้ว รูปร่างกลมมีไม้บางๆ แบนๆ เป็นวงกลมครอบหัวท้ายบั้งไฟเมื่อพุ่งขึ้นสู่ฟ้าไปโดยทางขวาง
6. บั้งไฟตื้อ
 
บั้งไฟตื้อหรือบั้งไฟกระแตนั่งตอ เป็นบั้งไฟขนาดเล็กมีหางสั้น วิธีทำ ตัดกระบอกไม้ไผ่ขนาด 1 นิ้วครึ่งยาวประมาณ 3 นิ้ว อัดหมื่อให้แน่นประมาณ 2 นิ้ว ใช้หมื่อถ่านสามหรือถ่านสี่อัดด้วยเถียดไม้ให้แน่น ต่อหางซึ่งทำจากไม้ไผ่ เหลาเป็นแท่งเล็กๆ ใช้เลื่อยตัดมุมข้อออกจนเห็นหมื่อ เจาะให้เป็นรูเล็กๆ แล้วติดชนวน เวลาจะจุดเอาหางเสียบลงในแท่นที่ตั้งพอให้ตั้งได้ จุดชนวนจากด้านบน บั้งไฟจะพุ่งและหมุนขึ้นสู่อากาศ เกิดเสียงดังตือๆ เวลาหมุนจะไม่ค่อยมีทิศทาง ใช้จุดในงานศพ เวลาจุดมีอันตรายมากไม่ค่อยนิยมทำกัน
7. บั้งไฟพลุ
 
บั้งไฟพลุ เป็นบั้งไฟที่นิยมจุดในเทศกาลต่างๆ เช่น งานกฐิน งานบุญมหาชาติ หรือ งานเปิดกีฬา ฯลฯ เป็นบั้งไฟที่จุดแล้วทำให้เกิดเสียงดัง ในอดีตนิยมจุดในงานกฐิน เพื่อเป็นการบอกข่าวไปยังพี่น้องประชาชนทั่วไปให้ทราบ
 
== อ้างอิง ==
* [http://www.oknation.net/blog/phonlaabped รวมประเพณี]
{{รายการอ้างอิง}}
==แหล่งข้อมูลอื่น==
*[https://vimeo.com/120827657 สารคดีเกี่ยวกับตำนานประเพณีเรื่องเล่าบุญบั้งไฟ]
{{commons|Category:Rocket festivals in Northeast Thailand|ประเพณีบุญบั้งไฟ}}
[[หมวดหมู่:ประเพณีไทย]]
[[หมวดหมู่:ประเพณีลาว]]
[[หมวดหมู่:ดอกไม้ไฟ]]
{{โครงวัฒนธรรม}}
 
{{มรดกภูมิปัญญาชาติ/แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรมและงานเทศกาล}}