ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พายุสุริยะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
AlphamaBot (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8:
;ลมสุริยะ
{{ดูเพิ่ม|ลมสุริยะ}}
ลมสุริยะ ({{lang-en|solar wind}}) เกิดจากการขยายตัวของ[[โคโรนา]]ของดวงอาทิตย์ที่มีพลังงานความร้อนที่สูงขึ้น เมื่อขยายตัวจนอนุภาคหลุดพ้นจากแรงดึงดูดของดวงอาทิตย์และหนีออกจากดวงอาทิตย์ไปทุกทิศทาง จนครอบคลุม[[ระบบสุริยะ]] โดยปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นบริเวณขั้วเหนือและขั้วใต้ของดวงอาทิตย์ ที่มี[[โพรงโคโรนา]] ขนาดใหญ่ ซึ่งโพรงคอโรนาเป็นที่มีลมสุริยะความเร็วสูงและรุนแรงพัดออกมาจากดวงอาทิตย์ในบริเวณนั้น ในขณะที่ลมสุริยะที่เกิดขึ้นบริเวณแนวใกล้ศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์จะมีความเร็วต่ำ ลมสุริยะที่เกิดขึ้นจากการขยายตัวของโคโรนาในแนวศูนย์สูตรดวงอาทิตย์นี้มีความเร็วเริ่มโดยเฉลี่ยประมาณ 450 กิโลเมตรต่อวินาที หลังจากนั้นจะเร่งความเร็วจนถึงราว 800 กิโลเมตรต่อวินาที<ref name=thaiastro>[http://thaiastro.nectec.or.th/library/solarstormfacts/solarstormfacts2.html เรื่องจริงของพายุสุริยะ (ตอน 2) ในเว็บไซต์สมาคมดาราศาสตร์ไทย]</ref>
 
;เปลวสุริยะ
{{ดูเพิ่ม|เปลวสุริยะ}}
เปลวสุริยะ ({{lang-en|solar flare}}) เกิดจากการระเบิดอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นที่[[โครโมสเฟียร์|ชั้นโครโมสเฟียร์]] และมักเกิดขึ้นเหนือรอยต่อระหว่างขั้วของสนามแม่เหล็ก เช่นบริเวณกึ่งกลางของจุดดำแบบคู่หรือท่ามกลางกระจุกของจุดดำที่มีสนามแม่เหล็กปั่นป่วนซับซ้อน<ref name=thaiastro/> ซึ่งปล่อยพลังงานในรูปของแสงและคลื่นแม่เหล็ก
ไฟฟ้าแบบต่างๆ ออกมาอย่างรุนแรง<ref name=narit/> แต่ในปัจจุบันนักดาราศาสตร์ยังไม่ทราบกลไกการเกิดเปลวสุริยะอย่างแน่ชัด<ref name=thaiastro/>
 
;การปลดปล่อยก้อนมวลสารจากโคโรนา
{{ดูเพิ่ม|การปลดปล่อยก้อนมวลสารจากโคโรนา}}
การปลดปล่อยก้อนมวลสารจากโคโรนา ({{lang-en|Coronal mass ejection, CME}}) นักดาราศาสตร์ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดขึ้นอย่างไร แต่พบว่ามันมักเกิดขึ้นจากปรากฏการณ์อื่นที่เกิดขึ้นระดับโคโรนาชั้นล่าง บ่อยครั้งที่พบว่าเกิดขึ้นร่วมกับ[[เปลวสุริยะ]]และ[[โพรมิเนนซ์]] แต่บางครั้งก็อาจเกิดขึ้นโดยไม่มีปรากฏการณ์สองอย่างนี้เลย นอกจากนี้ความถี่ในการเกิดยังแปรผันตาม[[วัฏจักรของดวงอาทิตย์]]อีกด้วย ในช่วงใกล้เคียงกับช่วงต่ำสุดของดวงอาทิตย์อาจเกิดประมาณสัปดาห์ละครั้ง หากเป็นช่วงใกล้กับจุดสูงสุดของดวงอาทิตย์ ก็อาจเกิดขึ้นบ่อยถึงประมาณสองหรือสามครั้งต่อวัน<ref name=thaiastro/>
 
;อนุภาคพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์
{{ดูเพิ่ม|อนุภาคพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์}}
อนุภาคพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์ ({{lang-en|Geomagnetic storm}}) อาจเกิดขึ้นได้ 2 แบบ แบบแรกเกิดพร้อมกับ[[เปลวสุริยะ]]<ref>[http://helios.gsfc.nasa.gov/sep.html Solar Energetic Particles ในเว็บไซต์ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ]</ref><ref>[http://www.thaispaceweather.com/IHY/Solar_storm/SEP.htm อนุภาคพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์ (Solar energetic particles : SEPs) ในเว็บไซต์ Thaispaceweather.com]</ref> ส่วนอีกแบบหนึ่งเกิดจากการที่[[การปลดปล่อยก้อนมวลสารจากโคโรนา]]ความเร็วสูงพุ่งแหวกไปในกระแสลมสุริยะทำให้เกิดคลื่นกระแทก โดยอนุภาคสุริยะพลังงานสูงจะเกิดขึ้นในบริเวณคลื่นกระแทกนี้<ref name=narit/>
 
==การพยากรณ์พายุสุริยะ==
การพยากรณ์การเกิดพายุสุริยะสามารถพยากรณ์ได้การสังเกตการเปลี่ยนแปลงของดวงอาทิตย์ เช่น การเกิด[[จุดมืดดวงอาทิตย์]] ซึ่งการใช้วิธีการพยากรณ์นี้อาจพยากรณ์ได้แต่[[ลมสุริยะ]]และ[[เปลวสุริยะ]] ส่วนการพยากรณ์การเกิด[[การปลดปล่อยก้อนมวลสารจากโคโรนา]]นั้น จะพยากรณ์โดยใช้ดาวเทียมที่สังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ได้ 1-2 วัน ก่อนเดินทางมายังโลก นอกจากนี้ยังพยาการณ์[[ลมสุริยะ]]ด้วยดาวเทียมได้ครึ่งชั่วชั่วโมง ก่อนเดินทางมายังโลก<ref>[http://thaiastro.nectec.or.th/library/solarstormfacts/solarstormfacts4.html เรื่องจริงของพายุสุริยะ (ตอน 4) ในเว็บไซต์สมาคมดาราศาสตร์ไทย]</ref>
 
==ผลกระทบต่อโลก==
ผลกระทบของพายุสุริยะที่มีต่อโลก [[องค์การมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติ]]ของสหรัฐอเมริกา ระบุผลกระทบจากพายุสุริยะใว้ใน 3 ลักษณะ<ref name=narit/> ดังนี้
* พายุแม่เหล็กโลก
* พายุรังสีสุริยะ
* การขาดหายของสัญญาณวิทยุ
 
โดยสามารถแบ่งออกเป็นตารางจำแนกรูปแบบการเกิดพายุสุริยะกับผลกระทบต่อโลกได้ ดังนี้
 
{|class="wikitable" width="100%"
|-
! rowspan=2 |รูปแบบการเกิดพายุสุริยะ || colspan=3| ผลกระทบต่อโลก
|-
! พายุแม่เหล็กโลก || พายุรังสีสุริยะ || การขาดหายของสัญญาณวิทยุ
|-
|-
| ลมสุริยะ
| [[ไฟล์:Green_check.svg|center|20px]]
|
|
|-
| เปลวสุริยะ
|
|
| [[ไฟล์:Green_check.svg|center|20px]]
|-
| การปลดปล่อยก้อนมวลสารจากโคโรนา
| [[ไฟล์:Green_check.svg|center|20px]]
|
|
|-
| อนุภาคพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์
|
| [[ไฟล์:Green_check.svg|center|20px]]
| [[ไฟล์:Green_check.svg|center|20px]]
|-
|}
 
โดยรวมเมื่อพายุสุริยะจะปลดปล่อย[[พลาสมา (สถานะของสสาร)|พลาสมา]]ออกมา และเดินทางมายังโลกเพียงบางส่วน เมื่ออนุภาคเดินทางเข้าสู่[[ไอโอโนสเฟียร์|ชั้นไอโอโนสเฟียร์]] และชั้นบรรยากาศเหนือขั้วโลก มันจะทำปฏิกิริยากับก๊าซที่อยู่ในชั้นบรรยากาศและปล่อยพลังงานออกมาในปริมาณมาก การทำปฏิกิริยาดังกล่าวจะทำให้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้มีโอกาสได้เห็น [[ออโรรา (ดาราศาสตร์)|ออโรรา]]
 
นอกจากนี้พลาสมาที่เดินทางมา จะส่งผลกระทบต่อ[[สนามแม่เหล็กของโลก]] ทำให้ส่งผลต่อโทรทัศน์ สัญญาณโทรศัพท์<ref>[http://thaiastro.nectec.or.th/library/faqs/faq.php?faqid=142 พายุสุริยะมีผลกระทบต่อโลกอย่างไร? ในเว็บไซต์สมาคมดาราศาสตร์ไทย]</ref> และระบบนำทางของเครื่องบินหรือเรือเดินสมุทร นอกจากนี้ยังทำให้ท่อส่งน้ำมันผุกร่อนได้เร็วกว่าปกติมาก และขณะที่สนามแม่เหล็กโลกถูกแรงของพลาสมาทั้งดึงและดันอยู่ จะทำให้[[ประจุไฟฟ้า]]ปริมาณมากเกิดขึ้นในอวกาศ อาจทำให้ดาวเทียมเกิดประจุไฟฟ้าบริเวณรอบนอก กระแสฟ้าที่เกิดขึ้นนี้อาจถูกปล่อยเข้าไปภายในดาวเทียมและอาจทำให้เกิดความผิดปกติหรือเสียหายได้ แต่ถ้าพลาสมาเดินทางมายังโลกเป็นปริมาณเยอะ ([[การปลดปล่อยก้อนมวลสารจากโคโรนา]]) จะทำให้ส่งผลต่อระบบการส่งกระแสไฟฟ้าบนโลก ดังเช่น เหตุการณ์ไฟดับทางตะวันออกของประเทศแคนาดา ในวันที่ [[14 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2532]]<ref>[http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_youtube.php?youtube_id=203 ผลกระทบของพายุสุริยะต่อโลก ในเว็บไซต์ทรูปลูกปัญญา]</ref>
 
==อ้างอิง==
{{รายการอ้างอิง}}
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://www.narit.or.th/files/astronomy_media/%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B0.pdf "พายุสุริยะ"] จาก[[สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)]] {{th icon}}
 
 
 
[[หมวดหมู่:ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์]]
[[หมวดหมู่:ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์]]
[[หมวดหมู่:ดวงอาทิตย์]]
 
[[en:Solar storm]]
[[id:Badai matahari]]