ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไมเคิล ไฮเซอร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Alizh2499 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น
Alizh2499 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 33:
ในปีค.ศ. 1995 ไฮเซอร์ ได้รับการวินิจฉัยที่มีความผิดปกติทางระบบประสาทที่เรียกว่า polyneuropathy ทำให้ความสามารถในการใช้มือของเขาลดลง ปัจจุบันเขาอาศัยอยู่กับภรรยาคนที่สองชื่อแมรี่ฮาน และยังคงทำงานศิลปะของเขาจนถึงทุกวันนี้<ref> http://doublenegative.tarasen.net/heizer.html</ref>
== แนวความคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน ==
ไมเคิล ไฮเซอร์ เป็นศิลปินชาวอเมริกาที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ผลงานของเขาคือ ต้องการปฏิเสธศิลปะในเชิงธุรกิจการค้า เขาสนับสนุนกระแสทางด้านอนุรักษ์สภาพแวดล้อม มีแนวโน้มต่อต้านอารยธรรมเมือง และบ้างก็เป็นพวกที่มีความคิดในเชิงจิตวิญญาณ ศิลปะในกระแสแบบนี้ว่า ศิลปะสิ่งแวดล้อม หรือ เอ็นไวรอนเม็นทัล อาร์ต (Environmental art) แต่ชื่อที่เรียกติดปากติดกระแสมากกว่าคือ เอิร์ธ อาร์ต (Earth art )
 
ผลงานของ ไฮเซอร์มักจะมีลักษณะเด่นตรงที่เป็นประติมากรรมขนาดใหญ่ ดูคล้ายงานโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์ ที่ทำลงบนพื้นดิน หิน หญ้า หรือสิ่งที่ต้องใช้พื้นที่มากซึ้งบางครั้งงานก็มีความกลมกลืนกับธรรมชาติหรือเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติจนบางครั้งแยกไม่ออก ว่าเป็นมนุษย์สร้างขึ้นหรือธรรมชาติสร้างเอง เช่น งาน double negative โดยแนวคิดของ ไฮเซอร์คือ การกลับไปเป็นธรรมชาติ เพราะสิ่งที่ศิลปินสร้างขึ้นนั้นไม่มีประโยชน์ใดๆเลย ถึงทำไปก็กลับคืนสู่ธรรมชาติอยู่ดี ก้เหมือนมนุษย์ที่ลอกเลียนแบบธรรมชาตินั้นเอง
 
ไฮเซอร์มองว่าตัวเองเป็นศิลปินที่เป็นอิสระจากกลไกทางการตลาด ในนิตยสาร อาร์ตฟอรั่ม ศิลปินนำตัวอย่างจากผลงานชื่อ Displaced/Replaced Mass มาเป็นตัวอย่างในการสะท้อนให้เห็นถึงทัศนคติของศิลปินที่มีต่อโลกศิลปะดังนี้ “สถานะของศิลปะได้ดำเนินมาถึงจุดอิ่มตัว พิพิธภัณฑ์ต่างๆแออัดไปด้วยผลงานคอลเลคชั่นต่างๆมากมายจนพื้นแทบจะทรุดอยู่แล้ว ทั้งๆที่พื้นที่ด้านนอกยังมีเหลืออยู่แท้ๆ” ผืนดินซึ่งเป็นที่ตั้งของผลงาน Displaced/Replaced Mass เปิดให้คนทั่วไปได้เข้ามาซื้อได้ ทว่าไม่สามารถซื้องานศิลปะชิ้นนี้ไปได้ ดังที่ศิลปินกล่าวว่า “มีขายเฉพาะที่ดินเท่านั้น งานศิลปะไม่เกี่ยว” ทั้งนี้ไฮเซอร์ได้วิพากษ์วิจารณ์สภาพสังคมที่ก้มหัวให้กับงานศิลปะที่มีคุณประโยชน์ในแง่ของประโยชน์ใช้สอย หรูหรา หรือตอบสนองในด้านการประดับตกแต่งอย่างดุดัน และสถาบันศิลปะต้องมีส่วนรับผิดชอบกับปัญหาดังกล่าวไม่มากก็น้อย<ref>มิชาเอล ไลลัค. แลนด์อาร์ต. กรุงเทพฯ :เดอะเกรทไฟน์อาร์ท, 2552. หน้า 52.
</ref>
 
ทั้งการออกแบบและการฟื้นฟูสภาพทางนิเวศน์ล้วนเป็นภารกิจที่สะท้อนให้เห็นถึงความสนใจของศิลปินในเรื่องพื้นที่ มวลและปริมาตรอีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความสนใจในการทำงานกับพื้นดินโดยตรงอีกด้วย ทั้งนี้หลังจากผลงานประติมากรรมนิเวศศิลป์ทั้งหมดสร้างเสร็จในเดือนตุลาคม 1985 และเปิดให้สาธารณชนเข้าชมในฤดูใบไม้ร่วงของปี 1986 หน้าดินก็เริ่มถูกกัดเซาะอยู่เรื่อยๆ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การอนุรักษ์ดูแลผลงานตกเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐอิลลินอยส์ ถึงกระนั้นปัจจุบันประติมากรรมเนินดินเหล่านี้กลับพังทลายจนทบจะจำเค้าโครงเดิมไม่ได้ จนทำให้เกิดคำถามขึ้นว่าจะพอมีหวังบ้างหรือไม่ที่ศิลปิน ภาครัฐและภาคเอกชนจะให้ความร่วมมือกันดำรงรักษาผลงานศิลปะร่วมกัน <ref>มิชาเอล ไลลัค. แลนด์อาร์ต. กรุงเทพฯ :เดอะเกรทไฟน์อาร์ท, 2552. หน้า 56.
</ref>
 
 
 
เส้น 39 ⟶ 49:
=== Double Negative ===
[[ไฟล์:Nagative_space.jpg|150px|thumbnail|Double Negative, 1969]]
งานของไฮเซอร์ ที่ชื่อเสียงมากที่สุด คือ “ Double Nagative”ในปี 1970 ผลงานชิ้นนี้สร้างที่เนวาดา สหรัฐอเมริกา ได้รับการจัดในแกลลอรี่ ของ museum of Comtemporary Art ที่ ลอส แองเจอลิส ลักษณะชิ้นงาน คือการขุดเป็นร่อง ขนาดใหญ่กลางพื้นดินทะเลทราย โดยดินที่ขุดไปประมาณ 240000 ตัน และมีความลึกไป 50 ฟุต ความกว้าง 30 ฟุต และความยาว 1500 ฟุต สามารถเดินไปชมได้ ดับเบิ้ล เนกาทีฟ คล้ายกับ เป็นสิ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นเอง เป็นเป็นความคิดของไฮเซอร์ว่า สิ่งที่มนุษย์ทำลงไปไม่มีประโยชน์ ยังปล่อยให้งานถูกกัดกร่อนโดยธรรมชาติ สุดท้ายก็กลับคืนสู่ธรรมชาติ โดยงานแนว ภูมิศิลป์หรือที่เรียกว่า แลนด์อาทต์ เป็นที่นิยมในอเมริกา สมัยช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 จนถึงคริสต์ทศวรรษ 1970 ซึ่งมีศิลปินที่ร่วมสมัยขณะนั้น คือ โรเบิตร์ สมิทสัน ผู้สร้างทะเลกำแพงขมวดหอย<ref>http://doublenegative.tarasen.net/double_negative.html</ref>
Double Nagative คือผลงานที่มีชื่อเสียงโดดเด่นชิ้นแรกของไมเคิลในงานภูมิศิลป์ ผลงานชิ้นนี้ประกอบไปด้วยการขุดสองคูดินในบริเวณขอบหน้าผาของ Mormon Mesa ทางตะวันตกเฉียงเหนือของ Overton รัฐเนวาด้า ในปี 1969 –70
โดยท้องร่องดินเป็นช่องที่ข้ามช่องว่างขนาดใหญ่ที่สร้างโดยรูปทรงธรรมชาติของริม Mormon Mesa ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ช่องว่าง และรวมกับการขุดได้ความยาว 1500 ฟุต และความลึก 50ฟุต และความกว้าง 30ฟุต โดยการก่อสร้างนี้ใช้หิน หินทราย และหินไรโอไลต์ ที่เข้ามาแทนที่ที่ว่างที่ใช้ในการก่อสร้างร่องดินที่ถูกขุด<ref>http://doublenegative.tarasen.net/double_negative.html</ref>
 
"double negative" ในชื่อนี้จึงหมายถึงทั้งธรรมชาติสร้างขึ้นและและมนุษย์สร้างช่องว่างเป็นรูปเครื่องหมายลบเป็นผลงาน งานชิ้นนี้ไม่มีอะไรเป็นส่วนประกอบหลักปัจจุบันผลงานชิ้นนี้เป็นเจ้าของโดยพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยที่ลอสแองเจิลลิส (MOCA) และสามารถเข้าชมได้โดยรถสี่ล้อหรือรถมอเตอร์ไซค์<ref>http://pictify.com/21699/michael-heizer-double-negative</ref>
เส้น 91 ⟶ 100:
 
== อ้างอิง ==
:มิชาเอล ไลลัค. '''แลนด์อาร์ต'''. กรุงเทพฯ :เดอะเกรทไฟน์อาร์ท, 2552.<br />
:Michael Kimmelman. '''A Sculptor's Colossus of the Desert New York Times''', 1999.
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
เส้น 98 ⟶ 109:
* [http://www.gagosian.com/artists/michael-heizer/ ตัวอย่างผลงานเพิ่มเติมของไมเคิล ไฮเซอร์]
* [http://www.gagosian.com/artists/michael-heizer/selected-works/ ตัวอย่างผลงานเพิ่มเติมของไมเคิล ไฮเซอร์]
* [http://googlesightseeing.com/2013/10/michael-heizers-landscape-and-other-art// ตัวอย่างภาพถ่ายทางอากาศของไมเคิล ไฮเซอร์]
* [http://nga.gov.au/internationalprints/tyler/DEFAULT.cfm?MnuID=2&VUWRKS=TRUE&ArtistIRN=20765/ ตัวอย่างผลงานภาพพิมพ์ของไมเคิล ไฮเซอร์]
* [http://www.pacegallery.com/newyork/exhibitions/11793/michael-heizer/ Michael Heizer’s Stone Sculptures Exhibited]
* [http://www.diaart.org/exhibitions/introduction/83/ Dia Art Foundation]
 
[[หมวดหมู่:ภูมิศิลป์]]