ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 22:
 
== ประวัติ ==
ไม่มี
ชื่อเสียงของโรงเรียนอัสสัมชัญพระนครโน้มได้น้ามนักเรียนจากเชียงใหม่ไปศึกษาที่กรุงเทพ ตั้งแต่ พ.ศ. 2453 เมื่อนักเรียนเหล่านั้นได้กลายเป็นศิษย์เก่าแล้ว จึงเชิญภราดาไมเคิล และภราดา[[ฟ. ฮีแลร์]] ไปเปิดโรงเรียนที่นั่น ประกอบกับ [[ผู้แทนพระสันตะปาปา]] [[เรอเน-มารี-โฌแซ็ฟ แปโร|เรอเน แปโร]] ประมุข[[เขตมิสซังกรุงเทพฯ|เขตมิสซังสยาม]]ในขณะนั้น และบาทหลวงยอร์ช มีราแบล คิดว่าการเผยแผ่คริสต์ศาสนาจะดีขึ้น หากมีโรงเรียนคาทอลิกช่วยอีกแรง ดังนั้นแล้วจึงเชิญ[[คณะอุร์สุลิน]] และ[[คณะภราดาเซนต์คาเบรียล]] ไปเปิดโรงเรียนชาย และหญิง
 
14 ตุลาคม พ.ศ. 2474 เมื่อโรงเรียนอัสสัมชัญหยุดกลางภาค ภราดาไมเคิล และ ภราดาฟ.ฮีแลร์ พร้อมด้วยอัสสัมชนิกฝ่ายเหนือ โดยสารรถไฟด่วนขึ้นยัง ลำปาง, เชียงใหม่ ตลอดจน เชียงรายและเชียงแสน เพื่อหาดูทำเลที่เหมาะสมแก่การตั้งโรงเรียน ในที่สุดคณะอุร์สุลินได้ตั้ง[[โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย]]ขึ้น ส่วนคณะภราดาเซนต์คาเบรียลได้ตั้งโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2475 โดยใช้ที่ดินที่บาทหลวงยอร์ช มีราแบล ซื้อไว้นานแล้วจาก[[หลวงอนุสารสุนทร (สุ่นฮี้ ชุติมา)]] บริเวณถนนเจริญประเทศ แปลงหนึ่งขนาด 12 ไร่ติดแม่น้ำปิงมอบให้โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แต่การสร้างโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยเสร็จล่าช้ากว่า[[โรงเรียนพระหฤทัย เชียงใหม่|โรงเรียนพระหฤทัย]]และเรยีนา ราวครึ่งปี
 
โรงเรียนมงฟอร์ตทำการเปิดสอนครั้งแรก ในวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 โดยมีภราดาซิเมออน ริโตล เป็นอธิการคนแรก และมีภราดาแอมบรอซิโอ เป็นรองอธิการ โดยระหว่างเปิดสอนขณะนั้น มีนักเรียนเพียง 22 คน โดยอาศัยเรือนไม้ข้างโบสถ์พระหฤทัย(หลังเก่า)เป็นห้องเรียนชั่วคราว
 
เมื่ออาคารมงฟอร์ต และอาคารอำนวยการแล้วเสร็จ นักเรียนมงฟอร์ตรุ่นแรก จึงย้ายจากวัดพระหฤทัยเข้ามาเรียนในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2476 จากนั้นนักเรียนจึงเพิ่มขึ้นเป็น 116 คน โดยการเรียนการสอนในช่วงแรกๆ เนื่องจากชั้นหนึ่ง มีนักเรียนไม่มากนัก การเรียนการสอนจึงสอนอย่างสบายๆ กวดขันใกล้ชิด ดังนั้นแล้วนักเรียนในสมัยนั้นจะสามารถพูดภาษาอังกฤษตอบโต้ได้เป็นอย่างดี
 
ในสมัยของภราดาปีเตอร์ดำรงตำแหน่งอธิการ [[สงครามโลกครั้งที่สอง]] ได้อุบัติขึ้น ส่งผลให้การศึกษาต้องหยุดชะงัก จังหวัดได้ประกาศปิดโรงเรียนทุกแห่งในเชียงใหม่ และมีทหารสื่อสาร และทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานมาใช้พื้นที่โรงเรียนนานเกือบเดือน ก่อนที่จะย้ายไปทุ่งช้างคลาน ด้วยภาวะสงครามและเศรษฐกิจตกต่ำ เมื่อราชการประกาศให้เปิดโรงเรียน จึงมีนักเรียนเหลือน้อยมาก ภราดาปีเตอร์ได้พยายามทำทุกวีถีทางเพื่อให้โรงเรียนก้าวหน้าต่อไปได้ ซึ่งก็ผ่านไปได้ด้วยดี
 
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2478 ภราดาเกลเมนต์ (บุญมี เกิดสว่าง) ได้ยื่นคำขอต่อกระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ แต่เนื่องจากภาวะสงครามจึงถูกเพิกเฉย ต่อมาภราดาเซราฟิน ได้ยื่นคำร้องนี้อีกครั้ง เมื่อ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2489 คำร้องได้รับการพิจารณา พร้อมด้วยมีการตรวจโรงเรียน ทำให้โรงเรียนได้รับการรับรองวิทยฐานะเทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาล ตั้งแต่ปีการศึกษา 2589 ในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2490 และสามปีต่อมาได้เริ่มเปิดแผนกมัธยม ด้วยนักเรียนที่มีจำนวนมากขึ้นเอยๆจนโรงเรียนเดิมไม่สามารถรับนักเรียนได้ไหว จึงไปตั้งแผนกประถมที่ถนนช้างคลาน (ปัจจุบันคือ[[โรงเรียนวชิรวิทย์]] ฝ่ายประถม) ในปี [[พ.ศ. 2513]]
 
ต่อมาเมื่อโรงเรียนมีนักเรียนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ต้องย้ายแผนกมัธยมจากเดิมที่ถนนเจริญประเทศ ไปตั้งใหม่ยังถนนมหิดล ตำบลท่าศาลา บริเวณใกล้ ๆ กับ[[โรงเรียนกาวิละวิทยาลัย]] ในพื้นที่ 52 ไร่ โดยเริ่มเปิดทำการศึกษาแผนกมัธยมในบริเวณใหม่ในปี [[พ.ศ. 2528]] และย้ายแผนกประถมกลับมายังถนนเจริญประเทศซึ่งเป็นที่ตั้งของแผนกมัธยมเดิม
 
== ข้อมูลทั่วไป ==