ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนวัดนวลนรดิศ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sirichok Kaewmanee (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มรูปภาพตราประจำโรงเรียนวัดนวลนรดิศ
Sirichok Kaewmanee (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 19:
| เว็บ = http://www.nd.ac.th/
}}
'''โรงเรียนวัดนวลนรดิศ''' อักษรย่อ (น.ด.) เป็น[[โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ]] เดิมเป็นประเภทนักเรียนชายล้วน ปัจจุบันเป็นประเภทสหศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร มัธยมศึกษาเขต 3 1 กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่บริเวณวัดนวลนรดิศ เลขที่ 137 ซอยถนนเพชรเกษม 19 แขวงปากคลอง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพ กรุงเทพฯ 10160 ทีมีเนื้อที่ทั้งหมด 13 ไร่ 3 งาน 2 ตารางวา แยกเป็น 2 บริเวณ บริเวณที่ 1 ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัดนวลนรดิศ ริมคลองบางหลวง มีเนื้อที่ 4 ไร่ 3 งาน 13 ตารางวา เป็นที่เรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1, 2 และ 3 บริเวณที่ 2 ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของวัดนวลนรดิศ ใกล้ถนนเพชรเกษม (อยู่ห่างจากบริเวณ 1 ประมาณ 300 เมตร ) มีเนื้อที่ 8 ไร่ 3 งาน 89 ตารางวา เป็นที่เรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, 5 และ6
 
ปัจจุบันโรงเรียนวัดนวลนรดิศ เปิดสอนระดับ ม.1-ม.6 รวม 63 ห้องเรียน มีอาคารเรียน 6 หลัง อาคารหอประชุมชั้นล่างเป็นโรงอาหาร และอาคารกาญจนาภิเษก โดยมีหลังคาขนาดใหญ่คลุมสนาม บริเวณ 2 และสนามฟุตซอลที่ทันสมัย มีครู 102 คน ครูพิเศษ 8 คน ลูกจ้างประจำ 8 คน นักเรียน 2,879 คน โดยมีนายประเสริฐ ผุดผ่อง เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน
 
== ประวัติ ==
โรงเรียนวัดนวลนรดิศเปิดทำการสอนเมื่อ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2433 ตรงกับวันขี้น 9 ค่ำ เดือน 9 รัตนโกสินทรศก 109 ปีแรกมีนักเรียน 9 คน ใช้ศาลาการเปรียญและกุฏิเป็นที่เรียน มีพระเดชพระคุณพระสาสนานุรักษ์อดีตเจ้าอาวาสวัดนวลนรดิศ เป็นผู้ทำการสอนและมีครูช่วยอีก 2 คน คือ ครูหวาด และครูแก้ว สาลิคุปต์
 
*[[พ.ศ. 2437]] หลวงสรรวิชาเพิ่ม (ผ่อง โกมลวิศ) ขณะดำรงสมณเพศเป็นฐานานุกรมที่พระสมุห์ทำหน้าที่ครูใหญ่และย้ายมาสอนที่ศาลาคณะล่าง (รื้อถอนแล้วเนื่องจากเสื่อมสภาพ) ซึ่งเป็นที่ดินของวัดนวลนรดิศ มีบริเวณเนื้อที่ 4 ไร่ 1 งาน 67 ตารางวา ทำการสอนตั้งแต่ประโยค 1 ถึงประโยค 2 มีทั้งนักเรียนชายและหญิง
*[[พ.ศ. 2454]] เปิดสอน 3 ระดับชั้น คือ ชั้นมูล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา จำนวน 9 ห้อง นักเรียน 320 คน ครู 12 คน มีพระผู้สอนถูกระบอบ (เรือง หิญชีระนันท์) เป็นครูใหญ่
*[[พ.ศ. 2462]] เปิดชั้นเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาถึงชั้นมัธยมศึกษา (ป.1 – ม.6) จำนวน 11 ห้องเรียน นักเรียน 320 คน ครู 12 คน มีขุนการุญสิกขะพันธุ์ (บุนนาค พฤกษาชีวะ) เป็นครูใหญ่
*[[พ.ศ. 2479]] ได้ขยายชั้นเรียนมัธยมศึกษาถึง 8 จำนวน 18 ห้องเรียน นักเรียน 372 คน ครู 24 คน มีนายเพี้ยน บัวแย้มเจริญ เป็นครูใหญ่
*[[พ.ศ. 2482]] ยุบชั้นเรียนประถมศึกษา เปิดสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-8 จำนวน 18 ห้องเรียน นักเรียน 400 คน ครู25คน
*[[พ.ศ. 2484]] เปิดสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษา 1-8 มี ขุนปราศรัยจรรยา (สอนกัลปพันธุ์) เป็นครูใหญ่
*[[พ.ศ. 2488]] ลดชั้นเรียนลงคงเปิดสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 15 ห้องเรียน นักเรียน 611 คน ครู 18 คน มีนายโชค สุคันธวนิช เป็นครูใหญ่
*[[พ.ศ. 2490]] ขยายชั้นเรียนถึงขั้นเตรียมอุดมศึกษา แผนกกวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ จำนวน 16 ห้องเรียน นักเรียน 462 คน ครู 24 คน นายสำเนียง ตีระวนิช เป็นอาจารย์ใหญ่
*[[พ.ศ. 2497]] นายไพโรจน์ บุญศิริธรรม ได้มอบที่ดินจำนวน 72 ตารางวา มูลค่า 28,800 บาท ให้แก่โรงเรียนเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ นางส้มจีน บุญศิริธรรม ผู้เป็นมารดา ที่ดินของโรงเรียนจึงเพิ่มเป็น 4 ไร่ 2 งาน 39 ตารางวา และได้ขยายชั้นเรียนภาคบ่ายขึ้น จึงมีจำนวนห้องเรียนทั้งหมด 19 ห้องเรียน นักเรียน 750 คน ครู 29 คน มีนายถวิล สุริยนต์ เป็นอาจารย์ใหญ่
*[[พ.ศ. 2501]] ขยายขั้นเรียนภาคบ่ายเพิ่มเติมอีก จึงมีจำนวนห้องเรียนทั้งหมด 39 ห้องเรียน 1,574 คน ครู 50 คน
*[[พ.ศ. 2502]] พระราชสังวรมิมล (แช่ม ธมมานนโท) เจ้าอาวาสวัดนวลนรดิศในขณะนั้น ได้มอบที่ดินของวัดจำนวน 2 ไร่ 3 งาน เพื่อเป็นที่สร้างโรงเรียน (บริเวณ 2) ขณะนั้นนายเดช เดชกุญชร เป็นอาจารใหญ่
*[[พ.ศ. 2504-2506]] ลดชั้นเรียนภาคบ่ายลง แล้วยุบชั้นมัธยมปีที่ 1-3 คงเปิดสอนแต่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น(ม.ศ.1-3) และชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.ศ. 4-5) แผนกวิทยาศาสตร์และแผนศิลปะ จำนวน 37 ห้องเรียน นักเรียน 1307 คน ครู 76 คน
*[[พ.ศ. 2505]] กรมสามัญศึกษาได้ซื้อที่ดินเพิ่มเติมในบริเวณ 2 อีก 2ไร่ เป็นเงิน 480,000 บาท ที่ดินบริเวณ 2 จึงเพิ่มเป็น 4 ไร่ 3 งาน
*[[พ.ศ. 2507]] เปิดสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 และมัธยมศึกษาปีที่ 4-5 แผนกวิทยาศาสตร์และแผนกศิลปะ จำนวน 38 ห้องเรียน นักเรียน 1,520 คน ครู 67คน มีนายทองสุก เกตุโรจน์ เป็นอาจารย์ใหญ่
*[[พ.ศ. 2509]] สร้างอาคารโรงฝึกงานคอนกรีต 2 ชั้น วงเงิน 300,000 บาทขึ้นที่บริเวณ 2 (ปัจจุบันรื้อแล้วและใช้พื้นที่จัดสร้างอาคารหอประชุม 100 ปีนวลนรดิศ)
เปิดสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-5 แผนกวิทยาศาสตร์และแผนกศิลปะ 38 ห้องเรียน มีนักเรียน 1,307 คน ครู 76 คน มี นายทองหยิบ วิจิตรสุข เป็นอาจารย์ใหญ่
*[[พ.ศ. 2516]] เปิดสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-5 แผนกวิทยาศาสตร์และแผนกศิลปะ จำนวน 39 ห้องเรียน มีนักเรียน 1,730 ห้อง ครู 67 คน มีนายชาลี ถาวรานุรักษ์ เป็นอาจารย์ใหญ่
*[[พ.ศ. 2517]] เปิดสอนตั้งแต่มัธยมศึกษาปีที่ 1-5 แผนกวิทยาศาสตร์และแผนกศิลปะ จำนวน 48 ห้องมีนักเรียน 2,000 คน ครู 85 คน (ในปีนี้ได้เพิ่มชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รอบบ่าย อีก 8 ห้องเรียน)
*[[พ.ศ. 2519]] ก่อสร้างอาคาคารแบบพิเศษ 4ชั้น (อาคาร 3 ตึกอำนวยการ) ขึ้นในบริเวณ 2 งบประมาณ 3,920,000 บาท แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2520 มีนายธีรพล วงศ์ธัญญากรณ์ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน
*[[พ.ศ. 2521]] เริ่มเปิดสอนตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 อีกจำนวน 10 ห้องเรียน นักเรียน 450 คน
*[[พ.ศ. 2523]] ก่อสร้างอาคารเรียนพิเศษ 5 ชั้น ในบริเวณ 1 งบประมาณ 4,615,950 บาท แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2524 มีนายเทพ เที่ยงตรง เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน
*[[พ.ศ. 2524]] เปิดสอนหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 จำนวน 6 ห้องเรียน มีนายจรรยา มานิตกุล เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน
*[[พ.ศ. 2526]] นางสาวเลื่อม พึ่งตน ได้มอบที่ดินบริเวณประตูทางเข้าบริเวณ 2 จำนวน 7 ตารางวา มูลค่า 26,250 บาท ที่ดินบริเวณ 2 จึงเพิ่มขึ้นเป็น 4 ไร่ 3งาน 7ตารางวา
*[[พ.ศ. 2527]] สมาคมนักเรียนเก่านวลนรดิศ สมาคมผู้ปกครองและครูนวลนรดิศและมูลนิธินวลนรดิศครบรอบ 80 ปี ได้ร่วมจัดหาเงิน 2,795,219 บาท ร่วมสมทบทุนกับเงินงบประมาณของกรมสามัญศึกษาจำนวน 2,417,781 บาทรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 5,213,000 บาท ซื้อที่ดินจำนวน 4 ไร่ 4ตารางวา (ติดกับบริเวณ 2 ปัจจุบันใช้เป็นสนามกีฬาของโรงเรียน) และได้ก่อสร้างต่อเติมอาคาร 5 ชั้น ในบริเวณ 1 เพื่อเป็นอาคารอเนกประสงค์งบประมาณ 5,700,000 บาท
*[[พ.ศ.2528]] ก่อสร้างอาคารแบบพิเศษ 5 ชั้น ในบริเวณ 2 งบประมาณ 5,700,000 บาท มีจำนวนห้องเรียนในอาคาร 28 ห้องเรียน โดยแบ่งสร้าง 16 ห้องเรียนในปีงบประมาณ 2528 และอีก 12 ห้องเรียน ในปีงบประมาณ 2529
*[[พ.ศ.2530]] ก่อสร้างอาคารแบบพิเศษ 5 ชั้น ในบริเวณ 2 อีก 12ห้องเรียนงบประมาณ 4,000,000 บาทมีนายไพบูลย์ ฉิ่งทองคำ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน
*[[พ.ศ.2531]] ได้งบประมาณจำนวน 180,000 บาท ซื้อที่ดินขยายเนื้อที่บริเวณ 1 จึงมีที่ดินเพิ่มอีก 74.40 ตารางวา ( 3.20 x 93.00 เมตร ) รวมเป็น 4 ไร่ 3 งาน
13.40 ตารางวา
*[[พ.ศ.2533]] ได้งบประมาณจำนวน 4,050,000 บาท กับที่โรงเรียนจัดหาสมทบอีก 500,000 บาท รวมเป็นเงิน 4,550,000 บาท สร้างอาคารหอประชุม โรงอาหาร( อาคาร 100 ปีนวลนรดิศ ) มีนายสุชาติ ไชยมะโน เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ซึ่งเป็นปีที่โรงเรียนวัดนวลนรดิศมีอายุครบ 100 ปี เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2533
*[[พ.ศ.2534]] เริ่มใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พ.ศ.2521 ( ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533 ) และหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ.2524 ( ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533 ) มีห้องเรียนจำนวน 55 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 2,626 คน ครู-อาจารย์ 150 คน มี นายเจริญ ทั่งทอง เป็นผู้นวยการโรงเรียนได้ปรับปรุงพื้นที่สนามบริเวณ 2 ต่อเติมโรงอาหารใหม่, สร้างห้องอาคารครู, ห้องประชาสัมพันธ์, ห้องกิจกรรมสหกรณ์, ป้ายชื่อโรงเรียน, เสาธงชาติ, สำนักงานบริหารทุกฝ่าย, บ้านพักการภารโรง, อ่างล้างมือ, ที่เก็บขยะ, เตาเผาขยะ และห้องน้ำ ห้องส้วมนักเรียน
นอกจากนี้ยังได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาดีเด่น ประจำปีการศึกษา2534 ของ กรมสามัญศึกษา และได้รับรางวัลบรรเลงเพลงไทยชนะเลิศ กับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 5 ในการประกวด วงโยธวาทิตนักเรียนนิสิตนักศึกษาชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทยรางวัลถ้วยพระราชทานประจำปี 2535 ของกระทรวงศึกษาธิการ
*[[พ.ศ.2538]] โรงเรียนวัดนวลนรดิศได้เริ่มเปิดรับนักเรียนเป็นแบบสหศึกษาเป็นปีแรกทั้งระดับชั้น ม.1 และ ม.4
นอกจากนี้โรงเรียนยังได้จัดทอดผ้าป่าการศึกษาเพื่อนำเงินมาจัดสร้างหอประดิษฐานพระพุทธรูปประจำโรงเรียน และอาคารกาญจนาภิเษก ขึ้นที่บริเวณ 2 ซึ่งได้เงินทำบุญในการทอดผ้าป่าครั้งนี้จำนวน 2 ล้านกว่าบาท
*[[พ.ศ.2539]] โรงเรียนได้ดำเนินการวางศิลาฤกษ์หอประดิษฐานพระพุทธรูป และทำการก่อสร้างจนแล้วเสร็จพร้อมทั้งได้รับพระเมตตาจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายกประทานพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยขนาดหน้าตักกว้าง 50 นิ้ว แล้วได้อัญเชิญมาประดิษฐานเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม 2540
นอกจากนี้ยังได้วางศิลาฤกษ์อาคารกาญจนาภิเษกเพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาส ที่พระบาทสมเด็จพระสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชทรงครองราชย์สมบัติครบปีที่ 50 และดำเนินการก่อสร้างแต่ยังไม่แล้วเสร็จเนื่องจากยังขาดเงินอีก พร้อมกันนี้ได้ปรับปรุงหอประชุมอาคาร 100 ปีนวลนรดิศ เป็นห้องปรับอากาศ จัดสร้างกันสาดด้านหน้าอาคาร 3 และ อาคาร 4 จัดสร้างห้องน้ำ ห้องส้วมและปรับปรุงสนาม
บริเวณ 1
*[[พ.ศ.2540]] โรงเรียนได้งบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน 6 ชั้น ที่บริเวณ 1 และได้สร้างอาคารเรียนชั่วคราว เพื่อใช้เป็นห้องเรียนอีก 3 ห้อง ในปลายปีการศึกษา 2540 นายประเสริฐ อหิงสโก ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดนวลนรดิศ ได้ดำเนินการให้ขยายและปรับปรุงห้องสมุดให้เต็มพื้นที่ชั้นล่างอาคาร 4 เพื่อให้บริการนักเรียนและครูอาจารย์ได้อย่างเต็มที่และให้ได้ตามเกณฑ์มาตราฐานห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษกปรับปรุงและติดตั้งเครื่องปรับอากาศให้ห้องพักครูอาจารย์ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
*[[พ.ศ.2541]] อาคารแบบพิเศษ 6 ชั้น ได้ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อย และจัดให้บริเวณ 1 เป็นที่เรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น บริเวณ 2 เป็นที่เรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ย้ายเสาธงชาติไว้หน้าอาคารหอประชุม 100 ปีนวลนรดิศ เพื่อไม่ให้แสงแดดส่องตานักเรียนขณะทำกิจกรรมหน้าเสาธงในตอนเช้า ปรับปรุงสนามบริเวณ 2 ระหว่างอาคาร 3 และอาคาร 4 ให้เป็นห้องสนามคอนกรีตโล่ง
ในปีนี้ ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษกของโรงเรียนวัดนวลนรดิศได้รับคัดเลือกให้เป็นห้องสมุดดีเด่นขนาดใหญ่พิเศษ ของกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมใน “โครงการห้องเรียนสีเขียว” ของการไฟฟ้าแห่งผลิต และกรมสามัญศึกษาได้มอบหมายให้เป็นโรงเรียนประธานสหวิทยาเขต “ปากน้ำ - ภาษีเจริญ”
*[[พ.ศ.2542]] ปรับปรุงสนามบริเวณ 1 เป็นลานอเนกประสงค์ ด้วยงบประมาณจำนวน 500,000 บาท ( ห้าแสนบาทถ้วน ) จัดสร้างห้องคอมพิวเตอร์จำนวน 2 ห้อง สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นเรียนที่บริเวณ 1 จำนวน 1 ห้องเรียน และสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายเรียนที่บริเวณ 2 จำนวน 1 ห้อง โดยเสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 1,600,000 บาท ( หนึ่งล้านหกแสนบาทถ้วน )
นอกจากนี้อาคารกาญจนาภิเษก ซึ่งดำเนินการก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2539 นั้นก็ได้สร้างแล้วเสร็จ โรงเรียนวัดนวลนรดิศได้รับเลือกให้เป็นโรงเรียนประธานกลุ่มโรงเรียนกรมสามัญศึกษาส่วนกลาง กลุ่มที่ 8 ในปี 2542 ด้วยเช่นกัน
*[[พ.ศ.2543]] ทำพิธีเปิดอาคารกาญจนาภิเษกเพื่อใช้เป็นอาคารอเนกประสงค์ และเปิดอาคารเรียน 6 ชั้น “อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา” บริเวณ 1
ในปีนี้โรงเรียนวัดนวลนรดิศได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนผู้นำการประกันคุณภาพการศึกษาของสหวิทยาเขต “ปากน้ำ-ภาษีเจริญ” ได้รับการคัดเลือก เป็นศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย กลุ่มโรงเรียนกรมสามัญศึกษาส่วนกลางกลุ่มที่ 8
*[[พ.ศ.2544]] โรงเรียนวัดนวลนรดิศ ได้รับการคัดเลือกเป็นศูนย์คอมพิวเตอร์ กลุ่มโรงเรียนกรมสามัญกรุงเทพมหานครกลุ่มที่ 8 ได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนแกนนำการปฎิรูปการศึกษาด้านการปฎิรูปการเรียน การประกันคุณภาพการศึกษา และการกระจายอำนาจ ( การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ) ของ สหวิทยาเขตปากน้ำ-ภาษีเจริญ
*[[พ.ศ.2545]] โรงเรียนวัดนวลนรดิศได้รับโล่สถานศึกษาวิชาทหารดีเด่น ประจำปี 2541
ได้รับประราชทานโล่รางวัลชนะเลิศการจัดนิทรรศการ ในโครงการเยาวชนไทยให้โลหิต จากสมเด็จพระเทพรัตนตาชกุมารี
*[[พ.ศ.2546]] โรงเรียนวัดนวลนรดิศได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนที่มีการบริหารงานได้ดีเด่นจากกลุ่มโรงเรียนกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร กลุ่มที่ 8 ได้ผ่านการประเมินคุณภาพภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตราฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา ( สมศ. ) และได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครเขต 3 เป็นศูนย์โรงเรียนวิถีพุทธ ในปีนี้ โรงเรียนได้เปิดดำเนินกิจการธนาคารโรงเรียน
*[[พ.ศ.2547]] เปิดโครงการส่งเสริมความสารามถทางภาษาอังกฤษ (Intensive English Program)ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
*[[พ.ศ.2548]] ได้รับรางวัลพร้อมโล่เกียรติยศ "ธนาคารโรงเรียนดีเด่น"
*[[พ.ศ.2549]] เปิดโครงการส่งเสริมความสารามถทาง วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ในระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้รับรางวัลพร้อมโล่เกียรติยศ "ธนาคารโรงเรียนดีเด่น" ประจำปี 2549
*[[พ.ศ.2549 - พ.ศ.2550]] โรงเรียนวัดนวลนรดิศ ปูพื้นสนาม บริเวณ 2 โดยการเทซีเมนต์เสมอกันทั้งสนาม ทำพื้นลาดยางโดยได้รับความร่วมมือจากสมาคมผู้ปกครอง และครูโรงเรียนวัดนวลนรดิศ โดยการนำของ ผู้อำนวยการประเสริฐ ถาวรชัยสิทธิ์
ได้รับรางวัลห้องสมุคดีเด่น และห้องสมุดโรงเรียนส่งเสริมการอ่านดีเด่น จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 และผ่านการประเมินภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)
*[[พ.ศ.2550]] เปิดการสอนโครงการพิเศษ วิทย์-คณิต ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ได้รับรางวัลโรงเรียนต้นแบบห้องสมุดมีชีวิต ประจำปีการศึกษา 2550 จาก สพฐ.กทม.3
ในปีนี้ได้รับการแต่งตั้งจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 3 ให้โรงเรียนวัดนวลนรดิศ เป็นศูนย์พัฒนาวิชากาารกลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย และได้รับรางวัลพร้อมโล่เกียรติยศ ธนาคารโรงเรียนดีเด่น ประจำปี 2540-2552
*[[พ.ศ. 2552]] ได้รับรางวัล ต้านภัยเอดส์ระดับประเทศ สร้างหลังคาคลุมสนามบริเวณ2 ดำเนินการโดยผู้อำนวยการแสงทอง ธัญญโกเศศสุข และคลุมสนามบาสเก็ตบอลด้านหลังอาคาร3 ปรับปรุงอัฒจรรย์เพื่อให้นักเรียนดำเนินงานกีฬาสีอย่างมีความสุข โดยทำหลังคาคลุมอัฒจรรย์ให้ทุกสี
*[[พ.ศ. 2553]] ได้เริ่มดำเนินการพัฒนาโรงเรียน เริ่มตั้งแต่ทาสีอาคารปรับปรุงห้องเรียน พัฒนางานเทคโนโลยีสารสนเทศ ดำเนินการโดยผู้อำนวยการ อำนวย พลชัย
 
== สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน ==
* '''เครื่องหมายของโรงเรียน'''
:1.อักษรย่อ น.ด. หมายถึง "นวลนรดิศ"
:2.เครื่องหมายอุณาโลมเหนืออักษรย่อ ที่ยอดอุณาโลมมีเปลวรัศมีแยกเป็น 19 แฉก หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง เริ่มตั้งแต่ปีที่จัดตั้งโรงเรียนเมื่อรัตนโกสินทร์ศก 109 โดยมีเปลวรัศมีแผ่ไปทั่วทุกทิศานุทิศ
:3.ดอกบุนนาค รองรับด้านล่างข้างละหนึ่งดอก หมายถึง ความรำลึกถึงชื่อสกุลของผู้เริ่มบุรณะวัดนวลนรดิศในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์
* '''สีประจำโรงเรียน'''
** {{แถบสีสามกล่อง|#71336d}} [[สีม่วง]]
** {{แถบสีสามกล่อง|#017746}} [[สีเขียวตองอ่อน]]
* '''วิสัยทัศน์''' วิชาการล้ำเลิศ เชิดชูคุณธรรม ดำรงไทย ยึดมั่นในประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความสุขบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง
* '''ปรัชญา''' เรียนดีเยี่ยม เปี่ยมคุณธรรม ดำรงไทย
* '''คำขวัญ''' นวลฯ จะงาม นามจะดี ก็ที่ศิษย์
* '''ดอกไม้ประจำโรงเรียน''' ดอกบุนนาค
* '''พระพุทธรูประจำโรงเรียน''' พระพุทธปัญญาภาประทาน
* '''เพลงประจำโรงเรียน''' มาร์ชนวลนรดิศ
 
== อาคารสถานที่ ==