ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ระบบพ่อปกครองลูก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
ป้ายระบุ: ย้อนด้วยมือ
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
'''ระบบพ่อปกครองลูก''' ({{lang-en|Paternalism}}) เป็น[[คำศัพท์]]ที่ใช้เรียกลักษณะ[[การปกครอง]]แบบโบราณที่ผู้ปกครองเป็นเสมือน “[[พ่อ]]” และ[[ประชาชน]]เปรียบเสมือน “ลูก” ในทาง[[คำศัพท์]]จะใช้เรียกแทน[[พฤติกรรม]]ของ[[บุคคล]] [[องค์กร]] หรือ[[การปกครอง]]ที่จำกัด[[สิทธิ]][[เสรีภาพ]]และความอิสระของ[[ประชาชน]] ในบางความหมายจะใช้แทนการเรียกระบบสังคมที่จำกัด[[สิทธิ]]ของคนบางกลุ่มและให้คนบางกลุ่มที่เป็นส่วนน้อยของ[[สังคม]]มีสิทธิพิเศษที่เหนือกว่าคนส่วนใหญ่ หรือใช้เรียก[[กฎหมาย]]ที่เข้ามาจำกัดสิทธิส่วนบุคคลมากเกินไป เช่น กฎหมายห้ามขายสุราและของมึนเมาในวันสำคัญทางศาสนา เป็นต้น ทั้งนี้การแปลคำว่า Paternalism เป็น “ระบบพ่อปกครองลูก” เนื่องจาก Paternalism มีรากศัพท์มาจาก[[ภาษาลาติน]]คำว่า Pater หมายถึง [[พ่อ]] ซึ่งเมื่อรวมกับคำว่า –ism หมายถึง [[ลัทธิ]] แต่ต้องไม่สับสนกับคำว่า Patriarchy คือ “ปิตาธิปไตย” ที่หมายถึงระบบสังคมที่ลักษณะบางอย่างแสดงออกถึงการให้คุณค่าความเป็นชายมากกว่าและทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันทางเพศ (Kurian, 2011: 1196)<ref>Kurian, George Thomas (2011). The encyclopedia of political science. Washington: CQ Press.</ref>
 
== อรรถาธิบาย ==
แนวคิดระบบพ่อปกครองลูกที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดใน[[โลกตะวันตก]] โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกที่ใช้[[ภาษาอังกฤษ]]ก็คือ การนำแนวคิดดังกล่าวมาใช้สร้างความชอบธรรมให้แก่[[อำนาจ]]ของ[[สถาบันพระมหากษัตริย์]]อังกฤษในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยเซอร์ โรเบิร์ต ฟิลเมอร์ (Sir Robert Filmer) ซึ่งได้อธิบายว่า[[พระมหากษัตริย์]]นั้นมีความชอบธรรมในการใช้[[อำนาจ]]ไม่ใช่เพราะความศักดิ์สิทธิ์ตามแนวคิดเทวสิทธิ์ หากแต่เป็นเพราะพระองค์ได้สืบทอดสิทธิอำนาจดังกล่าวมาจาก[[อดัม]]ที่เป็นมนุษย์ชายคนแรกที่ทำหน้าที่ปกครองภรรยาของเขา คือ [[อีฟ]] และบุตรของเขา ดังนั้นฐานที่มาของ[[อำนาจ]]ของ[[พระมหากษัตริย์]]จึงมาจากสถาบันทางสังคมพื้นฐานนั่นก็คือสถาบันครอบครัวที่มี[[อดัม]]เป็นต้นแบบ และในกรณีของ[[ราชอาณาจักร]]ก็คือครอบครัวขนาดใหญ่ที่มี[[พระมหากษัตริย์]]ทำหน้าที่เป็น[[บิดา]]ของเหล่าอาณาประชาราษฎร์ทั้งปวงนั่นเอง (Filmer, 1991 :1-11)<ref>Filmer, Robert (1991). Patriarcha and Other Writings. Cambridge: Cambridge University Press.</ref>