ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ระบบพ่อปกครองลูก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
พระมหากษัตริย์เปรียบเสมือนพ่อประชาชนเปรียบเสมือนลูก
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
พระมหากษัตริย์เปรียบเสมือนพ่อประชาชนเปรียบเสมือนลูก
 
....
== อรรถาธิบาย ==
แนวคิดระบบพ่อปกครองลูกที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดใน[[โลกตะวันตก]] โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกที่ใช้[[ภาษาอังกฤษ]]ก็คือ การนำแนวคิดดังกล่าวมาใช้สร้างความชอบธรรมให้แก่[[อำนาจ]]ของ[[สถาบันพระมหากษัตริย์]]อังกฤษในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยเซอร์ โรเบิร์ต ฟิลเมอร์ (Sir Robert Filmer) ซึ่งได้อธิบายว่า[[พระมหากษัตริย์]]นั้นมีความชอบธรรมในการใช้[[อำนาจ]]ไม่ใช่เพราะความศักดิ์สิทธิ์ตามแนวคิดเทวสิทธิ์ หากแต่เป็นเพราะพระองค์ได้สืบทอดสิทธิอำนาจดังกล่าวมาจาก[[อดัม]]ที่เป็นมนุษย์ชายคนแรกที่ทำหน้าที่ปกครองภรรยาของเขา คือ [[อีฟ]] และบุตรของเขา ดังนั้นฐานที่มาของ[[อำนาจ]]ของ[[พระมหากษัตริย์]]จึงมาจากสถาบันทางสังคมพื้นฐานนั่นก็คือสถาบันครอบครัวที่มี[[อดัม]]เป็นต้นแบบ และในกรณีของ[[ราชอาณาจักร]]ก็คือครอบครัวขนาดใหญ่ที่มี[[พระมหากษัตริย์]]ทำหน้าที่เป็น[[บิดา]]ของเหล่าอาณาประชาราษฎร์ทั้งปวงนั่นเอง (Filmer, 1991 :1-11)<ref>Filmer, Robert (1991). Patriarcha and Other Writings. Cambridge: Cambridge University Press.</ref>
 
ในทาง[[รัฐศาสตร์]]สมัยใหม่ ระบบพ่อปกครองลูก หมายถึง อำนาจเผด็จการ[[อำนาจนิยม]]ที่ทำการควบคุมและชี้นำประชาชน ในเชิงการปกครอง [[รัฐ]]ระบบพ่อปกครองลูกจะจัดหาการบริการสาธารณะและโครงสร้างพื้นฐานให้กับประชาชนอย่างใกล้ชิด เช่น การจัดบริการ[[น้ำประปา]] [[ไฟฟ้า]] [[ถนน]] [[การสาธารณสุข]] เป็นต้น แต่ก็จะทำการปกครองและควบคุมอย่างเข้มงวดด้วยกฎระเบียบที่ชัดเจน และเน้นส่งเสริมการพัฒนาประเทศจากทั้งทาง[[เศรษฐกิจ]]และ[[ความมั่นคง]] การอธิบายการเมืองระบบพ่อปกครองลูกในยุคหนึ่งจะใช้เพื่อทำความเข้าใจประเทศในกลุ่ม[[สังคมนิยม]] หรือ Soviet bloc ที่[[รัฐบาล]]แทรกแซงการทำงานของกลไกตลาดและควบคุมสิทธิเสรีภาพของปัจเจกบุคคล (Melich, 2011: 1196)<ref>Melich, Jiri S. (2011). “Paternalism”. In Kurian, George Thomas et al. The Encyclopedia of Political Science. Washington, D.C.: CQ Press.</ref> นอกจากนี้ ระบบพ่อปกครองลูก ยังอาจหมายรวมไปถึงการกำหนดนโยบายแบบ ‘คุณพ่อรู้ดี’ คือ การที่[[รัฐ]] หรือ ผู้ปกครองนั้นเชื่อว่าประชาชนอาจไม่เข้าใจว่าผลประโยชน์ที่แท้จริงของตนเองคืออะไร ด้วยฐานคิดเช่นนี้ ทำให้เชื่อว่า ผู้มีอำนาจ หรือ ผู้ปกครองต่างหากที่สมควรเป็นผู้กำหนดนโยบายที่เป็นผลประโยชน์ที่แท้จริงให้แก่ประชาชน
 
สำหรับ[[สังคมไทย]] คำว่าระบบพ่อปกครองลูกจะถูกใช้แทนการปกครองของ[[รัฐบาล]]ที่มี[[พระมหากษัตริย์]]เป็นผู้นำใน[[สมัยสุโขทัย]]นั้น ทำให้เข้าใจได้ว่า มีข้าราชการเกิดขึ้นแล้วเรียกว่า "ลูกขุน" โดยมี[[พระมหากษัตริย์]]เป็น "พ่อขุน" และมีประชาชนเป็น "ท่วย" หรือ "ไพร่ฟ้า" เพราะฉะนั้น [[กษัตริย์]]ในฐานะ[[พ่อ]]จึงสามารถใช้อำนาจเด็ดขาดในการปกครองลูกได้ เพื่อให้ลูกเชื่อฟัง แต่[[พ่อ]]ก็มีหน้าที่ในการปกป้องคุ้มครองลูกอย่างใกล้ชิดเสมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน การที่[[พระมหากษัตริย์]]เป็นเสมือน[[พ่อ]]หรือข้าราชการบริพาร และประชาชนเปรียบเสมือนลูก ทำให้[[การปกครอง]]มีลักษณะใกล้ชิดกัน และเมื่อเกิดปัญหาสังคมขึ้น [[พระมหากษัตริย์]]จะลงมาแก้ไขปัญหาดังกล่าวเอง “พ่อปกครองลูก” เป็นคำที่ใช้เรียกระบอบการปกครองสมัยสุโขทัย ก่อนที่จะมีการสถาปนาความคิดแบบธรรมราชาและเทวราชา
 
== ตัวอย่างการนำไปใช้ในประเทศไทย ==