ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เครื่องสังคโลก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MayThe2nd (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 10186022 สร้างโดย 49.228.202.249 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Aichi Prefectural Ceramic Museum (107).jpg|thumb|เครื่องเคลือบสีเขียวหรือเซลาดอน]]
[[ไฟล์:Covered Jar LACMA M.84.213.11a-b.jpg|thumb|โถเขียนลายสีดำ หรือสีน้ำตาลใต้เคลือบใส]]
 
'''เครื่องสังคโลก''' หมายถึง [[เครื่องปั้นดินเผา]]ที่ผลิตขึ้นในรูปแบบของภาชนะ เครื่องประกอบสถาปัตยกรรม ตุ๊กตา เช่น ถ้วย ชาม จาน ไหดิน โอ่งน้ำ ขวดดิน กระปุก ป้านน้ำชา ช้อน ตลอดจนตุ๊กตารูปคน รูปสัตว์ เช่น ช้าง รูปยักษ์ รูปเทวดา พระพุทธรูป กระเบื้องมุงหลังคา สิงห์สังคโลก ลูกมะหวด ท่อน้ำ ตุ๊กตาเสียกบาล ตัวหมากรุก ช่อฟ้า บราลี ฯลฯ มีทั้งชนิดเคลือบน้ำยาและไม่เคลือบน้ำยา
 
==ประวัติ==
เครื่องสังคโลกมีการผลิตมาตั้งแต่[[สมัยสุโขทัย]]ไปจนถึงสมัย[[กรุงศรีอยุธยา]]ตอนกลาง โดยมีการพัฒนาทั้งรูปแบบและวิธีการผลิตจนสามารถส่งเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญในช่วงระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20–22 การผลิตเครื่องสังคโลกลดลงตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 23 เหตุผลสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ตลาดการค้าสังคโลกเปลี่ยนแปลงคือ การที่จีนหวนกลับมาผลิตเครื่องลายครามน้ำเงิน-ขาว ซึ่งกลายเป็นที่นิยม และการค้าสมัยกรุงศรีอยุธยาเปลี่ยนแปลงไปตามข้อเรียกร้องของชาวตะวันตกที่มีบทบาททางการเมืองในภูมิภาคนี้ เมื่อสุโขทัยอยู่ภายใต้อยุธยา ฝีมือการทำเครื่องปั้นดินเผาก็เสื่อมลงเป็นแค่การปั้นดินหยาบ ๆ เท่านั้น<ref>{{cite web |title=เส้นสายลายสังคโลก |url=https://www.museumthailand.com/th/3610/storytelling/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81/ |publisher=มิวเซียมไทยแลนด์|author=นริศรา ผิวแดง}}</ref>