ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรวรรดิบริติช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว การแก้ไขผิดปกติในบทความคัดสรร/คุณภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 35:
|1948
|แยกตัวจากบริติชอินเดียในปี 1937 และกลายเป็นคราวน์โคโลนี ได้รับเอกราชในปี 1948 เป็น [[เมียนมาร์|พม่า (หรือต่อมาคือ เมียนมาร์)]].
 
== "จักรวรรดิบริติชที่หนึ่ง" (1583–1783) ==
ใน ค.ศ. 1578 พระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 พระราชทานเอกสารสิทธิ์ (patent) แก่[[ฮัมฟรีย์ กิลเบิร์ต]] ในการค้นพบและการสำรวจโพ้นทะเล<ref name="#refHDBE|Olson, p. 466">[[#refHDBE|Olson]], p.&nbsp;466.</ref> ปีนั้น กิลเบิร์ตเดินเรือมุ่ง[[แคริบเบียน|หมู่เกาะอินเดียตะวันตก]] โดยเจตนาปล้นสะดมและตั้งอาณานิคมในทวีปอเมริกาเหนือ แต่การเดินทางดังกล่าวถูกยกเลิกก่อนข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก<ref>[[#refAndrews1985|Andrews]], p.&nbsp;188.</ref><ref>[[#refOHBEv1|Canny]], p.&nbsp;63.</ref> ค.ศ. 1583 กิลเบิร์ตออกเดินทางครั้งที่สอง โดยครั้งนี้ไป[[เกาะนิวฟันด์แลนด์]] ซึ่งเขาอ้างสิทธิท่าเรือให้อังกฤษอย่างเป็นทางการ แม้ยังไม่มีผู้ตั้งถิ่นฐาน กิลเบิร์ตเสียชีวิตขณะเดินทางกลับอังกฤษ และน้องชายต่างมารดา [[วอลเทอร์ ราเลห์]] สืบหน้าที่ต่อ เขาได้รับพระราชทานเอกสารสิทธิ์ของเขาเองจากพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 ใน ค.ศ. 1584 ในปีเดียวกัน เขาก่อตั้ง[[อาณานิคมโรอาโนค]]บนชายฝั่ง[[รัฐนอร์ทแคโรไลนา]]ในปัจจุบัน แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากขาดแคลนเสบียง<ref>[[#refOHBEv1|Canny]], pp.&nbsp;63–64.</ref>
 
ใน ค.ศ. 1603 [[สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ|พระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์]]ทรงสืบราชบัลลังก์อังกฤษต่อมา และใน ค.ศ. 1604 ทรงเจรจา[[สนธิสัญญาลอนดอน (1604)|สนธิสัญญาลอนดอน]] ซึ่งยุติความบาดหมางกับสเปน หลังการสงบศึกกับคู่แข่งหลัก ความสนใจของอังกฤษเปลี่ยนจากการหาผลประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานทางอาณานิคมของชาติอื่นมาเป็นธุระการก่อตั้งอาณานิคมโพ้นทะเลของตนเอง<ref>[[#refOHBEv1|Canny]], p.&nbsp;70.</ref> จักรวรรดิบริติชเริ่มเป็นรูปร่างขึ้นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ด้วยนิคมของอังกฤษในทวีปอเมริกาเหนือและหมู่เกาะเล็ก ๆ แถบ[[แคริบเบียน]] ตลอดจนการจัดตั้งบริษัทเอกชน ซึ่งที่เลื่องชื่อที่สุดคือ [[บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ]] เพื่อบริหารอาณานิคมและการค้าโพ้นทะเล ในช่วงนี้จนถึงการเสีย[[สิบสามอาณานิคม]]หลัง[[สงครามประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกา]]เมื่อสิ้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 นักประวัติศาสตร์บางคนต่อมาเรียก "จักรวรรดิบริติชที่หนึ่ง"<ref>[[#refOHBEv1|Canny]], p.&nbsp;34.</ref>
 
=== ทวีปอเมริกา แอฟริกา และการค้าทาส ===
ทีแรกแคริบเบียนเป็นอาณานิคมที่สำคัญและให้กำไรมากที่สุดของอังกฤษ<ref>[[#refJames2001|James]], p.&nbsp;17.</ref> แต่ก่อนหน้านั้นการยึดเป็นอาณานิคมล้มเหลวหลายครั้ง ความพยายามตั้งอาณานิคมใน[[กิอานาของอังกฤษ|กิอานา]]เมื่อ ค.ศ. 1604 อยู่ได้เพียงสองปี และไม่ประสบความสำเร็จวัตถุประสงค์หลักในการหาแหล่งแร่[[ทองคำ]]<ref>[[#refOHBEv1|Canny]], p.&nbsp;71.</ref> อาณานิคมใน[[เซนต์ลูเชีย]] (ค.ศ. 1605) และ[[เกรนาดา]] (ค.ศ. 1609) ถูกล้มเลิกอย่างรวดเร็ว แต่มีการตั้งนิคมสำเร็จใน[[เซนต์คิตส์]] (ค.ศ. 1624) [[บาร์เบโดส]] (ค.ศ. 1627) และ[[เนวิส]] (ค.ศ. 1628) <ref>[[#refOHBEv1|Canny]], p.&nbsp;221.</ref> ไม่ช้าอาณานิคมก็รับเอาระบบการปลูกน้ำตาลที่ชาวโปรตุเกสใช้อย่างได้ผลใน[[บราซิล]] ซึ่งต้องพึ่งพาแรงงาน[[ทาส]] และเรือสินค้าดัตช์ในตอนแรก เพื่อขายทาสและซื้อน้ำตาล<ref>[[British Empire#refLloyd1996|Lloyd]], pp.&nbsp;22–23.</ref> เพื่อรับประกันให้กำไรงามที่เพิ่มขึ้นจากการค้านี้อยู่ในมืออังกฤษ รัฐสภาจึงออก[[พระราชกฤษฎีกาการเดินเรือ|พระราชกฤษฎีกา]]ใน ค.ศ. 1651 ว่าให้เรือสินค้าอังกฤษเท่านั้นที่สามารถค้าขายในอาณานิคมอังกฤษได้ เหตุนี้นำไปสู่ความเป็นปรปักษ์กับ[[สาธารณรัฐดัตช์|สหจังหวัดดัตช์]] คือ ชุด[[สงครามอังกฤษ-ดัตช์]] ซึ่งสุดท้ายทำให้ฐานะของอังกฤษในทวีปอเมริกาแข็งแกร่งขึ้น ขณะที่ดัตช์อ่อนแอลง<ref>[[British Empire#refLloyd1996|Lloyd]], p.&nbsp;32.</ref> ใน ค.ศ. 1655 อังกฤษผนวก[[จาเมกา]]จากสเปนและใน ค.ศ. 1656 ก็ยึด[[บาฮามาส]]เป็นอาณานิคมได้สำเร็จ<ref>[[British Empire#refLloyd1996|Lloyd]], pp.&nbsp;33, 43.</ref>
 
[[ไฟล์:British Colonies in North America c1750 v2.png|thumb|left|250px|อาณานิคมของอังกฤษในทวีปอเมริกาเหนือ ราว ค.ศ. 1750; 1. [[นิวฟันด์แลนด์]] 2. [[โนวาสโกเทีย]] 3. [[สิบสามอาณานิคม]] 4. [[เบอร์มิวดา]] 5. [[บาฮามาส]] 6. [[เบลิซ]] 7. [[จาเมกา]] 8. [[แอนติลลิสน้อย]]]]
 
นิคมถาวรแห่งแรกของอังกฤษในทวีปอเมริกาก่อตั้งใน ค.ศ. 1607 ณ [[เจมส์ทาวน์]] นำโดยกัปตัน[[จอห์น สมิธ]] และมี[[บริษัทเวอร์จิเนีย]]จัดการ มีการตั้งถิ่นฐานบน[[เบอร์มิวดา]]และอังกฤษอ้างสิทธิ์หลังเรือธงของบริษัทเวอร์จิเนียล่มที่นั่นใน ค.ศ. 1609 และใน ค.ศ. 1615 ถูกมอบให้บริษัทหมู่เกาะซอเมอส์ (Somers Isles Company) ที่เพิ่งตั้ง<ref>[[British Empire#refLloyd1996|Lloyd]], pp.&nbsp;15–20.</ref> กฎบัตรของบริษัทเวอร์จิเนียถูกเพิกถอนใน ค.ศ. 1624 และพระมหากษัตริย์เข้าควบคุมเวอร์จิเนียโดยตรง จึงตั้งเป็น[[อาณานิคมเวอร์จิเนีย]]<ref>[[#refHDBE|Olson]], p.&nbsp;600.</ref> ส่วน[[บริษัทลอนดอนและบริสตอล]]ตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1610 มุ่งก่อตั้งนิคมถาวรบนเกาะนิวฟันด์แลนด์ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จอย่างมาก<ref>[[#refAndrews1985|Andrews]], pp.&nbsp;20–22.</ref> ใน ค.ศ. 1620 มีการตั้ง[[อาณานิคมพลีมัธ]]เป็นที่พำนักแก่พวกแบ่งแยกศาสนา[[กลุ่มเพียวริตัน]] ซึ่งต่อมาเรียกว่า [[พิลกริม]] (Pilgrim)<ref name="Olson, p. 897">[[#refHDBE|Olson]], p.&nbsp;897.</ref> การหลบหนีจากการเบียดเบียนทางศาสนาจะเป็นแรงกระตุ้นให้เหล่าว่าที่ชาวอาณานิคมอังกฤษหลายคนเสี่ยงกับการเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกอันยากเข็ญ กล่าวคือ [[จังหวัดแมรีแลนด์|อาณานิคมแมรีแลนด์]]ถูกตั้งเป็นที่พำนักแก่[[นิกายโรมันคาทอลิก]] (ค.ศ. 1634) อาณานิคมโรดไอส์แลนด์ (ค.ศ. 1636) เป็นอาณานิคมที่ยอมรับทุกศาสนา และอาณานิคมคอนเน็กติกัต (ค.ศ. 1639) สำหรับนิกายคอนเกรเกชันนอลลิสต์ [[มณฑลแคโรไลนา]]ตั้งใน ค.ศ. 1663 หลัง[[ฟอร์ทอัมสเตอร์ดัม]]ยอมจำนนใน ค.ศ. 1664 อังกฤษควบคุมอาณานิคม[[นิวเนเธอร์แลนด์]]ของดัตช์ และเปลี่ยนชื่อเป็นนิวยอร์ก การควบคุมดังกล่าวมีการทำให้เป็นทางการในการเจรจาให้หลัง[[สงครามอังกฤษ-ดัตช์|สงครามอังกฤษ-ดัตช์ครั้งที่สอง]] เพื่อแลกเปลี่ยนกับ[[ซูรินาม]]<ref>[[British Empire#refLloyd1996|Lloyd]], p.&nbsp;40.</ref> และใน ค.ศ. 1681 [[วิลเลียม เพนน์]]ก่อตั้งอาณานิคมเพนซิลเวเนีย อาณานิคมบนทวีปอเมริกาประสบความสำเร็จทางการเงินน้อยกว่าในแคริบเบียน แต่อาณานิคมเหล่านี้มีพื้นที่เกษตรกรรมดีขนาดใหญ่ และดึงดูดผู้ย้ายถิ่นออกชาวอังกฤษซึ่งชื่นชอบภูมิอากาศอบอุ่นของอาณานิคมเหล่านี้<ref>[[#refFergusonEmpire2004|Ferguson 2004]], pp.&nbsp;72–73.</ref>
 
ใน ค.ศ. 1670 [[สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ|พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2]] พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้บริษัทอ่าวฮัดสัน โดยให้บริษัทผูกขาดการค้าขนสัตว์ในดินแดนซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า [[รูเพิตส์แลนด์]] ซึ่งต่อมากลายเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ของประเทศในเครือจักรภพแคนาดา บริษัทอ่าวฮัดสันตั้งค่ายทหารและสถานีการค้าซึ่งบ่อยครั้งตกเป็นเป้าการโจมตีของฝรั่งเศส ซึ่งตั้งอาณานิคมค้าขนสัตว์ของตนในนิวฟรานซ์ที่อยู่ใกล้เคียง<ref name="buckner25">[[British Empire#refBuckner2008|Buckner]], p.&nbsp;25.</ref>
 
อีกสองปีต่อมา มีการสถาปนา[[บริษัทรอยัลแอฟริกัน]]โดยได้รับพระราชทานสิทธิ์จากพระเจ้าชาร์ลส์ให้ผูกขาดการค้าเพื่อจัดหาทาสให้อาณานิคมบริติชในแคริบเบียน<ref>[[British Empire#refLloyd1996|Lloyd]], p.&nbsp;37.</ref> จากแรกเริ่ม ทาสถือเป็นรากฐานของจักรวรรดิบริติชในอินเดียตะวันตก จนการยกเลิกการค้าทาสใน ค.ศ. 1807 บริเตนเป็นผู้ขนส่งทาสชาวแอฟริกันกว่า 3.5 ล้านคนไปทวีปอเมริกา คิดเป็นหนึ่งในสามของทาสทั้งหมดที่ถูกขนส่งข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก<ref>[[#refFergusonEmpire2004|Ferguson 2004]], p.&nbsp;62.</ref> เพื่ออำนวยความสะดวกแก่การค้านี้ จึงมีการตั้งค่ายทหารตามชายฝั่งแอฟริกาตะวันตก อย่างเช่น เกาะเจมส์, อักกรา และเกาะบันซ์ ในบริติชแคริบเบียน ร้อยละของประชากรผิวดำเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 25 ใน ค.ศ. 1650 เป็นราวร้อยละ 80 ใน ค.ศ. 1780 และในสิบสามอาณานิคม อัตราส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 40 ในช่วงเวลาเดียวกัน (ส่วนใหญ่ในอาณานิคมตอนใต้) <ref>[[#refOHBEv1|Canny]], p.&nbsp;228.</ref> สำหรับนักค้าทาส การค้าสร้างกำไรมหาศาล และกลายเป็นหลักสำคัญทางเศรษฐกิจใหญ่สำหรับนครบริเตนทางตะวันตก อย่างเช่น [[บริสตอล]]และ[[ลิเวอร์พูล]] ซึ่งเป็นมุมที่สามของ[[การค้าสามเหลี่ยม]]กับทวีปแอฟริกาและทวีปอเมริกา สำหรับผู้ที่ถูกขนส่ง สภาพรุนแรงและไม่มีสุขอนามัยบนเรือทาสและอาหารเลว ทำให้อัตราการเสียชีวิตระหว่างการเดินทางเฉลี่ยมีมากถึง 1 ใน 7<ref>[[#refOHBEv2|Marshall]], pp.&nbsp;440–64.</ref>
 
ใน ค.ศ. 1695 [[รัฐสภาสกอตแลนด์]]ให้กฎบัตรแก่[[บริษัทสกอตแลนด์]] ซึ่งตั้งนิคมใน ค.ศ. 1698 บน[[คอคอดปานามา]] อาณานิคมถูกแวดล้อมโดยชาวอาณานิคมสเปนเพื่อนบ้าน [[นิวกรานาดา]] และมีโรค[[มาลาเรีย]] อาณานิคมจึงถูกละทิ้งในอีกสองปีต่อมา [[แผนดาเรียน]]ถือเป็นหายนะทางการเงินสำหรับสกอตแลนด์ โดยทุนหนึ่งในสี่ของสกอตแลนด์เสียไปในวิสาหกิจดังกล่าว<ref>[[#refMagnusson2003|Magnusson]], p.&nbsp;531.</ref> และยุติความหวังของสกอตแลนด์ที่จะก่อตั้งจักรวรรดิอาณานิคมโพ้นทะเลของตัวอย่างสิ้นเชิง กรณีดังกล่าวยังมีผลกระทบทางการเมืองสำคัญ โดยชวนให้รัฐบาลของทั้งอังกฤษและสกอตแลนด์เห็นประโยชน์ของสหภาพของสองประเทศ มากกว่ามีพระมหากษัตริย์ร่วมกันเท่านั้น<ref>[[#refMacaulay1979|Macaulay]], p.&nbsp;509.</ref> การรวมประเทศเกิดขึ้นใน ค.ศ. 1707 ด้วย[[พระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707|พระราชบัญญัติสหภาพ]] และสถาปนา[[ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่]]
 
=== การแข่งขันกับเนเธอร์แลนด์ในทวีปเอเชีย ===
[[ไฟล์:Fort St. George, Chennai.jpg|thumb|200px|[[ฟอร์ตเซนต์จอร์จ (อินเดีย)|ฟอร์ตเซนต์จอร์จ]] ก่อตั้งใน[[เจนไน|มัลทราส]] ค.ศ. 1639]]
ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 อังกฤษและเนเธอร์แลนด์เริ่มท้าทายการผูกขาดการค้ากับทวีปเอเชียของโปรตุเกส โดยก่อตั้งบริษัทร่วมหุ้นเอกชนเพื่อหาเงินสนับสนุนการออกเดินเรือ [[บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ]]และ[[บริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์]] ได้รับพระบรมราชานุญาตและกฎบัตรใน ค.ศ. 1600 และ 1602 ตามลำดับ เป้าหมายหลักของบริษัทดังกล่าว คือ การเจาะ[[การค้าเครื่องเทศ]]ซึ่งกำไรงาม เป็นความพยายามที่มุ่งไปสองภูมิภาคเป็นหลัก คือ [[กลุ่มเกาะมลายู|กลุ่มเกาะอินเดียตะวันออก]] และ[[อินเดีย]] ศูนย์กลางสำคัญในเครือข่ายการค้านี้ ที่นั่น ทั้งสองแข่งครองความเป็นใหญ่ทางการค้ากับโปรตุเกสและระหว่างกัน<ref>[[British Empire#refLloyd1996|Lloyd]], p.&nbsp;13.</ref> แม้สุดท้ายอังกฤษจะบดบังเนเธอร์แลนด์ในฐานะมหาอำนาจอาณานิคม แต่ในระยะสั้นระบบการเงินที่ก้าวหน้ากว่าของเนเธอร์แลนด์<ref name="ferguson19">[[#refFergusonEmpire2004|Ferguson 2004]], p.&nbsp;19.</ref>และสงครามอังกฤษ–ดัตช์สามครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ทำให้เนเธอร์แลนด์มีฐานะเข้มแข็งกว่าในทวีปเอเชีย ความเป็นปรปักษ์ยุติหลัง[[การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์]] ค.ศ. 1688 เมื่อ[[สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ|วิลเลียมแห่งออเรนจ์]] ชาวดัตช์ ขึ้นครองบัลลังก์อังกฤษ นำมาซี่งสันติภาพระหว่างเนเธอร์แลนด์และอังกฤษ ข้อตกลงระหว่างชาติทั้งสองให้การค้าเครื่องเทศในกลุ่มเกาะอินเดียตะวันออกเป็นของเนเธอร์แลนด์ และอุตสาหกรรมสิ่งทออินเดียเป็นของอังกฤษ แต่ในไม่ช้า สิ่งทอได้กำไรมากกว่าเรื่องเทศ และในแง่ยอดขายใน ค.ศ. 1720 บริษัทบริติชแซงหน้าบริษัทดัตช์<ref name="ferguson19"/>
 
=== ความขัดแย้งกับฝรั่งเศสในระดับโลก ===
[[ไฟล์:The Defeat of the French Fireships attacking the British Fleet at Anchor before Quebec.jpg|thumb|200px|ความปราชัยของ[[เรือไฟ]]ฝรั่งเศสที่[[รัฐควิเบก|ควิเบก]] ค.ศ. 1759]]
[[ไฟล์:Clive.jpg|thumb|ชัยชนะของ[[โรเบิร์ต คลิฟ บารอนที่ 1 แห่งคลิฟ|โรเบิร์ต คลิฟ]]ใน[[ยุทธการที่ปลาศี]]ทำให้บริษัทกลายเป็นอำนาจทางทหารและด้านพาณิชย์]]
สันติภาพระหว่างอังกฤษกับเนเธอร์แลนด์ใน ค.ศ. 1688 หมายความว่าทั้งสองประเทศเข้าสู่[[สงครามเก้าปี]]โดยเป็นพันธมิตรกัน แต่ความขัดแย้งซึ่งปะทุในทวีปยุโรปและดินแดนโพ้นทะเลระหว่างฝรั่งเศส สเปน และพันธมิตรอังกฤษ-ดัตช์ ทำให้อังกฤษเป็นเจ้าอาณานิคมที่แข็งแกร่งกว่าดัตช์ ซึ่งถูกบีบให้ทุ่มงบประมาณทางทหารในสงครามทางบกราคาแพงในทวีปยุโรป<ref>[[#refOHBEv1|Canny]], p.&nbsp;441.</ref> ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 อังกฤษก้าวเป็นอำนาจอาณานิคมของโลกอย่างเด็ดขาด และฝรั่งเศสกำลังจะกลายเป็นคู่แข่งสำคัญในเวทีจักรวรรดิ<ref>[[#refPagden2003|Pagden]], p.&nbsp;90.</ref>
 
การสวรรคตของ[[พระเจ้าการ์โลสที่ 2 แห่งสเปน]] ใน ค.ศ. 1700 และพินัยกรรมยกสเปนและจักรวรรดิอาณานิคมสเปนให้[[พระเจ้าเฟลีเปที่ 5 แห่งสเปน|เฟลีเปแห่งอันจู]] หลานชายพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส เร่งให้เกิดความหวังในการรวมฝรั่งเศส สเปน และอาณานิคมของทั้งสองประเทศ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่รับไม่ได้สำหรับอังกฤษและอำนาจอื่นในทวีปยุโรป<ref>[[#refHDBE|Olson]], p.&nbsp;1045.</ref> ใน ค.ศ. 1701 อังกฤษ โปรตุเกส และเนเธอร์แลนด์เข้าพวกกับ[[จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์]]ต่อต้านสเปนและฝรั่งเศสใน[[สงครามสืบราชบัลลังก์สเปน]]ซึ่งกินเวลาถึง ค.ศ. 1714
 
สงครามยุติลงด้วย[[สนธิสัญญาอูเทร็คท์]] เฟลีเปทรงบอกเลิกสิทธิของพระองค์และผู้สืบสันดานเหนือราชบัลลังก์ฝรั่งเศสและสเปนเสียจักรวรรดิในทวีปยุโรป<ref>[[#refHDBE|Olson]], p.&nbsp;1122.</ref> ดินแดนของจักรวรรดิบริติชขยาย บริเตนได้นิวฟันด์แลนด์และ[[อคาเดีย]]จากฝรั่งเศส และ[[ยิบรอลตาร์]]และ[[ไมนอร์กา]]จากสเปน ยิบรอลตาร์กลายมาเป็นฐานทัพเรือสำคัญยิ่ง และให้บริเตนควบคุมจุดเข้าและออก[[ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน]]สู่แอตแลนติก สเปนยังมอบสิทธิ์[[อาเซย์นโต]] (การอนุญาตให้ขายทาสใน[[อเมริกาเหนือของสเปน]]) กำไรงามแก่บริเตน<ref>[[#refHDBE|Olson]], pp.&nbsp;1121–22.</ref>
 
ระหว่างกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 มีความขัดแย้งทางทหารอุบัติหลายครั้งใน[[อนุทวีปอินเดีย]] [[สงครามคาร์แนติก]] บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ (บริษัท) และ[[บริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศส]]ต่อสู้ร่วมกันผู้ปกครองท้องถิ่นเพื่อเติมสุญญากาศที่เกิดหลัง[[จักรวรรดิโมกุล]]เสื่อมอำนาจ ยุทธการที่ปลาศีใน ค.ศ. 1757 ซึ่งฝ่ายบริเตน นำโดย รอเบิร์ต คลีฟ พิชิตนาวาบแห่งเบงกอลและพันธมิตรชาวฝรั่งเศส ทำให้บริษัทควบคุมเบงกอลและเป็นประเทศทางทหารและการเมืองสำคัญในอินเดีย<ref>[[#refrefSmith1998|Smith]], p. 17.</ref> ฝรั่งเศสเหลือการควบคุมดินแดนแทรกแต่ด้วยการจำกัดทางทหารและพันธะให้สนับสนุนรัฐบริวารของบริเตน ยุติความหวังของฝรั่งเศสในการควบคุมอินเดีย<ref>[[#refSekhara2004|Bandyopādhyāẏa]], pp.&nbsp;49–52</ref> ในหลายทศวรรษให้หลังบริษัทค่อย ๆ เพิ่มขนาดของดินแดนที่อยู่ในการควบคุม ไม่ว่าปกครองโดยตรงหรือผ่านทางผู้ปกครองท้องถิ่นภายใต้การขู่ใช้กำลังจากกองทัพบริติชอินเดีย ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วย[[ซีปอย]]อินเดีย<ref>[[#refrefSmith1998|Smith]], pp. 18–19.</ref>
 
การสู้รบระหว่างบริเตนและฝรั่งเศสในอินเดียกลายเป็นยุทธบริเวณหนึ่งของ[[สงครามเจ็ดปี]] (1756–1763) ที่แผ่ไปทั่วโลก สงครามนี้เกี่ยวข้องกับฝรั่งเศส บริเตนและมหาอำนาจยุโรปอื่น การลงนาม[[สนธิสัญญาปารีส (1763)|สนธิสัญญาปารีส]]มีผลกระทบสำคัญต่ออนาคตของจักรวรรดิบริติช ในทวีปอเมริกาเหนือ อนาคตของฝรั่งเศสในการเป็นเจ้าอาณานิคมจบลงอย่างสิ้นเชิงด้วยการรับรองการอ้างสิทธิ์ของบริเตนเหนือ[[ดินแดนรูเพิร์ต]]<ref name="buckner25"/> และการยก[[นิวฟรานซ์]]ให้บริเตน (ทำให้[[รัฐควิเบก|ประชากรพูดภาษาฝรั่งเศส]]จำนวนมากอยู่ในการปกครองของอังกฤษ) และ[[ลุยส์เซียนา (นิวฟรานซ์)|ลุยส์เซียนา]]ให้สเปน [[สเปนยกฟลอริดา]]ให้บริเตน ร่วมกับชัยชนะเหนือฝรั่งเศสในอินเดีย สงครามเจ็ดปีทำให้บริเตนเป็นมหาอำนาจทางทะเลที่ทรงอำนาจที่สุดในโลก<ref name="refpagden1">[[#refPagden2003|Pagden]], p.&nbsp;91.</ref>
 
=== การเสียสิบสามอาณานิคม ===
{{บทความหลัก|การปฏิวัติอเมริกา}}
 
ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1760 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1770 ความสัมพันธ์ระหว่าง[[สิบสามอาณานิคม]]และอังกฤษตึงเครียดมากขึ้น หลัก ๆ เนื่องจากความไม่พอใจต่อความพยายามของรัฐสภาบริติชในการปกครองและเก็บภาษีผู้อยู่ในนิคมอเมริกันโดยปราศจากความยินยอมของพวกเขา<ref>[[#refFergusonEmpire2004|Ferguson 2004]], p.&nbsp;73.</ref> ในเวลานั้น มีการสรุปเป็นคำขวัญว่า "[[ไม่จ่ายภาษีหากไม่มีผู้แทน]]" โดยมองว่าเป็นการฝ่าฝืน[[สิทธิชาวอังกฤษ]]ที่ได้รับประกัน [[การปฏิวัติอเมริกา]]เริ่มต้นจากการปฏิเสธอำนาจของรัฐสภาและการเคลื่อนไหวสู่การปกครองตนเอง บริเตนสนองโดยส่งทหารมาบังคับการปกครองโดยตรง ทำให้สงครามอุบัติใน ค.ศ. 1775 ในปีต่อมา สหรัฐ[[คำประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกา|ประกาศอิสรภาพ]] การเข้าสู่สงครามของฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1778 ทำให้ดุลทหารเข้าข้างฝ่ายอเมริกาและหลังความปราชัยเด็ดขาดที่ยอร์กทาวน์ใน ค.ศ. 1781 บริเตนเริ่มเจรจาเงื่อนไขสันติภาพ เอกราชของอเมริกาได้รับการรับรองในสนธิสัญญาสันติภาพปารีสใน ค.ศ. 1783<ref>[[#refMarshall|Marshall]], pp.&nbsp;312–23.</ref>
 
[[ไฟล์:Yorktown80.JPG|thumb|left|''การยอมจำนนของคอร์นวัลลิสที่ยอร์กทาวน์'' การสูญเสียอาณานิคมอเมริกันเป็นเครื่องหมายการสิ้นสุดของ "จักรวรรดิบริติชที่หนึ่ง"]]
นักประวัติศาสตร์มองว่าการเสียดินแดนกว้างใหญ่ของ[[บริติชอเมริกา]] ซึ่งเป็นอาณานิคมโพ้นทะเลซึ่งมีประชากรมากที่สุดของบริเตนในเวลานั้น เป็นเหตุการณ์ซึ่งนิยามการเปลี่ยนผ่านระหว่างจักรวรรดิ "ที่หนึ่ง" และ "ที่สอง"<ref>[[#refOHBEv1|Canny]], p.&nbsp;92.</ref> ซึ่งบริเตนหันความสนใจจากทวีปอเมริกาไปทวีปเอเชีย [[มหาสมุทรแปซิฟิก]] และทวีปแอฟริกาในภายหลัง ''[[ความมั่งคั่งของประชาชาติ]]'' ของ[[อดัม สมิธ]] ซึ่งตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1776 โต้แย้งว่าอาณานิคมนั้นมีมากเกินไป และควรนำระบบ[[การค้าเสรี]]มาแทนนโยบาย[[ลัทธิพาณิชยนิยม|พาณิชยนิยม]]แบบเก่า อันเป็นลักษณะของการขยายอาณานิคมในช่วงแรกซึ่งย้อนไปถึง[[ลัทธิคุ้มครอง]]ของสเปนและโปรตุเกส<ref name="refpagden1"/><ref>[[#refHDBE|Olson]], p.&nbsp;1026.</ref> การเติบโตของการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาซึ่งเพิ่งได้รับเอกราชกับบริเตนหลัง ค.ศ. 1783 ดูเหมือนยืนยันมุมมองของสมิธที่ว่าการควบคุมทางการเมืองไม่จำเป็นต่อความสำเร็จในทางเศรษฐกิจ<ref>[[#refJames2001|James]], p.&nbsp;119.</ref><ref>[[#refOHBEv2|Marshall]], p.&nbsp;585.</ref>
 
เหตุการณ์ในอเมริกามีอิทธิพลต่อนโยบายของบริเตนในแคนาดา ที่ซึ่งพวก[[ลอยัลลิสต์ (สงครามประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกา)|ลอยัลลิสต์]]ที่แพ้สงครามจำนวนระหว่าง 40,000 ถึง 100,000 คน<ref>[[#refHDBE|Olson]], p.&nbsp;685.</ref> อพยพจากอเมริกาหลังอิสรภาพ ลอยัลลิสต์ 14,000 คนผู้ซึ่งไป[[แม่น้ำเซนต์จอห์น (นิวฟรานซ์)|แม่น้ำเซนต์จอห์น]]ซึ่งขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของ[[โนวาสโกเทีย]]รู้สึกว่าอยู่ห่างไกลจากรัฐบาลจังหวัดใน[[ฮาลิแฟกซ์]] ฉะนั้นรัฐบาลบริติชจึงแบ่ง[[รัฐนิวบรันสวิก|นิวบรันสวิก]]เป็นอาณานิคมต่างหากใน ค.ศ. 1784<ref>[[#refHDBE|Olson]], p.&nbsp;796.</ref> [[พระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1791]] ตั้งมณฑล[[อัปเปอร์แคนาดา]] (ประชากรส่วนใหญ่พูด[[ภาษาอังกฤษ]]) และ[[โลว์เออร์แคนาดา]] (ประชากรส่วนใหญ่พูด[[ภาษาฝรั่งเศส]]) เพื่อลดความตึงเครียดระหว่างชุมชนชาวอังกฤษและชาวฝรั่งเศส และนำรูปแบบการปกครองซึ่งคล้ายกับรูปแบบซึ่งใช้ในอังกฤษมาใช้ โดยเจตนาแสดงอำนาจของจักรวรรดิและไม่อนุญาตการควบคุมการปกครองของปวงชนอย่างที่ถูกมองว่านำไปสู่การปฏิวัติอเมริกา<ref>[[#refSmith1998|Smith]], p.&nbsp;28.</ref>
 
ความตึงเครียดระหว่าบริเตนและสหรัฐเพิ่มขึ้นอีกครั้งระหว่าง[[สงครามนโปเลียน]] บริเตนพยายามตัดการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับฝรั่งเศส และส่งคนขึ้นเรืออเมริกันเพื่อเกณฑ์ลูกเรือเข้าราชนาวี สหรัฐอเมริกาประกาศสงคราม [[สงคราม ค.ศ. 1812]] และบุกครองดินแดนแคนาดาขณะบริเตนบุกครองดินแดนอเมริกา แต่ดินแดนก่อนสงครามได้รับการยืนยันอีกใน[[สนธิสัญญาเก้นท์]] ค.ศ. 1814 รับประกันว่าอนาคตของแคนาดาจะแยกจากสหรัฐ<ref>[[#refLatimer|Latimer]], pp.&nbsp;8, 30–34, 389–92.</ref><ref>[[#refOHBEv2|Marshall]], pp.&nbsp;388.</ref>
{{clear}}
 
== ความรุ่งเรืองของ "จักรวรรดิบริติชที่สอง" (1783–1815) ==