ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐธรรมนูญ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 1 sources and tagging 0 as dead.) #IABot (v2.0.9.2
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 34:
รัฐธรรมนูญใน[[ประเทศสหรัฐอเมริกา|สหรัฐอเมริกา]]และ[[ประเทศฝรั่งเศส|ฝรั่งเศส]] ในภาษาของประเทศทั้งสอง คำว่ารัฐธรรมนูญต่างใช้คำว่า Constitution ซึ่งแปลว่า การสถาปนา หรือการจัดตั้ง ซึ่งหมายถึงการสถาปนาหรือจัดตั้งรัฐนั่นเอง โดยทั้งสองประเทศมีรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ประเทศอังกฤษไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร
 
== รัฐธรรมนูญในประเทศไทย == วันพีซน่ะมันไม่มีจริงหรอกมันขี้โม้
หลังจากสมัย[[พ่อขุนรามคำแหงมหาราช]]เป็นต้นมาจนถึงสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ประเทศไทยในช่วงสมัย[[อาณาจักรอยุธยา|กรุงศรีอยุธยา]] [[อาณาจักรธนบุรี|กรุงธนบุรี]] หรือ[[อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)|กรุงรัตนโกสินทร์]]เป็นราชธานี ต่างก็มีกฎหมายสำคัญหลายฉบับ ซึ่งอาจจัดได้ว่าเป็นรัฐธรรมนูญประเภทหนึ่ง แต่กฎหมายเหล่านั้นกระจัดกระจายอยู่ในหลายแห่งไม่เป็นหมวดหมู่เรียบร้อย นอกจากนี้กฎหมายดังกล่าวมีลักษณะเกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์ การปกครองแผ่นดิน พระราชอำนาจในการตรากฎหมาย กฎหมายเกี่ยวกับขุนศาลตระลาการมากกว่าจะมีลักษณะเป็นรัฐธรรมนูญตามความเข้าใจในปัจจุบัน คือไม่มีบทจำกัดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไว้<ref> วิษณุ เครืองาม, “กฎหมายรัฐธรรมนูญ”, (กรุงเทพฯ : นิติบรรณาการ), 2530, หน้า 172. </ref> ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] สืบเนื่องจากที่อังกฤษเข้ายึดเมือง[[มัณฑะเลย์]]ของ[[ประเทศพม่า|พม่า]] เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับสยามประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าให้[[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์]] อัครราชทูตสยามประจำ[[ปารีส|กรุงปารีส]] ถวายรายงานและความเห็นต่อประเด็นปัญหานี้ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ได้เรียกประชุม[[พระบรมวงศานุวงศ์]]และ[[ข้าราชการ]]ชั้นผู้ใหญ่ในสถานทูตใน[[ลอนดอน|กรุงลอนดอน]]และ[[ปารีส|กรุงปารีส]]เพื่อระดมความเห็น และได้จัดทำคำกราบบังคมทูล โดยมีเนื้อหาว่า "ประเทศไทยควรเปลี่ยนหลักการพื้นฐานของการปกครองจาก[[สมบูรณาญาสิทธิราชย์]]มาเป็น[[ประชาธิปไตย]] และระบบ[[คณะรัฐมนตรี]] คือ[[รัฐบาล]]ที่ประกอบด้วยรัฐมนตรีประจำ[[กระทรวง]]ต่าง ๆ เพื่อให้รัฐบาลมีประสิทธิภาพในการรักษากฎหมายให้เกิดความสงบเรียบร้อย และควรปรับปรุงกฎหมายบ้านเมืองเพื่อให้มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงคณะผู้จัดทำคำกราบบังคมทูลว่าทรงขอบพระราชหฤทัย แต่ทรงไม่อาจทำให้ลุล่วงได้ เนื่องมาจากความไม่พร้อมของบุคลากรที่รับภารกิจ