พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสมอสมัยหรรษา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสมอสมัยหรรษา (2 ตุลาคม พ.ศ. 2400 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2416) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดามาไลย
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสมอสมัยหรรษา | |
---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4 พระองค์เจ้าชั้นเอก | |
ประสูติ | 2 ตุลาคม พ.ศ. 2400 |
สิ้นพระชนม์ | 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2416 (15 ปี) |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดามาไลย |
ธรรมเนียมพระยศของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสมอสมัยหรรษา | |
---|---|
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
พระประวัติ
แก้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสมอสมัยหรรษา ประสูติเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2400 เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดามาไลย หลานพระยาราชรองเมือง[1][2]
ในสมัยรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2410 พระองค์เจ้าเสมอสมัยหรรษาได้โสกันต์ พร้อมกับ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร พระองค์เจ้าอนงค์นพคุณ พระองค์เจ้าวาณีรัตนกัญญา และพระองค์เจ้าวิลัยทรงกัลยาพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระราชพิธีมีพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท 30 รูป เวลาบ่ายตั้งกระบวนแห่ไปฟังพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ทั้ง 3 วัน รุ่งขึ้นแห่มาโสกันต์แล้วแห่สมโภชวัน 1 กระบวนแห่และเครื่องเล่นรายทางคล้ายกันกับโสกันต์ใหญ่ แต่มีนางเชิญเครื่องมยุรฉัตรสำรับเดียวแต่ราชยานหน้า[3]
ในหนังสือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงโต้ตอบกับพระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) ได้ปรากฎ คำกลอนล้อเจ้านายสมัยรัชกาลที่ 4 สันนิษฐานว่าแต่งปลายรัชกาลที 4 และเจ้านายองค์ใดองค์หนึ่งทรงแต่งล้อกันเอง กล่าวถึงพระอัธยาสัยของ พระองค์เจ้าอนงค์นพคุณ ว่า[4]
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสมอสมัยหรรษา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2416 พระชันษา 17 ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุวัดสระเกศ วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2418[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์, 2554, หน้า 309-310
- ↑ กัลยา เกื้อตระกูล. พระอัครมเหสี พระบรมราชินี พระชายานารี เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม ในรัชกาลที่ ๑-๗ กรุงเทพฯ : ยิปซี. 2552, หน้า 128
- ↑ โสกันต์พระเจ้าลูกเธอและพระเจ้าหลานเธอ ๕ องค์
- ↑ จุลลดา ภักดีภูมินทร์. เลาะวัง 3. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ โชคชัยเทเวศร์, พ.ศ. 2535. 416 หน้า. หน้า หน้าที่ 104. ISBN 974-420-045-6
- ↑ กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2011). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 76. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2021-08-04.