พระปราณีศรีมหาพุทธบริษัท (เมฆ รามางกูร)

พระปราณีศรีมหาพุทธบริษัทหรืออาดยาหลวงปาดี พื้นพระบาทใช้ชาติออกนามเจ้าพระนมเมกเถ้า[1] อนุสรณ์ ร้อยตำรวจตรี ประดิษฐ์ รามางกูร 22 กันยายน 2528 ออกนามย่อว่าหลวงปรานีพุทธบริษัท[2] นามเดิมท้าวเมฆหรือเมกทองทิบ (เมฆทองพิพย์) เป็นขุนโอกาส (เจ้าโอกาส) หรือนัยว่าเป็นเจ้าเมืองธาตุพนมลำดับ 3 จากราชวงศ์เวียงจันทน์ เป็นหลานตาเจ้าพระรามราชฯ ขุนโอกาสธาตุพนมลำดับแรก[3] บิดาเป็นเจ้าเมืองท่าแขก ปู่เป็นเป็นเจ้าเมืองนครพนม ภรรยาเอกชื่อนางกองสีเป็นธิดาพระอุปฮาตหูเลเมืองบังมุก[4] พระอัคร์บุตร (บุนมี) หลานปู่เจ้าพระรามราชฯ ไม่สนับสนุนให้เป็นขุนโอกาสเนื่องจากเป็นหลานตาเจ้าพระรามราชฯ จึงเกิดเหตุวิวาททำให้พระอัคร์บุตร (บุนมี) หนีไปอยู่ฝั่งซ้ายน้ำโขง[5]

พระปราณีศรีมหาพุทธบริษัท (เมฆ รามางกูร)
ชายาอาดยานางกองสีธิดาพระอุปฮาต (เลหรือหูเล) เมืองมุกดาหาร
พระนามเต็ม
พระปราณีศรีมหาพุทธบริษัท
พระนามเดิม
ท้าวเมกทองทิบ
ราชวงศ์เวียงจันทน์
พระบิดาพระยาพนมนครานุรักษ์ (จันทร์ทองทิพย์ มังคละคีรี) หรือท้าวสีหาบุตร เจ้าเมืองนครพนมและท่าแขก
พระมารดาอาดยานางคำกองเกิดหล้าธิดาเจ้าพระรามราชฯ (ราม)

หลัง พ.ศ. 2371 ราชวงศ์เวียงจันทน์ล่มสลายถูกลดบทบาทปกครองจากปัญหาความขัดแย้งมูลนายธาตุพนมและหนีจากธาตุพนมอยู่เซบั้งไฟฝั่งซ้ายน้ำโขง จากนั้นตำแหน่งขุนโอกาสว่างลงและถูกลดฐานะเป็นนายกองข้าพระธาตุพนม บิดาข้ามไปอยู่ในอารักขาฝรั่งเศส มารดาอยู่ธาตุพนม พ.ศ. 2444 หลังธาตุพนมถูกลดฐานะเป็นเพียงหมู่บ้าน ได้กลับมาโดยนำชาวบ้านบูรณะพระธาตุพนมสมัยพระครูวิโรจน์รัตโนบล (รอด นนฺตโร) พื้นเมืองพนมระบุสิ้นเงินส่วนตัวถึงหมื่นหนึ่ง พื้นพระบาทใช้ชาติระบุว่าสร้างพระพุทธรูปถวายวัดพระธาตุพนมพร้อมพระปิตตาเจ้าท่าแขกผู้เป็นบิดาคนละองค์ ปัจจุบันไม่พบพระพุทธรูป[6] [7] และบูรณะวัดหัวเวียงรังษีซึ่งเป็นวัดประจำตระกูลผู้ปกครองธาตุพนมร่วมกับพระอุปราชา (เฮือง)[8] พื้นพระบาทใช้ชาติหรือพื้นพระยาธรรมมิกราชระบุถึงพระองค์และเหตุการณ์ธาตุพนมเพียงสั้น ๆ ว่า ...สังกลาดได้ 2 ฮ้อย 60 2 ตัว อาดยาเจ้าพระปาดีเถ้าขว้ามคืนมาแต่ปากเซแล สังกลาดราซาได้ 2 ฮ้อย 60 3 ตัว เจ้าเมืองแสนแลเมืองจันเอาเจ้าหัวคูลอดมาซ่อมแปงทาดตุพระนม อาดยาเถ้าเมกเจ้าพระนมหยุดหยาวัดหัวเวียง แลหล่อพระเจ้าเมกทองทิบ พระปิตตาเจ้าท่าแขกหล่อพระเจ้าจันทองทิบถวายวัดพระนม สังกลาดราซาได้ 2 ฮ้อย 60 4 ตัว เดือน 10 เจ้าพระนมเมกเถ้าตนหลานจุตติแล กำแพงโฮงหลวงเจื่อนลงของ...[9]


ก่อนหน้า พระปราณีศรีมหาพุทธบริษัท (เมฆ รามางกูร) ถัดไป
เจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท (ศรี รามางกูร) ขุนโอกาสหรือเจ้าโอกาส (เจ้าเมือง) ธาตุพนม
เจ้าพระอัคร์บุตร (บุญมี รามางกูร)

อ้างอิง แก้

  1. ดวง รามางกูร, พระมหา, พื้นเมืองพนม (ประวัติวงส์เจ้าเมืองธาตุพนม), (กรุงเทพฯ: วัดบวรนิเวศวิหาร คณะแดงรังสี, ม.ป.ป.), ไม่ปรากฏหน้า (อัดสำเนา).
  2. ดูรายละเอียดใน วีรพงษ์ รามางกูร, อนุสรณ์ ร้อยตำรวจตรี ประดิษฐ์ รามางกูร 22 กันยายน 2528: อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ร้อยตำรวจตรี ประดิษฐ์ รามางกูร ณ เมรุวัดตรีทศเทพ วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน 2528 เวลา 17.00 น., (กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ.ส., 2528), หน้า 1-2.
  3. วีรพงษ์ รามางกูร, อนุสรณ์ ร้อยตำรวจตรี ประดิษฐ์ รามางกูร 22 กันยายน 2528: อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ร้อยตำรวจตรี ประดิษฐ์ รามางกูร ณ เมรุวัดตรีทศเทพ วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน 2528 เวลา 17.00 น., หน้า 2.
  4. ดูรายละเอียดใน คณะผู้จัดทำ, พิทักษ์พนมเขตร์อนุสรณ์: พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์เอก หลวงพิทักษ์พนมเขตร์ ณ เมรุวัดศิลาวิเวก อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม วันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคม พุทธศักราช 2512, (พระนคร: ร.พ. ประเสริฐศิริ, 2512), หน้า 61.
  5. พระมหาดวง รามางกูร, พื้นเมืองพนม (ประวัติวงส์เจ้าเมืองธาตุพนม), ไม่ปรากฏหน้า (อัดสำเนา).
  6. เรื่องเดียวกัน.
  7. ดูรายละเอียดใน http://www.paknamubonclub.com/
  8. ดูรายละเอียดใน http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/search_result.php?TypeIS=3&province_id=31&submit=%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B2[ลิงก์เสีย]
  9. พระครูสิริปัญญาวุฒิ (ขุนละคร ขันตะ), คัดลอก. คัมภีร์เรื่อง พื้นพระบาทใช้ชาติหรือพื้นครุธฮาช (พื้นพระยาธัมมิกราช). วัดศรีสุมังค์ บ้านนาถ่อนท่า ตำบลนาถ่อน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. เอกสารเขียนบนกระดาษ 1 ฉบับ. อักษรธรรมลาว, อักษรลาวเดิม. ภาษาบาลี-ลาว. เส้นเขียน. ม.ป.ป. (ต้นฉบับ พ.ศ. 2449). ไม่ปรากฏเลขรหัส. 23 ใบ 6 หน้า. ไม่ปรากฏหมวด.