ผู้ใช้:Warasinee/กระบะทราย

ความหมาย

แก้
       องค์การสาธารณะ หมายถึง หน่วยงานของรัฐบาลทุกๆประเภท สำหรับประเทศไทย ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา
       องค์กรสาธารณประโยชน์” หมายความว่าองค์กรภาคเอกชนที่ได้รับการรับรองให้ดําเนินงานการจัดสวัสดิการสังคมตามพระราชบัญญัติส่งเริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ.2546[1]

กรอบการมององค์การสาธารณะ

แก้
       องค์กรสาธารณะเป็นองค์กรที่มีความหลากหลายในสังคม มีบทบาทของในเชิงภาพรวม เน้นการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม องค์กรสาธารณะจึงแบ่งเป็น ลักษณะภายในหรือลักษณะเฉพาะตัวขององค์กร และลักษณะภายนอกกรอบการมององค์กรสาธารณะ[2]

สิทธิประโยชน์ขององค์กรสาธารณะประโยชน์

แก้
  1. ได้รับการรับรองสถานะเป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์ตามกฎหมาย
  2. เข้าร่วมการประชุม อบรมและสัมมนาที่จัดให้มีขึ้นตามกฎหมาย
  3. ขอรับรองมาตรฐานการจัดงานสวัสดิการสังคม ทั้งในส่วนขององค์การนักสังคมสงเคราะห์ และอาสาสมัครขององค์กรสาธารณะประโยชน์
  4. เสนอโครงการเพื่อขอรับเงินอุดหนุนจากกองส่งเสริมสวัสดิการสังคม
  5. สิทธิประโยชน์อื่นๆตามที่คณะกรรมการกำหนด[3]

หน้าที่ขององค์กรสาธารณะประโยชน์

แก้
  1. ปฏิบัติตามข้อกำหนด ระเบียบ ประกาศ แผน แนวการจัดสวัสดิการสังคมและมาตรฐานการจัดสวัสดิการสังคมตามกฎหมาย
  2. ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลและรายงานผลการปฏิบัติงาน[4]

ลักษณะขององค์กรสาธารณะประโยชน์

แก้
  1. เป้าหมายขององค์กรสาธารณะจะเน้นการทำงานเพื่อประโยชน์สาธารณะ มีความกว้างขวาง ไม่ชัดเจน และค่อนข้างเป็นนามประธรรม
  2. ลักษณะการดำเนินงานขององค์กรสาธารณะมีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ แต่ก็มีความซับซ้อนและมีพิธีการมากมายทำให้เกิดความล่าช้า[5]

ประสิทธิผลขององค์กร

แก้
       ประสิทธิผลขององค์การ หมายถึง ความสามารถขององค์การในการบรรลุเป้าหมาย ที่ได้กำหนดไว้ โดยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างคุ้มค่า สมาชิกเกิดความพอใจในงานและองค์การโดยส่วนรวม สามารถปรับตัว และพัฒนาเพื่อดำรงอยู่ต่อไปได้ การวัดประสิทธิผลขององค์กรมีเกณฑ์วัด ดังนี้
  • เกณฑ์ด้านเป้าหมาย ประกอบด้วย การเน้นผลสำเร็จของงาน ผลผลิต ประสิทธิภาพ กำไร คุณภาพของสินค้าและบริการ การวางแผน การกำหนดเป้าหมาย และการยึดเป้าหมายร่วมกัน
  • เกณฑ์ด้านกระบวนการภายใน ประกอบด้วย การควบคุม ความขัดแย้งภายในองค์กร และทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ของฝ่ายจัดการ
  • เกณฑ์ด้านการเมือง ประกอบด้วย ความเป็นตัวแทน ความรับผิดชอบ ความเป็นประชาธิปไตย
  • เกณฑ์ด้านทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย ความพึงพอใจในการทำงาน แรงจูงใจ การให้คุณค่ากับบุคคลภายในองค์กร การฝึกอบรม การขาดงาน และอัตราการลาออก
  • เกณฑ์ด้านระบบ ประกอบด้วย ความมีเสถียรภาพ ความเจริญเติบโต ความยืดหยุ่นและการปรับตัว การใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อม และการประเมินจากบุคคลภายนอก[6]

พฤติกรรมการบริหารองค์กรสาธารณะ

แก้
       Luthans กล่าวว่า พฤติกรรมศาสตร์ คือ การศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ตามแบบวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีระเบียบวิธีเป็นของตนเองมากมาย เช่น การเก็บรวบรวมข้อมูล มีการพิสูจน์สมมติฐาน มีการวิเคราะห์ข้อมูล
       Mary Parker Follett นิยามการบริหารว่าเป็นศิลปะการทำงานให้สำเร็จโดยผ่านคนอื่น
      การศึกษาพฤติกรรมการบริหารเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับนักบริหารและผู้ปฏิบัติงานทุกระดับในองค์กร ในการศึกษาพฤติกรรมการบริหารนั้น ระดับการวิเคราะห์ที่เป็นรากฐานการศึกษาได้แก่ พฤติกรรมของบุคคลในองค์กร ซึ่งพฤติกรรมของบุคคลในองค์กรนั้นมีผลจากการกระตุ้นจากสภาพแวดล้อมและระบบคิดของบุคคลผู้นั้น  แต่บางครั้งการแสดงพฤติกรรมของบุคคลในองค์กรอาจมีปัจจัยด้านตัวบุคคลหลายอย่าง เช่น การรับรู้ การเรียนรู้ ทัศนคติ ค่านิยมและการกล่อมเกลาทางสังคม ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ทำให้การแสดงพฤติกรรมของแต่ละบุคคลนั้นแตกต่างกันออกไป สิ่งที่จะต้องพิจารณาเป็นลำดับถัดมาก็คือ พฤติกรรมกลุ่ม เมื่อคนรวมกลุ่มกันแล้วการดำเนินการต่างๆย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย กลุ่มจะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของบุคคล เปลี่ยนทัศนะคติและความเชื่อของสมาชิกในกลุ่ม สิ่งที่ต้องพิจารณาเป็นลำดับสุดท้ายคือ พฤติกรรมขององค์กร  ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดรูปแบบการแสดงออกและความสัมพันธ์ของสมาชิกภายในองค์กร การทำความเข้าใจกับพฤติกรรมการบริหารองค์กรสาธารณะนั้นเป็นเรื่องที่มีความสลับซ้อน ต้องอาศัยการวิเคราะห์พฤติกรรมอื่นๆประกอบด้วย[7]

โครงสร้างขององค์กร

แก้
       การศึกษาโครงสร้างขององค์กร เป็นการแสดงถึงรูปพรรณสัณฐานขององค์กร โครงสร้างขององค์กรจะเป็นการจัดส่วนประกอบต่างๆขององค์การให้สามารถปฏิบัติงานร่วมกันให้บรรลุเป้าหมาย โดยการแบ่งงานกันทำ และจัดคนให้ทำงานในตำแหน่งต่างๆ การพิจารณาโครงสร้างขององค์กรประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
  • ความสลับซับซ้อนขององค์กร องค์กรที่มีความแตกต่างหลากหลายภายในองค์กรมากจะยิ่งแสดงให้เห็นถึงความสลับซับซ้อนมาก
  • ความเป็นทางการ ความเป็นทางการจะมีผลต่อการแสดงพฤติกรรมของสมาชิกในองค์กรมาก เพราะความเป็นทางการจะเป็นการแสดงถึงวิธีการในการทำงานขององค์กรว่ามีความชัดเจนและมีกฎเกณฑ์มากน้อยเพียงไร การพิจารณาความเป็นทางการขององค์กรจึงสามารถพิจารณาได้จากการที่องค์กรมีกฎเกณฑ์ ระเบียบ ขั้นตอนหรือคู่มือในการปฏิบัติงานในแต่ละเรื่อง การสร้างความเป็นทางการขององค์กรสามารถทำได้หลายประการ เช่น การสรรหาพนักงานแบบที่องค์กรต้องการ การฝึกอบรมพนักงานในองค์กรให้มีความรู้และความสามารถตามมาตรฐานที่องค์กรวางไว้ และการอาศัยนโยบาย กฎระเบียบ และวิธีการปฏิบัติงาน
  • การรวมอำนาจในองค์กรและการกระจายอำนาจ หมายถึงความมากน้อยของการมีอำนาจในการตัดสินใจในเรื่องราวต่างๆ[8]
  • ความชำนาญเฉพาะอย่าง การแบ่งงานกันทำภายในองค์กรนั้นควรยึดหลัก “Put the right Man in the right Job”
  • ขนาดขององค์กร องค์กรที่มีขนาดใหญ่ย่อมมีกลุ่มบุคลากร ปริมาณงาน และทรัพยากรในการบริหารมาก ในทางตรงกันข้าม องค์กรที่มีขนาดเล็ก กลุ่มบุคลากร ปริมาณงาน และทรัพยากรในการบริหารก็ย่อมน้อย
  1. โครงสร้างแบบเครื่องจักร เป็นโครงสร้างที่ไม่ให้ความสำคัญกับคน แต่ให้ความสำคัญกับองค์กรมากกว่า มีการกำหนดกฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับ และมาตรฐานในการทำงานไว้เป็นอย่างมาก เพื่อสะดวกในการควบคุมดูแล เน้นการติดต่อส่อสารแบบแนวตั้งและรวบรวมอำนาจการตัดสินใจ
  2. โครงสร้างแบบมีชีวิต เป็นโครงสร้างที่ให้ความสำคัญกับคนมากกว่าองค์กร ไม่มีกฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับและมาตรฐานในการทำงานที่ตายตัว สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้ เน้นการติดต่อสื่อสารตามสายบังคับบัญชาในแนวนอน[9]

วัฒนธรรมองค์กร

แก้
       อมรา พงศาพิชญ์ ให้ความหมายว่า วัฒนธรรม หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น กำหนดขึ้น มิใช่สิ่งที่มนุษย์ทำตามสัญชาตญาณ อาจเป็นการประดิษฐ์วัตถุสิ่งของขึ้นใช้ หรืออาจเป็นการกำหนดพฤติกรรมและความตลอดจนวิธีการหรือระบบการทำงาน[10]
       Judith R. Gordon และคณะให้ความหมายวัฒนธรรมขององค์กรว่าเป็นระบบค่านิยม ความเชื่อและพฤติกรรมร่วมกันของคนในองค์กร ซึ่งจะเกี่ยวกับการจัดโครงสร้างในการสร้างบรรทัดฐานของกลุ่ม วัฒนธรรมจะช่วยให้บุคคลรู้ว่าเขาจะต้องทำอะไรและจะต้องมีพฤติกรรมอย่างไร[11]
       องค์กรทุกองค์กรจะสร้างและพัฒนาวัฒนธรรมของตนเอง และแสดงถึงวัฒนธรรมผ่านการทำงาน การประพฤติปฏิบัติของสมาชิกในองค์กร ตลอดจนผ่านทางโครงสร้าง การออกแบบและจัดสำนักงานขององค์กร[12]

ระดับวัฒนธรรมองค์กร

แก้
       วัฒนธรรมขององค์กรสามารถแบ่งระดับทางวัฒนธรรมได้เป็น 3 ระดับ คือ
  1. วัฒนธรรมที่สังเกตได้ เป็นวัฒนธรรมในระดับบนที่สามารถเห็นได้ เป็นแนวทางที่องค์กรถ่ายทอดให้แก่สมาชิกใหม่ เพื่อให้มีพฤติกรรมที่สอดคล้องกับองค์กร
  2. ค่านิยมหรือคุณค่าร่วมกันขององค์กร เป็นระดับค่านิยมที่อยู่เบื้องหลังพฤติกรรมหรือการแสดงออกต่างๆในองค์กร
  3. ฐานคติร่วมกัน เป็นระดับของค่านิยมที่ลึกที่สุด[13]

ลักษณะของวัฒนธรรมองค์กร

แก้
  1. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และความกล้าเสี่ยง เป็นการสนับสนุนให้พนักงานมีความคิดใหม่ๆ มีความกล้าเสี่ยงในการปฏิบัติงานหรือการตัดสินใจในองค์กร
  2. การให้ความสนใจรายละเอียด คือการที่พนักงานให้ความสำคัญกับรายละเอียดของการทำงาน
  3. การมุ่งผลสำเร็จหรือผลงาน ผู้บริหารในองค์กรให้ความสำคัญกับผลสำเร็จมากกว่าวิธีการในการทำงาน
  4. การให้ความสำคัญกับบุคคล
  5. การทำงานเป็นทีม
  6. การทำงานเชิงรุก
  7. ความมีเสถียรภาพ
  8. ทิศทางขององค์กร
  9. บูรณาการในองค์กร
  10. การสนับสนุนจากผู้บริหาร
  11. การควบคุม
  12. การเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร
  13. ระบบการให้รางวัล
  14. การจัดการกับความขัดแย้ง
  15. รูปแบบการติดต่อสื่อสาร[14]

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อวัฒนธรรมขององค์กร

แก้
  1. กลุ่ม เป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อวัฒนธรรมขององค์กรโดยตรง
  2. ภาวะผู้นำของผู้บริหาร มีผลต่อพฤติกรรมของพนักงาน
  3. ลักษณะขององค์กร
  4. กระบวนการในการบริหาร[15]
  1. พระราชบัญญัติการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ.2546 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2550
  2. พิทยา บวรวัฒนา, ทฤษฎีองค์การสาธารณะ (กรุงเทพมหานคร: ศักดิ์โสภาการพิมพ์, 2541), หน้า 9-10
  3. พระราชบัญญัติการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ.2546 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2550
  4. พระราชบัญญัติ ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2550
  5. วันชัย มีชาติ, การบริหารองค์การ (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552), หน้า 8-10
  6. วันชัย มีชาติ, การบริหารองค์การ (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552), หน้า 320-323
  7. วันชัย มีชาติ, พฤติกรรมการบริหารองค์การสาธารณะ, (กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556), หน้า 4-12
  8. วันชัย มีชาติ, การบริหารองค์กร, พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552) หน้า 194-208
  9. ผู้ช่วยศาตราจารย์วิเชียร์ วิทยาอุดม, ทฤษฎีองค์กร, (กรุงเทพมหานคร: บริษัทธีระฟิล์มและไซเท็กซ์ จำกัด, 2548), หน้า 109
  10. อมรา พงศาพิชญ์, วัฒนธรรม ศาสนา และชาติพันธุ์, พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537) หน้า 1
  11. วันชัย มีชาติ, พฤติกรรมการบริหารองค์การสาธารณะ, (กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2556), หน้า 271
  12. วันชัย มีชาติ, พฤติกรรมการบริหารองค์การสาธารณะ, (กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2556), หน้า 269
  13. วันชัย มีชาติ, พฤติกรรมการบริหารองค์การสาธารณะ, (กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2556), หน้า 272
  14. วันชัย มีชาติ, พฤติกรรมการบริหารองค์การสาธารณะ, (กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2556), หน้า 277
  15. วันชัย มีชาติ, พฤติกรรมการบริหารองค์การสาธารณะ, (กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2556), หน้า 296