ผู้ใช้:ValaipornPNRU/กระบะทราย

การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมโดยการใช้นิทานที่ส่งผลต่อเด็กปฐมวัย
The Development behavior by using Story-Telling effecting the ability of Having Moral reason for Early Childhood

ความหมายของคุณธรรม จริยธรรม

แก้


คุณธรรม

แก้

คุณธรรม(อังกฤษ: virtue) มีความหมายตามพจนานุกรมว่า "สภาพคุณงามความดี" เป็นลักษณะหรือคุณสมบัติทางบวกที่ถือกันว่าดีงามทางศีลธรรม ฉะนั้นจึงได้รับยกย่อง 30 กิโลไบต์ (1,237 คำ) - 21:28, 25 มกราคม 2558

จริยธรรม

แก้

จริยธรรมหรือ จริยศาสตร์ เป็นหนึ่งในวิชาหลักของวิชาปรัชญา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับความดีงามทางสังคมมนุษย์ จำแนกแยกแยะว่าสิ่งไหนถูกและสิ่งไหนผิด หากจะอธิบายอย่างง่ายๆ แล้ว จริยธรรม หมายถึง การแยกสิ่งถูกจากผิด ดีจากเลว มาจากคำ 2 คำคือ จริย กับธรรมซึ่งแปลตามศัพท์ คือ จริยะ แปลว่า ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ คำว่า ธรรม แปลว่า คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักปฏิบัติในทางศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ เมื่อเอาคำ จริยะ มาต่อกับคำว่า ธรรม เป็นจริยธรรม แปลเอาความหมายว่า กฎเกณฑ์แห่งความประพฤติ หรือหลักความจริงที่เป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติ [1] ความหมายตามพจนานุกรมในภาษาไทย จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติ ศีลธรรมอันดี ตามธรรมเนียมยุโรป อาจเรียก จริยธรรมว่า Moral philosophy (หลักจริยธรรม) จริยธรรม น. ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม

  • ความหมายตามพจนานุกรมในภาษาไทย จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติ ศีลธรรมอันดี ตามธรรมเนียมยุโรป อาจเรียก จริยธรรมว่า Moral philosophy (หลักจริยธรรม) จริยธรรม น. ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม

การพัฒนาจริยธรรมในเด็กปฐมวัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์วัฒนา ปุญญฤทธิ์

แก้

วิธีการสอนจริยธรรมในเด็กปฐมวัย เมื่อเลือกพฤติกรรมจริยธรรมที่ต้องการพัฒนาให้เด็กปฐมวัยได้แล้ว ผู้สอนจะนำทฤษฎีการพัฒนาจริยธรรม มาสู่การออกแบบการสอน ดังนี้

การใช้วิธีการให้รางวัลและการลงโทษ

แก้

ทั้งนี้การให้รางวัลมิได้หมายถึงการให้สิ่งของที่เด็กพึงพอใจเสมอไป การให้รางวัลในที่นี้หมายรวมถึงการให้คำชมเชย ยกย่อง ยอมรับ การแสดงความชื่นชมที่เหมาะสม ไม่มากหรือไม่น้อยเกินไป ส่วนการลงโทษก็มิได้หมายถึงการทำโทษทางกายและทางใจให้เด็กเจ็บปวด หรืออับอายขายหน้า อาจเป็นเพียงการงดหรือยกเว้นสิทธิบางอย่าง การไม่ให้ความสำคัญ หรือลดความสำคัญลง ซึ่งต้องทำควบคู่ไปกับการชี้แจงให้เหตุผล ทั้งนี้ ข้อแนะนำในการให้รางวัลและการลงโทษนั้นมีดังนี้

  1. ต้องยึดหลักความชัดเจนของข้อกำหนดว่าสิ่งใดเป็นพฤติกรรมดีหรือไม่ดี และต้องให้เด็กรับทราบ
  2. ยึดความเป็นระบบ โดยกำหนดขั้นตอนการดำเนินการชัดเจนว่า เมื่อใดจะได้รางวัล และเมื่อใดจะมีผลถึงการลงโทษ
  3. ยึดหลักความสม่ำเสมอ โดยต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ทั้งการให้รางวัลและการลงโทษ
  4. ยึดหลักความทันที โดยต้องตอบสนองทันทีที่เด็กแสดงพฤติกรรม เพื่อให้รับรู้ผลการกระทำของตน

การใช้ตัวแบบ หลักการสำคัญของตัวแบบคือ ต้องเลือกตัวแบบที่เด็กสนใจ

แก้

ซึ่งจะมีแนวโน้มที่จะลอกเลียนแบบ และการใช้ตัวแบบนั้นจะต้องให้เด็กได้เผชิญกับตัวแบบที่แสดง พฤติกรรมที่พึงประสงค์ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนเด็กจดจำพฤติกรรมได้

การสอนโดยการให้แสดงความคิดเห็นในสถานการณ์ที่มีข้อขัดแย้งทางจริยธรรม

แก้

ทั้งนี้ในระดับปฐมวัย อาจใช้สถานการณ์ที่เด็กพบในชีวิตประจำวัน หรือใช้นิทาน แล้วให้เด็กแสดงความคิดเห็นเพื่อแก้ไขปัญหา ซึ่งวิธีการนี้แม้จะไม่เป็นไปตามแนวคิดในทฤษฎีทางจริยธรรมที่ระบุว่าเด็กปฐมวัย ยังไม่สามารถตัดสินความถูกผิดทางจริยธรรมได้ด้วยเหตุผลที่ถูกต้อง มักระบุเหตุผลตามการรับรู้ของตนมากกว่าข้อเท็จจริง แต่การสอนโดยการให้แสดงความคิดเห็น ครูจะใช้การกระตุ้นให้เด็กได้ฝึกคิดการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมในขั้นที่สูงกว่าเดิม เพื่อให้เด็กได้รับรู้เหตุผลตามความเป็นจริง

กระบวนการพัฒนาจริยธรรมในเด็กปฐมวัย

แก้

การพัฒนาจริยธรรมของเด็กปฐมวัย

แก้

การพัฒนาจริยธรรมของเด็กปฐมวัยจะมีการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอนต่อเนื่องกัน ดังนี้

  1. การรับรู้ เกิดจากการที่เด็กได้รับประสบการณ์จากสภาพแวดล้อมแล้วเกิดความเข้าใจ ยินดีที่จะเรียนรู้ และสนใจในสิ่งที่จะเรียนรู้ มีการเตรียมตนให้พร้อมที่จะเรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ
  2. การตอบสนอง เมื่อได้รับรู้เรื่องที่สนใจแล้วเด็กจะมีปฏิกิริยาตอบสนอง ถ้าเป็นเรื่องที่ตรงกับความต้องการ จะมีการตอบสนองทางบวก เต็มใจที่จะตอบสนอง และมีความพึงพอใจในการตอบสนองในเรื่องนั้น
  3. การสร้างค่านิยม เมื่อได้รับรู้จากสิ่งแวดล้อมและได้ตอบสนองจะเกิดเป็นค่านิยม และหากค่านิยมนั้นเป็นสิ่งที่เด็กพึงพอใจ จะเกิดการยอมรับค่านิยม ทั้งนี้การยอมรับค่านิยม อาจจะมีมากกว่าหนึ่งอย่างก็ได้ ทั้งนี้เด็กอาจแสดงออกมาให้เห็นถึงการปฏิบัติซ้ำ ๆ จนเป็นที่สังเกตเห็นได้
  4. การจัดระเบียบ หลังจากสร้างค่านิยม และยอมรับค่านิยมแล้ว จะนำมาคิดพิจารณาและรวบรวมค่านิยม นำมาจัดระบบระบบค่านิยม ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ใช้เวลามาก อาจจะยังยากที่จะสังเกตเห็นในระยะปฐมวัย
  5. การสร้างลักษณะนิสัย เป็นขั้นตอนหลังจากนำค่านิยมที่ดีอย่างหลากหลายมาจัดเป็นระเบียบ และนำมาเป็นแนวทางการประพฤติปฏิบัติ สร้างเป็นหลักยึดในการตัดสินใจ และแสดงถึงลักษณะนิสัย

ทั้งนี้จากขั้นตอนดังกล่าวแสดงถึงการพัฒนาจริยธรรม ซึ่งต้องใช้เวลาในการฝึกปฏิบัติค่อนข้างยาวนาน จนกว่าจะเกิดเป็นลักษณะนิสัยที่แสดงถึงการมีจริยธรรม การมีความรู้สึกผิดชอบชั่วดี แต่แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ยากและใช้เวลา หากเด็กได้รับการวางรากฐานทางจริยธรรมที่เหมาะสมแล้วย่อมนำพาให้เด็กได้รับความสุขความเจริญ เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและต่อสังคมโดยรวม ดังนั้นการส่งเสริมและพัฒนาเด็กนอกจากพัฒนาการโดยทั่วไปแล้ว ก็ควรส่งเสริมและพัฒนาทางด้านคุณธรรม จริยธรรมควบคู่ไปด้วย ทั้งนี้เพื่อเป้าหมายของการให้เด็กได้เติบโตขึ้นเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรม จริยธรรมสำหรับเด็กปฐมวัย

แก้

ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย

แก้

[1]การพัฒนาจริยธรรมทางสังคม ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิส โดยเชื่อว่า เป็นตัวแปรในการพัฒนาจริยธรรมทางสังคมให้กับเด็ก ในด้าน 20 วิธีการสอนและบรรยากาศการเรียนรู้ โดยแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนระหว่างวิธีการสอนและบรรยากาศการเรียนรู้แบบต่างๆ มีผลต่อการพัฒนาระดับจริยธรรมทางสังคมของเด็ก จากการศึกษาเปรียบเทียบระดับจริยธรรมทางสังคมของเด็กวัยอายุ 5 - 6 ปี ที่มาจาก 3 รูปแบบ คือ 1. รูปแบบการสอนโดยเน้นให้เด็กทำงานที่ต้องทำคือ การฝึกฝนตนเองโดยการอ่าน เขียน และคิดคำนวณ ครูมีบทบาทในการกำหนดกิจกรรมต่างๆ ให้เด็กโดยตรงบรรยากาศในชั้นเรียน มีความเคร่งเครียด เด็กขาดโอกาสในการเลือก หรือตัดสินใจทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง และไม่ส่งเสริมให้เด็กทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน ตัวอย่างรูปแบบการสอนชนิดนี้ว่าการสอนแบบ Direct Instruction (DISTER) 2. รูปแบบการสอนที่เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผนตัดสินใจ และทำกิจกรรมต่างๆ ตามความสนใจ เด็กมีโอกาสในการทำกิจกรรมที่หลากหลายโดยครูเป็นผู้ให้การช่วยเหลือ แนะนำ และร่วมมือ บรรยากาศไม่ตึงเครียด มีความเป็นมิตรและความเห็นอกเห็นใจต่อกัน ตัวอย่าง รูปแบบการสอนชนิดนี้ เช่น การสอนแบบสร้างองค์ความรู้ (Constructivist) 3. รูปแบบการสอนแบบผสมผสาน (Eclectic) เป็นวิธีที่ให้เด็กมีอิสระในการเลือก และตัดสินใจทำกิจกรรมบ้าง แต่ครูยังคงเป็นผู้กำหนดการเรียนรู้ และสั่งการให้เด็กปฏิบัติสิ่งต่างๆ ตามที่กำหนด จากการศึกษาพบว่า ค่าร้อยละของระดับจริยธรรมทางสังคมด้านกลวิธีการเจรจา เพื่อหาข้อตกลงร่วมกันระดับ 2 และด้านการให้และการรับประสบการณ์ร่วมกัน ระดับ 2 พบมากที่สุดในเด็กวัยอนุบาลที่มาจากรูปแบบการสอนแบบสร้างองค์ความรู้(Constructivist) และรูปแบบการสอนแบบ Eclectic มีค่าร้อยละของจริยธรรมทางสังคมทั้งสอง ด้านรองลงมา และในขณะที่พบได้น้อยที่สุดในเด็กวัยอนุบาลจากการสอนแบบ DISTER

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเล่านิทาน

แก้

ความหมายของนิทาน

แก้

ความหมายของนิทาน มีนักการศึกษาหลายท่านได้ให้คาจำกัดความและอธิบายความหมายของนิทานดังนี้[2] นิทานหมายถึงเรื่องราวที่เล่าสืบต่อ กันมาตั้งแต่สมัยโบราณโดยมีเนื้อหาที่เล่าเป็นการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ความงาม ความดีเพื่อปลูกจิตสานึกของคนให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความดี และเป็นตัวอย่างแก่สังคม [3]นิทานเป็นเรื่องราวทั่วๆไปที่เล่าสืบต่อกัน มาโดยมีจุดประสงค์เพื่อสืบทอดประสบการณ์ความรู้ความคิดหรือค่านิยมบางอย่างให้กับผู้ ฟังพร้อมทั้งสอดแทรกความสนุกสนานเพลิดเพลินไปพร้อมๆกัน ฉ[4]นิทานหมายถึงเรื่องราวที่เล่าต่อๆกันมาเป็นเวลานานแล้วแต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าเริ่มต้นเล่ากันมาตั้งแต่เมื่อใดการเล่านิทานก็เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินและให้ความรู้เพื่อเป็นคนดีอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและบางครั้งก็สอดแทรกเพื่อสอนใจไปด้วย [5] นิทาน หมายถึง เรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมาที่มิได้เจาะจงแสดงประวัติความเป็นมาของเรื่องจุดใหญ่ก็เพื่อความสนุกสนานและความพอใจทั้งผู้เล่าและผู้ฟังที่จะสนองความต้องการทางด้านจิตใจของผู้ฟังโดยบางครั้งสอดแทรกคติสอนใจเอาไว้ด้วย [6]นิทานหมายถึงเรื่องราวที่เล่าต่อกันมาหรือแต่งขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อความสนุกสนานหรือสอดแทรกแนวคิดคุณธรรมลักษณะที่พึงประสงค์แก่เด็กเพื่อให้สามารถปฏิบัติตนได้เหมาะสมในการดารงชีวิตในสังคมจากที่กล่าวมาสรุปได้ว่านิทานหมายถึงเรื่องราวที่เล่ากันมาหรือแต่งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความสนุกสนานและแฝงความคิดสอนใจหรือให้เกิดการเรียนรู้จากนิทาน จากที่กล่าวมาข้างต้นพอสรุปได้ว่านิทานเป็นเรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมาอาจมีการแต่งเนื้อหาขึ้นมาใหม่บ้างตามสถานการณ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินแต่ก็แฝงไว้ด้วยคติเตือนใจมีการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมและลักษณะที่พึงประสงค์ต่างๆเพื่อผู้ฟังนาไปใช้ในชีวิตประจาวัน

อ้างอิง

แก้
  1. ดีไรส์ รีสเรเมด และมอร์แกน (Devries; Reese - Learmed; & Morgan.1991)
  2. เกริก ยุ้นพันธ์ (2539 : 16)
  3. ครุรักษ์ ภิรมย์รักษ์ (2540 : 45)
  4. วีวรรณ กินาวงศ์ (2533 : 101)
  5. ภิญญาพร นิตยะประภา (2534 : 32)
  6. ทรงพร สุทธิธรรม (2534 : 56)