ผู้ใช้:Umaporn31/กระบะทราย

แนวคิดและทฤษฎีของการพิมพ์ 3 มิติ

แก้

แนวคิด ทฤษฎี และ ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3D Printihg

แก้

2.1 หลักการของแบบจำลองสามมิติ Flor (2004, 2-7)

แก้

2.2 พิกัดคาร์ทีเซียน (Cartesian Coordinates)

แก้
ไฟล์:NEW.JPG
รูปมือขาว

2.3 การเคลื่อนย้าย (Translation)

แก้

2.4 การหมุน (Rotation)

แก้

แนวคิดทฤษฎีที่ 2.1

แก้

อธิบายแนวคิด ทฤษฎีที่ 2.1 หลักการของแบบจำลองสามมิติ Flor (2004, 2-7) : ได้อธิบายหลักการของแบบจำลองสามมิติไว้ดังนี้ การสร้างแบบจำลองสามมิติ (3D Modeling) ในคอมพิวเตอร์กราฟิกส์สามมิติ (3D Computer Graphics) หมายถึงกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในการสร้างแบบจำลองโดยอาศัยโครงสร้าง แบบจำลองโครงลวด (Wireframe) เป็นลักษณะการแสดงผลของแบบจำลองสามมิติของ วัตถุหรือสิ่งของที่สร้างในคอมพิวเตอร์ โดยการแสดงเส้นตรงหรือเส้นโค้ง ซึ่งเป็นเส้นของขอบของวัตถุที่เกิดจากคำนวณทางคณิตศาสตร์ของพื้นผิวที่ไม่ ต่อเนื่องของวัตถุ เพื่อแสดงวัตถุในสามมิติ โดยใช้ซอฟต์แวร์สามมิติ สร้างขึ้น เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ออกมาเป็น แบบจาลองสามมิติ (3D Model) ซึ่งสามารถนามาแสดงผลด้วยกระบวนการเรนเดอร์ภาพสามมิติ (3D Rendering) หรือ ฉายภาพสามมิติ (3D Projection) หรือ พิมพ์ภาพสามมิติ (3D Printing)

พร้อมอ้างอิงที่มา Disruptive technologies: Advances that will transform life, business, and the global economy, McKinsey Global Institute, May 2013

แนวคิดทฤษฎีที่ 2.2

แก้

อธิบายแนวคิด ทฤษฎีที่ 2.2 พิกัดคาร์ทีเซียน (Cartesian Coordinates) เนื่องจากวัตถุสามมิติมีความกว้าง ความสูง และความลึก จำเป็นต้องมีวิธีการที่จะอธิบายคุณสมบัติ สามมิติเหล่านี้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วนิยมที่จะใช้ระบบพิกัดคาร์ทีเซียนไปอธิบายลักษณะของสภาพแวดล้อมแบบสามมิติ และวัตถุที่อยู่ภายใน ดูรูปที่ 1 ในพิกัดคาร์ทีเซียน ตัวแปร X, Y และ Z จะใช้ในการระบุตำแหน่งของวัตถุใด ๆ ในพื้นที่ ตรงจุดศูนย์กลางของพื้นที่คาร์ทีเซียนเป็นกำเนิด หรือจุดที่ทุกมิติเริ่มต้น โดยมีค่าของ X, Y และ Z เป็นศูนย์

พร้อมอ้างอิงที่มา ที่มา: Flor (2004, 3)

แนวคิดทฤษฎีที่ 2.3

แก้

อธิบายแนวคิด ทฤษฎีที่ 2.3 การเคลื่อนย้าย (Translation) การย้ายวัตถุในพื้นที่พิกัด สามมิติ ต้องทำการย้ายตำแหน่งตามแกนต่างๆ อาจจะเป็น หนึ่ง สอง หรือ ทั้งสามแกน X, Y และ Z ยกตัวอย่างเช่น ถ้าจุดศูนย์กลางของวัตถุ อยู่ที่ตำแหน่ง X=3, Y=2 และ Z=5 แต่ถ้าหาก ค่าตาแหน่ง X, Y และ Z ของวัตถุเปลี่ยนแปลงไป วัตถุก็จะถูกเคลื่อนย้ายไปไนพิกัดสามมิติ พร้อมอ้างอิงที่มา ที่มา: Flor (2004, 3)

แนวคิดทฤษฎีที่ 2.4

แก้

อธิบายแนวคิด ทฤษฎีที่ 2.4 การหมุน (Rotation) ค่าพิกัด X, Y และ Z สามารถอธิบายการหมุนของวัตถุได้เช่นกันเหมือนกับการเคลื่อนย้าย การหมุนสามารถเกิดขึ้นได้กับแกนพิกัด หนึ่งแกน หรือสามารถเกิดรวมกันได้หลายแกน X, Y และ Z ยกตัวอย่างเช่น ตอนแรกวัตถุเอียงไปทางด้านซ้าย 5 องศา และต่อมาวัตถุเกิดการหมุน กลับไปทางด้านแกน x 5 องศา

พร้อมอ้างอิงที่มา ที่มา: Flor (2004, 3)

แนวคิดทฤษฎีที่ 2.5

แก้

อธิบายแนวคิด ทฤษฎีที่ 2.5 กฎมือขวา (The Right-Handed Rule) วิธีการง่ายๆ ในการจดจำพิกัดสามมิติ คาร์ทีเซียน คือการใช้กฎมือขวา โดยการยกมือขวาขึ้นมา กำมือให้ทุกนิ้วหุบเข้า และจากนั้นยืดนิ้วชี้ นิ้วโป้ง และนิ้วกลางออกมา ให้นิ้วชี้แทนแนวแกน z นิ้วกลางแทนแนวแกน x และนิ้วหัวแม่มือแทนแนวแกนy

พร้อมอ้างอิงที่มา  ที่มา: Flor (2004, 3)

ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

แก้

หลักการของแบบจำลองสามมิติ Flor (2004, 2-7) : ได้อธิบายหลักการของแบบจำลองสามมิติไว้ดังนี้ การสร้างแบบจาลองสามมิติ (3D Modeling) ในคอมพิวเตอร์กราฟิกส์สามมิติ (3D Computer Graphics) หมายถึงกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในการสร้างแบบจำลองโดยอาศัยโครงสร้าง แบบจำลองโครงลวด (Wireframe) เป็นลักษณะการแสดงผลของแบบจำลองสามมิติของ วัตถุหรือสิ่งของที่สร้างในคอมพิวเตอร์ โดยการแสดงเส้นตรงหรือเส้นโค้ง ซึ่งเป็นเส้นของขอบของวัตถุที่เกิดจากคำนวณทางคณิตศาสตร์ของพื้นผิวที่ไม่ ต่อเนื่องของวัตถุ เพื่อแสดงวัตถุในสามมิติ โดยใช้ซอฟต์แวร์สามมิติ สร้างขึ้น เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ออกมาเป็น แบบจาลองสามมิติ (3D Model) ซึ่งสามารถนามาแสดงผลด้วยกระบวนการเรนเดอร์ภาพสามมิติ (3D Rendering) หรือ ฉายภาพสามมิติ (3D Projection) หรือ พิมพ์ภาพสามมิติ (3D Printing)

1. พิกัดคาร์ทีเซียน (Cartesian Coordinates)

แก้

เนื่องจากวัตถุสามมิติมีความกว้าง ความสูง และความลึก จำเป็นต้องมีวิธีการที่จะอธิบายคุณสมบัติ สามมิติเหล่านี้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วนิยมที่จะใช้ระบบพิกัดคาร์ทีเซียนไปอธิบายลักษณะของสภาพแวดล้อมแบบสามมิติ และวัตถุที่อยู่ภายใน ดูรูปที่ 1 ในพิกัดคาร์ทีเซียน ตัวแปร X, Y และ Z จะใช้ในการระบุตาแหน่งของวัตถุใด ๆ ในพื้นที่ ตรงจุดศูนย์กลางของพื้นที่คาร์ทีเซียนเป็นกำเนิด หรือจุดที่ทุกมิติเริ่มต้น โดยมีค่าของ X, Y และ Z เป็นศูนย์


รูปที่1 พิกัดสามมิติคาร์ทีเซียน ที่มา: Flor (2004, 3)

2. การเคลื่อนย้าย (Translation)

แก้

การย้ายวัตถุในพื้นที่พิกัด สามมิติ ต้องทำการย้ายตำแหน่งตามแกนต่างๆ อาจจะเป็น หนึ่ง สอง หรือ ทั้งสามแกน X, Y และ Z ยกตัวอย่างเช่น ถ้าจุดศูนย์กลางของวัตถุ อยู่ที่ตำแหน่ง X=3, Y=2 และ Z=5 แต่ถ้าหาก ค่าตาแหน่ง X, Y และ Z ของวัตถุเปลี่ยนแปลงไป วัตถุก็จะถูกเคลื่อนย้ายไปไนพิกัดสามมิติ ดังรูปที่ 2



รูป 2 การเคลื่อนย้ายของวัตถุในพิกัดสามมิติ ที่มา: ที่มา: Flor (2004, 3)

3. การหมุน (Rotation)

แก้

ค่าพิกัด X, Y และ Z สามารถอธิบายการหมุนของวัตถุได้เช่นกันเหมือนกับการเคลื่อนย้าย การหมุนสามารถเกิดขึ้นได้กับแกนพิกัด หนึ่งแกน หรือสามารถเกิดรวมกันได้หลายแกน X, Y และ Z ยกตัวอย่างเช่น ตอนแรกวัตถุเอียงไปทางด้านซ้าย 5 องศา และต่อมาวัตถุเกิดการหมุน กลับไปทางด้านแกน x 5 องศา ดังแสดงตามรูปที่ 3


รูปที่ 3 การหมุนของวัตถุในพิกัดสามมิติ ที่มา: Flor (2004, 4)

4 กฎมือขวา (The Right-Handed Rule)

แก้

วิธีการง่ายๆ ในการจดจำพิกัดสามมิติ คาร์ทีเซียน คือการใช้กฎมือขวา โดยการยกมือขวาขึ้นมา กำมือให้ทุกนิ้วหุบเข้า และจากนั้นยืดนิ้วชี้ นิ้วโป้ง และนิ้วกลางออกมา ให้นิ้วชี้แทนแนวแกน z นิ้วกลางแทนแนวแกน x และนิ้วหัวแม่มือแทนแนวแกนy ดังรูปที่ 4

รูปที่ 4 ทิศทางของพิกัดสามมิติโดยใช้กฎมือขวา ที่มา: Flor (2004, 4)

ภาณุพงษ์ ปัตติสิงห์ (2540, 23-25) ได้อธิบายว่า หลักในการมองภาพแบบจาลองสามมิตินั้น ประกอบไปด้วย ภาพด้านหน้า (Front View) ภาพด้านข้าง (Side View) และภาพด้านบน (Top View) ในการเขียนแบบสามมิติของวัตถุนั้น จำเป็นต้องเลือกภาพด้านหน้าที่มีความเหมาะสม โดยมีหลักเกณฑ์ในการเลือกคือ ภาพด้านหน้าต้องเป็นภาพที่มองเห็นรูปร่างได้ชัดเจน มีรายละเอียดมากที่สุด ทาให้การมองภาพด้านข้างและภาพด้านบนสามารถมองเห็นรายละเอียดได้มากที่สุดด้วย ส่วนวิธีการสร้างแบบจำลองสามมิตินั้นไม่ได้มีวิธีการที่ตายตัวแน่นอน ซึ่งผู้สร้างแบบจำลองสามมิติ สามารถนำเอาเทคนิคที่หลากหลายเข้ามาใช้ในการสร้างแบบจำลองได้ยกตัวอย่างเช่น การสร้างแบบจำลองสามมิติโดยใช้เทคนิคประกอบชิ้นส่วนย่อยชิ้นเล็กๆ รวมเข้าด้วยกันเป็นวัตถุชิ้นใหญ่ หรือการสร้างแบบจำลองสามมิติโดยใช้เทคนิคการขึ้นรูปแบบจำลองเป็นวัตถุขนาดใหญ่ก่อน แล้วใช้เครื่องมือช่วยในการ ตัด เฉือน ลบ รูปทรงส่วนที่ไม่ต้องการออกไป e View Top View (Kai and Fai, 1997):กรรมวิธีการสร้างต้นแบบรวดเร็วการสร้างต้นแบบรวดเร็วสามารถแบ่งได้เป็ น 3 ประเภทตามวัสดุตั้งต้น คือ วัสดุตั้งต้นประเภทของเหลว, วัสดุตั้งต้นประเภทผง และวัสดุตั้งต้นประเภทของแข็ง

1. การสร้างต้นแบบรวดเร็วด้วยวัสดุตั้งต้นแบบของเหลว (Liquid-based RapidPrototyping)

แก้

เป็นวิธีการสร้างต้นแบบที่ได้รับความนิยม เนื่องจากเป็นวิธีการแรกที่ถูกพัฒนาขึ้น เทคนิคที่ใช้ในการสร้างต้นแบบจากวิธีนี้ได้แก่ Stereo Lithograph Apparatus (SLA) และ Solid Ground Curing (SGC) หลักการขึ้นรูปแบบ SLA คือ การขึ้นรูปชิ้นงานต้นแบบโดยใช้ของเหลว ประเภทเรซิน (Resin) ที่มีความไวต่อแสงสูงมาทำให้เปลี่ยนสภาพเป็นของแข็ง โดยการฉายแสง เลเซอร์ (Laser Beam) มากระทบบริเวณพื้นผิวของเรซิน ซึ่งทำ ให้เรซินเกิดการแข็งตัวขึ้นเป็นชั้น ตามเส้นโครงร่างที่เป็นเนื้อวัสดุ โดยชิ้นงานต้นแบบจะถูกสร้างขึ้นทีละชั้นจากด้านล่างขึ้นด้านบน จากการอาศัยการเคลื่อนที่ของฐานรองชิ้นงาน (Platform) ในแนวดิ่ง ฐานรองชิ้นงานจะเลื่อนตัวลง เท่ากับค่าความหนาของชั้นแบบจำลองเพื่อสร้างชิ้นงานต้นแบบในชั้นถัดไป จนกระทั่งชั้นสุดท้าย

ถูกสร้างขึ้นเสร็จ ดังแสดงในรูปที่ 1 ส่วนเทคนิค SGC เป็นการขึ้นรูปชิ้นงานต้นแบบโดยใช้วัสดุ ประเภทเรซินเช่นเดียวกับ SLA เทคนิคนี้จะพ่นสารประเภทเรซินบนฐานรองชิ้นงาน จากนั้นสร้างหน้ากาก (Photomask) เพื่อป้องกันแสงโดยเปิดช่องเฉพาะบริเวณที่จะสร้างเป็นชิ้นงานตามเส้นโครงร่างที่เป็นเนื้อวัสดุ โดยวางหน้ากากลงบนฐานรองชิ้นงานและปล่อยรังสี UV ตกกระทบบริเวณที่หน้ากากเปิ ดช่องไว้ทา ให้บริเวณนั้นเรซินจะเกิดการแข็งตัว กระบวนการดังกล่าวจะดา เนินไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งได้ชิ้นงานต้นแบบที่สมบูรณ์

2. การสร้างต้นแบบรวดเร็วด้วยวัสดุตั้งต้นแบบผง (Power-based Rapid Prototyping)

แก้

วิธีการสร้างต้นแบบด้วยวิธีการนี้ใช้วัสดุที่มีลักษณะเป็นผงในการขึ้นรูปชิ้นงานต้นแบบ เทคนิคที่ใช้สำหรับการสร้างชิ้นงานต้นแบบด้วยวิธีนี้ได้แก่ Selective Laser Sintering(SLS) และ 3Dimensional Printing (3D Printing) หลักการทำงานของ SLS คือ ผงวัสดุสำหรับการสร้างชิ้นงานต้นแบบจะถูกให้ความร้อนด้วยแสงเลเซอร์โดยการฉายแสงเลเซอร์ตามเส้นโครงร่างที่เป็นเนื้อวัสดุ บริเวณที่ถูกฉายด้วยแสงเลเซอร์ผงวัสดุจะถูกหลอมละลายทำให้สามารถเกาะติดกันได้และยังสามารถยึดเกาะกับชั้นที่ขึ้นรูปไปก่อนหน้านี้ โดยฐานรองชิ้นงานจะเลื่อนตัวลงเท่ากับค่าความหนาของชั้นแบบจำลอง เพื่อให้ลูกกลิ้ง (Roll) กวาดผงวัสดุชุดใหม่เข้ามาทับผิวชั้นก่อนหน้านี้ ส่วน 3D Printing เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่มีการขึ้นรูปชิ้นงานต้นแบบด้วยวัสดุตั้งต้นแบบผงโดยใช้วิธีพ่นกาว กล่าวคือใช้วิธีการพ่นกาวให้ผงวัสดุยึดเกาะกันเป็นรูปทรงที่ต้องการกาวประสานจะถูกพ่นลงไปบนฐานรองชิ้นงานมีผงวัสดุเตรียมไว้ตามเส้นโครงร่างที่เป็นเนื้อวัสดุกระบวนการขึ้นรูปชิ้นงานต้นแบบจะทำ ไปทีละชั้นเช่นเดียวกับกระบวนการขึ้นรูปชิ้นงานต้นแบบอื่น ๆ ซึ่งการขึ้นรูปชิ้นงานต้นแบบด้วยวิธี 3D Printing สามารถใส่สีกับชิ้นงานทา ให้รูปทรงของชิ้นงานมีสีสันต่าง ๆ

3. การสร้างต้นแบบรวดเร็วด้วยวัสดุตั้งต้นแบบของแข็ง (Solid-based RapidPrototyping)

แก้

วัสดุตั้งต้นที่นำมาใช้สร้างต้นแบบรวดเร็วด้วยวิธีนี้จะมีสถานะเป็นของแข็งเทคนิคที่ใช้สำหรับการขึ้นรูปชิ้นงานต้นแบบด้วยวิธีนี้ได้แก่ Laminated Object Manufacturing(LOM) และ Fused Deposition Modeling (FDM) การขึ้นรูปชิ้นงานต้นแบบด้วยวิธี LOM มีหลักการ คือ การตัดแผ่นวัสดุบาง เช่น กระดาษ หรือแผ่นพลาสติกโดยที่ด้านหนึ่งถูกเคลือบไว้ด้วยกาว การทำงานของ LOM จะยิงแสงเลเซอร์ไปยังแผ่นวัสดุที่วางอยู่บนฐานรองชิ้นงานเพื่อตัดแผ่นวัสดุตามแนวเส้นโครงร่างของแต่ละชั้น แผ่นวัสดุแต่ละแผ่นจะซ้อนติดกันเป็นชั้น ๆ จนได้ชิ้นงานตามต้องการ แผ่นวัสดุที่เตรียมไว้จะเคลื่อนที่ผ่านฐานรองชิ้นงาน และถูกตัดตามแนวเส้นโครงร่างด้วยแสงเลเซอร์ บริเวณที่ไม่ใช่ส่วนของชิ้นงานจะถูกตัดออกเป็นตารางเล็ก ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการแกะออกเมื่อทำการขึ้นรูปชิ้นงานต้นแบบเสร็จสมบูรณ์ ส่วนเทคนิค FDM เป็นวิธีขึ้นรูปชิ้นงานต้นแบบโดยการใช้วัสดุที่มีลักษณะเป็นเส้นที่ถูกทา ให้ร้อนแล้วนา มาเรียงตามเส้นโครงร่างขึ้นเป็นโครงสร้างทีละชั้น จนกระทั่งเป็นรูปทรงชิ้นงานตามต้องการ อย่างไรก็ตามผิวชิ้นงานที่เกิดจากการขึ้นรูปด้วยวิธีนี้จะมีลักษณะค่อนข้างหยาบ เนื่องจากการขึ้นรูปที่เกิดจากการเรียงตัวและเชื่อมติดกันของเส้นวัสดุขนาดเล็กเป็นชั้น ๆ

(ดร. บุญชัย วลีธรชีพสวัสดิ์) :สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช การพิมพ์สามมิติ (3D Printing) เป็นกระบวนการหนึ่งของการผลิตชิ้นงานต้นแบบได้อย่างรวดเร็ว (Rapid Prototyping) โดยอาศัยข้อมูลสามมิติจากโปรแกรมภาพสามมิติ (CAD) แล้วแปลงให้เป็นข้อมูลที่เหมาะสำหรับการพิมพ์ทีละชั้น (layer-by-layer) โดยจัดทิศทางการตั้งขึ้นของชิ้นงาน และทำการฝานในแนวราบเป็นชั้นๆ ให้ความหนาแต่ละชั้นสัมพันธ์กับความหนาของวัสดุที่จะพิมพ์หรือสร้างขึ้นในแต่ละชั้น ซึ่งการพิมพ์แต่ละชั้นมักเกิดจากการทำให้วัสดุเกิดขึ้นตามตำแหน่งที่ต้องการ เมื่อเสร็จชั้นล่างก็ขยับฐานเพื่อรองรับการสร้างภาพในชั้นถัดไป จนครบทุกชั้นก็จะได้เป็นชิ้นงานขึ้นมา ซึ่งอาจจะสำเร็จทันที หรืออาจต้องมีการนำไปทำให้แข็งตัวอีกทีหนึ่ง รวมถึงการตกแต่งผิวให้เรียบร้อยก็จะได้เป็นชิ้นงานสำเร็จ การเกิดขึ้นของชั้นภาพแต่ละชั้น ทำได้หลายระบบ มีทั้งลักษณะการฉายแสงพอลิเมอร์เหลวให้แข็งตัวเฉพาะบริเวณที่ต้องการ การฉีดพอลิเมอร์เหลวให้ทับถมเฉพาะบริเวณที่ต้องการ การฉีดพ่น พอลิเมอร์ไวแสงเฉพาะบริเวณ หรือการยิงเลเซอร์เฉพาะบริเวณบนแผ่นลามิเนต อันเป็นรายละเอียดในแต่ละเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ แต่โดยรวมแล้ว เป็นการสร้างภาพขึ้นมาทีละชั้นตามข้อมูลที่กำหนดจนครบเป็นชิ้นงาน จึงเรียกรวมๆ กันว่า การพิมพ์สามมิติ ซึ่งคำนี้เป็นคำที่นิยมเรียกกันมากขึ้นในปัจจุบัน และมีความนิยมใช้งานพิมพ์สามมิติเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน จุดเด่นของการพิมพ์สามมิติ (3D Printing)

       1. พิมพ์ชิ้นงานออกมาเป็นกลไกได้เลย มีความแม่นยำสูงและใช้งานได้จริง เช่น พิมพ์ออกมาเป็นประแจเลื่อนที่สามารถปรับเลื่อนขนาดหัวประแจ และใช้ในการขันน็อตขนาดต่างๆ ได้จริง เนื่องจากในการพิมพ์ไฟล์งานสามมิติเป็นการพิมพ์ทีละชั้นของภาคตัดขวางของชิ้นวัตถุ บริเวณที่ไม่ต้องการให้ติดกันก็มีวัสดุคั่นไว้ในขณะพิมพ์และกำจัดออกเมื่อพิมพ์เสร็จ ชิ้นงานที่ได้จึงสามารถขยับได้แบบกลไก เช่น โซ่ ตลับลูกปืน ซึ่งเป็นชิ้นงานครบสมบูรณ์จากการพิมพ์ครั้งเดียว ไม่ต้องนำชิ้นส่วนต่างๆ มาประกอบในภายหลัง นึกถึงข้อดีเมื่อต้องไปอยู่ในที่กันดารแต่มีเครื่องพิมพ์สามมิติพร้อมวัสดุ สามารถสั่งพิมพ์ไฟล์ชิ้นงานเครื่องมือหรืออะไหล่ต่างๆ ออกมาใช้งานได้ตรงนั้น ลองนึกดูว่าหากจะนำไปพิมพ์บนดวงจันทร์ก็ยังได้เลย ไม่ต้องรอส่งอะไหล่ไปจากโลก 
       2. ลดต้นทุนในการผลิตต้นแบบลงได้อย่างมาก  สามารถผลิตต้นแบบ (prototype) ได้เหมือนจริงโดยที่ยังไม่ต้องทำโมแม่พิมพ์ ซึ่งเป็นการลดขั้นตอน ลดเวลา และลดต้นทุนในการพัฒนาต้นแบบลงอย่างมาก ลองนึกถึงการสร้างชิ้นงานเหมือนจริงที่ต้องมีการทำโมแม่แบบก่อน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือการสร้างต้นแบบบรรจุภัณฑ์ขึ้นมาใหม่ กว่าจะทดสอบและปรับแก้จนลงตัวได้แต่ละชิ้นเป็นเรื่องที่ลงทุนสูงมาก การประยุกต์ใช้การพิมพ์สามมิติมาสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เป็นการลดขั้นตอน ลดเวลาและลดต้นทุนลงได้มาก แน่นอนว่าผู้ที่ประยุกต์ใช้การพิมพ์สามมิติได้อย่างเหมาะสมจะได้เปรียบคู่แข่งมากมาย 
      3. สร้างชิ้นงานด้วยวัสดุที่หลากหลาย วัสดุพื้นฐานได้แก่ ABS พลาสติกใส พลาสติกขุ่น พลาสติกสีต่างๆ PLA PET เรซิน วัสดุคล้ายยาง ในขณะที่วัสดุอื่นๆ ก็สามารถพิมพ์ได้ด้วยการพิมพ์สามมิติในระบบต่างๆ จนเกินจะจินตนาการ ไม่ว่าจะเป็น เหล็ก ไททาเนียม ทองคำ เงิน เซรามิก ซีเมนต์ หรือแม้แต่สารชีวภาพสำหรับการพิมพ์เป็นอวัยวะเทียม (bio printing)
      4. ตอบสนองแนวความคิดรักษ์โลก ผลิตเท่าที่ต้องการใช้งาน ไม่ต้องผลิตเผื่อเพื่อให้คุ้มต้นทุนการผลิตขั้นต่ำอีกต่อไป เนื่องจากมีความก้าวหน้าทางวัสดุศาสตร์และเครื่องพิมพ์สามารถพิมพ์วัสดุหลากหลายชนิดออกมาเป็นชิ้นผลิตภัณฑ์ที่มีสมบัติการใช้งานจริง เป็นการผลิตในหลักการ individual manufacturing เช่น การสั่งพิมพ์รองเท้ากีฬาตามขนาดเฉพาะ เพื่อใช้ใส่เล่นกีฬาได้จริงๆ ประกอบด้วยวัสดุต่างๆ สีต่างๆ ที่มีสมบัติการใช้งานได้จริง และมีขนาดเฉพาะสำหรับผู้ซื้อแต่ละคน นำไปสู่การลดความสูญเปล่าในการผลิตเผื่อ ช่วยประหยัดทรัพยากรให้แก่โลกของเรา 
       5. รองรับการสร้างสรรค์งานศิลปะและงานประดิษฐ์ได้อย่างไร้ขีดจำกัด โดยเฉพาะเมื่อทำงานร่วมกับเครื่องกราดสามมิติ (3D Scanner) สามารถนำเข้าข้อมูลสามมิติจากวัตถุต้นแบบเพื่อเตรียมไฟล์สามมิติและปรับแต่งรายละเอียดตามต้องการ ก่อนพิมพ์ออกมาเป็นชิ้นงานสามมิติที่มีลักษณะตามต้นแบบ และมีสีสันตามต้องการได้ หรือแม้แต่จะสร้างไฟล์สามมิติจากภาพสองมิติหรือภาพถ่ายก็ยังได้ ตัวอย่างหนึ่งที่กำลังนิยมกันก็คือการสร้างหุ่นจำลองของบุคคล เพื่อเป็นที่ระลึกอันน่าประทับใจ เช่น สร้างหุ่นจำลองวัยรุ่น วัยปัจจุบัน และวัยอนาคต โดยสร้างขึ้นจากข้อมูลภาพถ่าย ซึ่งจะต้องมีโปรแกรมสร้างภาพสามมิติจากภาพสองมิติ โดยปัจจุบันโปรแกรมจัดการภาพหลายโปรแกรมสามารถทำภาพสามมิติได้แล้ว รวมถึงโปรแกรมโฟโตช็อปด้วย (Adobe Photoshop) ทำให้การสร้างสรรค์งานพิมพ์สามมิติเข้าถึงผู้ใช้ระดับผู้บริโภคทั่วไป (Consumer level) ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางอีกต่อไป ในอนาคตอันใกล้คงได้เห็นการผลิตชิ้นงานสามมิติส่วนบุคคลก็เป็นแค่ความท้าทายเล็กๆ ไม่ยากเย็นไปกว่าการเตรียมภาพถ่าย เพื่อทำโฟโต้บุ้คซักเล่มหนึ่ง 
           ความจริงแล้วแนวคิดเกี่ยวกับการพิมพ์สามมิติไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น แต่มีมานานระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งเดิมทีรู้จักกันในกลุ่มผู้ผลิตต้นแบบชิ้นงานผลิตภัณฑ์ (Rapid prototyping) ที่ใช้งานกับโปรแกรมสร้างภาพสามมิติ (CAD) ซึ่งใช้งานกันในกลุ่มผู้ใช้ระดับมืออาชีพ เนื่องจากเป็นโปรแกรมเฉพาะทาง และเครื่องจักรในการสร้างชิ้นงานสามมิติมีราคาสูง ทั้งนี้เพราะนวัตกรรมการพิมพ์สามมิติยังอยู่ภายในอายุการคุ้มครองตามสิทธิบัตรของนักวิจัยอยู่ ทำให้เป็นระบบปิด และราคาสูงทั้งเครื่องจักรและวัสดุ จึงยังไม่แพร่หลาย จนเมื่อประมาณสามปีที่ผ่านมา สิทธิบัตรของระบบการพิมพ์สามมิติแบบฉีดพ่นพอลิเมอร์เหลวได้หมดอายุคุ้มครองลง จึงมีผู้ผลิตเครื่องพิมพ์สามมิติด้วยเทคโนโลยีดังกล่าวออกมามากมาย และราคาถูกลงมากทั้งเครื่องพิมพ์และวัสดุ รวมถึงระบบปฏิบัติการของเครื่องพิมพ์สามมิติก็เป็นระบบเปิด มีให้ใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อซอฟแวร์ (Open source) 
         เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติมีมากมายหลายเทคโนโลยี ทั้งลักษณะการฉายแสงพอลิเมอร์เหลว (Stereolithography) การฉีดพอลิเมอร์เหลว (Polymer Extrusion) การฉีดพ่นพอลิเมอร์ไวแสง (Jetted Photopolymer) การอบผนึกผง (Selective Laser Sintering) หรือการลามิเนต (Laminated Object Manufacturing) ในปัจจุบันเทคโนโลยีการฉีดพอลิเมอร์เหลวซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ค่อนข้างเรียบง่ายมีผู้ผลิตหลายรายหลายระดับ ทำให้มีราคาถูกลงมากทั้งตัวเครื่องและวัสดุ แต่เทคโนโลยีอื่นๆ ก็มีความโดดเด่นทั้งในเรื่องคุณภาพและศักยภาพ รวมถึงมีความสามารถเฉพาะทาง และยังมีสิทธิบัตรคุ้มครองนวัตกรรมที่ทีความแตกต่างกัน ก็ยังได้รับความนิยมอยู่แม้ว่าบางเครื่องจะมีราคาสูงหลักล้านก็ตาม ซึ่งผู้สนใจควรศึกษารายละเอียดความแตกต่างทั้งด้านเทคโนโลยี ความละเอียด คุณภาพ ศักยภาพ วัสดุที่รองรับการใช้งาน ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนเครื่องพิมพ์สามมิติ ทั้งในแง่การนำมาใช้ทำงานหรือการใช้เป็นอุปกรณ์การศึกษาก็ตาม ซึ่งสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แขนงวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เอกการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ จะได้นำเครื่องพิมพ์สามมิติมาใช้ในการฝึกปฏิบัติของนักศึกษา ในอนาคตอันใกล้นี้ 
         U.S. Army Research Laboratory (ARL) ร่วมกับ Purdue University อยู่ในระหว่างการวิจัยและพัฒนาเพื่อนำ เทคโนโลยีการพิมพ์แบบ 3 มิติ หรือ 3 D Printing มาพัฒนาขีดความสามารถในการซ่อมแซมยุทโธปกรณ์อากาศยาน และยานพาหนะที่เสียหายในสนามรบ หรือ พื้นที่ปฏิบัติการ ซึ่งอยู่ห่างไกลจากส่วนหลังได้ทันที สำหรับแนวคิดในการนำเทคโนโลยีการพิมพ์แบบ 3 มิติ หรือ 3 D Printing มาใช้ในด้านการทหาร ตามวัตถุประสงค์ที่กล่าวไปข้างต้นนั้น จะเริ่มต้นจากการพัฒนาวัสดุรูปแบบใหม่ที่จะนำมาใช้ในผลิตอากาศยาน และยานรบทางทหาร โดยวัสดุดังกล่าวจะต้องมีลักษณะเป็น Segment ย่อยๆ ซึ่งสามารถนำมาประกอบรวมไปตัวอากาศยาน และ/หรือ ยานรบ และด้วยความเป็น Segment และมีคุณลักษณะวัสดุ ที่สามารถสร้างขึ้นมาได้ด้วยเทคโนโลยี 3 D Printing อากาศยาน หรือ ยานรบ ที่สร้างขึ้นด้วยวัสดุในลักษณะดังกล่าว จะทำให้ทหารในสนามรบ หรือ พื้นที่ปฏิบัติการ  สามารถซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดขึ้นกับอากาศยาน และยานรบ ได้ทันที โดยไม่ต้องเสียเวลาเคลื่อนย้ายยุทโธปกรณ์ที่เสียหายกับมาพื้นที่ส่วนหลัง ซึ่งอาจอยู่ไกลจากพื้นที่ส่วนหลังมาก ผลที่จะตามมาก็คือ การลดต้นทุน และเวลาในการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ ได้อย่างมากมายมหาศาล เพิ่มความต่อเนื่องในการปฏิบัติการ และรักษาอำนาจกำลังรบให้พร้อมอยู่ตลอดเวลา

การบริหารความพยายามทางการตลาด

ศาสตราจารย์ Prashant Kumta ผู้เชี่ยวชาญด้าน bio-engineering แห่งมหาวิทยาลัย Pittsburgh กำลังคิดค้นเทคโนโลยีที่จะช่วยให้ความฝันของบรรดาแพทย์กระดูกเป็นจริง เขากล่าวว่าแพทย์กระดูกต้องการลดระยะเวลาที่คนไข้ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล แพทย์อยากให้คนไข้สามารถลุกขึ้นยืนและเดินเหินได้หลังการรักษา ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่เขากล่าวว่ามีทางเลือกหลายอย่างในการช่วยให้กระดูกที่แตกร้าวสมานตัวเร็วขึ้น ปัจจุบันหากมีคนไข้เข้าโรงพยาบาลเพราะกระดูกแตกหักรุนแรงไม่ว่าจะเกิดจากการสู้รบอย่างในอิรักหรืออาฟกานิสถานหรือจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่ร้ายแรง แพทย์ผ่าตัดกระดูกไม่มีทางเลือกแต่ต้องใช้วัสดุเทียม อาทิ แผ่นไททาเนี่ยม สแตนเลสหรืออาจต้องใช้แผ่นโพลีเม่อร์แบบที่ไม่ย่อยสลาย ศาสตราจารย์ Kumta และทีมงานวิจัยทำการออกแบบวัสดุเทียมที่ทำจากระบบ 3-D printing ที่เหมาะเจาะกับร่างกายของคนไข้และย่อยสลายไปเองในร่างกายของผู้ป่วย โดยใช้วัสดุที่ร่างกายสามารถดูดซึมหรือขับออกมาหลังจากบาดแผลหายดีแล้วเขากล่าวว่า Magnesium เหมาะสมที่สุดกับกระดูกธรรมชาติทั้งในแง่ความแข็งแรง ความทนทานและความหนาแน่น แทนที่จะใช้หมึก เครื่อง 3-D printer เครื่องนี้ใช้กาวชนิดพิเศษแทน เครื่องคอมพิวเตอร์จะออกคำสั่งให้เครื่องพริ้นเตอร์ทำการผสมกาวกับผงแร่ธาตุ เครื่องพริ้นเตอร์จะพิมพ์กระดูกเทียมออกมาตามคำสั่งโดยพิมพ์ที่ละชั้นต่อครั้ง คุณ Kumta กล่าวว่าเครื่องพิมพ์สามารถสร้างกระดูกเทียมที่เหมือนกระดูกจริงของผู้ป่วย ทีมงานวิจัยที่นำโดยศาสตราจารย์ Kumta ยังกำลังทดสอบส่วนผสมกระดูกเทียมที่ทำจากสาร แคลเซี่ยมฟอสเฟตที่ใช้ฉีดเข้าไปเพื่ออุดช่องว่างระหว่างกระดูกที่แตกหัก แล้วใช้แผ่นวัสดุที่ย่อยสลายเองซึ่งพิมพ์ด้วยเครื่อง 3-D พรินเตอร์หรือแผ่นเหล็ก ยึดให้ส่วนผสมที่อัดฉีดเข้าไปติดอยู่กับที่ คุณ Kumta กล่าวว่าแผ่นเหล็กที่ใช้ยึดส่วนผสมให้อยู่กับที่นี้สร้างความทนทานและรองรับน้ำหนักส่วนผสมที่อัดฉีดเข้าไปอุดรอยแตกร้าวของกระดูกเพื่อช่วยให้กระดูกสมานตัวและสมานรอยแตกหัก ศาสตราจารย์ Kumta กล่าวว่าผลงานวิจัยนี้ถือว่าจะช่วยปฏิวัติการรักษาคนไข้กระดูกแตกหักให้ดีขึ้นเพราะแทนที่แพทย์จะใชแผ่นเหล็ก น็อตเหล็กหรือแท่งเหล็กดามกระดูก แพทย์สามารถใช้เทคโนโลยีที่คิดค้นขึ้นนี้ในการช่วยร่างกายของคนไข้เยียวยาตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นขณะนี้ทีมงานกำลังทดสอบคุณภาพเทคโนโลยีนี้ในสัตว์ทดลองก่อนหน้าที่จะนำไป ทดลองรักษาในคนต่อไป











แหล่งข้อมูลอ้างอิง: 1. Disruptive technologies: Advances that will transform life, business, and the global economy, McKinsey Global Institute, May 2013 2. http://www.supremeprint.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538818912 3. http://www.maximumdev.com/Knowledge/Technology/3d-printing.html 4. http://www.engineering.com/3DPrinting/3DPrintingArticles/ArticleID/6330/3-D-printed-repairs-can-improve-Military-response-time.aspx 5. https://www.facebook.com/3DPrinterThailand (3D Printer user group Thailand) 6. https://www.facebook.com/thailand3dprinting (3D Printing Thailand) 7. http://www.protothai.com 8. http://www.thai3dprint.com 9. http://www.applicadthai.com 10. http://siweb.dss.go.th/news/show_abstract.asp?article_ID=5897