ผู้ใช้:Topperkimal/กระบะทราย

ชื่อ - สกุล : นายอาทิตย์ เกตุทอง
ชื่อเล่น : ท็อป

ข้อมูลส่วนตัว

แก้

ที่อยู่ปัจจุบัน

แก้

บ้านเลขที่ 734/71 ซอยวีรโยธา4 ตำบลหนองไผ่ล้อม อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000

ปัจจุบันศึกษาที่

แก้

กำลังศึกษาที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 3

ตำแหน่งงานที่สนใจ

แก้

โปรแกรมเมอร์

บทความด้านไอที

แก้

เรื่อง วิธีการกู้ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์

แก้

พื้นฐานโครงสร้างของฮาร์ดดิสก์นั้นก็ไม่ได้มีอะไรมากนัก เพราะเป็นส่วนของจานเหล็กที่เคลือบสารแม่เหล็กเอาไว้ ทำให้มีคุณสมบัติสามารถเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็กที่อยู่บนพื้นผิวจานได้ และนั่นก็คือที่มาของการบันทึกข้อมูล โดยการเปลี่ยนแปลงสนามเหล็กให้การเป็นรูปแบบข้อมูลดิจิตอล (0 หรือ1, เปิด หรือ ปิด) โดยหน้าที่นี้เป็นของหัวอ่าน-เขียน ซึ่งจะลอยอยู่เหนือแผ่นจานแม่เหล็กเพียงแค่นิดเดียวเท่านั้น ดังนั้นข้อมูลที่เรียงกันอยู่บนจานแม่เหล็กในฮาร์ดดิสก์จึงมีปริมาณมาก มายมหาศาล จะเอาอะไรมากู้ข้อมูล เวลาที่เราลบข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ไปแล้ว ข้อมูลต่างๆ ก็ควรจะต้องหายไป แล้วคุณเคยสงสัยไหมครับ ว่าในเมื่อข้อมูลต่างๆ มันหายไปแล้ว แล้วมันถูกกู้คืนกลับมาได้อย่างไร ความจริงแล้วคอมพิวเตอร์นั้นแอบขี้โกงเราอยู่เหมือนกันครับ เนื่องจากสื่อบันทึกข้อมูลอย่างฮาร์ดดิสก์เองก็จะทำงานหรือเก็บบันทึกข้อมูล ด้วยการเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็กบนจานเพื่อบันทึกค่า ซึ่งก็ต้องใช้เวลาในการเขียน-อ่านอยู่พอสมควร ดังนั้นเพื่อความรวดเร็วในการลบข้อมูล ข้อมูลต่างๆ จึงไม่ได้ถูกลบไปจริงๆ แต่จะถูกมาร์กเอาไว้ในระบบไฟล์ว่าข้อมูลในส่วนนั้นๆ ถูกลบไปแล้ว ทั้งที่จริงแล้วข้อมูลก็ยังคงอยู่ที่เดิมของมันอยู่ นั่นคือเหตุผลว่าทำไมเวลาเราสร้างไฟล์ 1 กิกะไบต์ จึงช้ามาก ในขณะที่ลบไฟ 1 กิกะไบต์ นั้นเร็วจนแทบมองไม่ทันกันเลยทีเดียว

ดังนั้นแล้วข้อมูลต่างๆ ของเราก็อาจจะยังคงอยู่ในฮาร์ดดิสก์ที่เราใช้ นั่นหมายความว่าเรายังพอมีสิทธิที่จะแก้ไขสิ่งที่ทำผิดพลาดไว้ให้กลับคืนมา ดังเดิมได้อยู่ และนี่คือวิธีการต่างๆ ที่จะทำให้คุณได้ข้อมูลสำคัญๆ คืนมา
การกู้ไฟล์ที่เราได้ทำการลบไป บางครั้งเราก็อาจจะเผลอลบไฟล์งานเอกสารสำคัญๆ ของเราไปด้วย เมื่อสั่งลบไปแล้ว มันก็จะไปอยู่ในถังขยะหรือว่าเจ้า Recycle Bin แทน จริงอยู่ครับว่าไฟล์ที่ถูกลบไป มันจะถูกย้ายไปไว้ในถังขยะ แต่สำหรับคนที่ต้องการทำงานแบบรวดเร็วจนติดเป็นนิสัย ก็เลยลบข้อมูลอย่างรวดเร็ว (Shift+Del) งานนี้ข้อมูลของคุณไม่ได้อยู่ในขยะแน่นอนครับ นอกจากนี้กรณีที่คุณเผลอลบไฟล์ที่มีขนาดใหญ่เกินกว่าที่ถังขยะจะสามารถรับ ได้ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ไฟล์ของคุณจะได้รับสิทธิในการลบข้อมูลไปเลยโดย ไม่ต้องผ่านถังขยะด้วยเช่นกัน ขนาดถังของ Recycle Bin ที่คุณกำหนดไว้อาจจะไม่ใหญ่เพียงพอ ทำให้ไฟล์ถูกลบไปเลยก็ได้ วิธีการกู้ที่ง่ายที่สุดก็ต้องเป็นโปรแกรมประเภท Undeleted ทั้งหลายที่พอจะช่วยคุณได้ แต่ข้อจำกัดของโปรแกรมประเภทนี้ก็คือคุณจะต้องติดตั้งโปรแกรมก่อนที่คุณจะลบ ไฟล์นะครับ หลักการทำงานของโปรแกรมประเภทนี้อยู่ที่การคอยสอดส่องว่าคุณมีการทำงานกับ ไฟล์อะไรบ้าง มีการลบไฟล์อะไรไปบ้าง แล้วมันจึงแอบเก็บข้อมูลของไฟล์ที่คุณลบเอาไว้เอง จะว่าไปมันก็เหมือนกับเป็นการทำหน้าที่ Recycle Bin อย่างลับๆ โดยที่เราไม่รู้ตัว ซึ่งคราวนี้เราก็จะสามารถกู้คืนไฟล์ที่เราเพิ่งลบไปให้กับมาอยู่ในอ้อมอกของ เราได้เหมือนเดิมครับ ข้อจำกัดของรูปแบบการกู้คืนข้อมูลแบบนี้ก็คือโปรแกรมที่ใช้สำหรับการ Undeleted นี้จะต้องติดตั้งโปรแกรมลงไปก่อน เพื่อที่จะจะได้ให้มันคอยตรวจสอบไฟล์ที่เราเพิ่งสั่งลบไป และคอยเก็บข้อมูลสำรองเอาไว้ให้ ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อทำเช่นนี้แล้ว คุณก็จะต้องยอมเสียพื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ไปบางส่วนเพื่อแลกกับความปลอดภัยของ ไฟล์ บางโปรแกรมกินพื้นที่เยอะ เพราะใช้วิธีการแบ็กอัพไฟล์เอาไว้เลย หรือบางโปรแกรมอาจจะใช้วิธีการเก็บ Log การลบไฟล์เอาไว้ แล้วสั่งถอดมาร์กที่ระบบปฏิบัติการได้ทำไว้เพื่อให้รู้ว่าเป็นไฟล์ที่ถูกลบ ออกไปก็จะกินพื้นที่น้อยกว่า

การกู้ข้อมูลที่เกิดจากการฟอร์แมตไดรฟ์ไป (ข้อมูลอาจกลับมาไม่ครบลองอ่านดูนะครับ) คงจะมีบ้างที่เรา ๆ ท่าน ๆ อาจเกิดฟอร์แมตผิดไดรฟ์ในขั้นตอนการติดตั้งวินโดวส์ หรือถ้าจะให้ดูใกล้ตัวกว่านั้นอาจจะเป็นกรณีที่ว่าคุณต้องการฟอร์ แมตลงวินโดวส์ใหม่อยู่แล้ว หลังจากสั่งฟอร์แมตและเตรียมตัวจะลงระบบปฏิบัติใหม่นั้นนึกขึ้นมาได้ว่ายัง มีไฟล์งานสำคัญที่ยังไม่ได้แบ็คอัปอยู่ ฟอร์แมตก็ทำไปแล้วจะทำยังไง แถมโปรแกรม Undeleted ก็ช่วยไม่ได้อีกต่างหาก ส่วนนี้ต้องใช้โปรแกรมเข้าช่วยเช่นโปรแกรม GetDataBack แล้วพวกโปรแกรมมันกู้ได้ก็เนื่องจากข้อมูลต่างๆ ที่เราสั่งลบไปนั้นไม่ได้มีการถูกลบไปจริงๆ เพียงแต่จะเป็นการมาร์กเอาไว้ว่าข้อมูลนั้นๆ ถูกลบไปแล้ว การฟอร์แมตก็คล้ายๆ กัน โดยเฉพาะการฟอร์แมตแบบรวดเร็ว (Quick Format) ด้วยแล้ว มันก็เหมือนกับการลบไฟล์ทุกไฟล์ออกไปจากไดรฟ์นั้นเองครับ โปรแกรมพวกนี้มีหลายยี่ห้อก็เลือกใช้กันได้เลยครับ ซึ่งทำให้มันสามารถมองเห็นข้อมูลที่ระบบปฏิบัติการมองไม่เห็นหรือก็คือข้อมูลที่ถูกลบไปแล้วนั่นเองครับ ข้อจำกัดของโปรแกรมประเภทนี้ก็มีอยู่เหมือนกันครับ เพราะใช่ว่ามันจะสามารถกู้ได้ทุกอย่างอย่างแรกเลยก็คือ มันไม่สามารถกู้ข้อมูลที่ถูกเขียนทับไปแล้วได้ เนื่องจากมันอาศัยการกู้จากเศษข้อมูลที่หลงเหลืออยู่ในดิสก์ อีกกรณีหนึ่งที่ไม่สามารถกู้คืนได้ก็คือกรณีของการ Low Level Format ซึ่งถือว่าเป็นการฟอร์แมตที่ล้างข้อมูลได้อย่างสะอาดที่สุด เพราะจะมีการจัดรูปแบบของคลื่นแม่เหล็กใหม่ โดยใช้หลักการเขียนข้อมูลที่เป็น 1 และตามด้วย 0 ไปลงในทุกๆ Sector ข้อมูล ส่งผลให้ข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในฮาร์ดดิสก์ว่างเปล่า หรือพูดง่ายๆ ก็คือถูกเขียนทับด้วยข้อมูลเปล่าทั้งหมดนั้นเอง

กู้ฮาร์ดดิสก์แบบ USB เดี๋ยวนี้สื่อบันทึกข้อมูลแบบที่เรียกว่า External Harddisk กำลังเป็นที่นิยมมากเลยนะครับ เนื่องจากปริมาณข้อมูลที่มากมายมหาศาลต่อวันที่ผู้คนต้องพกพากันในวันนี้ไม่ ใช่มีแค่เพลง MP3 ขนาดแค่กิกะไบต์กันแล้ว แต่อาจจะมีไฟล์วิดีโอหรือข้อมูลอื่นๆ ในระดับหลายๆ กิกะไบต์เลยก็ได้ ดังนั้นสื่อบันทึกข้อมูลอย่าง Flash Drive อาจจะไม่เพียงพอสำหรับการใช้งานของผู้ใช้บางคน ดังนั้น External Harddisk แบบ USB จึงเข้ามาเติมเต็มความต้องการให้ แต่ถ้าเกิดข้อมูลสูญหายขึ้นมาจะทำอย่างไรได้บ้าง จริงๆ แล้วฮาร์ดดิสก์แบบ External ที่เรารู้จักกันมันก็เหมือนกับฮาร์ดดิสก์ที่ใส่อยู่ในเครื่องนั่นแหละครับ โดยถ้าเป็นแบบพกพาที่ไม่ต้องใช้ไฟจากอะแดปเตอร์ก็จะเป็นฮาร์ดดิสก์ขนาด 2.5 นิ้วเหมือนกับของโน้ตบุ๊ก ดังนั้นเมื่อคุณเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์เหล่านี้เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว มันก็จะมองเหมือนเป็นเหมือนกับฮาร์ดดิสก์ธรรมดาตัวหนึ่งเลย การกู้ข้อมูลของ External Harddisk นั้นไม่ได้มีความแตกต่างไปจากการกู้ข้อมูลภายในเครือซักเท่าไหร่ แต่อาจจะแบ่งกรณีความเสียหายได้ 2 กรณีคือ 1 เสียที่ตัวฮาร์ดดิสก์เอง ซึ่งก็จะคล้ายๆ กับที่กล่าวมาข้างต้นว่าคุณสามารถกู้ข้อมูลคืนได้ตั้งแต่การสแกนหาข้อมูลที่ ถูกลบไปจนไปถึงการแก้ไข Bad Sector ที่เกิดขึ้นกับฮาร์ดดิสก์ กับอีกส่วนหนึ่งก็คือความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวกล่องที่ใส่ฮาร์ดดิสก์ ซึ่งกล่องตัวนี้มีความสำคัญคือช่วยแปลงการเชื่อมต่อของฮาร์ดดิสก์ทีเป็น IDE หรือ SATA มาเป็นแบบ USB หรือ Firewire นั่นเอง ดังนั้นถ้ามันเกิดเสียหายขึ้นมาก็จะทำให้ฮาร์ดดิสก์ไม่สามารถใช้งานได้

F1 ถึง F12 รู้ไหมว่ามันทำอะไรได้บ้าง?

แก้

คีย์ที่กล่าวมาส่วนมากเราจะเรียนกมันว่า "ฟังก์ชันคีย์" F1 ถึง F12 อาจมีความหลากหลายของการใช้งานที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการที่ติดตั้งและโปรแกรมซอฟต์แวร์ที่เปิดอยู่ซึ่งจะเปลี่ยนวิธีการของแต่ละคีย์เหล่านี้ยังรวมถึงการใช้งานฟังก์ชันคีย์รวมดับคีย์ ALT หรือ CTRL เช่นผู้ใช้ Microsoft Windows สามารถกด ALT + F4 เพื่อปิดโปรแกรมที่ใช้งานอยู่ ด้านล่างเป็นรายการบางส่วนของการทำงานของคีย์ฟังก์ชั่นในคอมพิวเตอร์ที่ใช้ Microsoft Windows แต่จะไม่ใช่ทุกโปรแกรมที่สนับสนุนฟังก์ชันคีย์

F1 มักจะใช้เป็นคีย์ช่วยเกือบทุกโปรแกรมจะเปิดหน้าจอ ป้อนการตั้งค่า CMOS Windows Key + F1 จะเปิดตัวช่วยของ Microsoft Windows เปิดบานหน้าต่างงาน

F2 ใน Windows จะใช้ในการเปลี่ยนชื่อไอคอนหรือไฟล์ Alt + Ctrl + F2 เปิดเอกสารใหม่ในโปรแกรม Microsoft Word . Ctrl + F2 จะแสดงหน้าต่างตัวอย่างก่อนพิมพ์ใน Microsoft Word เข้าสู่การป้อนการตั้งค่า CMOS หรือ Bios

F3 เปิดคุณลักษณะการค้นหาในหลายๆโปรแกรมรวมถึง Microsoft Windows ใน MS - DOS หรือ Windows ของบรรทัดคำสั่ง F3 จะทำซ้ำคำสั่งสุดท้าย Shift + F3 จะมีการเปลี่ยนแปลงข้อความใน Microsoft Word

F4 เปิดพบหน้าต่าง ทำซ้ำการกระทำล่าสุด ( Word 2000 ขึ้นไป ) Alt + F4 จะปิดโปรแกรมที่ใช้งานอยู่ใน Microsoft Windows Ctrl + F4 จะปิดหน้าต่างที่เปิดอยู่ในหน้าต่างที่ใช้งานในปัจจุบันใน Microsoft Windows

F5 ในทุกเบราว์เซอร์อินเทอร์เน็ต F5 จะรีเฟรชหรือโหลดหน้าเว็บหรือหน้าต่างเอกสาร เปิดหน้าค้นหา แทนที่ และไปที่หน้าต่างใน Microsoft Word เริ่มสไลด์โชว์ใน PowerPoint

F6 ย้ายเคอร์เซอร์ไปที่ Address bar ใน Internet Explorerและ Mozilla Firefox . Ctrl + Shift + F6 เปิดไปยังเอกสารอื่น ๆ ใน Microsoft Word F7 ปกติจะใช้เพื่อตรวจสอบการสะกดและไวยากรณ์ตรวจสอบเอกสารในโปรแกรม Microsoft เช่น Microsoft Word, Outlook, ฯลฯ Shift + F7 ทำงานตรวจสอบบนคำที่ไฮไลต์ เปิดการใช้งานเลือนหน้าต่างด้วยปุ่มลูกศรบนคีย์บอร์ดใน Mozilla Firefox

F8 แป้นฟังก์ชันที่ใช้ในการเข้าสู่เมนูเริ่มต้น Windows, นิยมใช้ในการเข้าถึง Windows แบบ Safe Mode .

F9 เปิดแถบเครื่องมือวัดใน Quark 5.0

F10 ใน Microsoft Windows เปิดใช้งานแถบเมนูของโปรแกรมที่เปิดอยู่ Shift + F10 เป็นเช่นเดียวกับการคลิกขวาบนไอคอนที่ไฮไลต์ไฟล์หรือการเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ต การเข้าถึงการกู้คืนพาร์ทิชันที่ซ่อนอยู่ ของ HP และ Sony คอมพิวเตอร์ ป้อนการตั้งค่า CMOS .

F11 โหมดเต็มหน้าจอในเบราว์เซอร์อินเทอร์เน็ต CTRL + F11 การเข้าถึง การกู้คืนพาร์ทิชันที่ซ่อนอยู่ในคอมพิวเตอร์ของ Dell การเข้าถึงการกู้คืนพาร์ทิชันที่ซ่อนอยู่บน eMachines, Gateway, และคอมพิวเตอร์ Lenovo

F12 เปิดหน้าที่ทำการบันทึกใน Microsoft Word SHIFT + F12 บันทึกเอกสาร Microsoft Word Ctrl + Shift + F12 พิมพ์เอกสารใน Microsoft Word

คีย์ลัดที่มีประโยชน์บน Windows

แก้

นำเอาเคล็ดลับและเทคนิคคีย์ลัดที่มีประโยชน์ บน Windows ที่หากใช้บ่อย ๆ จะทำให้เราทำงานต่าง ๆ ได้เร็วขึ้น และสะด้วยกขึ้น มาก เอามาแบบที่น่าใช้ เพราะถ้าเยอะเกิน ก็ จำไม่ค่อยได้ หรือไม่ค่อยได้ ใช้ เอา แบบที่ใช้แล้วช่วยเราได้มากละกันครับ

กดปุ่ม SHIFT เมื่อใส่แผ่น CD , DVD เพื่อป้องกันไม่ให้ไดรฟ์ซีดี เรียกใช้แผ่นซีดีโดยอัตโนมัติ หรือหยุดการ Autorun กด Shift + Delete เพื่อลบไฟล์ หรือโฟลเดอร์ ที่เลือกไว้อย่างถาวร กด F2 เพื่อเปลี่ยนชื่อไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่เลือกไว้

กด CTRL + A เพื่อเลือกทั้งหมด

กด F3 ค้นหาไฟล์หรือโฟลเดอร์ในคอมพิวเตอร์

กด ALT + ENTER ร่วมกัน เพื่อดูคุณสมบัติของรายการที่เลือก

กด ALT + F4 เพื่อปิดไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่ใช้งานอยู่

กด CTRL + F4 เพื่อปิดไฟล์ โฟลเดอร์หรือ โปรแกรม ทั้งหมดที่ใช้งานอยู่

กด ALT + TAB เพื่อสลับหน้าต่างระหว่าง แฟ้ม โฟลเดอร์ หรือ โปรแกรม ที่เปิดอยู่

กด SHIFT + F10 เพื่อแสดงเมนูทางลัดสำหรับโปรแกรมที่เลือก

กด CTRL + ESC เพื่อเปิด Start menu

F10 เปิดแถบเมนูในโปรแกรมที่ใช้งาน

ลูกศรขวา เปิดเมนูถัดไปทางขวาหรือเปิดเมนูย่อย

ลูกศรซ้าย เปิดเมนูถัดไปทางซ้ายหรือปิดเมนูย่อย

กด F5 เพื่อรีเฟรชหน้าต่างที่ใช้งาน

BACKSPACE ถอยหลังเพื่อดูโฟลเดอร์หนึ่งระดับใน My Computer หรือ Windows Explorer

กดปุ่ม ESC เพื่อยกเลิกการใช้งานใด ๆ

LAN Technology

แก้


1. เครือข่ายแบบบัส (bus topology)

แก้

เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยสายเคเบิ้ลยาว ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยจะมีคอนเน็กเตอร์เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เข้ากับสายเคเบิ้ล ในการส่งข้อมูล จะมีคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ในช่วงเวลา หนึ่งๆ การจัดส่งข้อมูลวิธีนี้จะต้องกำหนดวิธีการ ที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกัน เพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน วิธีการที่ใช้อาจแบ่งเวลาหรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่ สัญญาณที่แตกต่างกัน การเซตอัปเครื่องเครือข่ายแบบบัสนี้ทำได้ไม่ยากเพราะคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ แต่ละชนิด ถูกเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิ้ลเพียงเส้นเดียวโดยส่วนใหญ่เครือข่ายแบบบัส มักจะใช้ในเครือข่ายขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ในองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์ใช้ไม่มากนัก


2. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว(Star Network)

แก้

โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว(Star Network) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เข้ากับอุปกรณ์ที่เป็น จุดศูนย์กลาง ของเครือข่าย โดยการนำสถานีต่าง ๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลางการติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ ด้วยการ ติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วนสลับสายกลางการทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงเป็น ศูนย์กลางของการติดต่อ วงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อกัน



3. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน (ring topology)

แก้

เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วยสายเคเบิลยาวเส้นเดียว ในลักษณะวงแหวน การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายวงแหวน จะใช้ทิศทางเดียวเท่านั้น เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งส่งข้อมูล มันก็จะส่งไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไป ถ้าข้อมูลที่รับมาไม่ตรงตามที่คอมพิวเตอร์เครื่องต้นทางระบุ มันก็จะส่งผ่านไปยัง คอมพิวเตอร์เครื่องถัดไปซึ่งจะเป็นขั้นตอนอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะถึงคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ถูกระบุตามที่อยู่


4. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเมซ (mesh topology)

แก้

ครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเมช มีการทำงานโดยเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีช่องสัญญาณจำนวนมาก เพื่อที่จะเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆทุกเครื่อง โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะส่งข้อมูล ได้อิสระไม่ต้องรอการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ทำให้การส่งข้อมูลมีความรวดเร็ว แต่ค่าใช้จ่ายสายเคเบิ้ลก็สูงด้วยเช่นกัน


WAN Technology

แก้

Circuit switching

แก้

ความหมายของ Circuit switching

แก้


Circuit switching เทคนิคในการสื่อสารข้อมูลจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง เมื่อมีการเชื่อมต่อกันแล้วจะติดต่อกันได้ตลอดเวลา ผู้อื่นจะแทรกเข้ามาไม่ได้เลย จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะปลดวงจรออก ตัวอย่างง่าย ๆ
เช่นการติดต่อทางสายโทรศัพท์ เมื่อเริ่มพูดกันได้แล้ว คนอื่นจะต่อสายแทรกเข้ามาไม่ได้ จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะวางหูลง (ปลดวงจร)

หลักการทำงาน Circuit switching

แก้


1) เมื่อสถานีA ต้องการส่งข้อมูลให้กับ สถานีB จะต้องมีการสร้างเส้นทางเสียก่อน โดยที่ฝั่งที่รับข้อมูลจะต้องตอบว่าพร้อมรับข่าวสาร (Establishment/ Connection)
2) เมื่อสร้างเส้นทางการส่งข้อมูลเรียบร้อย ตลอดเวลาของการสื่อสารจะใช้เส้นทางเดิมตลอดและไม่มีบุคคลอื่นมาใช้เส้นทาง
3) มีอัตราความเร็วในการส่งเท่ากันทั้งด้านรับและด้านส่ง
4) มีการทำ Error Control และ Flow Control ทุกๆ ชุมสาย
5) ในขณะทำการส่งข้อมูล ข้อมูลจะถูกส่งด้วยความเร็วคงที่ และไม่มีการหน่วงเวลา(Delay)
6) เมื่อส่งข้อมูลเสร็จจะยกเลิกเส้นทางที่ได้เชื่อมต่อขึ้นมาเพื่อให้เครื่องอื่นได้ใช้เส้นทางได้

ตัวอย่างระบบ Circuit switching

แก้


-โมเด็มและระบบโทรศัพท์ (Modem and Telephone System)\
- สายคู่เช่า (Leased Line)
- ISDN (Integrated Services Digital Network)
- DSL (Digital Subscriber line)
- เคเบิลโมเด็ม (Cable Modem)

ลักษณะการเชื่อมต่อ

แก้


เชื่อมต่อทางกายภาพของวงจรระหว่างจุดต่อจุด (point-to-point)

ข้อดี Circuit switching

แก้


- ปริมาณในการส่งข้อมูลได้ อัตราการส่งข้อมูล ความเร็วในการส่งข้อมูลจะคงที่ อัตราเดิม
- Delay ที่เกิดขึ้นจะเรียกว่า propagation delay คือเวลาที่ข้อมูลวิ่งอยู่ในสายสัญญาณ – เร็วเท่าแสง
- Delay ที่ node คือเวลาที่ข้อมูลวิ่งระหว่าง node อาจเป็น delay ที่เกิดเนื่องจากการประมวลผลอะไรบางอย่าง ถือว่าน้อยมากจนถือว่าไม่สำคัญ เพราะว่ามันแทบจะไม่เกิด

ข้อเสีย Circuit switching

แก้


-หากคอมพิวเตอร์หรือเทอร์มินัลติดต่อกับศูนย์ข้อมูล ในการเรียกค้นข้อมูลเป็นระยะจะทำให้มีช่วงเวลาที่สายสัญญาณ ไม่มีการใช้และผู้อื่นก็ใช้ไม่ได้ ธรรมชาติของการใช้งานไม่ได้ออกแบบ
มาให้ใช้งานพร้อมกันอย่างเต็มประสิทธิภาพ เช่น ระบบโทรศัพท์ 100 เลขหมาย จะสามารถใช้งานพร้อมๆกันได้ไม่ถึง 50%
- การเชื่อมโยงอุปกรณ์ระหว่างสถานีต้นทางกับปลายทางต้องตกลงและใช้มาตรฐานเดียวกัน
- การติดต่อสื่อสารข้อมูลนี้ผู้ใช้จะต้องมีระบบซอฟต์แวร์ในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเอง เพราะชุมสายจะไม่มีระบบตรวจสอบข้อมูลในชุมสายทำหน้าที่เพียงการสวิตช์วงจรให้เท่านั้น
Circuit Switching นั้นออกแบบมาเพื่อส่งข้อมูลทางเสียง
- อัตราการส่งข้อมูลจะเป็นตัวจำกัดอุปกรณ์ที่ต่อพ่วงเนื่องจากถูกออกแบบมาเพื่อส่งข้อมูลทางเสียงในอัตราที่มนุษย์สามารถรับรู้ ได้
- มีขีดจำกัดแน่นอนอยู่แล้วที่ระบบ Hardware
- ยากและลงทุนสูงในการ Upgrade backbone


Packet switching

แก้

ความหมายของ Packet switching

แก้


เทคนิคในการแบ่งข้อมูลออกเป็นกลุ่ม (Packet) แต่ละกลุ่มจะมีความยาวเท่ากัน (ปกติ 100บิต)ข้อมูลจะหาทิศทางเดินไปได้เอง โดยที่สายหนึ่ง ๆ จะสามารถใช้กันได้หลายคน เมื่อถึงที่ปลายทางข้อมูลก็จะกลับ ไปรวมกันเอง

หลักการทำงาน Packet switching

แก้


1) เมื่อ สถานี A ต้องการส่งข้อมูลให้กับสถานีB จะมีการแบ่งข้อมูลออกเป็น Packet ย่อยก่อนจะถูก ส่งออกไป
2) ส่งข้อมูลโดยใช้ชุมสาย PSE (Packet switching exchange) ควบคุมการรับส่ง
3) ทำ Error control หรือ Flow Control ที่ PSE
4) ด้านรับและด้านส่งมีอัตราความเร็วที่ไม่เท่ากันได้
5) ใช้เทคนิค Store - and - Forward ในการส่งข้อมูล ผ่าน PSE

ตัวอย่างระบบ Packet switching

แก้


เป็นเทคโนโลยีพื้นฐานที่ใช้ในการ ส่งข้อมูลภายในสำหรับระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน ระบบที่เป็น Package switch เช่น Frame relay เป็นระบบโทรศัพท์แบบดิจิตอล และ ATM
เป็นระบบการส่งข้อมูลประเภท ภาพและเสียง (multimedia)

ลักษณะการเชื่อมต่อ Packet switching

แก้


ส่งแต่ละแพกเกตด้วยเส้นทางต่างๆที่เชื่อมโยงกันเป็นตาข่าย และทำการรวมแต่ละแพคเกตกลับคืนเมื่อถึงจุดหมายแล้ว

ข้อดี Packet switching

แก้


- Flexibility โครงข่ายดังกล่าวนี้ทำให้ใช้งานพร้อมกันหลาย ๆ ระบบได้ โดยงานประยุกต์แต่ละระบบไม่ยุ่งเกี่ยวกัน แต่ใช้ผ่านชุมสายเดียวกัน
- Robustness มีความแข็งแกร่ง ถ้าเส้นทางใดเส้นทางหนึ่งเสียหายก็สามารถใช้เส้นทางอื่นได้ อุปกรณ์ต้นทางกับปลายทาง สามารถส่งด้วยความเร็วที่ต่างกันได้เพราะชุมสายจะเป็นผู้แปลงสัญญาณ ให้ความเร็วเข้ากันได้
- Responsiveness มีการรับประกันความถูกต้องของข้อมูลที่รับส่งทำให้ระบบมีความเชื่อถือสูง สามารถใช้ในระบบที่โต้ตอบด้วยความเร็วได้ ตัว IMP สามารถที่จะทำงานเพิ่มเติมบางอย่างได้
เช่น การตรวจสอบความ ผิดพลาดก่อนที่จะส่งต่อไป หรืออาจทำการเปลี่ยนรหัสก่อนก็ได้

ข้อเสีย Packet switching

แก้


-บางครั้งถ้ามีปริมาณPacket จำนวนมากเข้ามาพร้อมกันจะทำให้ IMPทำงานไม่ทัน อาจทำให้มีบางPacket สูญหายไปได้ - มี delay เกิดขึ้นในระหว่างที่ส่งข้อมูล
= ความยาวของ package / ขนาดของ overhead datarate ขนาดของ package มีขนาดไม่แน่นอน
-Package แต่ละ package อาจวิ่งไปคนละเส้นทางได้ แต่ละเส้นทางจะมี delay ไม่เท่ากัน ซึ่งทำให้เกิดปัญหา package ที่ส่งมาที่หลังมาถึงก่อน ฝ่ายรับต้องมีวิธีจัดการกับ package ที่ยุ่งยากขึ้น
-ถ้ามี delay มากจะเกิดความแออัดในเครือข่าย
- มี overhead เกิดขึ้นในการส่งข้อมูล โดย overhead ที่เกิดขึ้นคือที่อยู่ของปลายทาง, sequence ซึ่งทำให้ส่งข้อมูลได้น้อย ทำให้ประสิทธิภาพในการส่งลดลง


OSI model + TCP/ IP mode

แก้
_ OSI Model _ _________ TCP/IP __________
7 Application Application FTP,Telnet,HTTP,
SMTP,SNMP,DNS,etc
6 Presentation Application FTP,Telnet,HTTP,
SMTP,SNMP,DNS,etc
5 Session Application
Host-to-Host
TCP UDP
4 Transport Host-to-Host TCP UDP
3 Network Internet ICMP,IGMP
Ip
2 Data link Network Access Not Specified
1 Physical Network Access Not Specified

หน้าที่การทำงานของชั้นสื่อสาร

แก้
ลำดับชั้น ชื่อชั้นสื่อสาร หน้าที่ของชั้นสื่อสาร
1. Physical เคลื่อนย้ายข้อมูลระดับบิตจากโหนดหนึ่งไปยังโหนดถัดไป
2. Data link เคลื่อนย้ายเฟรมจากโหนดหนึ่งไปยังโหนดถัดไป
3. Network ส่งมอบแพ็กเก็ตจากโฮสต์หนึ่งไปยังโฮสต์ปลายทาง
4. Transport ส่งมอบข่างสารจากโปรเซสต้นทางไปยังโปรเซสปลายทาง
5. Session ควบคุมการสื่อสารและการซิงโครไนซ์
6. Presentation แปลงข้อมูล เข้ารหัสข้อมูล และบีบอัดข้อมูล
7. Application จัดการงานบริการให้แก่ผู้ใช้