ผู้ใช้:Thitima272806/ทดลองเขียน

เทศบาลตำบลหนองลาน

ลักษณะที่ตั้ง แก้


เทศบาลตำบลหนองลาน ตั้งอยู่ในเขต อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี เดิมขึ้นอยู่กับตำบลพระแท่นต่อมาเมื่อมีราษฎรอาศัยอยู่เพิ่มมากขึ้นจนมีจำนวนตามเกณฑ์การจัดตั้งตำบลจึงขอแยกการปกครองออกเป็นตำบลหนองลาน เมื่อ พ.ศ.2528 แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 หมู่บ้าน มีนายสมบูรณ์ อุบลรัตนสกุล เป็นกำนันคนแรก ต่อมามีราษฎรเข้ามาอยู่มากขึ้นจึงแบ่งออกเป็น 8 หมู่บ้านโดยมีนาย วิชา แย้ม พวง เป็นกำนันคนปัจจุบัน
ทิศเหนือ จะติดกับ ตำบล บ่อสุพรรณ อำเภอ สองพี่น้อง จังหวัดกาญจนบุรี
ทิศใต้ จะติดกับ ตำบล พระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
ทิศตะวันออก จะติดกับ ตำบล หนองกระทุ่ม อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
ทิศตะวันตก จะติดกับ ตำบล อุโลกสี่หมื่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี

หมู่ที่ พื้นที่
หมู่ที่ 1 ประมาณ 1500 ไร่
หมู่ที่ 2 ประมาณ 1000 ไร่
หมู่ที่ 3 ประมาณ 1200 ไร่
หมู่ที่ 4 ประมาณ 1200 ไร่
หมู่ที่ 5 ประมาณ 1600 ไร่
หมู่ที่ 6 ประมาณ 800 ไร่
หมู่ที่ 7 ประมาณ 2500 ไร่
หมู่ที่ 8 ประมาณ 1000 ไร่
  • พื้นที่

ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มมีระบบชลประทานผ่านทั้งตำบลเหมาะแก่การเพาะปลูก เช่นทำนา ทำไร่อ้อย พริก ข้าวโพดและเลี้ยงสัตว์ มีพื้นที่ทั้งหมด ประมาณ 10800 ไร่

ประชากร แก้

หมู่ที่ จำนวนประชากร
หมู่ที่ 1 1100 คน
หมู่ที่ 2 450 คน
หมู่ที่ 3 585 คน
หมู่ที่ 4 550 คน
หมู่ที่ 5 580 คน
หมู่ที่ 6 350 คน
หมู่ที่ 7 420 คน
หมู่ที่ 8 590 คน

ลักษณะภูมิอากาศ แก้


สภาพภูมิอากาศ แบ่งเป็น 3 ฤดู คือ

  • ฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนพฤษภาคม
  • ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง เดือนตุลาคม
  • ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนมกราคม

ลักษณะของดิน แก้


สภาพของดินในเขตเทศบาลตำบลหนองลานค่อนข้างสมบูรณ์เหมาะกับการทำการเกษตร เพราะมีแร่ธาตุในดินค่อนข้างสูง แร่ธาตุในดินที่มากจากการทับถมของชากพืช

ลักษณะของแหล่งน้ำ แก้


มีแหล่งน้ำสมบูรณ์ เพียงพอต่อการทำการเกษตรในพื้นที่ น้ำที่นำมาทำการเกษตรมาจากคลองชลประทานเป็นส่วนใหญ่

ลักษณะของไม้และป่าไม้ แก้


ในเขตเทศบาลตำบลหนองลานมีป่าไม้ในบางพื้นที่ มีป่าไม้เล็กน้อย

สภาพทางสังคม แก้

สถานศึกษา แก้


โรงเรียนประถมศึกษา 4 แห่ง

  • โรงเรียนวัดปานนิมิตมิตรภาพที่ 142
  • โรงเรียนวัดหนองไม้แก่น
  • โรงเรียนวัดหนองลาน
  • โรงเรียนบ้านจันทร์ลาด
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3 ศูนย์

สาธารณสุข แก้

  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
  • สถานีอนามัยตำบลหนองลาน

ระบบบริการพื้นฐาน แก้

การคมนาคมขนส่ง แก้


การคมนาคมในเขตเทศบาลตำบลหนองลาน สามารถติดต่อระหว่างชุมชนได้สะดวก โดยมีเส้นทางคมนาคมหลายสายที่ใช้ในการคมนาคม เช่น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 346, ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3356 เป็นต้น

การไฟฟ้า แก้


จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ในเขตเทศบาลตำบลหนองลานประมาณ 1000 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 100.00 ของจำนวนหลังคาเรือน

การประปา แก้


มีหอถังประปาภายในหมู่บ้าน เพื่อใช้จ่ายน้ำประปาให้กับประชาชนภายในหมู่บ้าน

โทรศัพท์ แก้


โทรศัพท์สาธารณะ ประมาณ 10 %
โทรศัพท์บ้านประมาณ 90 %

ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่งและวัสดุ ครุภัณฑ์ แก้


ในเขตเทศบาลตำบลหนองลานไม่มีที่ทำการไปรษณีย์ ประชาชนส่วนมากในเขตเทศบาลตำบลหนองลานมักจะไปใช้ที่ทำการไปรษณีย์ที่ตำบลพระแท่นและที่อำเภอท่ามะกาเพราะเป็นสถานที่ใกล้เคียงที่สามารถใช้บริการได้

ระบบเศรษฐกิจ แก้

การเกษตร แก้


อาชีพการเกษตร 80 %

การประมง แก้


ในเขตเทศบาลตำบลหนองลานไม่มีการทำอาชีพประมง

การปศุสัตว์ แก้


อาชีพเลี้ยงสัตว์ ประมาณ 20 %

การบริการ แก้

  • ปั้มน้ำมันและก๊าซ (ขนาดเล็ก)
  • อู่ซ่อมรถยนต์
  • ร้านค้า ร้านขายของชำ

การท่องเที่ยว แก้

  • สวนกล้วยไม้ สุวรรณภูมิออคิดส์

อุสาหกรรม แก้

  • โรงงานอุตสาหกรรมประมาณ 20 %

ศาสนา ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม แก้

การนับถือศาสนา แก้


ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธมีวัดเป็นที่พึ่งและยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชน

ประเพณีและงานประจำปี แก้


ประเพณีที่สำคัญ ได้แก่

  • ประเพณีลอยกระทง
  • ประเพณีวันสงกรานต์
  • ประเพณีแห่เทียนพรรษา

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น แก้


ประชาชนส่วนมากใช้ภาษากลางเป็นหลักในการใช้สื่อสาร

สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก แก้

  • กระเป๋าหนังนกกระจอกเทศ
  • ขี้ผึ้งสมุนไพร
  • ข้าวหมาก
  • ข้าวโพดฝักอ่อน
  • น้ำมันหอมระเหยมะกรูด

ทรัพยากรธรรมชาติ แก้

น้ำ แก้


เทศบาลตำบลหนองลานใช้น้ำจากคลองชลประทานในการทำการเกษตร และใช้น้ำประปาภายในหมู่บ้านในการบริโภค โดยรวมถือว่ามีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์

ป่าไม้ แก้


ในเขตเทศบาลตำบลหนองลานมีป่าไม้อยู่เล็กน้อยในบางพื้นที่

ภูเขา แก้


ในเขตเทศบาลตำบลหนองลานไม่มีภูเขาภายในพื้นที่

คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ แก้


คุณภาพของแหล่งน้ำตามธรรมชาติ คือ แม่น้ำแม่กลองยังมีคุณภาพน้ำที่ยังพอใช้ได้อยู่ แต่มีบางครั้งที่โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่บางแห่งหรือครัวเรือนของชาวบ้านได้มีการแอบปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำ ทำให้คุณภาพของน้ำลดแต่ลงแต่ยังไม่ถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิตขิงมนุษย์และสัตว์

อ้างอิง แก้

https://www.thaitambon.com/tambon/710517

=