ผู้ใช้:Thantipck/กระบะทราย

การปกครองประเทศเนเธอร์แลนด์

ประเทศเนเธอร์แลนด์

แก้

เนเธอร์แลนด์ (The Netherlands) หรือ ฮอลแลนด์ (Holland) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (Kingdom of the Netherlands) มีรากศัพท์มาจากคำว่า Neder หรือต่ำ เนื่องจากภูมิประเทศส่วนใหญ่ของเนเธอร์แลนด์เป็นที่ราบลุ่ม และพื้นที่ประมาณหนึ่งในสี่ของประเทศต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ที่ตั้ง อยู่ทางทิศตะวันตกของทวีปยุุโรป ทิศตะวันออกติดกับประเทศเยอรมนี ทิศใต้ติดกับประเทศเบลเยี่ยม ทิศเหนือและทิศตะวันตกติดกับทะเลเหนือ(North Sea) ประมุข สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์(Her Majesty Queen Beatrix)ขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๓ เมืองหลวง อัมสเตอร์ดัม (Amsterdam) ภาษาราชการ ภาษาดัตซ์และฟิเซียน นายกรัฐมนตรี นายยัน บาลเคนเอนเดอ(Mr.Jan Balkenende)ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยแรกเมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๕ และสมัยที่สองเมื่อวันที่ ๒๗ พฤาภาคม พ.ศ.๒๕๔๖ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือ นายมาร์ค รุทเทอ (Mark Rutte) ทำเนียบรัฐบาล กรุงเฮก รัฐมนตรีการต่างประเทศ นายเบอร์นาร์ด โบต (Mr.Bernard Bot) เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๖ วันที่ได้รับเอกราช วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๑๒๒ วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๓๕๘

ระบบกฎหมาย

แก้

กฎหมายบ้านเมืองนำหลักกฎหมายของฝรั่งเศสมาใช้ มีการนำเอากฎจากสารโลกมาใช้ร่วม

ระบบการปกครองของเนเธอร์แลนด์

แก้

ระบบการปกครองของประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาโดยยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้อำนาจรัฐธรรมนูญ โดยพลเมืองผู้ใหญ่ทั้งหมดมีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งโดยตรงในระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วน

ฝ่ายบริหาร กษัตริย์ นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี

ฝ่ายนิติบัญญัติ สภานิติบัญญัติ (สภาคู่) สภาสูงและสภาล่าง

ฝ่ายตุลาการ ศาลสูงสุด

การเมืองการปกครอง

แก้

เนเธอร์แลนด์มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ปัจจุบันคือสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ โดยทรงมีพระราชอำนาจในเชิงพิธีการ ทรงมีพระราชอำนาจด้านการเมืองที่เป็นประเพณีสืบทอดกันมาของราชวงศ์ออเร้นจ์คือ สมเด็จพระราชินีนาถทรงเป็นผู้แต่งตั้งผู้สรรหานายกรัฐมนตรี(Formateur) และสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ทรงเป็นผู้แถลงนโยบายของรัฐบาลในพิธีเปิดสมัยการประชุมรัฐสภาประจำปี หรือ Speech from the Throne

คณะรัฐมนตรี

แก้

คณะรัฐมนตรี (Council of Minister) เป็นผู้กำหนดนโยบายและดำเนินนโยบายบริหารประเทศ ตามความไว้วางใจจากรัฐสภา โดยรัฐมนตรีไม่สามารถเป็นสมาชิกรัฐสภาในคราวเดียวกันได้

สภาแห่งรัฐ

แก้

รัฐสภาเนเธอแลนด์ประกอบด้วยสองสภา คือ วุฒิสภา (First Chamber) มีสมาชิก ๗๕ คน มาจากการเลือกตั้งทางอ้อมโดยสภาจังหวัด ๑๒ แห่ง มีวาระการดำรงตำแหน่ง ๔ ปี และสภาผู้แทนราษฎร (Second Chamber) มีสมาชิกจำนวน ๑๕๐ คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน มีวาระการดำรงตำแหน่ง ๔ ปี สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจในการเสนอร่างกฎหมาย ขณะที่วุฒิสภามีหน้าที่ให้ความเห็นชอบยับยั้งร่างกฎหมาย

รัฐสภาเนเธอร์แลนด์

แก้

รัฐสภาเนเธอแลนด์ประกอบด้วยสองสภา คือ วุฒิสภา (First Chamber) มีสมาชิก ๗๕ คน มาจากการเลือกตั้งทางอ้อมโดยสภาจังหวัด ๑๒ แห่ง มีวาระการดำรงตำแหน่ง ๔ ปี และสภาผู้แทนราษฎร (Second Chamber) มีสมาชิกจำนวน ๑๕๐ คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน มีวาระการดำรงตำแหน่ง ๔ ปี สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจในการเสนอร่างกฎหมาย ขณะที่วุฒิสภามีหน้าที่ให้ความเห็นชอบยับยั้งร่างกฎหมาย

การแบ่งการปกครอง

แก้

เนเธอร์แลนด์แบ่งการปกครองออกเป็น 12 เขต ได้แก่ เดรนท์ (Drenthe) ฟลีโอแลนด์ (Fleoland) ฟรายส์แลนด์ (Friesland) เกลเดอแลนด์ (Gelderland) โกรนิเจน (Groningen) ลิมเบอร์ก (Limburg) บราบันท์เหนือ (North Brabant) ฮอลแลนด์เหนือ (Noord-Brabant,North Holland) โอเวอรีจเซล (Overijssel) อูเทรชท์ (Utrecht) ซีแลนด์ (Zeeland,Zealand) และฮอลแลนใต้ (Zuid-Holland,South Holland)

พรรคการเมือง

แก้

พรรคการเมืองใหญ่ๆมี 9 พรรคการเมือง ได้แก่ พรรค Christian Democratic Appeal (CAD) พรรค Christian Union Party พรรค Green Left Party (PvdA) พรรค Democrats 66 (D66) พรรค Party for Freedom (PVV) พรรค Party for the Animals (PvdD) พรรค People's Party for Freedom and Democracy (เสรีนิยม VVP) พรรค Reformed Political Party of SGP พรรค Socialist Party และยังมีพรรคย่อยอื่นๆอีกมากมายหลายพรรค ปัจจุบันรัฐบาลเนเธอร์แลนด์เป็นรัฐบาลผสม ๓ พรรค คือพรรค Christian Democrat Alliance (CDA) พรรค People's for Freedom and Democracy (VVD) และพรรค Democrat 66 (D66) ภายใต้การนำของนาย Jan - Peter Balkenende นายกรัฐมนตรีนายกรัฐมนตรีเนเธอร์แลนด์และหัวหน้าพรรค CDA โดยพรรค CDA ยึดแนวทางระหว่างปัจเจกชนนิยมกับรัฐนิยม พรรค VVD หรือพรรคเสรีนิยมให้ความสำคัญกับภาคธุรกิจเอกชนในการดำเนินการทางเศรษฐกิจ ส่วนพรรค D66 ผลักดันการปฎิรูปการเมือง โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเมืองมากขึ้น

การพัฒนาชุมชนของเนเธอร์แลนด์

แก้

ประเทศเนเธอร์แลนด์ถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมตามแผน โดยอาศัยการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจจสังคมและการพัฒนาชุมชนเป็นบรรทัดฐานโดยรัฐเป็นฝ่ายให้ความช่วยเหลือในสิ่งที่เกินคามสามารถของประชาชน สอนให้รู้จักสิทธิและหน้าที่ในการที่จะปกครองตนเองได้ต่อไป

ประเทศเนเธอร์แลนด์ประสบความสำเร็จในการสร้างเขื่อนกันน้ำทะเลซึ่งมีความยาว ๓๒.๕ กิโเมตร ซึ่งทำให้น้ำทะเลกลายเป็นทะเลสาบ แล้วกลายเป็นแผ่นดินทำการเพาะปลูกได้ถึง ๗๕๖,๐๐๐ ไร่ร่นแนวฝั่งทะเลให้สั้นลงถึง ๓๒๐ กิโลเมตร ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศเดียวที่ระดับของพื้นที่อยู่ต่ำกว่าระดับของน้ำทะเลจนไม่น่าเชื่อว่าจะมีผู้คนอาศัยอยู่บริเวณแห่งนี้ที่มีระดับน้ำทะเลสูงกว่าพื้นดิน แต่เพราะความสามารถของวิศกรชาวดัทช์ อันนับว่าเป็นยอดคนของโลกและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ประกอบกับการตัดสินใจของรัฐบาลที่จะต่อสู้กับภัยธรรมชาติ รัฐบาลมีการวางแผนอย่างสุขุมลึกซึ้ง ทำให้ประเทศเนเธอร์แลนด์ประสบความสำเร็จในการขยายพื้นที่ออกไปในทะเล

นโยบายต่างประเทศ

แก้

เพื่อเป็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการเงินรัฐบาลมีนโยบายตัดลดงบประมาณรายจ่ายภาครัฐลง ๑ ใน ๓ ส่วน ในส่วนของกระทรวงการต่างประเทศจะมีการตัดงบประมาณสำหรับคณะผู้แทนทางการทูตของเนเธอร์แลนด์ในต่างประเทศซึ่งอาจส่งผลต่อการพิจารณาโยกย้ายบุคลากร มีผลต่อการเปิดหรือปิดสถานเอกอัคราชทูตเนเธอร์แลนด์ในบางประเทศ แต่จะไม่กระทบกับสถานเอกอัคราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย

รัฐบาลปรับงบประมาณจำนวน ๙๐๐ ล้านยูโรของความช่วยเหลือ เพื่อการพัฒนาจำนวน ๔,๙๐๐ ล้านยูโรภายใน ๒ ปี ทั้งนี้การดำเนินการดังกล่าวจะไม่กระทบต่อความร่วมมือในกรอบของพหุภาคี เนเธอร์แลนด์จะให้ความสำคัญกับประเทศในภูมิภาคเอเชียมากขึ้น โดยเฉพาะจีนและสาธารณรัฐเกาหลี นอกจากนั้นเนเธอร์แลนด์จะให้ความสำคัญและสนับสนุนอิสราเอลมากขึ้นในกระบวนการสันติภาพตะวันออกกลาง

สายสัมพันธ์ไทย - เนเธอร์แลนด์

แก้

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเนเธอร์แลนด์มั่นคงและยาวนานกว่า ๔๐๐ ปีโดยเริ่มจากการสถาปนาความร่วมมือทางการค้าตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ไทยและเนเธอร์แลนด์สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อปี ๒๑๗๔ จากการที่เฟรเดอริก เฮนดริก เจ้าชายแห่งออเรนจ์ ส่งคณะทูตมาเจรจาการค้ากับสยามตรงกับช่วงปลายรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งพระองค์พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้บริษัท"วีโอซี"ของเนเธอร์แลนด์เดินเรือสินค้าเข้ามาเทียบท่าเรือบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาได้ โดยชาดัทซ์เรียกบริเวณดังกล่าวว่า"นิวอัมสเตอร์ดัม"ขณะที่ชาวสยามเรียกว่า"หมู่บ้านวิลันดา"หรือหมู่บ้านฮอลันดา ต่อมาในปี ๒๑๕๑ สมเด็จพระเอกาทศรถทรงส่งนักการทูตคณะแรกเดินทางถึงกรุงเฮกเพื่อเข้าเฝ้า มอริสเจ้าชายแห่งออเรนจ์กษัตริย์ฮอลันดาในสมัยนั้น แม้มีความขัดแย้งกัอย่างหนักแต่พระมหากษัตริย์ไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาทรงพระปรีชาสามารถในการแก้ไขสถานการณ์และทรงนำพาราชอาณาจักรให้รอดพ้นจากการถูกยึดครองได้

พระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ที่เสด็จเยือนเนเธอร์แลนด์อย่างเป็นทางการพระองค์แรกคือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเดือนกันยายน ๒๔๔๐ ขณะที่พระบาทสมเด็จพระปรมมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถเสด็จเยือนประเทศเนเธอร์แลนด์อย่างเป็นทางการ เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๐๓ ในฐานะทรงเป็นพระราชอาคันตุกะของสมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนาและเจ้าชายเบิร์นฮาร์ดพระราชสวามี และในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๕ เจ้าหญิงเบียทริกซ์ มกุฎราชกุมารีเสด็จเยือนประเทศไทยในฐานะทรงเป็นพระราชอาคันตุกะของสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ

หลังจากนั้นในเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๐๕๖ สมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนาละเจ้าชายเบิร์นฮาร์ดพระราชสวามีพร้อมเจ้าหญิงเบียทริกซ์มกุฎราชกุมารี เสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะทรงเป็นพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและพระบาทสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๔๗ สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์เสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการพร้อมเจ้าชายวิลเลม อเล็กซานเดอร์ มกุฎราชกุมาร เนื่องในวาระครบรอบ ๔๐๐ ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศ

หนังสือ

แก้

1.ดนัย ไชยโยธา,ปรีดา จันทจิตต์,และ บุญเทียม พลายชมพู (2549).ภูมิศาสตร์และภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ 6 ภูมิภาคของโลก.

2.รองศาสตราจสรย์ ทวี ทองสว่าง. (2530) .ภูมิศาสตร์ยุโรป. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง .

3.กรมศิลปากร . (2541) . บันทึกสัมพันธภาพระหว่างประเทศสยามกับนานาประเทศ.

4.สุรพงษ์ บุนนาค. (2554) . ยุโรปแผ่นดินหรรษา.กรุงเทพมหานคร : สารคดี.


อ้างอิง

แก้

1. http://www.meetawee.com/home/travel-info/europe-info/netherland-info/1561-netherland-information.html

2. http://government-and-politics-of-all-countr.blogspot.com/2009/12/netherlands.html

3. https://www.dailynews.co.th/foreign/531816

4.http://www.chaoprayanews.com/2009/02/04/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%94/

5. https://www.nesothailand.org/e01e34e19e2de22e39e48e43e19e2ee2de25e41e25e19e14e4c/e18e38e23e01e34e08e41e25e30e01e32e23e40e21e37e2de07

6.http://www.apecthai.org/index.php/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81/%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%9B/554-%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%8C.html

7.https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%

8.http://www.wikiwand.com/th/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%8C<

9.http://www.ditp.go.th/contents_attach/89193/89193.pdf

10.http://www.moe.go.th/king60/country27/netherlands.htm

11.http://jirat-b-fluke.blogspot.com/2012/05/blog-post.html