ผู้ใช้:Soottiporn/ทดลองเขียน

     ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ  ปัจจุบันดำรงแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) 

และสภาวิจัยแห่งชาติ เป็นคนกรุงเทพมหานคร จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนปานะพันธุ์วิทยา และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา (รุ่นที่ 34) สำเร็จแพทยศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม)จากคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเข้าศึกษาในปี พ.ศ.2516 จบแล้วเข้าเป็นอาจารย์ด้านกายวิภาคศาสตร์อยู่ 2 ปี ก่อนเบนเข็มมาศึกษาต่อแพทย์เฉพาะทางด้านศัลยศาสตร์ทั่วไป และกุมารศัลยศาสตร์ และได้รับทุนบริติชเคาน์ซิลกับทุนไชน่าเมดิคอลบอร์ด ไปศึกษาเพิ่มเติมด้านศัลยศาสตร์ทารกแรกคลอด และการผ่าตัดตับและทางเดินน้ำดีในเด็ก ที่โรงพยาบาลเกรทออร์มอนด์สตรีท (Great Ormond Street Hospital) และโรงพยาบาลคิงส์คอลเลจ มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ แล้วกลับมารับราชการต่อที่ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้บุกเบิกวิธีการผ่าตัดใหม่ ๆ ในเด็กและทารกของประเทศไทยจน ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์เมื่ออายุ 39 ปี

       จากนั้นเริ่มเข้าสู่แวดวงบริหารการศึกษา เป็นรองคณบดี ผู้ช่วยอธิการบดีจนถึงรองอธิการบดี ด้านการวิจัยและวิรัชกิจ

ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปี 2539 – 2552) ในขณะเดียวกันก็ได้รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกอบรมปฐมพยาบาล และสุขภาพของสภากาชาดไทย (ปี 2545 – 2552) เข้าศึกษาในวิทยาลัยเสนาธิการทหาร (วสท.รุ่นปี 2540) วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.รุ่นปี 2551) 'ได้รับรางวัลทางวิชาการมากมายทั้งในระดับประเทศ (มากกว่า 20 รางวัล) รวมถึงรางวัลแพทย์ดีเด่นสมเด็จ พระวันรัตของแพทยสมาคมแห่งประเทศ ที่มอบแก่แพทย์ที่ทำคุณประโยชน์อย่างสูงให้แก่ประเทศไทย และรางวัลวิชาการระดับนานาชาติ (จากวิทยาลัยศัลยแพทย์อเมริกัน ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งอังกฤษ สมาคมกุมารศัลยแพทย์แห่งสหราชอาณาจักร และสมาคมศัลยแพทย์แห่งประเทศญี่ปุ่น) 'ได้รับเลือกให้เป็นนายกสมาคมกุมารศัลยแพทย์แห่งภาคพื้นเอเชีย (ปี 2551 – 2553) นับเป็นคนไทยคนแรกและคนเดียวที่ได้รับเกียรตินี้ และเป็นประธานราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย (ปี 2553 – 2555) ในระหว่างนี้ มีความตั้งใจและมุ่งมั่นที่จะปฏิรูประบบวิจัยของประเทศและพัฒนาสภาวิจัยแห่งชาติ ที่รับผิดชอบอยู่ซึ่งรายงานตรงต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อให้งานวิจัยสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศไทย

“ผมจะเชื่อมโยงการวิจัยซึ่งเปรียบเสมือนสมองของประเทศ ไปยังทุกภาคส่วนเพื่อเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนา"