ผู้ใช้:Somruethai Sanghthong/กระบะทราย

ความหมายของ M-Commerce แก้

M-Commerce (Mobile Commerce) คือ การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมหรือการเงินโดยผ่านเครือข่ายไร้สาย เช่นโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือการค้าขายตามระบบแนวความคิดของระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce ที่ใช้อุปกรณ์พกพาไร้สายเป็นเครื่องมือในการสั่งซื้อ และขายสินค้า ต่างๆ ทั้งการสั่งซื้อสินค้าที่เป็นรูปธรรม หรือนามธรรม รวมทั้งการรับ-ส่งอีเมล์ สิ่งที่น่าสนใจ และเป็นจุดที่น่าศึกษา คือ โทรศัพท์เคลื่อนสามารถพกพาไปได้ทุกที่ไม่จำกัด ทำให้ตลาดการค้าออนไลน์ หรือการทำธุรกรรมเชิงพาณิชย์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นตลาดที่น่ากลัวที่สุด เพราะสะดวกสบาย ไม่มีข้อจำกัดในการจับจ่าย และคนในสังคมไทยมีความคุ้นเคยกับการ ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่แล้ว โดย M-Commerce เป็นการแตกแขนงของเทคโนโลยีที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการขยายตัวของธุรกิจพาณิชย์อิเล็คทรอนิคส์ โดย M-Commerce จะช่วยเร่งอัตราการเติบโตให้กับการดำเนินธุรกรรมผ่านเครือข่ายอิเล็คทรอนิคส์ได้เร็วกว่าการใช้เทคโนโลยี E-Commerce ขอบเขตของ M-Commerce ครอบคลุมทั้งการดำเนินธุรกรรมระหว่างผู้ดำเนินธุรกิจ กับผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Business to Customer หรือ B2C) และระหว่างผู้ดำเนินธุรกิจด้วยกันเอง (Business to Business หรือ B2B)

ปัญหาสำคัญของระบบไร้สาย แก้

1. เนื่องจากเป็นระบบไร้สายจึงมีการใช้อัตราการรับส่งข้อมูลได้ค่อนข้างต่ำ
2. ค่าบริการสูงกว่าระบบเครือข่ายแบบมีสาย
3. เนื่องจากมีโมเด็มรับส่งแบบคลื่นวิทยุ ทำให้ใช้กำลังงานไฟฟ้าสูง

4. ต้องใช้ช่องสัญญาณคลื่นความถี่เดียวกัน

5. มาตรฐานในการผลิตยังไม่คงที่ ตามแต่ผู้ผลิตแต่ละราย อาจมีปัญหาเมื่อใช่ร่วมกัน

6. มีสัญญาณรบกวนสูง

7. มีความเร็วไม่สูงมากนัก

ขอบเขตของ M-commerce แก้

M-commerce ครอบคลุมทั้งการดำเนินธุรกรรมระหว่างผู้ดำเนินธุรกิจ กับผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และระหว่างผู้ดำเนินธุรกิจด้วยกันเอง

สถาปัตยกรรมและหลักการทำงานของ M-Commerce แก้

สถาปัตยกรรมของ WAP การรับส่งข้อมูลในอินเทอร์เน็ตไม่สามารถรับ-ส่งได้ดีในเครือข่ายไร้สาย เนื่องจากโพรโตคอล TCP ทำงานได้ไม่ดีในเครือข่ายไร้สาย และอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือยังมีความสามารถไม่พอที่จะประมวลผลข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ต ดังนั้นจึงได้ทำการแก้ไขโดย เมื่อต้องการส่งข้อมูลจากเว็บเซิร์ฟเวอร์ไปยังโทรศัพท์มือถือ ข้อมูลนั้นจะถูกส่งผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่ใช้โพรโตคอล TCP/IP มาให้แก่ “ตัวกลาง” ที่เรียกว่า WAP Gateway WAP Gateway ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายไร้สายในการรับ-ส่งข้อมูลระหว่าง WAP Gateway กับเว็บเซิร์ฟเวอร์ WAP Forum คือ องค์กรกลางระหว่างประเทศที่ตั้งขึ้นมา เพื่อมีจุดประสงค์ในการเป็นผู้กำหนดมาตรฐานการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และ ข้อมูลผ่านทางโครงข่ายไร้สาย บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบดิจิตอล และอุปกรณ์สื่อสารไร้สายอื่นๆ Web WEP เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่สนับสนุนเทคโนโลยีนี้สามารถใช้งานเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ โดยผู้ใช้งานสามารถที่จะใช้บริการต่างๆ ที่อยู่บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ ผ่านเทคโนโลยีแว็พได้เช่นเดียวกับที่ใช้งานบนอินเทอร์เน็ตทั่วๆ ไป

สาเหตุที่ M-Commerce ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แก้

1.เนื่องจากเป็นช่องทางโอกาสที่ดีในการทำธุรกิจ ทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ และสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย

2.อุปกรณ์ที่ใช้ก็มีน้ำหนักเบาด้วยจึงง่ายต่อการพกพา จึงสามารถใช้ M-Commerce ได้ทุกที่ทุกเวลา

3.ช่วยนำผู้ซื้อและผู้ขายให้มาพบกันด้วยวิธีที่ง่ายสะดวก

ประโยชน์ของ M-COMMERCE

1. สามารถช่วยให้สั่งซื้อสินค้าหรือสั่งจองตั๋วหนังได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องไปชำระค่าสินค้านั้นด้วยตนเอง

2. พนักงานในองค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะหน่วยงานของภาครัฐ หรือว่าเอกชน สามารถเข้าดู และสามรถเช็ค e-mail ที่ใช้ในบริษัทได้อย่างสะดวกสบายบนโทรศัพท์มือถือเนื่องจากพกพาง่าย เช่นโทรศัพท์มือถือ notebook เป็นต้น

3. เนื่องจากโทรศัพท์มือถือมีระบบ Mobile Internet ซึ่งเป็นระบบที่ทำให้ผู้ใช้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้จากโทรศัพท์มือถือได้ตลอดเมื่อผู้ใช้งานมีความประสงค์ที่จะใช้

4. ทำให้เราสามารถค้นหาข้อมูลและข่าวสารที่เราสนใจ หรือต้องการศึกษาจากผู้ให้บริการทั่วโลกในอัตราค่าบริการเดียวกัน



ข้อเสียของ M-COMMERCE แก้

1. ปัญหาเกี่ยวกับการขาดประสิทธิภาพของระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้า เช่น ข้อมูลในบัตรเครดิตของลูกค้า
2. ปัญหาจากการที่หลายประเทศยังขาดกฎหมายที่จะคุ้มครองสิทธิและรองรับความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย เช่น กฎหมายรองรับในเรื่องการดำเนินธุรกิจซื้อขายสินค้าผ่านระบบออนไลน์ทาง Internet
3. ปัญหาของการไม่ชัดเจนในการดำเนินการด้านการเรียกเก็บภาษีในการซื้อขาย
4. ปัญหาของการขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของเทคโนโลยีและอินเตอร์เน็ตระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
5. ปัญหาการขาดความเชื่อมั่นและไว้วางใจระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
6. เนื่องจากหลายพื้นที่ เช่น พื้นที่ชนบท พื้นที่ห่างไกลห่างความเจริญที่สัญญาณอินเตอร์เน็ทยังเข้าไม่ถึง จึงทำให้เกิดปัญหาความไม่ทั่วถึงของการใช้บริการระบบดังกล่าว
7.ปัญหาจากการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการใช้ระบบ

ลักษณะของ M-Commerce แก้

1. Mobility ความสามารถเคลื่อนย้าย เป็นจุดดึงดูดที่น่าสนใจ เนื่องจากระบบไร้สายได้สนองตอบความต้องการของผู้บริโภคด้านสารสนเทศจากแหลางต่างๆ ที่เครือข่ายอินเตอร์เน็ตสามารถเข้าถึง ทำให้ผ็ใช้บริการสามารถเลือกซื้อสินค้าได้ในทุกหนทุกแห่ง โดยผ่านทางโทรศัพท์มือถือที่พกพาไปกับผู้ใช้งาน ซึ่งสะดวกกว่าการต้องพกพาเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่ Notebook ที่นับวันจะมีขนาดเล็กลง บาง น้ำหนักเบามากขึ้นแล้วก็ตาม
2. Reach ability ความสามารถเข้าถึง หมายถึง บุคคลสามารถติดต่อ ณ เวลาใดๆ ที่ท่านสามารถกำหนดได้ เรียกได้ว่าสมัยนี้ใครๆก็สามารถเป็นเจ้าของโทรศัทพ์มือถือกันได้ไม่ยากนัก
3. Ubiquity มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายในทุกหนทุกแห่ง จะเป็นได้ว่าปัจจุบันเราใช้งานโทรศัพท์มือถือกันอย่างแพร่หลายมาก และใช้งานกันอย่างกว้างขวาง ไม่ได้ใช้เฉพาะกลุ่มนักธุรกิจเหมือนอย่างในอดีต แต่ไปถึงแม่บ้าน นักศึกษาและกลุ่มมวัยรุ่น เป็นต้น
4. Convenience ความสะดวก ด้วยขนาดที่พกพาได้ง่าย ทำให้เกิดความสะดวกในการนำไปใช้ และใช้งานได้ไม่ยาก เพียงกดปุ่มไม่กี่ปุ่ม ถ้าเทียบกับการใช้คอมพิวเตอร์ แล้วฟังก์ชันที่ทำงานบนมือถือยังสนองตอบการใช้งานที่ง่าย และใช้เวลาน้อยกว่า

ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ M-Commerce ประสบความสำเร็จ แก้

ปัจจัยที่ทำให้ M-Commerce ประสบความสำเร็จ คือ ในด้านความรู้และการใช้งานของโทรศัพท์ M-Commerce และความเข้าใจในความจำเป็นในการใช้งาน อุปกรณ์เครื่องมือต่างของโทรศัพท์เคลื่อนที่ต้องสนับสนุนการใช้งานของ M-Commerce รวมถึงการบริการข้อมูลต้องมีความหลากหลาย ซึ่งอาจจะสร้างขึ้น มาเอง หรือหาพันธมิตรเข้ามาร่วม นอกจากนี้ราคาของอุปกรณ์สื่อสารต่างๆควรจะอยู่ในระดับที่เหมาะสม รวมถึงการมีบริการที่ตรงประเด็นจะเป็นกลไกชี้นำให้ผู้มาใช้บริการมาเลือกใช้กันมากขึ้นไม่ว่าเป็นการ ตรวจสอบ E-mail ตรวจผลการออกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล การทำนายดวงชะตา การจองบัตรภาพยนตร์ บัตรคอนเสิร์ต การสั่งดอกไม้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังควรให้ความสำคัญในเรื่องของ Speed หรือความเร็วในการใช้งานย่อมมีความสำคัญต่อการใช้งานของผู้ใช้เป็นอย่างมาก ราคาค่าบริการควรเป็นธรรมและดึงดูดผู้ใช้งาน ที่สำคัญ นอกจากจะรองรับการใช้งานภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาสากลแล้วก็ควรจะรองรับภาษาท้องถิ่น เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน เป็นต้น และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือควรสามารถเข้าถึงได้ทุกลุ่มผู้ใช้งานทั้งบุคคลที่เป็นคนปกติและคนพิการ

การใช้ประโยชน์จากข้อมูลตำแหน่งท้องถิ่น เทคโนโลยี Location Based Service ซึ่งเป็นความก้าวหน้าอีกขั้นหนึ่งของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ จะทำให้เครือข่ายทราบได้ว่าผู้ใช้บริการแต่ละรายอยู่ ณ ที่แห่งใดได้ตลอดเวลา ทำให้สามารถสร้างบริการ M-Commerce ที่สัมพันธ์กับตำแหน่งที่อยู่ของผู้ใช้บริการได้อย่างอัตโนมัติ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่อาจเกิดขึ้นได้กับการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำธุรกรรมแบบ E-Commerce

สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่าย เพื่อติดต่อสื่อสารได้ในทันที ด้วยความพร้อมของเทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบใหม่ ๆ ในปัจจุบัน เช่น GPRS (Generic Packet Radio Service) ในเครือข่าย GSM ร่วมกับเทคโนโลยี Wireless Application Protocol หรือ WAP ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อกับแหล่งให้บริการ M-Commerce หรือบริการอินเตอร์เน็ตต่าง ๆ ได้ทันทีที่ต้องการ โดยไม่ต้องเสียเวลารอการเชื่อมต่อวงจรให้เรียบร้อยก่อนที่จะทำการสื่อสารได้ เหมือนดังในกรณีของการพึ่งพาเทคโนโลยี WAP บนเครือข่าย GSM หรือการใช้คอมพิวเตอร์ทำธุรกรรมแบบ E-Commerce ซึ่งความสามารถแบบใหม่ของโทรศัพท์เคลื่อนที่นี้เอง ที่น่าจะตรงกับพฤติกรรมการใช้งานของมนุษย์ที่สุด และน่าจะเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้เกิดการเจริญเติบโตของกิจกรรม M-Commerce

การจัดการฐานข้อมูลส่วนบุคคล แม้ในปัจจุบันเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่บางรุ่นจะมีความสามารถในการบันทึกข้อมูลบางอย่างของผู้ใช้บริการบ้างแล้ว แต่โทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นใหม่ ๆ ที่มีหน่วยความจำมาก และมีการใช้เทคโนโลยีการพัฒนาโปรแกรมพิเศษ เช่น การใช้โปรแกรมแบบ Java2ME น่าจะเป็นจุดหักเหที่สำคัญสำหรับการเติบโตของกิจกรรม M-Commerce ตัวอย่างของข้อมูลที่เก็บไว้ในฐานข้อมูลส่วนบุคคลก็อาจจะเป็น ความชอบส่วนตัว, เลขที่บัตรประจำตัวที่สำคัญต่าง ๆ, กีฬาที่ชอบ ฯลฯ ซึ่งหากผู้ใช้บริการอนุญาตให้มีการเปิดเผยกับแหล่งให้บริการข้อมูล M-Commerce ก็จะทำให้เกิดบริการรูปแบบใหม่ ๆ ที่น่าสนใจขึ้นอีกมากมาย

คุณสมบัติของ M-Commerce แก้

1. Mobility คือ ผู้ใช้งานสามารถนำติดตัวได้และเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง
2. Broad reach ability คือ ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงบริการที่หลากหลายได้ทุกที่ ทุกเวลา
3. Ubiquity คือ ผู้ใช้งานนั้นง่ายต่อการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ทุกที่ ทุกเวลา
4. Convenience คือ ผู้ใช้งานมีความสะดวกในการเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์และระบบเครือข่ายอื่นๆได้ง่าย
5. Localization of products and services คือผู้ใช้งานสามารถได้รับบริการแบบเฉพาะพื้นที่และรู้ตำแหน่งของตนเองในขณะที่ใช้งาน

จุดเด่นของ M-commerce ที่เหนือกว่า E-commerce แก้

1. M-commerce มีความแพร่หลายของเครื่องลูกข่าย สามารถหาซื้อได้ง่ายเนื่องจากมีผู้ต้องการบริโภคสินค้าประเภทนี้เป็นจำนวนมาก ตลาดสินค้าประเภทนี้จึงมีอยู่มาก
2. M-commerce สามารถใช้ได้ทุกที่ทุกเวลาตราบใดที่อยู่ในบริเวณที่มีสัญญาณ
3. M-commerce มีกระบวนการรักษาความปลอดภัย เนื่องจากปัจจุบ้ันนี้มีการเข้ารหัสข้อมูลไว้ หากต้องการรับส่งข้อมูลนั้นกับระบบเครือข่าย และไม่สามารถถอดรหัสออกได้โดยบุคคลที่สาม เช่น เครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่สนับสนุุนเทคโนโลยีร WAP(Wireless Application Protocol)
4. M-commerce มีความสะดวกในการใช้งาน เนื่องจากรูปร่างที่สะดวกต่อการพกพาแล้ว ยังมีลักษณะที่สวยงาม น่าใช้ ไม่ว่าจะเป็นหน้าจอ การแสดงผล การป้อนข้อมูล และยังมีพื้นที่ในการเก็บข้อมูลเพิ่มมากขึ้น ทำให้บันทึกข้อมูลได้หลากหลาย เช่น ปฏิทิน สมุดโทรศัพท์ รูปภาพ วิดีโอ เป็นต้น

ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก M-Commerce แก้

1. ธุรกิจการเงิน รวมถึงธนาคารเคลื่อนที่และการซื้อขายหลักทรัพย์
2. ธุรกิจโทรคมนาคม จากการเปลี่ยนแปลงการให้บริการ
3. ธุรกิจบริการและการค้าปลีก astercard ได้ออกรายงานผลสำรวจการซ็อปปิ้งออนไลน์รายงานผลสำรวจการซ็อปปิ้งออนไลน์ MasterCard Online Shopping Survey พบว่าผู้บริโภคในเอเซียกำลังเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อขายออนไลน์จากเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้สมาร์ทโฟน โดยพบว่าผู้ซื้อมากกว่าครึ่งในประเทศไทยซื้อสินค้าผ่านสมาร์ทโฟน
4. ธุรกิจบริการสารสนเทศ เนื่องจากสามารถรับข่าวสารต่างๆ ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้

กรณีศึกษา แก้

กรณีศึกษาของควมสำเร็จของ M-commerce ที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดได้แก่ i-Mode ของบริษัท DoCoMo ในประเทศญี่ปุ่น โดย i-Mode นั้นมีบริการผ่านโทรศัพท์มือถือเคลื่อนที่อย่างหลากหลายและครอบคลุม ตั้งแต่การใช้บริการ e-mail บริการข่าวสารต่างๆ เช่น ข่าวการรายงานสภาพอากาศ ข่าวเกี่ยวกับหุ้น บริการข้อมูลการเดินทาง เช่น ตารางรถไฟ และรถโดยสารประจำทาง บริการด้านการบันเทิง เช่น เกมส์ เพลง คาราโอเกะและบริการการทำธุรกรรมการเงินต่างๆ กับธนาคาร เช่น การจองตั๋วภาพยนต์ การซื้อสินค้าและบริการ การที่บริษัท DoCoMo มีนโยบายกระตุ้นการใช้บริการและ อำนวยความสะดวกให้คนใช้บริการต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นทำให้บริษัท DoCoMo สามารถสร้างรายได้จากการให้บริการผ่าน i-Mode เป็นเงินถึง 3,300 ล้านเหรียญสหรัฐภายในเวลาเพียง 18 เดือน หลังจากเปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1999

ความสำเร็จของ M-commerce นั้นเป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่า M-commerce นั้นมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ ทั้งในด้านรายได้ และการให้บริการที่หลากหลาย เช่น การเงิน การซื้อขายหลักทรัพย์ การทำธุรกรรมเกี่ยวกับโทรคมนาคม การค้าปลีก และการให้บริการสารสนเทศ อีกทั้ง M-commerce ยังส่งผลกระทบทางการค้าต่ออุตสาหกรรมแทบทุกประเภท หากทว่าความสำเร็จของ M-commerce จะเกิดขึ้นได้นั้นจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของบริษัทต่างๆ ที่จะมาร่วมกันสร้าง คุณค่าให้กับธุรกิจ M-commerceในรูปแบบของเครือข่ายคุณค่า (Value Network) ซึ่งแตกต่างไปจากลักษณะการสร้าง คุณค่าตามแนวคิดแบบห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) อีกทั้งการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจประเภท M-commerce จะเปลี่ยนรูปแบบไปเพราะไม่ได้เน้นการบริการเพื่อลดต้นทุนการผลิต
Piwara Sirijitraporn (พูดคุย) 11:04, 19 พฤศจิกายน 2557 (ICT)

อ้างอิง แก้

เปลวเทียน สืบสาย เข้าถึงเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2557
[1]
ลักษณะของ M-Commerce [2] [3]
[4]
[5]

ที่มา แก้

[1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9]

  1. ความหมายของ M-Commerce
  2. [6]
  3. ลักษณะของ M-Commerce
  4. ปัจจัย M-Commerce
  5. [7]
  6. [8]
  7. [9]
  8. [10]
  9. [11]