ผู้ใช้:Softt.pichai/หน้าทดลอง

กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 3 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 3 แก้

ที่ตั้ง ค่ายสุรนารี ต.หนองไผ่ล้อม อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000

ประวัติหน่วย แก้

ไฟล์:S 2277407.jpg
กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 3 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 3
ประเทศไทย
กองบัญชาการค่ายสุรนารี ต.หนองไผ่ล้อม อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000
วันสถาปนา19 มกราคม ของทุกปี
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการปัจจุบันพันโท จักราวิชญ์ พินิจกิจ

- เมื่อ ปี พ.ศ.2436 (ร.ศ. 112) พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้เสนาบดีกระทรวงกลาโหม สั่งการแก่กรมยุทธนาธิการ ให้เริ่มจัดตั้งกองทหารมณฑลนครราชสีมา ขึ้นเป็นครั้งแรก มีทหารรวม 4 กองร้อย  ประกอบด้วย ทหารปืนใหญ่ 1 กองร้อย ทหารปืนใหญ่หน่วยแรกในนครราชสีมา ตั้งอยู่บริเวณกำแพงเมืองทิศตะวันตกวัดบูรณ์ (สระพระพิเรนทร์)  มีกำลังพลประมาณ 80 - 90  คน อาวุธประจำกองใช้ปืนใหญ่ชนิดบรรจุทางปากลำกล้อง เรียกว่า “ปืนท้ายตุ้ม” จำนวน 4 กระบอก อาวุธประจำกายสำหรับนายสิบ พลทหาร ใช้กระบี่ยาวในการรักษาการณ์ ผู้บังคับบัญชาคนแรกของหน่วยนี้ คือ ร้อยโท ขุนศึกพินาศ การเกณฑ์ทหารระยะแรกใช้เกณฑ์จากชาวนครราชสีมา ระยะรับราชการ 5 - 6 ปี แล้วปลดเป็นกองหนุนแต่ต้องมารับการฝึกอีกทุก ๆ ปี ปีละ 3 เดือน ระหว่างรับราชการได้รับเบี้ยเลี้ยงรายวันคนละ 6 อัฐ (ประมาณ 10 สตางค์)

- พ.ศ.2445 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ขยายกำลัง กองร้อยปืนใหญ่นครราชสีมาขึ้นเป็น กรมทหารปืนใหญ่ที่ 3 มีกำลัง 2 กองร้อย

- พ.ศ.2450 เปลี่ยนชื่อเป็น กรมทหารปืนใหญ่ที่ 5 มีกำลังคงเดิม

- พ.ศ.2458 เพิ่มกำลังจากเดิม ป.4 หมู่ เป็น ป.6 หมู่ คือ หมู่ 5 (สื่อสาร) , หมู่ 6 (ลาดตระเวน)  รวมทั้งกองพันมีทหาร 268 คน

- พ.ศ.2470 ย้ายกรมทหารปืนใหญ่ที่ 10 จากจังหวัดร้อยเอ็ด มาอยู่ นครราชสีมา ครั้งแรกอยู่โรงถาวรริมบุ่งตาหลั่ว ( ช.พัน.3 ปัจจุบัน ) เรียกชื่อใหม่ว่า กรมทหารปืนใหญ่ที่ 6 ดังนั้น นครราชสีมาขณะนั้นมี ทหารปืนใหญ่ 2 กรม

- พ.ศ.2471 เสนาบดีกระทรวงกลาโหม สั่งการให้รวมกรมทหารปืนใหญ่ที่ 5 กับ กรม-ทหารปืนใหญ่ที่ 6 ขึ้นเป็นกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1  แต่การเรียกชื่อคงเรียกกรมทหารปืนใหญ่ที่ 5 และกรมทหารปืนใหญ่ที่ 6 ไปก่อน กับให้ย้ายกรมทหารปืนใหญ่ที่ 6 มาตั้งรวมอยู่กับ กรมทหารปืนใหญ่ที 5  ที่ ป.พัน.3 ในปัจจุบัน

- พ.ศ.2472 เปลี่ยนชื่อ กรมทหารปืนใหญ่ที่ 5 และกรมทหารปืนใหญ่ที่ 6 เป็นกองพันที่ 1 และกองพันที่ 2 รวมขึ้นการบังคับบัญชากับกรมทหารปืนใหญ่ที่ 3

- พ.ศ.2476 เปลี่ยนชื่อจาก ป.พัน.5, ป.พัน.6 เป็น ป.พัน.7, ป.พัน.8

- พ.ศ.2484 ได้ขยายกำลังเพิ่มเป็น ป.พัน.9 อีก 1 กองพัน และไปปฏิบัติราชการสนามในคราวสงครามมหาเอเซียบูรพา

- พ.ศ.2486 ได้ขยายกำลังเพิ่มเป็น ป.พัน.17, ป.พัน.18 ไปปฏิบัติราชการสนามกองทัพที่ 2 กับให้ขยายกำลังเป็น ป.พัน.14 ไปราชการสนามด้านพายัพแทน ป.พัน.8 โดยให้ ป.พัน.8 ถอนกำลังกลับมาปฏิบัติงานในกองทัพที่ 2

- พ.ศ.2487 ให้ขยายกำลังเพิ่มเป็น ป.พัน.27 กับ ป.พัน.29 อีก 2 กองพัน ขึ้นกับ พล.7 ในกองทัพที่ 2 ขณะนั้นมีกองพันทหารปืนใหญ่ 8 กองพัน โดยแยกกันทำงานในพื้นที่กองทัพที่ 2 และกองทัพพายัพ ครั้นเสร็จสงครามแล้วได้ยุบหน่วยขยายลงหมดคงเหลือ ป.พัน.7, ป.พัน.8 และ ป.พัน.9 รวม 3 กองพัน และให้ย้าย ป.พัน.7 ไปประจำจังหวัดอุดรธานี และ ป.พัน.9 ไปประจำจังหวัดอุบลราชธานี คงเหลือ ป.พัน.8 อยู่นครราชสีมา เพียงกองพันเดียว

- พ.ศ.2489 ป.พัน.8 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ป.3 พัน.1

- พ.ศ.2495 ป.3 พัน.1 เปลี่ยนชื่อเป็น ป.พัน.3 จนถึงปัจจุบัน

เกียรติประวัติของหน่วยฯ แก้

- พ.ศ.2444 ใช้กำลังบางส่วนของกองพันขึ้นไปปราบปรามกบฎผีบุญผีบ้า ที่จังหวัดอุบล-ราชธานี จนราบคาบ

- พ.ศ.2450 ได้ส่งตัวแทนเข้าแข่งขันวิชาเหล่าต่อหน้าพระที่นั่ง ณ ท้องสนามหลวง ในจำนวนทั้งหมดที่ส่งเข้าแข่งขัน 9 กรม แต่กรมทหารปืนใหญ่ที่ 3 ได้ผลดีเยี่ยมได้รับรางวัลชนะเลิศ และได้รับพระราชทานรางวัลเป็นที่ระลึก เป็นเครื่องเชิดชูเกียรติ คือ พานดอกไม้เงินขนาดใหญ่รูปช้าง 3 หัว มีคนยืนกำกับ 2 คน และทหารทุกคนได้รับพระราชทานเสมาคล้องคอ

- พ.ศ.2460 เสนาบดีกระทรวงกลาโหมได้คัดเลือกนายสิบ พลทหารในหน่วยนี้ 12 นายส่งไปในงานมหายุทธสงคราม ณ ทวีปยุโรป

- พ.ศ.2483 - พ.ศ.2485 ทหารปืนใหญ่นครราชสีมา 2 กองพัน (ป.พัน.7,  ป.พัน.8) ได้ร่วมรบในสงครามอินโดจีน ด้านกองทัพพายัพได้ปฏิบัติการรบอย่างห้าวหาญจนได้รับชัยชนะ

- พ.ศ.2485 - พ.ศ.2488 ป.พัน.8 ได้ปฏิบัติการในกองทัพพายัพในสงครามมหา-เอเซียบูรพา ได้มีส่วนร่วมในการเข้าตีเมืองเชียงตุง และได้ปฏิบัติการรบหลายครั้งแต่ปรากฎว่าทหารกองพันนี้ มีทหารตายน้อยกว่าหน่วยอื่นๆ นับว่าทำการรบได้ผลดี และแสดงถึงสุขอนามัยอันดียิ่ง

- พ.ศ.2495 ได้รับเกียรติให้เป็นหน่วยปืนใหญ่ยิงสลุตหลวง 21 นัด ถวายพระเกียรติในวันเฉลิมพระชนมพรรษาทุกปี

- พ.ศ.2530 - พ.ศ.2531 ป.พัน.3 จัดกำลังพลบางส่วนไปป้องกันประเทศจัดเป็น พัน.ป.603 และฐานยิงปืนใหญ่อีก ๑ ร้อย.ป. เรียกชื่อว่า ร้อย.ป.3021 สนับสนุน กกล.สุรนารี

- พ.ศ.2555 จัดกำลังพลสนับสนุน กกล.สุรนารี ในการป้องกันประเทศ ชายแดนไทย –กัมพูชา จัดเป็นฐานยิงปืนใหญ่ 1 ร้อย.ป. เรียกว่า ร้อย.ป.3031 ตั้งอยู่บ้านสำโรงเกียรติ ต.บักดอง อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ โดยมี ร.อ.พีรพัฒน์ พันสาง เป็น ผบ.ร้อย. และ ร.ท.เดชชนะ ปะวะโน เป็นรอง ผบ.ร้อย

ประวัติธงชัยเฉลิมพลของหน่วย แก้

- วันที่ 25 ม.ค.2496 ป.พัน.3 ได้รับพระราชทานธงไชยเฉลิมพลมาประจำกองพัน โดย พ.ต.อิทธิศักดิ์ สุพรรณพงศ์ ผู้บังคับกองพันนำกำลังไปรับจากพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ณ ปะรำพิธีท้องสนามหลวง

วิสัยทัศน์ แก้

กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 3 เป็นหน่วยทหารที่มีประสิทธิภาพสูงในการสนับสนุนการรบ มีความทันสมัยด้านเทคโนโลยี กำลังพลมีความรู้ คุณธรรม สุขภาพดี ดำรงชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นที่ยอมรับของประชาชน ทั้งในยามปกติและยามสงคราม

ส่วนอ้างอิง แก้

[1]

ส่วนแหล่งข้อมูลอื่น แก้

Facebook กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 3 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 3

กลับหน้าสอนการใช้งาน
  1. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551