ผู้ใช้:Sirinapha Sawatphumi/ทดลองเขียน

''''วัดราชสิงขร (กรุงเทพมหานคร)'''' [1]วัดราชสิงขร พระอารามหลวง เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรีชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ ๒๑๑๔ ถนนเจริญกรุง ๗๔แขวงวัดพระยาไกร เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร มีที่ดินตั้งวัด เนื้อที่ ๑๑ ไร่ ๑ งาน ๙๘ ตารางวา


พระวิหารหลวงพ่อแดง วัดราชสิงขร พระอารามหลวง เป็นวัดโบราณ สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พุทธศักราช ๒๒๗๕–๒๓๐๑) ในสมัยรัชกาลที่ ๑ สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท โปรดให้ช่างหลวงวังหน้าสร้างพระอุโบสถ มีหลักฐานที่ปรากฏคือใบเสมาหินชนวนที่ฝังไว้กับผนังด้านนอกพระอุโบสถ ซึ่งมีลักษณะ เดียวกันกับวัดชนะสงครามและวัดมหาธาตุ อันเป็นพระอาราม ที่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงเป็นผู้ปฏิสังขรณ์ ลักษณะของการใช้ใบเสมานั้นฝังติดกับผนังพระอุโบสถทั้ง ๘ ทิศ เป็นพุทธศิลปะที่สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงโปรดปรานเป็นการเฉพาะ นอกจากนั้นปรากฏหลักฐาน พระวิหาร สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทโปรดให้สร้างไปพร้อม ๆ กันกับการสร้างพระอุโบสถเพื่อประดิษฐาน พระพุทธสุโขทัยหรือหลวงพ่อแดง

พระอุโบสถและพระวิหาร จากการบันทึกเล่าของวัดว่า เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๗๔ พระองค์เจ้าหญิงพิกุลทอง และพระองค์เจ้าหญิงเกสรพระธิดาในสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทได้ทรงทำนุบำรุงและบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ โดยได้รับการสนับสนุนจากขุนนางข้าราชการ ตลอดจนพ่อค้า ประชาชน ตามหลักฐานศิลาจารึกที่พบอยู่บนหน้าพระอุโบสถและพระวิหาร ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๙๔) โปรดทำเป็นแบบศิลปะราชนิยม ในสมัยซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และได้นิยมสร้างกันในช่วงยุครัชกาลที่ ๓ เท่านั้นกล่าวคือ มีการเปลี่ยนแปลงเครื่องบนของพระอุโบสถและพระวิหารเช่น ส่วนหลังคาได้ถอดเครื่องประดับที่จะเกิดความเสียหายได้ง่ายออกไป และหันมาใช้วัสดุที่คงทนยิ่งขึ้น เช่น ลดช่อฟ้า ใบระกาลง เปลี่ยนเป็นการก่ออิฐถือปูน หน้าบันประดับด้วยตุ๊กตาสิงห์จาน ชาม และกระเบื้องเคลือบลายจีน ลายทับทิม ซุ้มประตูและหน้าต่างลายปูนปั้นลงรักปิดทอง รูปลายดอกไม้อย่างจีนซึ่งได้นำเข้าจากประเทศจีน ปัจจุบันยังมีพอเหลืออยู่บ้าง บางส่วนได้เก็บรักษาไว้เป็นตัวอย่างให้ผู้สนใจได้ศึกษาต่อไป ในส่วนของพระอุโบสถ ถึงแม้ว่าจะได้บูรณปฏิสังขรณ์ให้เห็นเป็นแบบศิลปะราชนิยม ในสมัยรัชกาลที่ ๓ แล้วก็ตาม แต่ก็ยังคงฝังใบเสมาติดกับผนังด้านนอกของตัวพระอุโบสถอยู่เช่นเดิมจนถึงปัจจุบันนี้ก็ไม่ปรากฏให้เห็นได้ เพราะในการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งหลังสุดนี้ ได้โบกฉาบปูนทับไว้ให้เหมือนเดิมทุกประการ แต่ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ถ้าหากไม่พูดถึงคงไม่มีใครทราบได้ว่า ใบเสมาพระอุโบสถวัดราชสิงขรอยู่ ณ ที่ใด หลังไหนเป็นพระอุโบสถหรือพระวิหาร เพราะขนาดและรูปลักษณะของทรวดทรงสูงต่ำเท่ากันและตั้งอยู่ในตำแหน่งคู่ขนานที่ใกล้เคียงกัน ห่างกันแค่ประมาณ ๑๖ เมตร อีกด้วย ดังนั้น จึงไม่ปรากฎให้เห็นใบเสมาตั้งรายรอบพระอุโบสถเหมือนอย่างวัดอื่น ๆ ที่มีพระอุโบสถศิลปะแบบเดียวกัน

พระประธาน ในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ศิลปะสมัยอู่ทอง พระวิหาร สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทโปรดให้สร้างพระวิหารไปพร้อมกันกับการสร้างพระอุโบสถ สร้างขึ้นเป็นแบบดั้งเดิม เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคามุงกระเบื้องประดับช่อฟ้า ใบระกา หน้าบันเป็นไม้ ภายในประดิษฐานหลวงพ่อแดง และต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๖๔ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ได้มีการบูรณะในส่วนหลังคาพระวิหาร แต่ไม่ปรากฏชื่อของผู้บูรณะ

ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๐ สมัยรัชกาลที่ ๗ ได้มีการบูรณะส่วนล่างของพระวิหาร มีหลักฐานเป็นแผ่นศิลาจารึกรายชื่อและปีที่บูรณปฏิสังขรณ์ ฝังติดอยู่ที่ผนังด้านนอกระหว่างประตูทั้งสองด้านของพระวิหารสถูปพระเจดีย์ พระองค์เจ้าหญิงพิกุลทอง และพระองค์เจ้าหญิงเกสร ได้สร้างสถูปพระเจดีย์ ๒ องค์ประดิษฐานอยู่ทางมุมขวาและซ้ายด้านหลังพระอุโบสถและพระวิหาร


เนื้อหา 1 ประวัติพระพุทธสุโขทัย หลวงพ่อแดง 2 [1]ประวัติสำนักเรียนวัดราชสิงขร พระอารามหลวง[2] 2.1 ประวัติศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดราชสิงขร 3 [1]ลำดับเจ้าอาวาสวัดราชสิงขร ประวัติพระพุทธสุโขทัย หลวงพ่อแดง

พระพุทธสุโขทัย หลวงพ่อแดง ในพระวิหาร หลวงพ่อแดง เป็นพระพุทธรูปสำคัญประจำวัดราชสิงขร เนื้อสำริด ปางมารวิชัยศิลปะแบบอยุธยาที่มีอิทธิพลของศิลปะสุโขทัย ได้อัญเชิญมาจากกรุงศรีอยุธยา ทางแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมกับหลวงพ่อทองคำและหลวงพ่อสัมฤทธิ์ ในระยะเวลาก่อนที่จะเสียกรุง ขณะที่ล่องมาใกล้จะถึงวัดราชสิงขรด้วยกระแสน้ำไหลเชี่ยวเพราะเป็นฤดูน้ำหลาก จึงทำให้การควบคุมแพเป็นไปอย่างยากลำบาก แพได้เสียหลักและแตกหักพัง ทำให้หลวงพ่อแดงจมลงในน้ำ ณ ที่ฝั่งตรงกันข้าม กับวัดราชสิงขรพอดี ณ ครั้งนั้นผู้คนชาวฝั่งธนบุรีได้ลือและแตกตื่น แม้จะได้ประกอบพิธีอัญเชิญหลวงพ่อแดงโดยประการใด ๆ ก็ตามไม่สามารถนำหลวงพ่อแดง ขึ้นจากน้ำได้ ต่อมาจะด้วยสิ่งดลใจหรือปาฏิหาริย์ผู้คนฝั่งวัดราชสิงขร (กรุงเทพ) ทราบข่าวเหตุการณ์จึงได้ไปขอเจรจาขออัญเชิญหลวงพ่อแดง มาประดิษฐานไว้ ณ วัดราชสิงขรเป็นที่สำเร็จตามคำขออัญเชิญในฤดูน้ำลด เหตุขนานนามว่า หลวงพ่อแดง เนื่องจากได้อัญเชิญขึ้นฝั่งวัดราชสิงขรเป็นผลสำเร็จแล้วได้ประดิษฐานอยู่กลางแจ้งและได้ทำความสะอาดชำระคราบโคลนตมและตะไคร่น้ำออกแล้ว ปรากฏว่าเกิดเป็นสีสนิมแดงจับทั่วทั้งองค์พระอย่างเห็นได้ชัด ชาวบ้านฝั่งวัดราชสิงขรจึงได้พากันนิยมขนานนามว่าหลวงพ่อแดง สืบต่อกันมาตราบทุกวันนี้

[1]ประวัติสำนักเรียนวัดราชสิงขร พระอารามหลวง[2] เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๖ พระพิสณฑ์ปริยัติวิธาน ขณะดำรงสมณศักดิ์ ที่ พระครูบวรพัฒนโกศลได้รับมอบหมายจากผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดราชสิงขร ได้จัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมขึ้น โดยเปิดสอนนักธรรมชั้นตรี - โท - เอก และธรรมศึกษาต่อมา พ.ศ.๒๕๑๐ ได้จัดตั้งโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ขึ้น และต่อมา พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้จัดการศึกษาพระประยัติธรรมแผนกบาลีขึ้น โดยเปิดสอนตั้งแต่ชั้นบาลีไวยากรณ์ ถึงชั้นเปรียญธรรม ๗ ประโยค ต่อมามหาเถรสมาคมได้มีมติที่ ๑๘/๒๕๓๒ เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๓๒ อนุมัติให้สำนักศาสนศึกษาวัดราชสิงขร เป็นสำนักเรียนวัดราชสิงขร และได้ทำการเรียนการสอนมาจนถึงปัจจุบัน

ประวัติศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดราชสิงขร ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ โรงเรียนวัดราชสิงขร เป็นสถาบันที่ให้การศึกษาวิชาการทางพระพุทธศาสนาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติแก่เด็กนักเรียนและเยาวชนทั่วไป ตั้งอยู่เลขที่ ๒๑๑๔ ถนนเจริญกรุง แขวงวัดพระยาไกร เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีพระครูศรีวรานุกิจ เจ้าอาวาสวัดราชสิงขร ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ บริหารงานโดยคณะสงฆ์วัดราชสิงขร และ คณะครูโรงเรียนวัดราชสิงขร เปิดทำการสอนทุกวันอาทิตย์ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๔.๐๐ น.

ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดราชสิงขร เริ่มเปิดการเรียนการสอนในปีการศึกษา ๒๕๕๒โดยกระทรวงศึกษาธิการและกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ได้มีนโยบาย ๑ อำเภอ ๑ ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนา ให้วัดเป็นศูนย์กลางด้านการให้การศึกษาด้านจริยธรรม คุณธรรม แก่นักเรียน ซึ่งทางกรุงเทพมหานครได้เล็งเห็นความสำคัญ และมีนโยบายด้านการศึกษาอย่างเด่นชัดที่ต้องการให้เยาวชนมีความรู้ คู่คุณธรรม จึงให้การสนับสนุนวัดที่มีโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครในพื้นที่สำนักงานเขตที่ยังไม่มีศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์จัดตั้งศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ขึ้น

      โรงเรียนวัดราชสิงขรได้รับเลือกให้เป็นสถานที่ตั้งศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ของเขตบางคอแหลม  คณะสงฆ์วัดราชสิงขรและคระครูโรงเรียนวัดราชสิงขรจึงได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ โรงเรียนวัดราชสิงขรขึ้นมา

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้ใช้เวลาว่างในวันหยุดเรียนได้ศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และนำไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

๒. เพื่อให้เด็กและเยาวชนรู้และเข้าใจประวัติพุทธศาสนาพร้อมกับครอบครัวและปฏิบัติตนได้ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนพิธี

๓. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างวัด โรงเรียน และชุมชนในการจัดอบรมปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมแก่เด็กและเยาวชนให้เป็นพลเมืองดีของชาติ

[1]ลำดับเจ้าอาวาสวัดราชสิงขร ตั้งแต่เริ่มสร้างวัดมาจนถึงปัจจุบัน วัดราชสิงขรมีเจ้าอาวาสและรักษาการแทนเจ้าอาวาส ๑๑ รูปได้แก่

ลำดับ รายนาม ตำแหน่ง เริ่มและสิ้นสุดวาระ ๑. พระอธิการเดช (ไม่ทราบฉายา) เจ้าอาวาส ไม่ทราบ พ.ศ. ๒. พระอธิการขำ (ไม่ทราบฉายา) เจ้าอาวาส ไม่ทราบ พ.ศ. ๓. พระอธิการดี (ไม่ทราบฉายา) เจ้าอาวาส ไม่ทราบ พ.ศ. ๔. พระอธิการแดง (ไม่ทราบฉายา) เจ้าอาวาส ไม่ทราบ พ.ศ. ๕. พระอาจารย์ยี่ (ไม่ทราบฉายา) รก.เจ้าอาวาส ไม่ทราบ พ.ศ. ๖. พระอธิการอั้น (ไม่ทราบฉายา) รก.เจ้าอาวาส ไม่ทราบ พ.ศ. ๗. พระอธิการอ่อนศรี พุทฺธวํโส เจ้าอาวาส ไม่ทราบพ.ศ. - ๒๕๐๕ ๘. พระครูปลัดสมนึก (วัดพระเชตุพนฯ)** รก.เจ้าอาวาส พ.ศ ๒๕๐๖ - พ.ศ. ๒๕๑๔ ๙. พระพิสณฑ์ปริยัติวิธาน (วรพงษ์ คุณปวโร) เจ้าอาวาส พ.ศ.๒๕๑๕ - พ.ศ. ๒๕๕๐ ๑๐. พระปริยัติธรรมสุนทร (ชวลิต สีลเตโช) เจ้าอาวาส พ.ศ.๒๕๕๑ - พ.ศ. ๒๕๕๔ ๑๑. พระครูศรีวรานุกิจ (สัมพันธ์ สุเมโธ) เจ้าอาวาส พ.ศ.๒๕๕๕ - ปัจจุบัน