ผู้ใช้:SiharatWiki/ทดลองเขียน

กรมทหารราบที่ 8 จัดตั้งขึ้นตามคำสั่งกองทัพบก (เฉพาะ) ที่ 23/23 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2523 เพื่อเสริมสร้างและเพิ่มพูนประสิทธิภาพการรบของกองทัพบก มีที่ตั้งชั่วคราว ณ ค่ายศรีพัชรินทร  อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น และเมื่อปี 2525  ได้ย้ายเข้าที่ตั้งถาวร ณ ค่ายสีหราชเดโชไชย ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น มีผู้บังคับบัญชา จนถึงปัจจุบัน  14  ท่าน  โดยมีผู้บังคับบัญชาท่านปัจจุบัน คือ พันเอก ณรงค์  วิชญาณวรวุฒิ

ข้อมูลกรมทหารราบที่ 8

แก้

    กรมทหารราบที่ 8 จัดตั้งขึ้นตามคำสั่งกองทัพบก (เฉพาะ) ที่ 23/23 ลงวันที่  25 กุมภาพันธ์ 2523  เพื่อเสริมสร้างและเพิ่มพูนประสิทธิภาพการรบของกองทัพบก มีที่ตั้งชั่วคราว ณ ค่ายศรีพัชรินทร อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น และเมื่อปี 2525  ได้ย้ายเข้าที่ตั้งถาวร ณ ค่ายสีหราชเดโชไชย ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น มีผู้บังคับบัญชา จนถึงปัจจุบัน  14  ท่าน  โดยมีผู้บังคับบัญชาท่านปัจจุบัน คือ พันเอก ณรงค์  วิชญาณวรวุฒิ

วิสัยทัศน์กรมทหารราบที่ 8

แก้

“เป็นหน่วยที่มีความพร้อม ในการใช้กำลัง ขจัดภัยคุกคามทุกรูปแบบ พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เพื่อผลประโยชน์ของชาติ และเป็นที่ศรัทธาของประชาชน”

หน่วยขึ้นตรง

แก้

กรมทหารราบที่ 8 เป็นกรมทหารราบมาตรฐาน ตามอัตราการจัดยุทโธปกรณ์ หมายเลข 7 – 11 (25 ก.พ.2552) มีกองร้อยหน่วยขึ้นตรง  4  กองร้อย และหน่วยรองหลัก  3 กองพัน ประกอบด้วย

  1. กองพันทหารราบที่ 1 : ตั้งอยู่ที่ค่ายศรีสองรัก อำเภอเมือง จังหวัดเลย

  2. กองพันทหารราบที่ 2 : ตั้งอยู่ที่ค่ายมหาศักดิพลเสพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น 

  3. กองพันทหารราบที่ 3 : ตั้งอยู่ ณ ค่ายสีหราชเดโชไชย อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

เกียรติประวัติหน่วยที่สำคัญ

แก้

ด้านการป้องกันประเทศ

แก้
ด้านชายแดนไทย-กัมพูชา
แก้

ปี 2527 – 2531 จัดกำลังเข้าผลักดันกองกำลังรัฐบาลผสมเวียดนาม/เฮงสัมริน บริเวณ “ช่องโอบก” อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ปฏิบัติการเข้าตี เนิน 538  ที่หมายสำคัญยิ่ง สามารถสังหารและยึดอาวุธ ของข้าศึกจำนวนมากและสถาปนา เนิน 538 กลับมาเป็นของไทยอีกครั้ง

ด้านชายแดนไทย-ลาว

แก้

ปี 2531 รับภารกิจสนับสนุน กองทัพภาคที่ 3  ผลักดันกองกำลังฝ่ายตรงข้าม บริเวณ บ้านร่มเกล้า อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ในการป้องกันช่องทางล่อแหลม และเตรียมรุกออกนอกประเทศในพื้นที่จังหวัดเลย ในการปฏิบัติได้ใช้ความริเริ่มลิดรอนและกดดัน ฝ่ายตรงข้าม จนขาดเสรีการปฏิบัติ ส่งผลให้ต้องเจรจาขอยุติการรบในที่สุด

ด้านชายแดนไทย-พม่า

แก้

ปี 2544 จัดกำลังป้องกันชายแดนพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยได้ริเริ่มรูปแบบการจัดตั้งชุมชนเข้มแข็ง ให้ประชาชนสนับสนุนการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม การปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ : ปี 2547 จัดกำลังเป็นหน่วยแรกของกองทัพภาคที่ 2 เข้าปฏิบัติการในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ในห้วงแรก และเข้าปฏิบัติการในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส โดยได้ริเริ่มการสร้างฐานมวลชนให้สนับสนุนการปฏิบัติอย่างได้ผล และใช้เป็นต้นแบบในการปฏิบัติงานของทุกหน่วยในโอกาสต่อมา

การรักษาสันติภาพ

แก้

ปี 2545 – 2546  เป็นหน่วยหลักในการจัดกำลัง “กองกำลังรักษาสันติภาพ 972 ไทย/ติมอร์ตะวันออก” ผลการปฏิบัติงาน ได้รับการประกาศชมเชยให้เป็นหน่วยที่มีผลงานดีเด่นในการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประชาชน

ปี 2533 – 2554 จัดกำลังร่วมกับ “กองกำลังเฉพาะกิจ 980 ไทย/ดาร์ฟูร์ ผลัดที่ 1” โดยได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไปเผยแพร่พระเกียรติคุณ จนเป็นที่ยอมรับและยกย่องว่า กองกำลังทหารไทยเป็นหน่วยที่มีมาตรฐานสูง และเป็นต้นแบบในทุกด้าน

ด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ

แก้

ปี  2557 – 2562 รับผิดชอบในการจัดตั้งกองบังคับการควบคุมกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย จังหวัดหนองบัวลำภู เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและรัฐบาล ปฏิบัติตามภารกิจ 7 ประการ โดยเน้นในการช่วยเหลือประชาชน เพื่อสร้างความสามัคคีปรองดองให้เกิดขึ้นในพื้นที่

ประวัติค่ายสีหราชเดโชไชย

แก้

    ตั้งอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น จัดตั้งเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2535 ค่ายสีหราชเดโชไชย ได้รับการขนานชื่อเพื่อเป็นเกียรติประวัติ และอนุสรณ์รำลึกถึง พลโท พระยาสีหราชเดโชไชย (สวาสดิ์  บุนนาค) อดีตผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ 5 (ปัจจุบันคือ กองพลทหารราบที่ 3 ซึ่งเป็นหน่วยบังคับบัญชาของ กรมทหารราบที่ 8 ) และท่านเคยดำรงตำแหน่ง เสนาธิการทหารบกด้วย

ประวัติของ พลโท พระยาสีหราชเดโชไชย (สวาสดิ์ บุนนาค)

แก้

    พลโท พระยาสีหราชเดโชไชย (สวาสดิ์ บุนนาค) เกิดที่บ้านบางยี่ขัน จังหวัดธนบุรี เป็นบุตรคนเดียวของหลวงสุนทรภักดี (วุธ บุนนาค) กับนางสุนทรภักดี (ฉุน บุนนาค) เกิด ณ วันจันทร์ ขึ้นหกค่ำ เดือนสิบสอง ปีมะแม จุลศักราช 1245 ตรงกับวันที่ 5 เดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช 2426 (ร.ศ. 102)

เข้ารับราชการทหารเป็นนักเรียนนายร้อยเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 (ร.ศ. 117) ในกรมยุทธศึกษาทหารบก สอบไล่วิชาในโรงเรียนนายร้อยทหารบกชั้น 3 เป็นที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2443 (ร.ศ. 119)

ตำแหน่งหน้าที่ราชการที่สำคัญ

แก้

    วันที่ 9 พฤศจิกายน 2441 เข้าเป็นนักเรียนนายร้อยในโรงเรียนทหารบก

    วันที่ 1 พฤษภาคม 2444 ได้เลื่อนขั้นว่าที่นายร้อยตรีประจำกองร้อยที่ 2 กองทหารม้าในมณฑลกรุงเทพฯ

    วันที่ 1 เมษายน 2445 ย้ายไปประจำกองร้อยที่ 2 กรมทหารม้าที่ 3 มณฑลนครราชสีมา

    วันที่ 1 เมษายน 2451 เป็นผู้บังคับกองร้อยที่ 1 โรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยม

    วันที่ 25 พฤศจิกายน 2451 เป็นปลัดบัญชาการโรงเรียนทหารบก

    วันที่ 1 กรกฎาคม 2452 เป็นผู้บังคับการกรมทหารม้าที่ 7

    วันที่ 5 มีนาคม 2454 เป็นผู้บังคับการกรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์

    วันที่ 28 เมษายน 2458 เป็นผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ 6

    วันที่ 1 กรกฎาคม 2464 เป็นผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ 5

    วันที่ 1 เมษายน 2467 เป็นปลัดทูลฉลองกระทรวงกลาโหม

    วันที่ 9 ตุลาคม เป็นแม่ทัพกองน้อยทหารบกที่ 3

    วันที่ 1 พฤษภาคม 2471 เป็นแม่ทัพกองทัพที่ 1

    วันที่ 7 มีนาคม 2474 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเสนาธิการทหารบก

ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์

แก้

    วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2451 เป็นหลวงไกรกระบวนหัด ถือศักดินาแปดร้อย

    วันที่ 18 มิถุนายน 2456 เป็นพระราญรอนอริราช ถือศักดินาหนึ่งพัน

    วันที่ 24 พฤษภาคม 2459 เป็นพระยาพระกฤษณรักษ์ ถือศักดินาหนึ่งพันห้าร้อย

    วันที่ 9 พฤศจิกายน 2471 เป็นพระยาสีหราชเดโชไชยอภัยพิริยบรากรมพาหุ ถือศักดินาหนึ่งหมื่น

ชีวิตสมรส

แก้

    ใน พ.ศ. 2459 สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (ขณะนั้น ยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นเสนาธิการทหารบก) ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สู่ขอนางสาวสุนีย์สาย อมาตยกุล ธิดาหลวงพิเทศพิสัย (ประวัติ อมาตยกุล) กับนางพิเทศพิสัย (พระนมร่ำ อมาตยกุล) ซึ่งถวายตัวเป็นข้าหลวงอยู่ในสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี และในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร ประทานพระยาสีหราชเดโชไชย ซึ่งในขณะนั้นมียศเป็นนายพันเอก พระยาพระกฤษณรักษ์ ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ 6 และทรงพระกรุณาประกอบพิธีสมรสประทานที่วังปารุสกวัน จังหวัดพระนคร เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2459

    พลโท พระยาสีหราชเดโชไชย (สวาสดิ์ บุนนาค) มีบุตรธิดาดังรายชื่อต่อไปนี้

    1.   นายร้อยตำรวจโท สืบสวัสดิ์ บุนนาค

    2.   นายพันตำรวจโท เกียรติ บุนนาค

    3.   นางสเริงรมย์ อมันตกุล

    4.   ร้อยเอก เผด็จ บุนนาค

    5.   ร้อยตรี สีหเดช บุนนาค

    6.   นางสายสวาท บุนนาค

    7.   จ่านายสิบตำรวจ พัฒนเดช บุนนาค

    8.   นายบุญรักษ์ บุนนาค


    พลโท พระยาสีหราชเดโชไชย (สวาสดิ์ บุนนาค) ได้ถึงอนิจกรรมด้วยโรคหัวใจวายเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2500 ตรงกับวันพฤหัสบดี แรมแปดค่ำ เดือนเจ็ด เวลา 02:00 น. ณ บ้านเลขที่ 518 ซอยประเสริฐสุข ถนนลาดหญ้า จังหวัดธนบุรี อายุเจ็ดสิบสี่ปี