สมาคมเครือข่ายโรงงานควบคุมด้านพลังงานในพื้นที่ภาคใต้และภาคกลางตอนล่าง แก้

สมาคมเครือข่ายโรงงานควบคุมด้านพลังงานในพื้นที่ภาคใต้และภาคกลางตอนล่าง ตอนล่าง (Southern and Central Region Energy Designated Factory Network Association: SCEFNA) เป็นหน่วยงานอิสระที่มิได้มุ่งแสวงหากำไร (ใบอนุญาตสมาคมการค้า เลขที่ 2/2556 ทะเบียนเลขที่ 0909556000021) จัดตั้งเมื่อวันที่ 1 กรกฏาคม 2556 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมโรงงานควบคุมในพื้นที่ภาคใต้และภาคกลางตอนล่าง (จำนวนโรงงานควบคุมรวม 1220 แห่ง จำนวนผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน รวมกันมากกว่า 1,000 คน) ให้สามารถปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 และที่ปรับปรุงเพิ่มเติม และสนับสนุนแผนพัฒนาพลังงานตามนโยบายของภาครัฐ ในการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานในพื้นที่ภาคใต้ ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน ลดการนำเข้าเชื้อเพลิง และลดภาวะโลกร้อน

ความเป็นมาของสมาคม

  • 30 สิงหาคม 2555 - กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) สนับสนุนงบประมาณให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (โดยสถาบันวิจัยระบบพลังงาน และคณะวิศวกรรมศาสตร์ (ศูนย์วิศวกรรมพลังงาน)) ในฐานะผู้รับการสนับสนุนให้เป็นที่ปรึกษาดำเนินโครงการกำกับดูแลและส่งเสริมการปฏิบัติงานตามพ.ร.บ. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 สำหรับโรงงานควบคุมกลุ่มพื้นที่ภาคใต้และจังหวัดสมุทรสงคราม, สมุทรสาคร, ราชบุรีและสุพรรณบุรี (รวม 22 จังหวัด) ตามสัญญาเลขที่ สกอ.12/55
  • 30 สิงหาคม 2555 - ตาม TOR ข้อที่ 4. ขอบเขตการดำเนินงานของผู้รับการสนับสนุน (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) เป็นตัวแทน พพ. และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ พพ. ในการบริหารงานให้โรงงานควบคุมดำเนินงาน ตามกฎหมายได้อย่างครบถ้วน ถูกต้อง และต่อเนื่องรวมทั้งการดำเนินการให้โรงงานควบคุมกำหนดมาตรการอนุรักษ์พลังงานให้เกิดผลประหยัดหรือเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในโรงงานให้เป็นไปตามเป้าหมายของ รัฐบาลที่กำหนดให้ลดค่า EI ลงร้อยละ 25 ตามแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี โดยตรวจสอบกิจกรรมต่าง ๆ ของ โรงงานควบคุมที่ต้องส่งให้ พพ. ให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ สำหรับโรงงานควบคุมกลุ่มพื้นที่ภาคใต้และ จังหวัดสมุทรสงคราม, สมุทรสาคร, ราชบุรีและสุพรรณบุรี โดยมีขอบเขตการดำเนินงาน ดังนี้ 4.1 กิจกรรมสนับสนุนการปฏิบัติตามกฎหมาย  4.1.1 จัดตั้งเครือข่ายโรงงานควบคุม ที่ดำเนินการโดยผู้แทนของโรงงานควบคุมในรูปของ คณะกรรมการหรือคณะทำงาน ภายใต้การสนับสนุนในการให้คำปรึกษาและแนะนำโดย พพ. เพื่อเป็น ศูนย์กลางในการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานโดยผู้รับการสนับสนุนต้องช่วยผลักดันและเป็นผู้ประสานงานให้ โรงงานควบคุมเข้าร่วมเป็นสมาชิก เพื่อร่วมกิจกรรมต่างๆที่พพ. จัดขึ้น หรือที่ทางโรงงานควบคุมเสนอให้ พพ. จัดขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์กับส่วนรวม ในกรณีในช่วงเริ่มจัดตั้งศูนย์กลางเครือข่ายโรงงานควบคุม ผู้รับการ สนับสนุนจะต้องดำเนินการในฐานะประธานคณะกรรมการหรือคณะทำงาน จนกว่าจะมีผู้แทนของโรงงาน ควบคุมเป็นประธานคณะกรรมการหรือคณะทำงาน เป็นการถาวร
  • 26 มีนาคม 2556 - โรงงานในพื้นที่ภาคใต้และภาคกลางตอนล่างกว่า 100 แห่ง สนับสนุนการจัดตั้งสมาคมเครือข่ายโรงงานควบคุมด้านพลังงานฯ พร้อมร่วมในพิธีส่งมอบรายงานการจัดการพลังงาน ประจำปี 2555 และฟังบรรยายพิเศษ เรื่อง “การรับมือภาวะวิกฤตพลังงาน เมื่อพม่าหยุดจ่ายก๊าซให้ไทย” ในวันที่  26 มีนาคม 2556   ณ. ห้องประชุมสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์   
  • 1 พฤษภาคม 2556 - ม.อ. ร่วมแก้วิกฤตพลังงาน ตั้งสมาคมเครือข่ายโรงงานควบคุมภาคใต้-กลางตอนล่าง สถาบันวิจัยระบบพลังงาน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เดินหน้าจัดตั้งสมาคมเครือข่ายโรงงานควบคุมด้านพลังงานในพื้นที่ภาคใต้และภาคกลางตอนล่าง หลังได้รับมอบหมายจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน หวังเป็นกลไกผลักดันให้โรงงานควบคุมในพื้นที่ดังกล่าวกว่า 700 แห่ง ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พร้อมเป็นศูนย์กลางสนับสนุนการลดใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เตรียมจดทะเบียนจัดตั้งเดือนพฤษภาคมนี้
  • 1 กรกฏาคม 2556 - ผู้แทนของโรงงานควบคุม ประกอบด้วย โรงงานบริษัท ฉลองอุตสาหกรรมน้ำยางข้นจำกัด โรงงานบริษัท ห้องเย็นโชติวัฒน์หาดใหญ่ จำกัด (มหาชน) และโรงงานบริษัท พาเนล พลัส จำกัด ได้ดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมเครือข่ายโรงงานควบคุมด้านพลังงานในพื้นที่ภาคใต้และภาคกลางตอนล่าง แล้วเสร็จ โดยมีที่ทำการสมาคมตั้งอยู่ชั้น 5 อาคารสิรินธร (ด้านหลังคณะวิศวกรรมศาสตร์) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และอาคารศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • 26 สิงหาคม 2556 - ต้อนรับสมาคมเครือข่ายโรงงานควบคุมด้านพลังงาน นายอำนวย ทองสถิตย์ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ต้อนรับสมาคมเครือข่ายโรงงานควบคุมด้านพลังงาน ในพื้นที่ภาคใต้และภาคกลางตอนล่างด้วยความอบอุ่นพร้อม แนะแนวทางการดำเนินงานการสนับสนุนตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 ให้บรรลุผลสำเร็จ ณ ห้องประชุมบุญรอด-นิธิพัฒน์ (พพ.) เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2556 โดยมีสมาชิกเริ่มต้น สมาชิกสามัญ 3 แห่ง และสมาชิกวิสามัญ 746 แห่ง ซึ่งเป็นโรงงานในพื้นที่ภาคใต้และภาคกลางตอนล่าง
  • 23 มีนาคม 2559 - ประชุมใหญ่สามัญสมาชิกสมาคม เพื่อเลือกคณะกรรมการชุดปัจจุบัน ณ.ห้องประชุมคุณหญิงหลง อาคารศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

สรุปจำนวนโรงงานควบคุมในพื้นที่ภาคใต้และภาคกลางตอนล่าง แก้

จังหวัด จำนวนโรงงาน โรงงานขนาดเล็ก โรงงานขนาดใหญ่
กระบี่ 12 9 3
กาญจนบุรี 47 29 18
ชุมพร 11 7 4
ตรัง 28 23 5
นครปฐม 203 144 59
นครศรีธรรมราช 30 22 8
นราธิวาส 7 6 1
ประจวบคีรีขันธ์ 26 19 7
ปัตตานี 16 12 4
พังงา 4 4 0
พัทลุง 2 2 0
เพชรบุรี 44 28 16
ภูเก็ต 8 5 3
ยะลา 7 6 1
ระนอง 12 10 2
ราชบุรี 80 45 35
สงขลา 116 81 35
สตูล 8 7 1
สมุทรสงคราม 17 14 3
สมุทรสาคร 460 307 153
สุพรรณบุรี 32 21 11
สุราษฎร์ธานี 50 35 15

สรุปจำนวนโรงงานซึ่งส่งรายงานการจัดการพลังงานประจำปี 2558 แก้

จังหวัด จำนวนโรงงาน จำนวนโรงงานที่ส่งรายงานฯ % โรงงานขนาดเล็ก โรงงานขนาดใหญ่
กระบี่ 12 8 67% 5 3
กาญจนบุรี 47 35 74% 22 13
ชุมพร 11 5 45% 2 3
ตรัง 28 17 61% 12 5
นครปฐม 203 144 71% 91 53
นครศรีธรรมราช 30 20 67% 14 6
นราธิวาส 7 1 14% 1 0
ประจวบคีรีขันธ์ 26 14 54% 5 9
ปัตตานี 16 10 63% 6 4
พังงา 4 2 50% 2 0
พัทลุง 2 2 100% 2 0
เพชรบุรี 44 27 61% 14 13
ภูเก็ต 8 6 75% 4 2
ยะลา 7 1 14% 0 1
ระนอง 12 10 83% 9 1
ราชบุรี 80 55 69% 28 27
สงขลา 116 84 72% 55 29
สตูล 8 6 75% 5 1
สมุทรสงคราม 17 6 35% 3 3
สมุทรสาคร 460 277 60% 172 105
สุพรรณบุรี 32 21 66% 12 9
สุราษฎร์ธานี 50 29 58% 20 9