ผู้ใช้:Paweena is/กระบะทราย

ประวัติส่วนตัว

แก้



 
paweena



ชื่อ นางสาวปวีณา เอี่ยมขุนทด ชื่อเล่น จุ๋ม
วันเกิด 9 มีนาคม 2536 อายุ 22 ปี
ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ 67 หมู่ 8 ตำบลหินดาด อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา 30240

ประวัติการศึกษา

แก้
ระดับชั้น สถานศึกษาศึกษา
มัธยมตอนต้น โรงเรียนบ้านหินดาด
มัธยมตอนปลาย โรงเรียนหินดาดวิทยา
ปวส. วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา
ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน


ตำแหน่งด้านไอที

แก้
นักวิเคราะห์ระบบ
แก้

เหตุผลที่ชอบ คือชอบงานในด้านนี้

บทความด้านไอที

แก้

การเพิ่มประสิทธิภาพคอมพิวเตอร์

แก้
  1. 1 : ทำความสะอาด Registry ของคุณ

ข้อผิดพลาดและปัญหาภายในของรีจิสทรี เป็นส่วนสำคัญอย่างมากที่ทำให้เครื่องช้าสุด ๆ เดาได้เลยว่าพวกโปรแกรมสปายแวร์แอดแวร์และภัยคุกคามอื่น ๆ มักจะกำหนดเป้าหมายที่รีจิสทรี ควรทำความสะอาดรีจิสทรีบ่อย ๆ แต่ไม่ควรที่จะทำได้ด้วยตนเอง เพราะมีโอกาสสูงที่จะทกให้สร้างความเสียหายต่อระบบปฏิบัติการของเครื่องพีซี สิ่งที่แนะนำคือหาพวกโปรแกรม Windows registry cleanup ให้มันจัดการทำความสะอาดให้เราโปรแกรมแนวนี้ก็มีเยอะมาก และก็ทำงานแบบเดียวกัน ถ้ายังไงบทความต่อ ๆ ไปจะหามาฝากกัน หรือใครที่ลงโปรแกรม USB Security Disk มันจะมีออฟชั่้นนี้อยู๋แล้ว

  1. 2 : เอาโปรแกรมที่ไม่จำเป็น

คุณอาจจะดาวน์โหลดและลองใช้โปรแกรมที่แตกต่างกันในแต่ละเดือน แต่จริง ๆ แล้วได้ใช้เป็นประจำหรือไม่ การถอนการติดตั้งโปรแกรมที่ไม่ได้ใช้และไม่จำเป็นออก จะทำให้จัดการระบบแฟ้มของคอมพิวเตอร์ ให้ดีขึ้นไม่กระจัดกระจาย ทำให้ลดเวลาในการหาข้อมูล เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งจะดีขึ้นอย่างมาก มันทำได้ง่ายด้วย โดยใช้ Add / Remove Programs ของ Control Panel การทำก็หาในเว็บได้เลยครับ

  1. 3 : ดำเนินการจัดระเบียบดิสก์

Windows ไม่ได้ฉลาดมากนักในการจัดเก็บไฟล์ มันจะจัดเก็บไฟล์ลงบนช่องว่างที่มีอยู่ โดยอาจเว้นระยะห่างกันมากในแต่ละชิ้นส่วนของไฟล์ เมื่อเรียกไฟล์มาทำงาน ถ้าเป็นไฟล์ขนาดใหญ่คงใช้เวลานาน หน่อย กว่ามันจะเรียกมาได้ การทำ Disk Defragmentation เป็นทางออกเพื่อจัดเรียงไฟล์ให้เรียบร้อย ทำสัก สี่เดือนครั้ง ก็จะเห็นความแต่งต่าง ได้ชัดเจนมาก การบำรุงรักษาเล็ก ๆ แต่มันเป็นวิธีที่ดีที่สุด ในการป้องกันเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ ซึ่งผมเองก็ทำอยู่ บางครั้ง บางคนถามว่าจะทำไปทำไม ไม่เห็นมีข้อแตกต่างอะไรเลย แต่คำตอบรออยู่อีก ห้าเดือนข้างหน้าตอนที่คนถามลงวินโดวส์ใหม่ แต่ของเรายังไวเท่าเดิม ลองไปศึกษาทำดูครับ


ที่มาของ @ ก่อนที่จะกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของอีเมล

แก้

เรย์ ทอมลินสัน วิศวกรคอมพิวเตอร์ ได้รับการบันทึกว่า เป็นบุคคลแรกที่นำ @ มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของชื่ออีเมล์ ในปี 1971 เพียงเพราะเขาต้องการหาสัญลักษณ์บางอย่างบนแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ ซึ่งแน่ใจว่าจะไม่มีปรากฏในชื่อของใครคนใดคนหนึ่ง โดยหลังจากนั้นมา การใช้ @ (arroba) ในชื่ออีเมล์เพื่อบอกสังกัดอีเมล์ของผู้ใช้ก็กลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้ หากจะถามถึงที่มาของ @ ก่อนที่จะกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของอีเมล์นั้น ไม่ปรากฏเป็นที่แน่ชัดว่า ใครเป็นคนแรกที่นำมาใช้ เนื่องจากมีหลากหลายทฤษฎีอธิบายเอาไว้แตกต่างกันออกไป ทฤษฎีแรกนั้นสันนิษฐานว่า @ ปรากฏให้เห็นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในยุคกลางของยุโรป ซึ่งในสมัยนั้นคนยุโรปจะชอบเขียนตัวหนังสือแบบลากหางของตัวอักษรขึ้นหรือลงยาวๆ ซึ่งตัว @ มาจาก นั่นเอง
ขณะที่อีกทฤษฎีหนึ่ง ซึ่งค่อนข้างเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไประบุว่า @ มาจากคำว่า 'ad' ซึ่งเป็นคำบุพบทในภาษาลาติน หมายถึง "ที่" ในทำนองเดียวกัน ก็มีอีกแนวคิดที่คล้ายๆ กันอธิบายว่า @ เป็นตัวย่อของ 'ana' (ava) คำบุพบทในภาษากรีก ซึ่งมีหมายความว่า ในอัตรา (ตามด้วยคำบอกจำนวน) โดยมีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในเชิงการพาณิชย์ จากการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ของ จิออร์จิโอ สตาบิล ศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์จากโรม มีการเสนอแนวคิดใหม่เกี่ยวกับที่มาของ @ โดยเขาอ้างว่า สัญลักษณ์ดังกล่าว เคยมีร่องรอยปรากฏให้เห็นตั้งแต่สมัยเรอเนสซองซ์ของอิตาลี ในเอกสารการค้าแห่งเวนิส ซึ่งลงนามโดย ฟรานเซสโก ลาปี เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 1536 เนื้อหาในเอกสารดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับสัญญาการซื้อขายไวน์ โดย @ ที่ปรากฏในเอกสารนี้มีความหมายว่า โถ หรือ เหยือก ซึ่งใช้เป็นภาชนะบรรจุไวน์ในสมัยนั้น อาทิเช่น @ of wine หมายถึง ไวน์ 1 เหยือก เป็นต้น สัญลักษณ์ @ ที่พบว่ามีการใช้อย่างแพร่หลายในตะวันตก มีที่มาจาก à ซึ่งเป็นบุพบทในภาษาฝรั่งเศส หมายถึง "ที่" ทว่าเมื่อนำมาใช้ในเชิงการค้าจะหมายถึง "ราคาชิ้นละ" ตัวอย่างเช่น 2 books@ 10 F. หมายถึง หนังสือ 2 เล่ม ราคาเล่มละ 10 บาท เป็นต้น ทั้งนี้ ถึงแม้จะมีหลากหลายทฤษฎีที่อธิบายที่มาที่ไปของการใช้ @ มาตั้งแต่อดีตแล้ว แต่การใช้สัญลักษณ์ดังกล่าวเพิ่งจะได้รับความนิยมสุดๆ ในแวดวงคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบันนี้

==== รักษาความปลอดภัยเครือข่ายไร้สาย ====
ความปลอดภัยเครือข่ายไร้สายคือการหยุดคนจากการใช้บริการของเครือข่ายของเราที่ไม่ได้รับอนุญาต เป็นงานหนักเพื่อรักษาความปลอดภัยเครือข่ายไร้สายจากแฮกเกอร์เมื่อเทียบกับเครือข่ายแบบใช้สาย เกิดจากข้อเท็จจริงที่ว่าเครือข่ายไร้สายสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ผ่าน การกระจายสัญญาณในอากาศ เพื่อที่จะรักษาความปลอดภัยเครือข่ายไร้สายจากแฮกเกอร์เราควรทำตามขั้นตอนที่เหมาะสม เพื่อจัดการกับปัญหาด้านความปลอดภัย ถ้าคุณไม่รักษาความปลอดภัยเครือข่ายไร้สายจากแฮกเกอร์ ผลนี้ยังอาจรวมถึงการใช้เครือข่ายของเราในการโจมตีเครือข่ายอื่น ๆ ด้วย เพื่อความปลอดภัย ควรปฏิบัติตามเคล็ดลับง่าย ๆ เหล่านี้

  1. 1 : การกำหนดตำแหน่งเสาอากาศ สิ่งแรกที่คุณต้องทำคือการ กำหนดตำแหน่งของจุดเชื่อมต่อสัญญาณเสาอากาศในสถานที่ที่ จำกัด ในช่วงที่ส่งสัญญาณที่จำเป็น. คุณไม่ติดตั้งเสาอากาศใกล้กับหน้าต่างกระจกเพราะไม่สามารถบังสัญญาณออกจากอาคารของเราได้ . แนะนำให้วางไว้ในตำแหน่งกลางของอาคาร
  2. 2 : ใช้การเข้ารหัสรหัสผ่านแบบ WEP , WPA , WPA2:

เป็นโปรโตคอลการเข้ารหัสแบบไร้สาย มันเป็นเทคนิคสำหรับการเข้ารหัสการจราจรบนเครือข่ายไร้สาย คุณไม่ควรข้ามไปเพราะจะช่วยให้แฮกเกอร์สามารถเข้าใช้งานเครื่อข่ายของเราได้ทันที

  1. 3 : เปลี่ยน ปิดการใช้งานกระจาย SSID, SSIDSSID เป็นชื่ออุปกรณ์ไร้สายที่ปล่อยกระจายให้เชื่อต่อ โดยเป็นจุดการเข้าถึงเครือข่ายแบบไร้สายจากการที่ลูกค้า สำหรับการเข้าถึงแบบไร้สายทุกจุดควรกำหนดชื่อที่ไม่ซ้ำกันรวมทั้ง และควรซ่อนการออกอากาศ SSID ซึ่งมันจะไม่ปรากฏปรากฏในในรายการเครือข่ายที่ผู้ใช้ค้นหา
  2. 4 : ปิดบริการแบบ DHCP หากเรามีการแจก ip อัตโนมัติ แฮกเกอร์จะใช้การถอดรหัส TCP/IP , subnet mask เช่นเดียวกับ IP address เพื่อตัดเครือข่ายไร้สายของคุณ ไม่ให้สามารถใช้งานได้ ซึ่งมันแย่ มาก ๆ
  3. 5 : ปิดการใช้งานหรือแก้ไขการตั้งค่า SNMPปิดการใช้งาน มิฉะนั้นแฮ็กเกอร์จะสามารถใช้ประโยชน์จาก SNMP เพื่อรับข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับเครือข่ายไร้สายของคุณ
  4. 6 : ใช้ประโยชน์จากรายการ ผู้ใช้ที่เข้าถึงได้

สำหรับการรักษาความปลอดภัยเพิ่มเติมของเครือข่ายไร้สายของคุณ หากว่าอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ หรือโปรแกรมเสริม มีบริการที่ช่วยให้เราทราบเกี่ยวกับผู้ที่ได้รับอนุญาต จัดการผู้ใช้งานได้ เช่นการทำ Authentication ก็จะเป็นการรักษาความปลอดภัยที่ดีมากๆ

LAN Technology

แก้

โครงสร้างของเครือข่ายหรือภาษาทางเทคนิคเรียกว่า “Topology” คือลักษณะการเชื่อต่อทางกายภาพระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ในระบบเครือข่าย ซึ่งหากจะแบ่งประเภทของโครงสร้างเครือข่ายกันจริง ๆ ตามหลักวิชาการที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยก่อน ๆ นั้น ก็สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 แบบคือ

เครือข่ายคอมแบบดาว(Star Network)

แก้





ลักษณะการเชื่อมต่อของโครงสร้างแบบสตาร์จะคล้าย ๆ กับดาวกระจาย ดังรูปที่ได้แสดงไว้ คือมีอุปกรณ์ประเภท Hub หรือ Switch เป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อแบบนี้มีประโยชน์คือ เวลาที่มีสายเส้นใดเส้นหนึ่งหลุดหรือเสียก็จะไม่มีผลต่อการทำงานของระบบโดยรวมแต่อย่างใด นอกจากนี้หากต้องการเพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าไปในเครือข่ายก็สามารถทำได้ทันทีโดยไม่ต้องหยุดการทำงานของเครือข่ายก่อน การต่อแบบสตาร์นี้เป็นแบบที่นิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากราคาอุปกรณ์ที่มาใช้เป็นศูนย์กลางอย่าง Hub หรือ Switch ลดลงมากในขณะที่ประสิทธิภาพหรือความเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนปัจจุบันได้ความเร็วถึงระดับของกิกาบิต ( 1,000 Mbps) แล้ว ข้อดี ติดตั้งและดูแลง่าย แม้ว่าสายที่เชื่อมต่อไปยังบางโหลดจะขาด โหลดที่เหลืออยู่ก็ยังจะสามารถทำงานได้ ทำให้ระบบเน็ตเวิร์กยังคงสามารถทำงานได้เป็นปกติ การมี Central node อยู่ตรงกลางเป็นตัวเชื่อมระบบ ถ้าระบบเกิดทำงานบกพร่องเสียหาย ทำให้เรารู้ได้ทันทีว่าจะไปแก้ปัญหาที่ใด

ข้อเสีย เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น central node และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในสถานีงาน การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้งจะต้องเกี่ยวเนื่องกับโหลดอื่นๆ ทั้งระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางมีราคาแพง แบบวงแหวน (Ring Network)

เครือข่ายแบบบัส (bus topology)

แก้





เครือข่ายแบบบัส (bus topology) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยสายเคเบิ้ลยาว ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยจะมีคอนเน็กเตอร์เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เข้ากับสายเคเบิ้ล ในการส่งข้อมูล จะมีคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ในช่วงเวลาหนึ่งๆ การจัดส่งข้อมูลวิธีนี้จะต้องกำหนดวิธีการ ที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกัน เพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน วิธีการที่ใช้อาจแบ่งเวลาหรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่ สัญญาณที่แตกต่างกัน การเซตอัปเครื่องเครือข่ายแบบบัสนี้ทำได้ไม่ยากเพราะคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์แต่ละชนิด ถูกเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิ้ลเพียงเส้นเดียวโดยส่วนใหญ่เครือข่ายแบบบัส มักจะใช้ในเครือข่ายขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ในองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์ใช้ไม่มากนัก ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบบัส คือ ใช้สื่อนำข้อมูลน้อย ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบโดยรวม แต่มี ข้อเสียคือ การตรวจจุดที่มีปัญหา กระทำได้ค่อนข้างยาก และถ้ามีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากเกินไป จะมีการส่งข้อมูลชนกันมากจนเป็นปัญหา ข้อจำกัด คือ จำเป็นต้องใช้วงจรสื่อสารและซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยเพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันของสัญญาณข้อมูล และถ้ามีอุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งเสียหาย อาจส่งผลให้ทั้งระบบหยุดทำงานได้

เครือข่ายแบบวงแหวน (ring topology)

แก้





โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว(Star Network) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เข้ากับอุปกรณ์ที่เป็น จุดศูนย์กลาง ของเครือข่าย โดยการนำสถานีต่าง ๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลางการติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ ด้วยการ ติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วนสลับสายกลางการทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงเป็นศูนย์กลางของการติดต่อ วงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อกัน ข้อดี คือ ถ้าต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบ ส่วนข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลจะค่อนข้างสูง และเมื่อฮับไม่ทำงาน การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย ข้อจำกัด ถ้าฮับเสียหายจะทำให้ทั้งระบบต้องหยุดซะงัก และมีความสิ้นเปลืองสายสัญญาณมากกว่าแบบอื่นๆ ข้อดี ใช้เคเบิลและเนื้อที่ในการติดตั้งน้อย คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน ข้อเสีย หากโหลดใดโหลดหนึ่งเกิดปัญหาขึ้นจะค้นหาได้ยากว่าต้นเหตุอยู่ที่ไหน และวงแหวนจะขาดออก

เครือข่ายแบบเมซ (Mesh Topology)

แก้





MESH เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก ข้อดี อัตราความเร็วในการส่งข้อมูล ความเชื่อถือได้ของระบบ ง่ายต่อการตรวจสอบความผิดพลาด ข้อมูลมีความปลอดภัยและมีความเป็นส่วนตัว

ข้อเสีย จำนวนจุดที่ต้องใช้ในการเชื่อมต่อ และจำนวน Port I/O ของแต่ละโหนดมีจำนวนมาก (ตามสูตรข้างต้น) ถ้าในกรณีที่จำนวนโหนดมาก เช่นถ้าจำนวนโหนดทั้งหมดในเครือข่ายมีอยู่ 100 โหนด จะต้องมีจำนวนจุดเชื่อมต่อถึง 4,950 เส้น เป็นต้น3

WAN Technology

แก้

Circuit switching เทคนิคในการสื่อสารข้อมูลจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง เมื่อมีการเชื่อมต่อกันแล้วจะติดต่อกันได้ตลอดเวลา ผู้อื่นจะแทรกเข้ามาไม่ได้เลย จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะปลดวงจรออก ตัวอย่างง่าย ๆ เช่นการติดต่อทางสายโทรศัพท์ เมื่อเริ่มพูดกันได้แล้ว คนอื่นจะต่อสายแทรกเข้ามาไม่ได้ จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะวางหูลง (ปลดวงจร)

Packet switching เทคนิคในการแบ่งข้อมูลออกเป็นกลุ่ม (Packet) แต่ละกลุ่มจะมีความยาวเท่ากัน (ปกติ 100บิต)ข้อมูลจะหาทิศทางเดินไปได้เอง โดยที่สายหนึ่ง ๆ จะสามารถใช้กันได้หลายคน เมื่อถึงที่ปลายทางข้อมูลก็จะกลับ ไปรวมกันเอง

หลักการทำงาน

Circuit switching


1) เมื่อสถานีA ต้องการส่งข้อมูลให้กับ สถานีB จะต้องมีการสร้างเส้นทางเสียก่อน

   โดยที่ฝั่งที่รับข้อมูลจะต้องตอบว่าพร้อมรับข่าวสาร (Establishment/ Connection)     

2) เมื่อสร้างเส้นทางการส่งข้อมูลเรียบร้อย ตลอดเวลาของการสื่อสารจะใช้เส้นทางเดิมตลอด

    และไม่มีบุคคลอื่นมาใช้เส้นทาง  

3) มีอัตราความเร็วในการส่งเท่ากันทั้งด้านรับและด้านส่ง 4) มีการทำ Error Control และ Flow Control ทุกๆ ชุมสาย 5) ในขณะทำการส่งข้อมูล ข้อมูลจะถูกส่งด้วยความเร็วคงที่ และไม่มีการหน่วงเวลา(Delay) 6) เมื่อส่งข้อมูลเสร็จจะยกเลิกเส้นทางที่ได้เชื่อมต่อขึ้นมาเพื่อให้เครื่องอื่นได้ใช้เส้นทางได้

Packet switching


1) เมื่อ สถานี A ต้องการส่งข้อมูลให้กับสถานีB จะมีการแบ่งข้อมูลออกเป็น Packet ย่อยก่อนจะถูก ส่งออกไป 2) ส่งข้อมูลโดยใช้ชุมสาย PSE (Packet switching exchange) ควบคุมการรับส่ง 3) ทำ Error control หรือ Flow Control ที่ PSE 4) ด้านรับและด้านส่งมีอัตราความเร็วที่ไม่เท่ากันได้ 5) ใช้เทคนิค Store - and - Forward ในการส่งข้อมูล ผ่าน PSE

    ลักษณะการเชื่อมต่อ 

Circuit switching เชื่อมต่อทางกายภาพของวงจรระหว่างจุดต่อจุด (point-to-point) Packet switching ส่งแต่ละแพกเกตด้วยเส้นทางต่างๆที่เชื่อมโยงกันเป็นตาข่าย และทำการรวมแต่ละแพคเกตกลับคืนเมื่อถึงจุดหมายแล้ว

OSI model + TCP/IP model

แก้
TCP/IP Model OSI Model
Application Application (FTP,SMTP,HTTP,etc.)
Presentation Application (FTP,SMTP,HTTP,etc.)
Session Application (FTP,SMTP,HTTP,etc.)
Transport TCP (host-to-host)
Network IP
Data Link Network acess (usually Ethernet)
Physical Network acess (usually Ethernet)

OSI Model

แก้
คือ องค์ประกอบ ที่สามารถพัฒนาขึ้นมาเพียงชั้นเดียวจากจำนวน 7 ชั้นแล้วนำไปใช้งานร่วมกับชั้นอื่นที่มีการพัฒนาไว้แล้วโดยหลักการแต่ละชั้นจะติดต่อกับชั้น
ในระดับเดียวกันที่อยู่บนเครื่องอีกเครื่องหนึ่ง

Open Systems Interconnection (OSI)
จัดตั้งและกำหนดโดย องค์การกำหนดมาตรฐานสากล หรือ ISO ( International Standards Organization ) เริ่มนำมาใช้งานราว ๆ กลางปี ค.ศ. 1970 และใช้อ้างอิงมาจนถึงปัจจุบัน จุดมุ่งหมาย
เพื่อเปิดช่องทางให้ข้อมูลที่เก็บอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์หนึ่ง ๆ รับส่งไปยังคอมพิวเตอร์ที่เป็นระบบเดียวกันหรือต่างระบบได้โดยอิสระ ไม่ขึ้นกับผู้ผลิตสร้างการทำงานที่เป็นระบบเปิด (Open System)

แนวคิดของการกำหนดมาตรฐานเป็นแบบชั้นสื่อสาร (layers) คือ
1.ชั้นสื่อสารแต่ละชั้นถูกกำหนดขึ้นมาตามบทบาที่แตกต่างกัน
2.แต่ละชั้นสื่อสารจะต้องทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายอย่างดียิ่ง
3.แต่ละฟังก์ชั่นในชั้นสื่อสารใดๆจะต้องกำหนดขึ้นมาโดยใช้แนวความคิดใน ระดับสากลเป็นวัตถุประสงค์หลัก
TCP/IP Model มีแนวคิดพื้นฐานแตกต่างจาก OSI Model คือไม่ได้มีพื้นฐานของการสื่อสารแบบการสนทนา TCP/IP Model เป็นภาพแสดงถึงโลกของระบบเครื่อข่ายสากล (Internetworking)
จะพบว่ามีบางเลเยอร์ที่มีการกำหนดคุณสมบัติที่เทียบได้ไกล้เคียงกัน แต่บางเลเยอร์ก็ไม่สามารถเทียบหาความสัมพันธ์กัน

1. Process Layer จะเป็น Application Protocal ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับผู้ใช้และให้บริการต่าง ๆ
2. Host – to – Host Layer จะเป็น TCP ที่ทำหน้าที่คล้ายกับชั้นที่ 4 ของ OSI Model คือควบคุมการรับส่งข้อมูลจากปลายด้านส่งถึงปลายทางด้านรับข้อมูล
3. Internetwork Layer ได้แก่ส่วนของโปรโตคอล IP ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับชั้นที่ 3 ของ OSI Model คือเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่ายที่อยู่ชั้นล่างลงไป
4. Network Interface เป็นส่วนที่ควบคุมฮาร์ดแวร์การรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย เปรียบได้กับชั้นที่ 1 และ2 ของ OSI Model