ผู้ใช้:Minkeyblue080219/ทดลองเขียน

ประวัติความเป็นมาโดยละเอียดของวัดเขาน้อย เดิมเป็นป่าค่อนข้างสมบรูณ์ มีสิงห์สาราสัตว์ชุกชุม ชาวบ้านมักขึ้นเขาเพื่อล่าสัตว์เป็นประจำโดยเฉพาะหมูป่าและช้าง ชาวบ้านส่วนมากมีอาชีพทำไร่ โดยเฉพาะไร่อ้อยจะเยอะมากโดยจะมีการบางเจ้าทำไร่มันสำปะหลัง บวกกับการทำนาบ้างในบางส่วนที่เป็นที่ลุ่ม มีน้ำขังแต่ไม่มาก การทำมาหากินก็หาปลาเก็บผักกิน เพราะบ้านคนไม่หนาแน่นตลาดก็อยู่ห่างไกลถึง ๗-๘ กิโลเมตร การคมนาคมส่วนมากก็เป็นทางเกวียน ไม่มีรถยนต์อาศัยการเดินเป็นหลัก ในสมัยนั้น (พ.ศ. ๒๕๒๐) จะมีวัดใกล้สุดอยู่แค่ ๓ วัด คือ วัดเฉลิมลาภ อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี ห่างจากวัดเขาน้อย ๘ กิโลเมตร วัดไพรสณฑ์ที่อยู่ในอำเภอ ก็ห่างถึง ๙ กิโลเมตร และวัดจอมพลเจ้าพระยา ก็ห่างจากวัดเขาน้อย ๘ กิโลเมตร เวลาชาวบ้านจะทำบุญก็เป็นการลำบาก เมื่อถึงวันพระจะทำบุญก็ต้องออกกันแต่เช้ามืดกว่าจะกลับถึงบ้านก็บ่ายคล้อยเป็นอย่างนี้ตลอดมา บางครั้งเมื่อมีคนตายจะนิมนต์ไปรับพระมาสวดอภิธรรมก็ยิ่งลำบาก ถ้านอกพรรษาก็นิมนต์พระมาค้างคืนที่บ้านเลยก็มี ดังนั้นชาวบ้านที่อายุมากๆจึงปรึกษากันว่าควรจะสร้างวัดในที่ใกล้บ้านเราสักวัดหนึ่งจะได้สะดวกในการทำบุญ ในที่ประชุมมีความเห็นตรงกันว่าจะสร้างวัดในหมู่บ้านแห่งนี้ จึงตกลงหาที่เพื่อจะสร้างเสนาสนะไว้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ แต่ก็หาที่ที่เหมาะสมในการก่อสร้างยากมาก เพราะที่เป็นที่เขาสลับกับที่หนองน้ำไม่เสมอก็คงมีแต่ที่ของนายสมใจ รสหอมเท่านั้นที่เป็นเนินสูงมีเขาลูกเล็กๆลูกหนึ่งอยู่ แต่ก็มีต้นไม้มาก เมื่อโค่นต้นไม้บนเขาแล้วยังสามารถนำไม้มาสร้างเสนาสนะได้อีก ชาวบ้านจึงได้ช่วยกันปราบหญ้า ถางป่า และเลื่อยไม้ เพื่อสร้างวัดตามความต้องการ โดยในแต่ละวันจะมีพวกผู้หญิงมาคอยทำอาหารเลี้ยง และพวกผู้ช่วยก็ช่วยกันสร้างเนาสนะจนมีศาลาการเปรียญ เป็นศาลาไม้มุงสังกะสี ๑ หลังกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๐ เมตร สร้างกุฏิ ๒ หลัง รวม ๔ห้อง สำหรับเป็นที่อยู่อาศัยจำพรรษาของพระสงฆ์ และได้ตั้งชื่อว่าที่พักสงฆ์เขาน้อย (จึงเป็นที่มาของคำว่าเขาน้อย) โดยตั้งตามลักษณะที่ตั้งวัด และในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ ก็ได้ทำเรื่องขอตั้งวัดโดยการเดินเรื่องของนายเพ็ง ยุทธการ นายหัน มั่นเพชร และนายสมใจ รสหอม และได้รับการอนุญาตให้สร้างเป็นวัดเมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ จากกระทรวงศึกษาธิการ มีพลเอกเทียนชัยสิริพันธ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้น และก็ได้มีการเสนาสนะมาตามลำดับจนกระทั่งทุกวันนี้

วัดเขาน้อย ชื่อเดิมที่ชาวบ้านเรียกคือ วัดเขาน้อยปลวกแดง-ตาสิทธิ์ สังกัดมหานิกาย อยู่ในเขตปกครองคณะสงฆ์ ตำบลปลวกแดง-ตาสิทธิ์ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ภาค ๑๓ เลขรหัสวัด ๐๒๒๑๐๖๐๒๐๐๓

ตำแหน่งที่ตั้งวัด หมู่บ้านเขาน้อย เลขที่ ๔๔๔ หมู่ ๒ ถนนปลวกแดง-หนองใหญ่ ตำบลตาสิทธ์ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง รหัสไปรษณีย์ ๒๑๑๔๐

ประเภทวัด วัดราษฎร์ ชนิด วิสุงคามสีมา หลักฐานในการตั้งวัด เอกสารกระทรวงศึกษาธิการประกาศตั้งเป็นวัด วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ เอกสารพระราชทานวิสุงคามสีมา วันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๖

ที่วัดและที่ธรณีสงฆ์

ที่ดินที่ตั้งวัด มีเนื้อที่ จำนวน ๑๕ ไร่ ประเภทเอกสารสิทธิ์ หนังสือกรรมสิทธิ์ที่ได้รับอนุญาตจาก กรมป่าไม้ ที่ กษ 0705(3)/13626 ในการให้ใช้พื้นที่สร้างวัด โดยอาณาเขตติดต่อดังนี้ ทิศเหนือ ยาว ๑๘๐ วา จรดที่ทำกินของชาวบ้าน ทิศใต้ ยาว ๓๐๐ วา จรดที่ทำกินของชาวบ้าน ทิศตะวันออก ยาว ๑๐๐ วา จรดทางหลวงคือถนนปลวกแดง-หนองใหญ่ ทิศตะวันตก ยาว ๑๐๐ วา จรดทางสาธารณะ

ที่ธรณีสงฆ์

จำนวน ๑ แปลง จำนวน ๒๕ ไร่

ประเภทเอกสารสิทธิ์

หนังสือกรรมสิทธิ์ที่ได้รับอนุญาตจาก กรมป่าไม้ ที่ กษ 0705(3)/13626 มีเนื้อที่จำนวน ๒๕ ไร่คือของเดิมที่ก่อสร้างวัด ๑๕ ไร่ และถวายที่เพิ่มในส่วนที่เป็นตีนเขาเพิ่มภายหลังเป็นที่ธรณีสงฆ์อีก ๒๕ ไร่ รวมเป็น ๔๐ ไร่ โดยที่ดินทั้งหมด ๒ แปลงมีเนื้อที่ติดต่อกัน

ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปของบริเวณวัด

ที่ตั้งวัดเป็นที่ราบสูง เชิงเขาเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู เพราะเขายื่นยางออกที่ตัดใหญ่โดยส่วนที่เป็นภูเขาถูกถนนตัดผ่านในลักษณะเฉียงๆ เดิมที่เป็นสี่เหลี่ยมพื้นผ้า ตั้งอยู่ศูนย์กลางของหมู่บ้านพอดีมีบ้านผู้คนอาศัยอยู่จำนวนกว่า ๑๐๐ หลังคาเรือน ในปัจจุบันกว่า ๑๐๐๐ เรือน เนื่องจากในยุคปัจจุบันความเจริญเริ่มเข้ามาพ้อมกับโครงการอุตสาหกรรมต่างๆที่เข้ามาตั้งในเขตอำเภอปลวกแดงจึงทำให้ชาวบ้านเข้ามาอยู่หนาแน่นขึ้น

เสนาะสนะของวัดเขาน้อยในปัจจุบัน

๑ อุโบสถ ลักษณะคอนกรีตเสรมเหล็กทรงไทยประยุกต์ กว้าง ๘ เมตร ยาว ๒๓ เมตร ๒ ศาลาการเปรียญหลังใหม่ ลักษณะทรงไทยประยุกต์ ก่ออิฐถือปูน ๒ ชั้นมีลวดลายปูนปั้น กว้าง ๒๕ เมตร ยาว ๔๑ เมตร ๓โรงครัว ลักษณะทรงไทยประยุกต์คู่ศาลาการเปรียญ ก่ออิฐถือปูน ๒ชั้น กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๕ เมตร ๔ กุฏิเจ้าอาวาส ลักษณะทรงไทยประยุกต์ ก่ออิฐถือปูน ๒ ชั้น มีลวดลายปูนปั้น กว้าง ๑๔.๕๐ เมตร ยาว ๒๑.๕๐ เมตร ๕ กุฏิสงฆ์ ก่ออิฐถือเป็นปูนเป็นลักษณะทรงไทยประยุกต์จำนวน ๖ หลังด้วยกัน โดยทั้ง ๖ หลัง มีขนาดเท่ากันหมดคือ กว้าง ๕ เมตร ยาว ๑๐ เมตร ๖ ลานพระพุธรูป ปางประทานพรกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๐ เมตร องค์พระสูง ๕ เมตร ๗ หอระฆัง ลักษณะทรงไทยประยุกต์ ก่ออิฐถือปูน ๒ ชั้น มีลวดลายปูนปั้น กว้าง ๒.๕๐ เมตร ยาว ๒.๕๐ เมตร ๘ ศาลาปนสถาน ลักษะทรงไทยประยุกต์ ก่ออิฐถือปูน กว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๒๕ เมตร ๙ เมรุเผาศพ ลักษณะทรงไทยประยุกต์ ก่ออิฐถือปูน กว้าง ๖ เมตร ยาว ๙ เมตร ๑๐ ห้องน้ำ-สุขา คู่ศาลาฌาปนสถาน ก่ออิฐถือปูน กว้าง ๑.๕ เมตร ยาว ๓๐ เมตร ๑๕ ห้อง ๑๑ ห้องน้ำ-สุขา ก่ออิฐถือปูน กว้าง ๕ เมตร ยาว ๔๐ เมตร ๒๐ ห้อง ๑๒ แท้งน้ำพร้อมบ่อและปั้ม กว้าง ๓ เมตร ยาว ๓ เมตรบ่อน้ำลึก ๒๔ เมตร ๑๓.ห้องเก็บพัสดุ ๑ หลัง กว้าง ๙ เมตร ยาว ๑๗ เมตร อาคารก่ออิฐถือปูน ชั้นเดียว ๑๔. เรือนรับรอง ๑ หลัง กว้าง ๙ เมตร ยาว ๑๒ เมตร อาคารก่ออิฐถือปูนทรงไทยประยุกต์

ปูชนียวัตถุ-โบราณวัตถุ

พระประธานในอุโบสถ ปางมารวิชัย สร้างเมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ขนาดหน้าตัก ๕๙ นิ้ว สูง ๓ เมตร พระประธานในศาลาการเปรียญ ปางมารวิชัย สร้างเมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๙ ขนาดหน้าตัก ๖๙ นิ้ว สูง ๓.๕๐ เมตร พระพุทธรูปเก่าแก่ของวัด ซึ่งได้มาจากวัดทางปราจีนบุรี เป็นที่นับถือเคารพสักการะของคนทั่วไป สร้างด้วยโลหะทองเหลือง ปางเชียงแสน ขาวบ้านจึงร่วมใจกันตั้งชื่อว่า หลวงพ่อเชียงแสนมีสุข หน้าตักกว้าง ๑.๕๙เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๓ พระพุทธรูปปางประทานพร หน้าตักกว้าง ๑.๙ นิ้ว และพระพุทธรูปบางสมาธิ หน้าตักกว้าง ๘๐ เซนติเมตร สร้างด้วยโลหะทองเหลือง เมื่อปี ๒๕๑๓ ปูชนียวัตถุที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ยังอยู่คู่กับวัดเขาน้อยในสภาพเรียบร้อยทุกอย่าง

การบริหารการปกครอง

ปัจจุบันเจ้าอาวาส ชื่อ พระครูสิริคีรีวัฒน์ ป.ธ.๕, นธ.เอก, พธ.ม. อายุ ๔๙ ปี พรรษา ๒๗

ลำดับเจ้าอาวาสวัดเขาน้อย

๑. หลวงปู่ทิม อินฺทโชโต พ.ศ.๒๖๒๒-๒๕๒๖ (ลากลับวัดสุรศักดิ์)ยังเป็นที่พักสงฆ์ ๒. พระอาจารย์เฉลียว ฉนฺทธมฺโม พ.ศ.๒๕๒๖-๒๕๒๙ (ลาสิกขา) ยังเป็นที่พักสงฆ์ ๓. พระอธิการมานพ เขมปญฺโญ พ.ศ.๒๕๒๙-๒๕๓๘ (ลาสิกขา) เป็นที่พักสงฆ์ต่อเนื่องเป็นวัด ๔. พระสำเภา กิตฺติโสภโณ(รก.) พ.ศ.๒๕๓๘-๒๕๓๙ (ลาสิกขา) ๕. พระอธิการพนมเกศ ชนฺติธโร พ.ศ.๒๕๓๙-๒๕๔๒ (มรณภาพ) ๖. พระพนมพร วุฒิโก (รก.) พ.ศ.๓๕๔๒-๒๕๔๓ (ออกตามวาระ ครบ ๑ปี) ๗. พระอาจารย์เทา พลสีโล (รก.) พ.ศ.๓๕๔๓-๒๕๔๔ (ออกตามวาระ ครบ ๑ปี) ๘. พระอธิการจำรูญ จนฺทสาโร พ.ศ.๒๕๔๔-๒๕๔๗ (ลาสิกขา) ๙. พระสมบัติ อุปสโม (รก.) พ.ศ.๒๕๔๗-๒๕๔๘ (ลาสิกขา) ๑๐.พระครูสิริคีรีวัฒน์(วิวัฒ ธมฺมวฑฺฒโน ป.ธ.๕) พ.ศ.๒๕๔๘-ปัจจุบัน