ผู้ใช้:Kohlogan/ทดลองเขียน

การบริหารการพัฒนา

แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารการพัฒนา

แก้

ความหมายของการบริหารการพัฒนา

แก้
การบริหารการพัฒนา(Development Administration)หรือใช้ต่อย่อว่า “DA” เป็นสาขาหนึ่งในวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ได้มีวิวัฒนาการนับตั้งแต่ทศวรรษ1950 มาจนถึงปี1970 ก็นำไปสู่การสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ของการพัฒนา และนำไปสู่ทฤษฎีสำคัญทฤษฎีหนึ่งของรัฐประศาสนศาสตร์ ได้มองว่าการบริหารได้นำไปสู่การพัฒนาในด้านต่างๆหลายมิติไม่ว่าจะเป็น โครงสร้างการพัฒนา  เศรษฐกิจ  สังคม ชนบท  การเมือง  เป็นต้น โดยใช้แนวทางสหวิทยาการ โดยมีทฤษฎี ตัวแบบและกรอบการวิเคราะห์โดยอาศัยการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างประเทศและเปรียบเทียบภายในประเทศนำไปสู่การสรุปเป็นทฤษฎีที่ใช่อธิบายปรากฎการณ์ในการพัฒนา  ซึ่งเป็นกระบวนการบริหารโดยมีจุดมุ่งให้เกิดการพัฒนาซึ่งแตกต่างจากงานประจำ เป็นผลมาจากความก้าวหน้าของการบริหารโดยทั่วๆไปนำไปสู่การบริหารเปรียบเทียบ  จุดเด่นคือมีการพัฒนาจุดมุ่งหมายในการสร้างนโยบายที่จะสร้างความเป็นธรรมและการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างอย่างสำคัญในการบริหารเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของการพัฒนา มีจุดมุ่งหมายของการพัฒนาได้เร็วกว่าปกติ อาจมีการใช้ความคิดสร้างสรรค์จนเกิดนวัตกรรมต่างๆร่วมด้วย ในสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยง และมีสภาพที่ทรัพยากรไม่แน่นอน ซึ่งมีผู้ให้ความหมายของการบริหารการพัฒนาไว้หลายประการด้วยกัน  ดังนี้
  • ไวด์เนอร์(Edward w.Weidner,1962:97-166)ได้ให้ความหมายของการบริหารการพัฒนา คือ กระบวนการที่พาองค์การไปสู่ความสำเร็จตรงตามเป้าหมาย ทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจ
  • สโตน(Stone,1996:41;cited in Nef and Dwivedi,1981:49-50)อธิบายการบริหารการพัฒนาว่า เป็นการผสมผสานองค์ประกอบและทรัพยากรทุกอย่าง ทั้งคนและสิ่งของ เพื่อนำมาใช้บรรลุจุดมุ่งหมายตามที่ตกลงกัน
  • ริกส์(Riggs,1971:73)ได้อธิบายการบริหารการพัฒนาคือความพยายามที่มีการจัดการเพื่อนำความคิดตามแผนงานหรือโครงการโดยผู้ที่เกี่ยวข้องไปปฏิบัติเพื่อตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ของการพัฒนา
  • เฮดี(Heady,1991:40)ได้มองว่าการบริหารการพัฒนา เน้นความสนใจไปที่การบรรลุจุดมุ่งหมายของนโยบายสาธารณะ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาที่ได้รับการถ่านทอดการบริหารจากประเทศที่พัฒนาแล้ว
  • สวัสด์ สุคนธรังสี(2511:268-269)มีมุมมองการบริหารการพัฒนาเป็นวิชาที่กล่าวถึงการบริหารในสาขาต่างๆนำไปประยุกต์เพื่อการบริหารและดำเนินธุรกิจรวมถึงการศึกษาด้านการบริหารรัฐกิจในประเทศที่เร่งพัฒนา
  • อุทัย เหลาหวิเชียร(2528:89)ได้ให้คำจำกัดความของการบริหารการพัฒนาหมายถึง กระบวนการของรัฐหรือหน่วยงานราชการ เพื่อใช้ในการบริหารงานต่างๆให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนา
  • อนันต์ เกตุวงศ์(2523:28-29)มองว่า การบริหารการพัฒนาหมายถึง การดำเนินงานตามแผนงานนโยบาย ที่ถูกกำหนดโดยรัฐบาล ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการบริหาร ซึ่งเป็นผลมาจากความก้าวหน้า ของการบริหารโดยนำไปสู่การบริหารเปรียบเทียบเข้าด้วยกัน ซึ่งการพัฒนาประเทศชาตินั้นต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงการบริหารอย่างขนานใหญ่ มีการปรับปรุงปฏิรูปให้มีศักยภาพที่สูงขึ้นอย่างเร่งด่วน เพื่อจะได้ทันเวลาและเพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการของประชาชนและประเทศได้ ซึ่งการพัฒนานั้นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญจากทางด้านต่างๆจำนวนมากเข้ามาร่วมมือกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบราชการที่ถือเป็นเครื่องจักรสำคัญที่จะผลิตการพัฒนาในด้านต่างๆขึ้นมา ตามแผนและโครงงานที่วางเอาไว้ล่วงหน้า

การบริหารการพัฒนามีลักษณะพิเศษหลายประการ ดังนี้

  1. มุ่งอนาคต โดยการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปต่างๆส่วนใหญ่เป็นเรื่องในอนาคตทั้งสิ้น ว่าจะพัฒนาให้มีศักยภาพที่สูงๆขึ้นต่อไปเรื่อยๆได้อย่างไร.
  2. ใช้ความรู้หลายสาขาวิชาร่วมกันเป็นสหวิทยาการ โดยนำความรู้ทางด้านรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ร่วมกันเพื่อให้เกิดการบริหารการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ
  3. เกี่ยวข้องกับการบริหารตามแผนพัฒนาชาติ โดยการนำนโยบายสาธารณะต่างๆมาปฏิบัติในด้านต่างๆ เช่น การเกษตร การศึกษา สาธารณสุข และอุตสาหกรรม เป็นต้น
  4. ให้ความสนใจต่อปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม โดยในด้านทรัพยากรมีความไม่แน่นอนและมีความเสี่ยง จึงต้องคำนึงถึงจุดนี้อย่างรอบคอบ

[1] [2] [3] [4] [5]

ประวัติของการบริหารการพัฒนา

แก้

คำว่าการบริการพัฒนา เริ่มนิยมใช้กันในปี ค.ศ.1964 จากคำเดิมที่พบแต่คำว่า บริหารรัฐกิจ หลักจากที่ประเทศกำลังพัฒนาได้รับการช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาอย่างจริงจัง โดยจัดเป็นส่วนหนึ่งของวิชาการบริหารเปรียบเทียบโดยมักจะใช้คำว่า การบริหารในประเทศกำลังพัฒนา ในประเทศสหรัฐอเมริกาและในประเทศทางตะวันตกอื่นๆ มีความรู้ประสบการณ์ ในด้านการบริหารการพัฒนาหลังสงครามโลกครั้งที่2 โดยสหรัฐอเมริกาได้ตั้งสำนักงบประมาณ(U.S.Bureau of the Budget)และองค์การเทนเนสซีวัลเลย์(Tennessee Valley Authority)เรียกย่อว่า TVA โดยสำนักงบประมาณได้ขึ้นตรงต่อประธานาธิบดีซึ่งเป็นประมุขฝ่ายบริหาร มีหน้าที่ในการบริหารจัดทำงบประมาณของสหรัฐโดยเน้นเป้าหมายและความสำเร็จของโครงการ ซึ่งต่อมาก็มีประเทศต่างๆได้เริ่มทำตามเพราะช่วยให้การบริหารการพัฒนาทำได้ดีและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ก่อนสงครามโลกครั้งที่2จะสิ้นสุด ในช่วงเวลา ค.ศ.1944 ได้มีการประชุมร่วมกัน44ประเทศ ตกลงให้จัดตั้งธนาคารโลก(Word Bank) หรือธนาคารเพื่อการฟื้นฟูและการพัฒนา(Internation Bank Reconstruction and Development) เรียกย่อว่า IBRD และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(International Monetary Fund)เรียกย่อว่า IMF โดยธนาคารโลกจะให้เงินกู้แก่สมาชิก เพื่อเยียวยาความเสียหายและการพัฒนาประเทศที่เสียหายหนักจากสงครามโลกครั้งที่2เท่านั้น ในปี ค.ศ.1949 โดยสหรัฐได้จัดตั้งแผนมาร์แชล(Marshall Plan)หรือแผนฟื้นฟูยุโรป(European Recovery Program) โดยจอร์จ มาร์แชลรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกาสมัยนั้น เพื่อให้ความช่วยเหลือประเทศต่างๆตั้งแต่เริ่มสงครามโลกครั้งที่2 เพื่อเป็นการแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่เป็นผลมาจากสงครามและป้องกันการขยายอิทธิพลของคอมมิวนิสต์ในยุโรปจากรัสเซียอีกด้วย ซึ่งในปี ค.ศ.1949 คอมมิวนิสต์ได้ยึดครองจีน และในปีค.ศ.1950เกิดสงครามเกาหลี สหรัฐอเมริกาจึงได้เข้ามาช่วยเหลือประเทศในเอเชียรวมถึงประเทศไทยด้วย โดยอยู่ในอำนาจหน้าที่ความดูแลของหน่วยงาน เอไอดี(Agency for International Development)ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งสำหรับในไทยก็มีสำนักงานยูซ่อม(United Status Operations Mission)คอยประสานงานกับรัฐบาลไทย เพื่อให้ได้รับการช่วยเหลืออย่างเต็มที่รวดเร็ว และช่วยให้ไทยได้ปรับปรุงองค์การและบริหารต่างๆ ในช่วง ค.ศ.1950-1951ในสมัยที่จอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี โดยให้เงินสนับสนุนเพื่อใช้ในการปราบคอมมิวนิสต์อย่างจริงจัง และส่งเสริมการค้าแบบเสรี แต่ด้วยความที่ท่านไม่เต็มใจทำตามนักเพราะอยากรักษาระบบชาตินิยมทางเศรษฐกิจ สหรัฐอเมริกาจึงไม่พอใจ จึงต้องการให้รัฐบาลไทยเปลี่ยนผู้นำ โดยให้ความช่วยเหลือด้านการทหารแก่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบกและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสมัยนั้นจนสามารถยึดอำนาจจอมพล ป.พิบูลสงครามได้สำเร็จ เป้าหมายแรก จอมพลสฤษดิ์ได้ดำเนินการนโยบายปราบปรามคอมมิวนิสต์อย่างเต็มที่ตามหลักการสร้างชาติให้มั่นคง ส่วนเป้าหมายการพัฒนาที่สอง คือการสร้างความเติบโตพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคม(Economic and social progress) และประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับแรกในปี พ.ศ.2504ซึ่งใช้จนถึงพ.ศ.2509 และพระราชบัญญัติส่งเสริมอุตสาหกรรมในปี พ.ศ.2505 ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาประเทศตามหลักทุนนิยมจากคำแนะนำจากสหรัฐอเมริกา [6] [7]

องค์ประกอบของการบริหารการพัฒนา

แก้

องค์ประกอบหลักการพัฒนาการบริหาร คือการพัฒนาโครงสร้างให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของระบบการบริหารโดยอาศัยพฤติกรรมและกระบวนการเทคโนโลยี มุ่งเพิ่มประสิทธิภาพของนโยบายการบริหารเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและส่วนรวมในระบบราชการ [8]

ขอบข่ายของการบริหารการพัฒนา

แก้

เพื่อความเข้าใจตรงกันในการศึกษาเนื้อหาวิชาการบริหารการพัฒนา จึงต้องมีทฤษฎีการบริหารการพัฒนาขึ้น เพื่อให้เกิดระเบียบและจิตสำนึกที่ตรงกัน โดยนักวิชาการได้ทำการศึกษาและรวบรวมเป็นองค์ความรู้ต่างๆดังนี้

  • ไรอัน(Ryan,cited in Siffin,1997:7-12)จากการวิเคราะห์หลักสูตรมหาวิทยาลัยอเมริกัน27แห่งส่วนใหญ่ เมื่อปี1980 พบว่าหลักสูตรเพียงแต่กำหนดให้การบริหารการพัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารเปรียบเทียบเท่านั้น โดยส่วนใหญ่จะอ้างอิงมาจากตำราชื่อ”Public Administration.A Comparative Perspective “ของเฮดี ในปี1984 ซึ่งตำราเล่มนี้มุ่งศึกษาระบบราชการในประเทศกำลังพัฒนาที่เกี่ยวกับการบริหารภาครัฐ รวมทั้งการเมืองกับระบบราชการ ซึ่งจากที่เห็นตำรานี่จะเน้นโครงสร้างแบบรวมๆเป็นหลัก ทำให้มีขอบข่ายที่กว้าง เป็นการรวบรวมความรู้2ส่วนเข้าด้วยกัน คือระบบราชการของเวเบอร์(Weber)กับ การเปรียบเทียบเชิงสถาบันตามแนวทางของไฟเนอร์(Finer) ส่วนอีกตำราอีกเล่มหนึ่งคือตำราของไบรอันท์และไวท์(Bryant and White)ชื่อ”Managing Development in the Third World”ในปี1982โดยไรอันวิเคราะห์หลักสูตรการบริหารการพัฒนาของมหาวิทยาลัยต่างๆพบว่าน้อยมากที่มุ่งศึกษาการวางแผนและจัดการงบประมาณ โดยส่วนใหญ่จะศึกษาเนื้อหาที่ซ้ำๆกันเช่น อิทธิพลของระบบราชการและวิชาชีพ การเมือง และการกำหนดความคิดและตัวแบบการพัฒนา
  • ซิฟฟิน(Siffin,1991:11-12)เห็นว่าการส่งเสริมให้ศึกษาวัตถุประสงค์ของการบริหารพัฒนาที่จะประสบความสำเร็จก่อนอื่นต้องศึกษาก่อนว่ามีการทำงานของระบบบริหาร และภายใต้เงื่อนไขอย่างไรภายใต้ความซับซ้อนของปัญหาต่างๆและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยใช้องค์ความรู้ของรัฐประศาสนศาสตร์ และได้มองว่าเนื้อหาของการบริหารการพัฒนาดังกล่าวเป็นแบบประเพณีนิยมยังแตกต่างจากรัฐประศาสนศาสตร์อยู่ เช่น ความเฉพาะเจาะจงของการวางแผนการพัฒนาชนบท รวมถึงข้อมูลทางสภาพแวดล้อมทางด้านสภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจและสังคม ที่มีการใช้วิธีประยุกต์ความรู้กับความรู้การบริหาร รวมถึงความรู้อื่นๆเช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประชากรและการบำรุงรักษา การบริการสุขภาพ การวางแผนครอบครัวและการควบคุมประชากร การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การติดต่อสื่อสาร การขนส่ง ร่วมกับความรู้การบริหารทางด้านงบประมาณ บุคลากรและการจัดการ ซึ่งซัฟฟินมาองว่าควรจะศึกษานโยบายสาธารณะและเน้นการปฏิบัติให้เหมาะสมยืดหยุ่นควบคู่กับการบริหารการพัฒนาจากตัวแบบทีสร้างขึ้นหรืออาจทำโดยกำหนดระเบียบวิธีในการวิเคราะห์ที่สนใจปัญหาเชิงประจักษ์บางด้าน
  • ปฐม มณีโรจน์(2531:595) มองว่านิยามความหมายของการพัฒนาสามารถนำไปกำหนดเนื้อหาของการบริหารการพัฒนา โดยมองการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลงที่มีแนวทาง มีแผน มีการกับควบคุม เนื้อหาจึงได้ครอบคลุมทั้ง แผนพัฒนา การวางแผน การปฏิบัติตามแผน สถาบันการวางแผน การพัฒนารายสาขา การวิเคราะห์โครงการ การบริหารโครงการรวมทั้งการประเมินผล โดยอาจต้องพึ่งพาความช่วยเหลือซึงกันและกันกับต่างชาติ ระบบราชการและภาคอื่นๆ การปฎิรูปการบริหาร รวมถึงการนำนโยบายไปปฏิบัติ
  • ราธอด(Rathod,2010:28-30)มองการบริหารการพัฒนาในงาการศึกษาและการปฏิบัติว่าอย่างๆน้อยต้องประกอบด้วย4ด้านดังต่อไปนี้รวมอยู่ด้วย
  1. การขยายบริการและการบริการชุมชน(Extension and community services) มองว่ารูปแบบการบริการที่ดีที่สุด คือ หน่วยงานระหว่างรัฐบาลควรจะเป็นหุ้นส่วนกันในการให้บริการทางเทคนิคสถาบันและการเงินให้ประชากรในรัฐ โดยมองว่าชุมชนในท้องถิ่นมีความกระตือรือล้นในการตอบสนองความรับผิดชอบยิ่งกว่าเดิม จึงอาจมองได้ว่าเป็นฐานในการบริการ โดยปัญหาที่พบคือ ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด กระจายผลประโยชน์ให้ประชากรไม่ทั่วถึงโดยเฉพาะในส่วนที่อยู่ไกลหรือชุมชนยากจน
  2. ปัญหาการจัดการแผนงาน(Problems of program management)มองว่าปัญหานั้นเกิดจากแผนงานและโครงสร้างการพัฒนา การบริหารงานบุคคล การจัดการองค์การ การมอบอำนาจ รวมทั้งทัศนคติการบริหาร โดยใช้การเพิ่มวัตถุดิบและปัจจัยในการแก้ไขปัญหาแผนงานนั้นๆ
  3. การจัดการโครงการ(Project management)มองว่าการศึกษาโครงการของรัฐบาลเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญ เพราะโครงการขนาดใหญ่ของรัฐต้องใช้งบประมาณที่มาก ต้องอาศัยการตัดสินใจ การกำหนดขั้นตอน คน วัสดุและองค์การ ไว้ในนโยบาย โดยมีองค์การที่มีหน้าที่รับผิดชอบอย่างจริงจังเพื่อประสิทธิภาพในการบริหาร
  4. การพัฒนาพื้นที่(Area development) มองสาขานี้ว่ายากที่สุดเพราะประเทศที่กำลังพัฒนายังไร้ประสบการณ์ มีความไม่แน่นอนในการให้สถาบันหรือคนในพื้นที่นั้นๆว่าใครเหมาะสมที่จะเข้าไปจัดการ จึงต้องการกรอบอำนาจหน้าที่และขั้นตอนการปฏิบัติที่ชัดเจน ทั้งรัฐบาลกลาง ส่วนภูมิภาค รวมถึงท้องถิ่น โดยอาจจะแก้ไขปัญหาด้วยตนเองหรือร่วมกันแก้ปัญหากับภาคส่วนอื่นและอาสาสมัคร จึงจะประสบความสำเร็จในการพัฒนา

[9]

แนวทางการศึกษาและปัญหาของการศึกษาการบริหารการพัฒนา

แก้

แนวทางการศึกษาการบริหารการพัฒนา

แก้
  1. แนวทางการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ เน้นการวิเคราะห์แนวความคิดของนักวิชาการว่าเกิดขึ้นเมื่อใด และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ดีมากเพียงใด โดยคำนึงปัจจัย หรืออุปสรรคต่างๆของการพัฒนา
  2. แนวทางการศึกษาเชิงสภาพแวดล้อม มองว่าสภาพแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดความสำเร็จหรือล้มเหลวของการบริหารการพัฒนา ซึ่งแนวคิดของสำนักนิเวศวิทยานั้นอิงโลกความเป็นจริงมากกว่า โดยเน้นการบริหารการพัฒนาที่ระบบราชการ ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ และกำหนดทิศทางควบคุมสภาพแวดล้อมด้วยตนเองได้
  3. แนวการศึกษาเชิงระบบ มองว่าสังคมแบ่งออกเป็นระบบย่อยและระบบใหญ่โดยมีปฏิกิริยาโต้ตอบซึ่งกันและกัน และมีปฏิกิริยาตอบสนองกับสิ่งแวดล้อม การศึกษาเชิงระบบนั้นจะมีเป้าหมายด้วยเสมอ การจะบรรลุเป้าหมายในการบริหารจึงต้องประกอบด้วย การตัดสินใจ การแบ่งงานกันทำ การติดต่อสื่อสาร และการควบคุม โดยต้องมี กำลังคน งบประมาณ อาหาร ข่าวสาร สนับสนุนร่วมด้วย และที่สำคัญต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชน
  4. แนวการศึกษาเชิงกรณีศึกษา เน้นศึกษาโครงการต่างๆ โดยอาจใช้การสอบถามโดยตรง หรือจากเอกสาร หรือเข้าถึงเป็นส่วนหนึ่งกับสังคมนั้นๆที่ต้องการศึกษา
  5. แนวทางการศึกษาเชิงวิเคราะห์ประวัติ ของระบบหรือประเทศ โดยมองจุดเน้นสำคัญที่ควรจะพัฒนา วิเคราะห์ว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไรจึงจะเหมาะสม จึงต้องมีการสำรวจทรัพยากร รวมทั้งปัญหาอุปสรรคต่างๆ
  6. แนวทางการศึกษาเชิงเฉพาะภาคหรือเฉพาะด้าน จะเน้นการพัฒนาเป็นภาคส่วนไป เช่น ภาคพัฒนาเศรษฐกิจ ภาคพัฒนาเมือง ภาคพัฒนาสังคม เป็นต้น

ปัญหาของการศึกษาการบริหารการพัฒนา

แก้
  1. ปัญหาความหมายของการบริหารการพัฒนา คือปัญหาที่ต้องการหาความหมายของการบริหารที่แท้จริง ซึ่งยังเป็นนี่ถกเถียงหาข้อสรุปไม่ได้จนในปัจจุบัน โดยมีนักวิชาการให้นิยามไว้เป็นจำนวนมาก
  2. ปัญหาขอบเขตหรือองค์ประกอบของการบริหารการพัฒนา เกี่ยวกับข้อที่กล่าวมาคือ เมื่อความหมายของการบริหารการพัฒนายังไม่ได้ จึงจะหาขอบเขตที่แท้จริงได้ยากเช่นกัน
  3. ปัญหาทางด้านสภาพแวดล้อม คือการบริหารการพัฒนานั้นต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมเพราะมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา จึงต้องมีการวางแผนที่รัดกุมมีประสิทธิภาพ
  4. ปัญหาด้านพาราดายม์ คือความสำเร็จทางด้านวิทยาศาสตร์นั่นคือการค้นพบสิ่งที่ยังไม่มีใครพบมาก่อน ซึ่งการบริหารการพัฒนานั้นจนถึงทุกวันนี้ ก็ยังไม่สามารถตกลงกันว่านิยามที่แท้จริงคืออะไร ต่างจากการการบริหารแบบอื่นอย่างไร
  5. ปัญหาทางด้านการวิจัย โดยนำเอาแนวคิดต่างๆมาเป็นสิ่งในการวิจัย โดยใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลประชากรกลุ่มเป้าหมาย และมีการวัดผลการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ
  6. ปัญหาด้านการศึกษาผลกระทบการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพราะเทคโนโลยีจากประเทศตะวันตกมักจะใช้ไม่ได้ผลในประเทศโลกที่สาม จึงต้องทำการวิจัยกันเพิ่มเติมมากยิ่งขึ้น

[10]

พัฒนาการขององค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนา

แก้

องค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนาของไวด์เนอร์และเสวิดโลว

แก้

ไวด์เนอร์ได้ให้เขียนบทความ”Development Administration:A New Focus for Research” ส่งผลไปกระตุ้นให้การบริหารการพัฒนาได้รับความสนใจเป็นวงกว้างจากเหล่านักวิชาการ โดยได้ให้นิยามและลักษณะของการบริหารการพัฒนา และชี้ถึงจุดเน้นในการวิจัย รวมทั้งให้แบบจำลองความคิด ข้อดีข้อเสียอีกด้วย สเวิดโลวได้รวบรวมหลายบทความจนเป็นบทความที่มีชื่อว่า “Development Administration Concept and Problems”ซึ่งมีเนื้อหาในเรื่องของเศรษฐศาสตร์ที่เป็นสาขาวิชาเกี่ยวข้องกับการบริหารการพัฒนา เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาของการบริหารงานในประเทศที่ด้อยพัฒนาหรือกำลังพัฒนา

องค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนาของริกกซ์

แก้

ริกซ์ได้รวมบทความจนเป็นหนังสือที่ชื่อว่า “Frontiers of Development Administration”ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบริหารการพัฒนา ซึ่งมีบทความที่เกี่ยวข้องกับ บริบทของการบริหารการพัฒนา และ การเมืองระบบราชการเชิงเปรียบเทียบ

องค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนาของวอลโดและเฮฟฟรีย์และแกนท์

แก้

องค์ความรู้ที่วอลโดได้เขียนขึ้นนั้น เน้นที่สภาพแวดล้อมในส่วนของเวลาของการบริหารการพัฒนาในวัฒนธรรมในที่ต่างๆทั่วโลก ส่วนในผลงานของเฮฟฟีย์นั้น จะเน้นที่สภาพแวดล้อมของการบริหารการพัฒนาเหมือนกับวอลโด แต่ต่างกันที่เฮฟฟีย์จะเน้นที่ด้านสถานที่มากกว่า ส่วนแกนท์นั้นมีประสบการณ์มากที่สุดทั้งในด้านวิชาการและการปฏิบัติ โดยให้ความหมายของการบริหารงานภายนอก และเน้นการบริหารการพัฒนาที่แบ่งออกเป็นหลายๆภาคส่วน เช่น การศึกษา เกษตรกรรม รัฐวิสาหกิจ เป็นต้น

องค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนาของเดอกูซแมนและคาร์บอนแนลพาแนนดิเกอร์และเซอร์ซาร์การ์

แก้

องค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนาโดยเดอกูซแมนและคาร์บอแนล ได้ศึกษาและตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับลักษณะทางสังคมและเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์โดยศึกษาจากผู้บริหารจากหลายๆภาคส่วน โดยแบ่งการศึกษาเป็นหลายๆมิติด้วยกันส่วนพาแนนดิเกอร์และเชอร์ชาร์การ์ ได้ศึกษาและตั้งสมติฐานในการวิจัยเกี่ยวกับลักษณะโครงสร้างและพฤติกรรมของระบบราชการซึ่งมีความสัมพันธ์กับบทบาทการพัฒนาของอินเดีย [11]

ขอบเขตของการศึกษาการบริหารพัฒนา

แก้

การบริหารการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาการบริหาร

แก้
คือเน้นหน่วยงานราชการให้มีการบริหารจัดการที่มีกระบวนการที่พร้อมในด้านโครงสร้างพฤติกรรม  รวมถึงสภาพแวดล้อม เพื่อเพิ่มสมรรถนะให้เพียงพอต่อกิจกรรม นโยบายต่างๆในการพัฒนาประเทศ 

การบริหารการพัฒนาที่เน้นการบริหารโครงการพัฒนา

แก้
มุ่งที่จะแปลงนโยบายการพัฒนาออกเป็นแผนงานและโครงการทั้งกิจกรรมการพัฒนาที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในทางปฏิบัติตามสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอย่างน้อยจะคลอบคลุมสิ่งต่างๆต่อไปนี้คือ
  1. การวางแผนและกำหนดแผนงาน โครงการ รวมทั้งกิจกรรมการพัฒนา
  2. การนำเอาแผน แผนงาน โครงการ และกิจกรรมการพัฒนาไปปฏิบัติ
  3. การประเมินแผน แผนงาน โครงการและกิจกรรมการพัฒนา และข้อมูลย้อนกลับ

การบริหารการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ

แก้
เน้นการเพิ่มรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชาชน ให้ประชาชนกินดีอยู่ดีมีอำนาจในการซื้อมากขึ้น โดยการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและมีการดำเนินการตามแผน รวมทั้งมีการประเมินผลการพัฒนา

การบริหารการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาชนบท

แก้
 เน้นการพัฒนาชุมชนที่อยู่ตามชนบทโดยมีแผนให้ประชาชนอยู่ดีกินดี ไม่ยากจน มีความรู้ ไม่เจ็บป่วย ขจัดความอดอยาก กระจายรายได้ไปสู่ประชากรในชนบท รวมทั้งส่งเสริมการพึ่งพาตนเองได้

การบริหารการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาสังคม

แก้

เน้นการพัฒนาร่างกายรวมทั้งจิตใจของประชากร เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอยู่อย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี การมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของคนในสังคม การปกครอง วัฒนธรรม เอกลักษณ์ประจำชาติ

การบริหารการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาการเมือง

แก้
เน้นการให้ประชาชนรักความเป็นชาติ โดยใช้การเมืองในการกำหนดนโยบายในการบริหารการพัฒนา และความเป็นไปของรัฐบาลในประเทศของตน

การบริหารการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาเมือง

แก้
เน้นการพัฒนาเมืองคือศูนย์กลางหลักของการขับเคลื่อนกิจกรรมทางการเมือง  เศรษฐกิจ การบริหาร รวมทั้งสังคม ควบคู่กับปัญหาเมืองจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาที่ดิน จราจร ความแออัด รวมทั้งขาดงบประมาณในการพัฒนาเมือง

[12] [13]

  1. ศ.ดร.เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ,การบริหารการพัฒนา,บพิธการพิมพ์,2558,978-616-08-2284-3
  2. ติน ปรัชญพฤทธิ์,การบริหารการพัฒนา ความหมาย เนื้อหา แนวทาง และปัญหา,สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2549,974-13-3547-4
  3. ณัฐปคัลภ์ ญาณมโนวิศิษฏ์,การบริหารพัฒนา,สยามมาพร,2555,978-974-365-469-5
  4. รศ.ดร.วัชรี ทรงประทุม,การบริหารการพัฒนากับประชาธิปไตย,สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง,2552,978-616-513-079-0
  5. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,การบริหารการพัฒนาและการพัฒนาการบริหาร,สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,2548,974-9757-29-7
  6. รศ.ดร.วัชรี ทรงประทุม,การบริหารการพัฒนากับประชาธิปไตย,สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง,2552,978-616-513-079-0
  7. ศ.ดร.เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ,การบริหารการพัฒนา,บพิธการพิมพ์,2558,978-616-08-2284-3
  8. ณัฐปคัลภ์ ญาณมโนวิศิษฏ์,การบริหารพัฒนา,สยามมาพร,2555,978-974-365-469-5
  9. ศ.ดร.เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ,การบริหารการพัฒนา,บพิธการพิมพ์,2558,978-616-08-2284-3
  10. ติน ปรัชญพฤทธิ์,การบริหารการพัฒนา ความหมาย เนื้อหา แนวทาง และปัญหา,สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2549,974-13-3547-4
  11. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,การบริหารการพัฒนาและการพัฒนาการบริหาร,สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,2548,974-9757-29-7
  12. ติน ปรัชญพฤทธิ์,การบริหารการพัฒนา ความหมาย เนื้อหา แนวทาง และปัญหา,สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2549,974-13-3547-4
  13. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,การบริหารการพัฒนาและการพัฒนาการบริหาร,สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,2548,974-9757-29-7