ผู้ใช้:KisSiEs/กระบะทราย8

ส่วนประกอบและเครื่องมือที่นิยมใช้ในการทำมายองเนส

มายองเนส (/ˌməˈnz/, /ˈmənz/ or /ˈmænz/, ภาษาฝรั่งเศส: [majɔnɛz] ( ฟังเสียง)), มักจะเรียกย่อๆว่า มาโย[1] เป็นซอสครีมหนืดๆ นิยมใช้เป็นเครื่องปรุงอาหาร เป็นสารอิมัลชั่น ผสมจาก น้ำมัน, ไข่แดง และ น้ำส้มสายชู หรือ น้ำเลมอน ก็ได้,[2] อาจมีการเพิ่มสมุนไพรหรือเครื่องเทศอื่นๆ เลซิตินในไข่แดงคือตัวอิมัลซิไฟเออร์[3]

มายองเนสมีมากมายหลายสี แต่โดยส่วนมากจะเป็นสีขาว, สีครีม, หรือสีเหลืองอ่อน ส่วนตัวเนื้อมายองเนสมีตั้งแต่เนื้อครีมเบาๆไปจนถึงเจลหนาๆ ประเทศที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมฝรั่งเศส, จะมีมัสตาร์ด ที่มีส่วนผสมคล้ายกัน, แต่มายองเนสผสมกับมัสตาร์ดจะเรียกว่า รีมูเลด มีรสชาติที่ต่างออกไป มัสตาร์ดนั้นช่วยทำหน้าที่เป็นอิมัลซิไฟเออร์ด้วย[4][5] ในสเปน, โปรตุเกส และ อิตาลี, ใช้ น้ำมันมะกอกเป็นน้ำมัน และไม่มีการผสมมัสตาร์ด

มีการโฆษณาซอสคล้ายมายองเนสที่ไร้ส่วนผสมของไข่ สำหรับผู้คนที่ต้องการหลีกเลี่ยงไขมันจากสัตว์ และคลอเรสเตอรอล, รวมถึงผู้ที่มีอาการแพ้ไข่[6]

ต้นกำเนิด แก้

ต้นกำเนิดของมายองเนสคือ เมืองมาฮง ในมีนอร์กา, สเปน, ซึ่งหลังจากชัยชนะเหนืออังกฤษในอาร์มาน เดอ วิคเนอรอต ดู เพลสสิส จึงมีการขยายไปสู่ฝรั่งเศสตามเมืองท่า ในปี 1756 ซึ่งในขณะนั้น ซอสนี้เป็นที่รู้จักว่า ซัลซา มาโฮเนสซา ใน ภาษาสเปน และ มาโอเนสซา (ภายหลังเรียก ไมโอเนสซา) ใน ภาษาตากาลาน (แต่บางคนก็เรียก มีนอร์กา), จนในที่สุด เรียก มายองเนส ซึ่งนิยมกันแพร่หลายในฝรั่งเศส[7]

ลารูสส์ แกสโทรโนมิค เสนอว่า : "มายองเนส, ในความคิดของเรา, ก็คือโมยิวเนส, ซึ่งดัดแปลงมาจากภาษาฝรั่งเศสสมัยก่อน โมยิว, ซึ่งแปลว่าส่วนไข่แดงของไข่"[8] ซอสนี้เรียกว่า มาเยนเนส ตาม ชาร์ลส เดอ ลอเรน, ดยุคแห่งมาเยนน์, เมื่อคราวที่ท่านทานอาหารปรุงจากเนื้อไก่ราดซอสเย็นก่อนออกไปรบชนะในสงครามแห่งอาร์คิวส์[9]

การทำอาหารในศตวรรษที่ 19 นักเขียน ปิแอร์ ลาแคม กล่าวว่า เมื่อปี 1459, สตรีชาวลอนดอนนางหนึ่ง ชื่อว่า แอนนามารี เทอร์คอท พบโดยบังเอิญเมื่อครั้งทำคัสตาร์ด[10]

ตามที่ทรัทเทอร์ เอท อัล กล่าวไว้: "มันเป็นไปได้ว่า เมื่อมีน้ำมันมะกอก, จึงมีการผสมเข้ากับส่วนผสมง่ายๆอย่างไข่ตามมา — โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบเมดิเตอร์เรเนียน, ที่ซึ่งผสมไอโอไล (น้ำมันและ กระเทียม)"[7]

ตามที่ อ็อกฟอร์ด อิงลิช ดิกชันนารี เขียนไว้, มีการใช้คำว่า มายองเนส ตั้งแต่ช่วงต้นปี 1823 ในบันทึกของเลดี้ เบลสซิงตัน[11]

การทำมายองเนส แก้

สามารถทำได้โดยใช้โกร่งบดสาร,[12] ที่ตีครีม หรือ ส้อม, เครื่องผสมอาหาร หรือเครื่องปั่นรวมอาหารไฟฟ้าก็ได้ มายองเนสทำได้โดยการค่อยๆเทน้ำมันราดลงในไข่แดง, และตีแรงๆให้เข้ากัน น้ำมันและน้ำในไข่แดงจะรวมตัวกันกลายเป็นอิมัลชั่น, ขณะที่เลซิตินและโปรตีนจากไข่แดงเป็นตัวอิมัลซิไฟเออร์ ที่ทำให้คงรูปอยู่ได้[13] นอกจากนั้น อาจมีการผสมมัสตาร์ดลงไปเล็กน้อย ทำให้รสชาติคมขึ้น และช่วยทำให้คงรูปไว้ได้นานขึ้นด้วย เพราะมัสตาร์ดนั้นมีส่วนผสมของเลซิติน[14] ถ้าหากราดน้ำส้มสายชูลงไปผสมกับไข่แดงตรงๆ จะทำให้ผสมเข้ากับน้ำมันได้ดีขึ้น, และได้มายองเนสจำนวนมากขึ้นด้วย[15]

ถ้าต้องการเตรียมมายองเนสจำนวนมาก จะต้องคำนึงถึงการผสมและขั้นตอนการทำ เริ่มตั้งแต่การตีไข่, ทั้งแบบผงและแบบเหลว, รวมกับน้ำ เมื่อเข้ากันดีแล้ว, ทยอยเทส่วนผสมที่เหลือลงไปจนหมด ตีเร็วๆจนเข้ากันเป็นเนื้อเดียว แล้วจึงผสมน้ำมัน ค่อยๆเติมลงไปทีละนิดจนส่วนผสมทั้งหมดเข้ากัน การปรับส่วนผสมแต่ละอย่างนั้นยากมากเพราะต้องคำนวณให้ทุกอย่างพอดีกัน, ถ้าบางอย่างมากหรือน้อยเกินไป อาจทำให้เกิดการแยกชั้นของส่วนผสมระหว่างการเทน้ำมันได้ โดยส่วนใหญ่มักมีขั้นตอนการผสมที่นานเพื่อให้ทุกอย่างรวมเป็นเนื้อเดียวกันได้ดี[16]

ส่วนประกอบ แก้

มายองเนสที่ทำกันเองตามครัวเรือนอาจมีไขมันสูงถึง 85%; มายองเนสที่วางจำหน่ายทั่วไป จะมีไขมันราว 70% ถึง 80% มายองเนส "ไขมันต่ำ" จะทำจาก แป้ง, เจลเซลลูโลส, หรือส่วนผสมอื่นๆที่ทำให้มายองเนสมีเนื้อครีมนุ่มเหมือนมายองเนสจริงๆ

มายองเนสที่วางจำหน่าย จะทำจากไข่แดงที่ผ่านการฆ่าเชื้อ, ผ่านการแช่แข็ง เพิ่มน้ำเข้าไป, หรืออิมัลซิไฟเออร์ตัวอื่นๆ อาจใช้น้ำมันถั่วเหลือง, เพราราคาไม่แพง, แทนการใช้น้ำมันมะกอก[ต้องการอ้างอิง] ในบางสูตร, จะใช้ไข่ทั้งฟอง, รวมส่วนไข่ขาวด้วย

ในแต่ละท้องถิ่น แก้

 
มายองเนสในซาน และ เฟรนฟรายส์

ชิลี แก้

ชิลีเป็นประเทศที่มีการบริโภคมายองเนสอันดับสามของโลก และเป็นที่แรกใน ลาติน อเมริกา[17] เมื่อยุค 1980 มายองเนสเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง[17] ชาวชิลีใช้ทานคู่กับโลคอส, คอมพลีโต, เฟรนฟรายส์, และราดบนมันฝรั่งต้มบด, และยังมีสลัดที่เรียกกันว่า "ปาปาส มาโย"

ยุโรป แก้

ในประเทศฝั่งยุโรป, โดยเฉพาะ เบลเยียม และ เนเธอแลนด์, มายองเนสมักจะเสิร์ฟคู่กับ ปอมส์ ไฟรส์, เฟรน ฟรายส์, หรือมันฝรั่งแผ่นทอด ทั้งนี้ยังมีการเสิร์ฟคู่กับไก่เย็นหรือไข่ต้มสุกในฝรั่งเศส, โปแลนด์, อังกฤษ, เบเนลักซ์, ฮังการี, ออสเตรีย, สาธารณรัฐบัลทิคและยุโรปฝั่งตะวันออก

ในเดือนกันยายน ปี 1991 สหพันธรัฐของยุโรปของอุตสาหกรรมส่วนผสมของเครื่องปรุงอาหารออกมาแนะนำว่า น้ำมันและไข่แดงในมายองเนสควรจะมีอย่างน้อย 70% และ 5% ตามลำดับ เนเธอร์แลนด์เห็นด้วยกับความคิดนี้ ในปี 1998 ได้ตั้งกฏ "Warenwetbesluit Gereserveerde aanduidingen" บทที่ 4[18] ซึ่งแบรนด์โดยส่วนใหญ่ใช้ส่วนผสมเกินตามที่กำหนดอยู่แล้ว[19]

อเมริกาเหนือ แก้

มีการขายมายองเนสในเหยือกครั้งแรกที่ ฟิลาเดเฟีย ในปี 1907 เมื่ออเมเลีย สโชเรอร์ตัดสินใจทำมายองเนสสูตรของเธอเองเพื่อใช้ทานคู่กับสลัดในร้านขายของของครอบครัว มายองเนสแบรนด์ มิสสโชเรอร์ ประสบความสำเร็จอย่างมากในท้องที่นั้นๆ และในที่สุดก็จัดตั้งเป็นบริษัทสโชเรอร์ เดลิเคทเซ่น[20] ในเวลาเดียวกัน ที่นิวยอร์ค ซิตี้, ครอบครัวเว็ทชอว์, จากเยอรมัน, อยู่ที่ร้าน ริชาร์ด เฮลแมน บรถนนโคลัมบัส อเวนิว, ได้ทำมายองเนสสูตรภรรยาของเขาออกมาวางจำหน่าย ผลตอบรับดีมากจนเฮลล์แมนต้องทำใส่"เรือไม้"จำหน่าย ซึ่งปกติแล้วจะใช้เพื่อชั่งเนย ในปี 1912, มายองเนสของมิสเฮลล์แมนขายได้ถล่มทลาย จนมีการจดทะเบียนในปี 1926 ในชื่อ เฮลล์แมน บลู ริบบ้อน มายองเนส[21]

ในเวลาเดียวกันนั้นที่มายองเนสของมิสสโชเรอร์ และเฮลล์แมนกำลังเป็นที่นิยมทางชายฝั่งตะวันออกของอเมริกา, บริษัทสัญชาติแคลิฟอร์เนีย, เบสท์ ฟูดส์, ก็ได้เปิดตัวมายองเนสเหมือนกัน, ซึ่งเป็นที่นิยมมากในฝั่งตะวันตก ในปี 1932, เบสท์ ฟู้ดส์ซื้อกิจการของเฮลล์แมน หลังจากนั้นเป็นต้นมา, มายองเนสของทั้งสองแบรนด์ก็แบ่งสัดส่วนการขายในตลาดมาตลอด เห็นพ้องกันว่า จะยังมีการขายภายใต้ทั้งสองแบรนด์ต่อไป ซึ่งตอนนี้อยู่ภายใต้การบริหารดูแลของยูนิลีเวอร์

ในอเมริกันตอนใต้, มิสยูจีเนีย ดยุคแห่งกรีนวิลล์, เซ้าธ์ คาโรไลนา, ได้ก่อตั้งบริษัท ดูค แซนวิชในปี 1917 เพื่อจำหน่ายแซนด์วิชให้กับทหารฝึกหัดใกล้ๆกับฟอร์ท ซีเวียร์ และมายองเนสของท่านเป็นที่นิยมกันมากจนทางบริษัทต้องแยกส่วนหนึ่งเพื่อผลิดและจำหน่ายมานองเนสโดยเฉพาะ, แต่ในที่สุดก็ขายให้กับ บริษัทซี เอฟ เซาเออร์ ของริชมอนด์, เวอร์จีเนีย, ในปี 1929 มายองเนสของดูค ยังคงเป็นที่นิยมเรื่อยมาในทางตะวันออกเฉียงใต้, แต่ถึงอย่างนั้น ก็ไม่ได้วางจำหน่ายในตลาดอื่นๆเลย

มายองเนสนี้ พบได้ทั่วไปในแซนด์วิชแบบอเมริกัน, เป็นที่รู้จักกันว่าเป็น ซอสบาร์บีคิวสีขาวเอกลักษณ์ของอะลาบามาทางตอนเหนือ มีการใช้ผสมกับบัตเตอร์ครีมสไตล์อเมริกันและใช้ในเค้กด้วยเช่นกัน

ญี่ปุ่น แก้

มายองเนสของญี่ปุ่นนั้น มักจะทำจาก น้ำส้มสายชูแอ๊ปเปิ้ลหมัก หรือ น้ำส้มสายชูข้าวหมัก เพิ่มผงชูรสลงไปเล็กน้อย, ซึ่งทำให้รสชาติต่างจากมายองเนสที่ทำจากน้ำส้มสายชูกลั่น[22][23] มักจะวางจำหน่ายในผลิตภัณฑ์ทำจากพลาสติกที่อ่อนนิ่ม ลักษณะเป็นขวดบีบได้ เนื้อของมายองเนสข้นกว่ามายองเนสของฝั่งตะวันตก[24] มีแบบที่ผสม คาราชิ (มัสตาร์ดแบบญี่ปุ่น)ด้วย

นอกเหนือจากสลัดแล้ว มีอีกหลายเมนูที่เสิร์ฟพร้อมราดมายองเนส เช่น โอโคโนมิยากิ, ทาโกยากิ และ ยากิโซบะ และอื่นๆอีกมากมาย อาจราดลงบนเมนูคัทซึ และคาราจ[25] บางครั้งอาจราดลงบนผักที่ผ่านการปรุงมาแล้ว, อาจป้ายเล็กน้อยลงบนหน้าซูชิ หรือผสมรวมกับซอสถั่วเหลือง, อาจผสมรวมกับน้ำมันพริกหรือวาซาบิ ในจังหวัดโตไก, นิยมทานูชคู่กับ ฮิยาชิ ชูกะ (สลัดบะหมี่เย็น) เมนูซีฟู้ดทอดก็มักจะเสิร์ฟด้วยการราดมายองเนสข้างบน เป็นเรื่องปกติที่คนญี่ปุ่นราดมายองเนสบนหน้าพิซซ่า มีการใช้มายองเนสทำอาหาร อาจใช้แทนเนยหรือน้ำมันเวลาทอดผักหรือเนื้อ[ต้องการอ้างอิง]

คิวพี (Q.P.) เป็นแบรนด์มายองเนสที่โด่งดังมากในี่ปุ่น,[ต้องการอ้างอิง] สัญลักษณ์ของแบรนด์คือ ตุ๊กตาคิวพี มายองเนสแบรนด์นี้ไม่ใช้ไข่ทั้งฟอง ใช้เพียงแต่ไข่แดงเท่านั้น, ส่วนน้ำส้มสายชูก็เป็นน้ำส้มที่หมักจากแอ๊ปเปิ้ลและมอลต์อย่างเหมาะสม[26]

รัสเซีย แก้

มายองเนสเป็นที่นิยมกันมากในรัสเซีย ซึ่งทำมาจากน้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน ซึ่งให้รสชาติที่ต่างออกไป การวิจัยในปี 2004 แสดงให้เห็นว่า รัสเซียเป็นประเทศเดียวในโซนยุโรปที่ยอดขายมายองเนสมากกว่า ซอสมะเขือเทศ มายองเนสนั้นใช้เป็นซอสในเมนูสลัดต่างๆที่รัสเซีย, ตัวอย่างเช่น สลัดรัสเซีย, หรือ โอลิเวีย สลัด (оливье, read [o-liv-yeh], จากภาษาฝรั่งเศส), และ เดรส เฮอร์ริ่ง และอื่นๆอีกมากมาย มีแบรนด์ชั้นนำอย่าง คัลฟ์ (แบรนด์ของยูนิลีเวอร์) และ สโลโบดา (แบรนด์ของ เอฟโก)[27]

นอกจากนั้น ในประเทศฝั่งยุโรปตะวันออก (รัสเซีย, ยูเครน, บีลารัส, ฯลฯ), มีมายองเนสหลายรสชาติมากอย่างเช่น มะกอก, ไข่นกกระทา, และเลมอน

จีน แก้

ในจีนมีชื่อเรียกมายองเนสหลากหลายมาก แบรนด์นำเข้ามักจะมีป้ายบอกชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า มายองเนส, มีบ้างที่ใช้ชื่อภาษาจีนสะกดตามนี้ 美乃滋, 蛋黄酱 (ซอสไข่แดง), 沙拉油 (น้ำมันสลัด) และ 沙拉酱 (น้ำสลัด) มายองเนสที่นำเข้ามาและวิปครีม หาซื้อได้ตามซุปเปอรืมาเก็ต อย่างเช่น คาร์ฟูร์

เหตุผลที่เรียก มายองเนสว่า น้ำมันสลัด (沙拉油) เป็นเพราะว่า มักจะใช้ในสลัดมันฝรั่ง และ สลัดโอลิเวีย, ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากที่ภัตตาคารโซเวียตในจีน

ใช้ผสมกับซอสอื่นๆ แก้

มายองเนสนั้นสามารถใช้เป็นซอสผสมกับส่วนผสมอื่นๆได้ อย่างเช่น ซอสพริก หรือ น้ำสลัด ตัอย่างเช่น

ส่วนผสมอื่นๆเพิ่มเติม แก้

มายองเนสที่วางจำหน่ายอาจมีการเพิ่มซูโครส, น้ำเชื่อมข้าวโพดที่มีฟรุคโตสสูง, กรดซีตริค, สารเพิ่มความข้น, อิมัลซิไฟเออร์, อีดีทีเอ, สารเพิ่มรสชาติ, และน้ำ ส่วนผสมที่กล่าวมานี้จะช่วยให้ ผลิตภัณฑ์มีไขมันและน้ำตาลน้อยลง แต่ก็มีการวางจำหน่ายมายองเนสแบบที่ไม่ได้ใส่ส่วนผสมอื่นๆเพิ่มเติมด้วย[ต้องการอ้างอิง]

สูตรมายองเนสทั่วไปนั้น(แบบที่ไม่ใช่ไขมันต่ำ) ประกอบไปด้วย น้ำมันพืช 80%, ส่วนใหญ่ใช้น้ำมันถั่วเหลือง แต่ก็มีบ้างที่ใช้น้ำมันมะกอก มีน้ำประกอบราว 7% ถึง 8% และไข่แดงประมาณ 6% บางสูตรจะใช้ไข่ทั้งฟองแทนที่จะใช้เพียงไข่แดงอย่างเดียว ส่วนประกอดอื่นๆคือ น้ำส้มสายชู (4%), เกลือ (1%) และน้ำตาล (1%) สูตรไขมันต่ำนั้นจะใช้น้ำมันเพียง 50% และเพิ่มน้ำเป็น 35% มีส่วนผสมของไข่เพียง 4% และน้ำส้มสายชู 3% ส่วนน้ำตาลใช้เพียง 1.5% เกลือลดลงเหลือแค่ 0.7% สารเพิ่มความข้น (4%), ทำให้เนื้อนุ่มและคงสภาพไว้ได้นาน[29]

ข้อมูลสารอาหาร แก้

การทำมายองเนสนั้นมีหลายวิธี, แต่โดยเฉลี่ยแล้ว จะมีพลังงานราว 700 กิโลแคลอรี (2,900 กิโลจูล) ต่อมายองเนส 100 กรัม ซึ่งถือว่าเป็นอาหารที่คลอรี่สูงทีเดียว

สูตรไร้ส่วนผสมของไข่ แก้

 
เบอร์เกอร์มังสวิรัติ ใส่เผือกคลุกกับเครื่องปรุงรส, มะเขือเทศ, และผัก

มีซอสคล้ายมายองเนสที่ไร้ส่วนผสมของไข่ สำหรับผู้คนที่ต้องการหลีกเลี่ยงไขมันจากสัตว์ และคลอเรสเตอรอล, รวมถึงผู้ที่มีอาการแพ้ไข่ ทั้งนี้ยังเหมาะกับผู้ทานไม่ทานเนื้อ, และผู้ทานมังสวิรัติอย่างเคร่งครัด ผู้ซึ่งไม่ทานไข่, อย่างเช่น การทานมังสวิรัติตามแบบฮินดู แบรนด์ที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วคือ นายองเนส และ วีเก็นเนส ในอเมริกาเหนือ, และ ปาล์มิล สูตรไร้ส่วนผสมของไข่ในอังกฤษ[6] สูตรที่นิยมทานแทนมายองเนส คือ อโวคาโดบดคลุกรวมกับเลมอน; ตัวอย่างเช่น, สลัดทูน่า และ สลัดไข่ ที่มักใช้อโวคาโดแทนแทนไข่

อย่างอื่นที่เหมือนกัน แก้

อ้างอิง แก้

Notes

  1. Merriam-Webster. mayo. Retrieved 2010-12-23.
  2. "Mayonnaise is an emulsion of oil droplets suspended in a base composed of egg yolk, lemon juice or vinegar, which provides both flavor and stabilizing particles and carbohydrates." On Food and Cooking, Harold McGee, Scribner, New York, 2004 page 633.
  3. "Science of Eggs: Egg Science". Exploratorium.edu. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2011.
  4. "Emulsifiers — Experiments". Practical Chemistry. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2011.
  5. "Making an Emulsion". Science Project Ideas. 1 ตุลาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2011.
  6. 6.0 6.1 Victoria Moran and Adair Moran, Main Street Vegan, Penguin 2012, p. 168.
  7. 7.0 7.1 M. Trutter et al., Culinaria Spain p. 68 (H.F. Ullmann 2008)
  8. Dictionnaire de l'Académie française, neuvième édition, "3. Anciennt. Le jaune de l'œuf."
  9. Johnny Acton, et al. Origin of Everyday Things, p. 151. Sterling Publishing (2006). ISBN 978-1-4027-4302-3
  10. The page reference has not been identified; the passage appeared either in Lacam's Mémorial historique et géographie de la pâtisserie (privately printed, Paris 1908), in his Nouveau pâtissier glacier français et étranger (1865) or his Glacier classique et artistique en France et en Italie, (1893)
  11. "mayonnaise, n." Oxford English Dictionary. OUP. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2011.
  12. Randall, Theo. "perfect mayonnaise recipe: Recipes: Good Food Channel". สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2012.
  13. Magnusson, E. and Nilsson, L., Emulsifying properties of egg yolk In Eggs: Nutrition, Consumption and Health, Eds. Segil, W. and Zou, H., Nova Science Publishers, New York, 2012
  14. "Good Eats Season 4 Episode 10 - EA1D10:The Mayo Clinic". Good Eats Fan Page. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2012.
  15. Gladding, Jody; Hervé This (2010). Kitchen Mysteries: Revealing the Science of Cooking (Arts and Traditions of the Table: Perspectives on Culinary History). New York: Columbia University Press. ISBN 0-231-14171-8. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  16. "Food Industry Application Reports - Sauces & Dressings". Silverson Mixers. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2013.
  17. 17.0 17.1 Chile - Consumo de mayonesa. Latin American Markets.
  18. "wetten.nl - Wet- en regelgeving - Warenwetbesluit Gereserveerde aanduidingen - BWBR0009499". wetten.nl. 24 มีนาคม 1998. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2014.
  19. "Mayonnaise sales in Europe". Foodanddrinkeurope.com. 29 เมษายน 2004. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2009.
  20. http://news.google.com/newspapers?nid=1499&dat=19570829&id=aDEaAAAAIBAJ&sjid=-CUEAAAAIBAJ&pg=7076,5069512
  21. Smith, Andrew F. The Oxford companion to American food and drink. Oxford University Press, May 1, 2007. p. 370.
  22. Hachisu, Nancy Singleton (2012). Japanese Farm Food.
  23. "Kewpie mayo wins the condiment game". Food Republic. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2014.
  24. http://pogogi.com/what-is-japanese-mayonnaise-and-how-is-it-different-from-american-mayo. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2014. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  25. "Okonomiyaki ingredients". Okonomiyaki World. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2014.
  26. "おいしさロングラン製法|キユーピー". Kewpie.co.jp. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2011.[แหล่งข้อมูลที่ตีพิมพ์เอง]แม่แบบ:Psc
  27. "Moscow's particular taste in sauces". FoodNavigator.com. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2013.
  28. See, for example, Larousse Gastronomique, 2003, ISBN 0-600-60863-8, page 1054.
  29. "Mayonnaise Manufacture Case Study" (PDF). Silverson. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2013.

External links แก้

แม่แบบ:Mayonnaise-based sauces แม่แบบ:Condiments