ผู้ใช้:K.Baitaew/กระบะทราย

ประวัติส่วนตัว

แก้
  • ชื่อ-สกุล : นางสาว วิไลวรรณ กลบสูงเนิน
  • ชั้นปี 4 สาขา ระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์
  • คณะ บริหารธุรกิจ
  • สถานศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • อาชีพด้านคอมพิวเตอร์ที่ตนสนใจ : นักออกแบบกราฟิก

รูปภาพตัวจริงของนักศึกษา

แก้
ไฟล์:Wilai.jpg
ชื่อ :นางสาววิไลวรรณ กลบสูงเนิน
ชื่อเล่น : ใบแต้ว
เกิด : 15 เมษายน 2536
รหัสนักศึกษา : 571531023019-6

สถาปัตยกรรมเครือข่าย (การสร้างตาราง)

แก้
ไฟล์:Qwertyukl.jpg
สถาปัตยกรรมเครือข่าย

ส่วนประกอบของเครือข่าย

แก้

Computer

แก้
           คอมพิวเตอร์แม่ข่าย คือ คอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการทรัพยากร (Resources) ต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ หน่วยความจำสำรอง ฐานข้อมูล และ โปรแกรมต่าง ๆ เป็นต้น ในระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) มักเรียกว่าคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ในระบบเครือข่ายระยะไกล ที่ใช้เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ หรือ มินิคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลางของเครือข่าย เรานิยมเรียกว่า Host Computer และเรียกเครื่องที่รอรับบริการว่าลูกข่ายหรือสถานีงานในการเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อกับเครื่องลูกข่าย

Network Interface

แก้
       Network  Interface  Card (NIC) หมายถึง แผงวงจรสำหรับใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณของเครือข่าย จะติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย และเครื่องที่เป็นลูกข่าย

หน้าที่Network Interface Card (NIC) คือ แปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ส่งผ่านไปตามสายสัญญาณ ทำให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้ ในอดีตการ์ดเน็ตเวิร์กจะเป็นแบบบัส ISA ซึ่งใช้เสียบลงไปบนสลอต ISA บนเครื่องคอมพิวเตอร์และต้องมานั่งเซตจั๊มเปอร์ของ IRQ. Address เพื่อไม่ให้ไปชนกับอุปกรณ์อื่นๆ อีกด้วย

Operating System

แก้
          ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมต่อระหว่างฮาร์ดแวร์ (Hardware) กับ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไปซึ่งทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้อีกที โดยจะทำหน้าที่ควบคุมการแสดงผล การทำงานของฮาร์ดแวร์ ให้บริการกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไปในการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ และจัดสรรการใช้ทรัพยากรระบบ (Resources) ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยทั่วไประบบปฏิบัติการนั้น ไม่ได้มีแต่เฉพาะในคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่มีอยู่ในอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์หลายชนิด เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์พกพา พีดีเอ แท็บเล็ตต่างๆ โดยจะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ และติดต่อกับผู้ใช้ผ่านโปรแกรมประยุกต์ (Application) ตัวอย่างของระบบปฏิบัติการในคอมพิวเตอร์ ได้แก่ Windows, Linux, Mac OS, Solaris, Ubuntu ส่วนตัวอย่างของระบบปฏิบัติการใช้มือถือได้แก่ Windows Mobile, iOS, Android เป็นต้น

อุปกรณ์เครือข่าย (Network devices)

แก้
  • ฮับ (HUB)


   	 เป็นอุปกรณ์ช่วยกระจ่ายสัญญาณไปยังเครื่องต่างๆที่อยู่ในระบบ หากเป็นระบบเครือข่ายที่มี 2 เครื่องก็ไม่จำเป็นต้องใช้ฮับสามารถใช้สายสัญญาณเชื่อมต่อ ถึงกันได้โดยตรง  แต่หากเป็นระบบที่มีมากกว่า 2 เครื่องจำเป็นต้องมีฮับเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ในการเลือกซื้อฮับควรเลือกฮับที่มีความเร็วเท่ากับความเร็ว ของการ์ด เช่น  การ์ดมีความเร็ว  100 Mbps ก็ควรเลือกใช้ฮับที่มีความเร็วเป็น 100 Mbps ด้วย ควรเป็นฮับที่มีจำนวนพอร์ตสำหรับต่อสายที่เพียงพอกับ เครื่องใช้ในระบบ  หากจำนวนพอร์ตต่อสายไม่เพียงพอก็สามารถต่อพ่วงได้  แนะนำว่าควรเลือกซื้อฮับที่สามารถต่อพ่วงได้  เพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคต
  • สวิช (Switch)


        อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการเพิ่มหรือขยายพอร์ทให้เพิ่มขึ้น โดยส่วนใหญ่ Modem Router ที่ได้มาจากผู้ให้บริการจะมีพอร์ท Switch ตั้งแต่ 1-4 พอร์ท แล้วแต่รุ่น แต่เราสามารถเพิ่มพอร์ทให้มีมากขื้นโดยใช้งาน Switch ดังกล่าว แต่เดิมหลาย ๆ คนเรียกว่า Hub ซึ่งแท้จริงแล้วในปัจจุบันหาซื้อ Hub แทบไม่มีแล้วเนื่องจาก Hub เป็นเทคโนโลยีที่เก่าแล้ว เป็นฟังก์ชั่นส์หรืออุปกรณ์ซึ่งอยู่ใน Layer 1 ของ OSI Layer Reference Model แต่ Switch ทำงานอยู่ใน Layer 2 มีความฉลาดกว่า เร็วกว่า มีการแชร์ความเร็วที่ดีกว่า Hub เรียนรู้การใช้งาน MAC Address ได้
  • เราเตอร์ (Router)


       เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงให้เครือ ข่ายที่มีขนาดหรือมาตรฐานในการส่งข้อมูลต่างกัน สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ เราเตอร์จะทำงานอยู่ชั้น Network หน้าที่ของเราเตอร์ก็คือ ปรับโปรโตคอล (Protocol) (โปรโตคอลเป็นมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูล บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์) ที่ต่างกันให้สามารถสื่อสารกันได้
  • เกตเวย์ (Gateway)


          เกตเวย์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อีกอย่างหนึ่งที่ช่วยในการสื่อสารข้อมูล คอมพิวเตอร์หน้าที่หลักคือช่วยให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์  2 เครือข่ายหรือมากกว่า ซึ่งมีลักษณะไม่เหมือนกันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้เหมือนเป็นเครือข่าย เดียวกัน
  • ไฟร์วอลล์ (Firewall)


           Firewall นั้นหากจะแปลตรงตัวจะแปลว่ากำแพงไฟ แต่ที่จริงแล้ว firewall นั้นเป็นกำแพงที่มีไว้เพื่อป้องกันไฟโดยที่ตัวมันเองนั้นไม่ใช่ไฟตามดังคำแปล firewall ในสิ่งปลูกสร้างต่างๆนั้นจะทำด้วยอิฐเพื่อแยกส่วนต่างๆของสิ่งปลูกสร้างออกจากกันเพื่อที่ว่าในเวลาไฟไหม้ไฟจะได้ไม่ลามไปทั่วสิ่งปลูกสร้างนั้นๆ หรือ Firewall ในรถยนต์ก็จะเป็นแผ่นโลหะใช้แยกส่วนของเครื่องยนต์และส่วนของที่นั่งของผู้โดยสารออกจากกันในเครือข่าย Internet นั้น firewall อาจถูกใช้สำหรับป้องกันไม่ให้ "ไฟ" จากเครือข่าย Internet ภายนอกลามเข้ามาภายในเครือข่าย LAN ส่วนตัวของท่านได้ หรืออาจถูกใช้เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ใน LAN ของท่านออกไปโดน "ไฟ" ในเครือข่าย Internet ภายนอกได้ ตามคำจำกัดความแล้ว firewall หมายความถึง ระบบหนึ่งหรือกลุ่มของระบบที่บังคับใช้นโยบายการควบคุมการเข้าถึงของระหว่างเครือข่ายสองเครือข่าย โดยที่วิธีการกระทำนั้นก็จะแตกต่างกันไปแล้วแต่ระบบ แต่โดยหลักการแล้วเราสามารถมอง firewall ได้ว่าประกอบด้วยกลไกสองส่วนโดยส่วนแรกมีหน้าที่ในการกั้น traffic และส่วนที่สองมีหน้าที่ในการปล่อย traffic ให้ผ่านไปได้

สายสัญญาณ

แก้

สายโคแอกเชียล

แก้

สายโคแอกเชียล เป็นตัวกลางการเชื่อมโยงที่มีลักษณะเช่นเดียวกับสายทีวีที่มีการใช้งานกันอยู่เป็นจำนวนมากไม่ว่าจะใช้ในระบบเครือข่ายเฉพาะที่ และใช้ในการส่งข้อมูลระยะที่ไกลระหว่างชุมสายโทรศัพท์หรือการส่งข้อมูลสัญญาณวีดีทัศน์ ซึ่งสายโคแอกเชียลที่ใช้ทั่วไปก็มีอยู่ 2 ชนิด คือ 50 โอห์ม ซึ่งใช้ส่งข้อมูลแบบดิจิทอล และชนิด 75โอห์ม ซึ่งก็จะใช้ส่งข้อมูลสัญญาณอนาล็อก สายโคแอกเชียลมีฉนวนหุ้มเพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้า และก็เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนอื่น ๆ ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สายแบบนี้มีช่วงความถี่ที่สัญญาณไฟฟ้าสามารถส่งผ่านได้กว้างถึง 500 Mhz จึงสามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราของการส่งสูงขึ้น

สายคู่บิดเกลียวและการเข้าสาย

แก้
*สายคู่บิดเกลียว  ( twisted   pair )  ในแต่ละคู่ของสายทองแดงซึ่งจะถูกพันกันตามมาตรฐาน    เพื่อต้องการลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากับคู่สายข้างเคียงได้แล้วผ่านไปยังสายเคเบิลเดียวกัน  หรือจากภายนอกเท่านั้น    เนื่องจากสายคู่บิดเกลียวนั้นมีราคาไม่แพงมากใช้ส่งข้อมูลได้ดี  แล้วน้ำหนักเบา ง่ายต่อการติดตั้ง  จึงทำให้ถูกใช้งานอย่างกว้างขวางตัวอย่างคือสายโทรศัพท์สายแบบนี้มี 2 ชนิดคือ

2.1 สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน (Shielded Twisted Pair : STP) เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นนอกที่หนาอีกชั้นดังรูป เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า


สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน

2.2 สายคู่เกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน (Unshielded Twisted Pair : UTP) เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นนอกด้วยซึ่งบางทีก็หุ้มอีกชั้นดังรูป ซึ่งทำให้สะดวกในการโค้งงอ แต่ก็สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้น้อยกว่าชนิดแรก


สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน

  • การเข้าสาย

การต่อสาย UTP จะมีวิธีต่ออยู่ 2 แบบคือ การต่อแบบไขว้ และต่อแบบตรง โดยที่การต่อแบบไขว้จะใช้สำหรับการต่อเครื่อง 2 เครื่องเข้าด้วยกัน และการต่อแบบตรงจะเป็นการต่อเครื่องทุกเครื่องเข้ากับ ฮับ ซึ่งจะมีวิธีการต่อสายแต่ละแบบดังนี้

  • วิธีการต่อสายแบบไขว้

การเข้าหัว LAN สำหรับทำสายตรง (Straight-Through Cable) การเข้าหัว LAN สำหรับทำสายตรงนั้นมี 2 แบบดังนี้ แบบที่ 1 การเข้าหัวทั้งสองฝั่งเป็นแบบ TIA/EIA 568A ดังรูปข้างล่าง


แบบที่ 2 การเข้าหัวทั้งสองฝั่งเป็นแบบ TIA/EIA 568B ดังรูปข้างล่าง


การเข้าหัว LAN สำหรับการทำสายครอส (Crossover Cable) การเข้า LAN สำหรับการทำสายครอสนี้สามารถทำได้ง่ายๆ คือ ฝั่งหนึ่งเข้าหัวตามมาตรฐาน TIA/EIA 568A และอีกฝั่งหนึ่งเข้าหัวตามมาตรฐาน TIA/EIA 568B ดังรูปข้างล่าง





สายใยแก้วแสง

แก้

สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable) เป็นตัวกลางของสัญญาณแสงชนิดหนึ่ง ที่ทำมาจากแก้วซึ่งมีความบริสุทธิ์สูงมาก สายใยแก้วนำแสงมีลักษณะเป็นเส้นยาวขนาดเล็ก มีขนาดประมาณเส้นผมของมนุษย์เรา สายใยแก้วนำแสงที่ดีต้องสามารถนำสัญญาณแสงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้ โดยมีการสูญเสียของสัญญาณแสงน้อยมาก

รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย

แก้

ระบบเครือข่ายแบบ Peer to Peer

แก้
         ระบบเครือข่ายแบบ Peer to Peer เป็นระบบเครือข่ายขนาดเล็ก เหมาะสำหรับหน่วยงาน ที่มีคอมพิวเตอร์จำนวนไม่มาก ระบบ Peer to Peer นี้ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อกันบนเครือข่ายไม่มีเครื่องใดทำหน้าที่บริหารจัดการเครือข่าย กล่าวคือ คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง สามารถเข้าไปใช้ไฟล์ที่เก็บบนเครื่องไหนก็ได้รวมถึงเครื่องพิมพ์อาจถูกติดตั้งไว้ที่คอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งก็ได้ ซอฟต์แวร์ที่ใช้คือ Windows for Workgroups, Windows 95,98,2000 การติดตั้งเพียงแต่เพิ่มอุปกรณ์ที่เรียกว่า Lan Card ในแต่ละเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีต่อสายแลน เข้าไปสู่ อุปกรณ์ที่เป็นตัวกลาง ซึ่งเรียกว่า HUB


ระบบเครือข่ายแบบ Client / Server

แก้

ระบบเครือข่ายแบบ Client / Server มีการใช้คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเป็นเครื่องหลัก ทำหน้าที่ให้บริการเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งจัดแบ่งปันแฟ้มข้อมูลแก่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ที่ทำหน้าที่เป็นลูกข่าย คอมพิวเตอร์เครื่องหลักนี้ เรียกว่า File Server (ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมในการเก็บข้อมูล ทำให้สะดวกในการบริหารข้อมูล) File Server นี้จะต้องเปิดทิ้งไว้ ห้ามปิดในระหว่างการใช้งาน ส่วนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานทั่ว ๆ ไปเราเรียกว่า Work Station สำหรับอุปกรณ์ที่จำเป็นในการติดต่อระบบเครือข่าย คือ สายเคเบิล และการ์ดเครือข่าย (LAN Card) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการไหล ของข้อมูล นอกจากนี้ยังต้องมี HUB ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการกระจายสัญญาณไปตาม Work Station ต่าง ๆ ซอฟต์แวร์ที่เป็นที่นิยมในระบบเครือข่ายคือ Netware, Windows NT, Unix เป็นต้น


LAN Technology

แก้

โทโปโลยีแบบบัส (Bus Topology)

แก้
          รูปแบบการเชื่อมต่อแบบบัสจะเชื่อมต่อกันบนสายสัญญาณเส้นเดียวกัน(Backbone)โดยจำเป็นต้องมี  T-Connector เป็นตัวแปลงสัญญาณข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ และจำเป็นต้องมี Terminator ปิดที่ด้านท้ายและหัวของสายสัญญาณ เพื่อดูดซับไม่ให้สัญญาณสะท้อนกลับการส่งผ่านข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้งสองด้านที่เครื่องนั้นได้เชื่อมต่ออยู่ โดยเครื่องปลายทางจะคอยตรวจสอบแพ็คเกจว่าตรงกันกับตำแหน่งของตนเองหรือไม่ หากไม่ก็จะผ่านไป เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งที่กำลังส่งข้อมูลอยู่ เครื่องอื่นๆจะไม่สามารถส่งข้อมูลได้  เนื่องจากสายสัญญาณเป็นสื่อกลางที่ใช้ร่วมกัน ดังนั้นหากมีการเชื่อมต่อแบบบัสจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงจำนวนเครื่องที่จะใช้ในเชื่อมต่อเครือข่าย




โทโพโลยีแบบดาว (Star Topology)

แก้
          Star Topology เป็นรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต่อสายเข้าไปที่อุปกรณ์ที่เรียกว่า Hub หรือ Switch (จะกล่าวถึงอุปกรณ์ network ในบทต่อไป) โดยอุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่รับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องต่างๆในระบบ LAN ข้อดีของระบบแบบดาวนี้คือสามารถควบคุมดูแลได้สะดวกเนื่องจากมีจุดควบคุมอยู่ที่จุดเดียว เมื่อเครื่องใดเครื่องหนึ่งเกิดชำรุด ระบบก็จะยังคงทำงานได้ตามปรกติ การส่งข้อมูลไม่จำเป็นต้องรอคอยเครื่องใดๆสามารถส่งข้อมูลไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์เป้าหมายได้เลย แต่มีข้อเสียคือต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก ได้แก่ เครื่องสวิตช์หรือฮับ รวมถึงอุปกรณ์สายสัญญาณที่ต้องสิ้นเปลืองกว่าระบบอื่นๆ ประการที่สอง หากอุปกรณ์ที่เป็นศูนย์กลางชุดรุดระบบก็จะไม่สามารถทำงานได้ทั้งระบบ

โทโปโลยีแบบวงแหวน (Ring Topology)

แก้
         Ring Topology เป็นระบบที่มีการส่งข้อมูลไปในทิศทางเดียวกันโดยมีลักษณะเป็นวงกลมหรือวงแหวน (Ring Topology บางระบบสามารถส่งได้ 2 ทิศทาง) โดยจะมีเครื่อง Server ในการปล่อย Token เพื่อตรวจสอบว่ามีเครื่องคอมพิวเตอร์ใดต้องการส่งข้อมูลหรือไม่ เครื่องใดที่ต้องการส่งข้อมูลก็จะต้องรอให้เครื่องอื่นๆส่งข้อมูลให้เสร็จสิ้นเสียก่อน (เช่นเดียวกับบัส) 

ข้อดีของโทโปโลยีแบบวงแหวนคือการส่งข้อมูลสามารถส่งไปยังผู้รับหลาย ๆ เครื่องพร้อมกันได้ โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงไปในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล ซึ่ง repeater ของแต่ละเครื่องจะคอยตรวจสอบเองว่ามีข้อมูลส่งมาให้ที่โหนดตนเองหรือไม่ ข้อเสีย หากวงแหวนชำรุดหรือขาด จะส่งผลกระทบต่อระบบทั้งหมด และตรวจสอบได้ยากเช่นเดียวกันหากระบบเกิดมีปัญหา

โทโพโลยีแบบเมช (Mesh Topology)

แก้
           Mesh Topology ถือว่าเป็นการเชื่อมโยงแบบ point to point โดยแต่ละเครื่องจะมีการเชื่อมโยงที่เป็นของตนเอง ข้อดีของรูปแบบเมชคือไม่มีการแชร์ข้อมูลกันระหว่างเครื่องใดๆ จึงสามารถใช้แบนด์วิดท์ (bandwidth) ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ มีความปลอดภัยสูงเนื่องจากเป็นกันสื่อสารกันระหว่าง 2 เครื่องไม่มีเครื่องอื่นๆเลย แต่มีข้อเสียคือเป็นรูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายที่สิ้นเปลืองสายสื่อสารมากที่สุด 

WAN Technology

แก้

เครือข่ายแบบสลับวงจร (Circuit–Switching Network)

แก้
            เป็นบริการระบบเครือข่ายสาธารณะขั้นพื้นฐาน เช่น ระบบโทรศัพท์และระบบสายเช่า (leased line) ระบบเครือข่ายแบบสลับวงจรจะเป็นการเชื่อมต่อทางกายภาพของวงจรระหว่างจุดต่อจุด    (point-to-point) เพื่อให้สามารถติดต่อส่งข้อมูล (หรือเสียง) กัน โดยการเชื่อมวงจรอาจเชื่อมอยู่ตลอดเวลาเช่นสายเช่าหรือเชื่อมต่อเมื่อมีการติดต่อเช่นโทรศัพท์ก็ได้ รวมทั้งอาจเป็นเครือข่ายอนาลอกเช่น โทรศัพท์หรือเครือข่ายดิจิตอลเช่น ISDN ก็ได้ จึงมีข้อดีคือมีอัตราความเร็วในการสื่อสารที่คงที่อยู่ ตลอดเวลา เนื่องจากไม่ต้องทำการแบ่งช่องทางกับผู้อื่นแต่จุดด้อยคือต้องมีการเชื่อมต่อกันทุกๆ จุด ที่มีการติดต่อกัน 

เครือข่ายแบบสลับแพคเกต (Packet Switching DataNetwork)

แก้
           เป็นระบบเครือข่ายที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน มีการทำงานโดยใช้วิธีแบ่งข้อมูลที่ต้องการส่งระหว่างจุดสองจุดออกเป็นชิ้น (packet) เล็กๆ เพื่อทำการส่งไปยังจุดหมายที่ต้องการ การแบ่งข้อมูลออกเป็นแพกเกตมีข้อดีคือ ทำให้สามารถใช้ช่องทางการสื่อสารข้อมูลเพียงช่องทางเดียวในการเชื่อมเข้าสู่เครือข่าย ไม่ว่าจะมีการติดต่อกันระหว่างกี่จุดก็ตาม รวมทั้งสามารถส่งแต่ละแพกเกตด้วยเส้นทางต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันเป็นตาข่าย และทำการรวมแต่ละแพคเกตกลับคืนเมื่อถึงจุดหมายแล้ว จึงเป็นการใช้ทรัพยากร (resource) ได้อย่างคุ้มค่าที่สุด


IP ADDRESS

แก้

คลาสของหมายเลขไอพี

แก้
       IP Address คือหมายเลขประจาเครื่องที่ต้องกาหนดให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องและ อุปกรณ์ทุกชิ้นในเครือข่ายเน็ตเวิร์ค โดยมีข้อแม้ว่าหมายเลข IP Address ที่จะกาหนดให้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องหรืออุปกรณ์ต่างๆ จะต้องไม่ซ้าซ้อนกัน ซึ่งเมื่อกาหนดหมายเลข IP Address ได้อย่างถูกต้องจะช่วยให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องและอุปกรณ์ต่างๆในเครือข่าย รู้จักกันรวมถึงสามารถรับส่งข้อมูลไปมาระหว่างกันได้อย่างถูกต้อง โดย IP Address จะเป็นตัวอ้างอิงชื่อที่อยู่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ตัวอย่างเช่น หากคอมพิวเตอร์ A ต้องการส่งไฟล์ข้อมูลไปให้คอมพิวเตอร์ B คอมพิวเตอร์ A จะต้องรู้จักหรือมองเห็นคอมพิวเตอร์ B เสียก่อน โดยการอ้างอิงหมายเลข IP Address ของคอมพิวเตอร์ B ให้ถูกต้อง จากนั้นจึงอาศัยโปรโตคอลเป็นตัวรับส่งข้อมูลระหว่างทั้ง 2 เครื่อง IP Address จะประกอบไปด้วยตัวเลขจานวน 4 ชุด ระหว่างตัวเลขแต่ละชุดจะถูกคั่นด้วยจุด “.” เช่น 10.106.59. โดยคอมพิวเตอร์จะแปลงค่าตัวเลขทั้ง 4 ชุดให้กลายเป็นเลขฐาน 2 ก่อนจะนาค่าที่แปลงได้ไปเก็บลงเครื่องทุกครั้ง และนอกจากนี้หมายเลข IP Address ยังแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้ 
        1.ส่วนที่ใช้เป็นหมายเลขเครือข่าย (Network Address) 
        2.ส่วนที่ใช้เป็นหมายเลขเครื่อง (Host Address) 
         ซึ่งหมายเลขทั้ง 2 ส่วนนี้สามารถแบ่งออกตามลักษณะการใช้งานได้ 5 Class ด้วยกันได้แก่ Class A, B, C, D และ E สาหรับ Class D และ E ทางหน่วยงาน InterNIC (Internet Network Information Center: หน่วยงานที่ได้รับการจัดตั้งจากรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งทาหน้าที่เกี่ยวกับการออกมาตรฐานและจัดสรรหมายเลข IP Address ให้กับคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายทั่วโลก) ได้มีการประกาศห้ามใช้งาน 
         Class A หมายเลข IP Address จะอยู่ในช่วง 0.0.0.0 ถึง 127.255.255.255 มีไว้สาหรับจัดสรรให้กับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อภายในเครือ ข่ายจานวนมากๆ 
         Class B หมายเลข IP Address จะอยู่ในช่วง 128.0.0.0 ถึง 191.255.255.255 มีไว้สาหรับจัดสรรให้กับองค์กรขนาดกลาง ซึ่งสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายได้มากถึง 65,534 เครื่อง 
         Class C หมายเลข IP Address จะอยู่ในช่วง 192.0.0.0 ถึง 223.255.255.255 มีไว้สาหรับจัดสรรให้กับองค์กรขนาดเล็กและใช้กับคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ในเครือ ข่ายอินเตอร์เน็ตสามารถต่อเชื่อมกับคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายได้ 254 เครื่อง 
         Class D หมายเลข IP Address จะอยู่ในช่วง 224.0.0.0 ถึง 239.255.255.255 สาหรับหมายเลข IP Address ของ Class นี้มีไว้เพื่อใช้ในเครือข่ายแบบ Multicast เท่านั้น 
         Class E หมายเลข IP Address จะอยู่ในช่วง 240.0.0.0 ถึง 254.255.255.255 สาหรับหมายเลข IP Address ของ Class นี้จะเก็บสารองไว้ใช้ในอนาคต ปัจจุบันจึงยังไม่ได้มีการนามาใช้งาน 


          Subnet mask เป็น Parameter อีกตัวหนึ่งที่ต้องระบุควบคู่กับหมายเลข IP Address หน้าทีของ Subnet mask ก้คืิอ การช่วยในการแยกแยะว่าส่วนใดภายในหมายเลข IP Address เป็น Network Address และส่วนใดเป็นหมายเลข Host Address ดังนั้น ท่านจะสังเกตได้ว่า เมื่อเราระบุ IP Address ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์์ เราจำเป็นต้องระบุ Subnet mask ลงไปด้วยทุกครั้ง

ใน Subnet Mask จะประกอบด้วยส่วนประกอบ 3 ส่วนคือ

          Network ID ใช้สำหรับแยกส่วนที่เป็น Network ID ออกจาก IP Address มีค่าเป็น 1 ทุก bit
          Subnet ID ใช้สำหรับแยก subnet ของ network มีค่าเป็น 1 ทุก bit
          Host ID ใช้สำหรับแยกส่วนที่เป็น Host ID ออกจาก IP Address มีค่าเป็น 0 ทุก bit
         จำนวน bit ใน Subnet ID จะเป็นตัวบอกว่าใน Network Address ที่กำหนดจะมีกี่ subnet โดยที่จำนวน subnet จะมีค่าเท่ากับ 2จำนวน bit ของ subnet ID- 2 ดังในตารางข้างล่างนี้ สำหรับสาเหตุที่จำนวน subnet หายไป 2 subnet ก็เนื่องจากตามมาตรฐานแล้วจะไม่ใช้ Subnet ID ที่มีค่าเป็น 0 ทุก bit หรือ 1 ทุก bit


  • หมายเหตุ จำนวน bit ของ Subnet ID ปกติแล้วต้องมีค่าตั้งแต่ 2 ขึ้นไป สำหรับในกรณีที่มีจำนวน bit เป็น 0 หมายความว่าไม่แบ่ง subnet หรืออีกความหมายหนึ่งก็คือใน network นั้นมีแค่ subnet เดียวเท่านั้น ตัวอย่างของ Subnet Mask ที่มีจำนวน Subnet ID เป็น 0 (คือไม่มี Subnet ID) ก็คือ Subnet Mask มาตรฐานของ network แต่ละ class นั่นเอง Subnet Mask มาตรฐานของแต่ละ class มีดังนี้



Private IP

แก้
  • ไอพีส่วนตัว (Private IP)
         ไอพีส่วนตัวมีไว้สำหรับใช้งานภายในองค์กรเท่านั้น ไม่ว่าองค์กรนั้นจะมีขนาดใหญ่หรือเล็กเพียงใดก็ตาม ได้แก่
         ไอพีส่วนตัว คลาส A เริ่มตั้งแต่ 10.0.0.0 ถึง 10.255.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.0.0.0 ขึ้นไป
         ไอพีส่วนตัว คลาส B เริ่มตั้งแต่ 172.16.0.0 ถึง 172.31.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.240.0.0 ขึ้นไป
         ไอพีส่วนตัว คลาส C เริ่มตั้งแต่ 192.168.0.0 ถึง 192.168.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.255.0.0 ขึ้นไปไอพีส่วนตัวข้างต้นถูกกำหนดให้ไม่สามารถนำไปใช้งานในเครือข่ายสาธารณะ (Internet) ได้

Public and Private IP Address

แก้
  • ไอพีแอดเดรส(Public IP Address)
       หมายเลข IP Address"Public IP" ของแต่ละเครื่องบนเครือขายInternet จะไม่ซ้ำกันโดยในการเชื่อมต่อ Internet ไปยังผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตจะจ่ายหมายเลข IP Address(ไอพี แอดเดรส)มาใช้ชั่วคราว 1 IPซึ่งเป็น หมายเลขIP ที่ใช้้จริงบนอินเตอร์เน็ตโดยเรียก หมายเลข IP นี้ว่า "Public IP Address " หมายเลข IP นี้จะเปลี่ยนไปทุกครั้งทีมีการเชื่อมต่อใหม่ โดยหมายเลข IP Address นี้ เป็นหมายเลขที่จะบอกความเป็นตัวตนของเครื่องนั้นในการสื่อสารกันในระบบ Internetโดยหมายเลข IP Address"Public IP" นี้เครื่อง Serverผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตจะเป็นผู้กำหนด จ่ายหมายเลข IP นี้มา

2. ไอพีแอดเดรส ภายใน(Private IP Address)

      หมายเลข IP Address"Private IP" คือหมายเลขไอพีเครื่อง แต่ละเครื่อง ในองค์กร หน่วยงาน โดยกำหนด ขึ้นมาเองเพื่อใช้ในองค์กรนั้นๆ เพื่อการสื่อสารภายใน ระบบเครือข่ายแลน หรือ อินทราเน็ต ภายในเท่านั้นโดยสามารถกำหนดได้ 2 รูปแบบ คือ
      1. กำหนดแบบ Dynamic วิธีนี้คอมพิวเตอร์ หรือ DHCP Server จะทำหน้าทีกำหนดหมายเลข IP และจ่ายเลขIPให้กับระบบคอมพิวเตอร์ในกรุ๊ปนั้น หรือเรียกการจ่ายไอพีแบบนี้ว่า (Automatic Private IP Address)
      2. กำหนดแบบ Static เป็นวิธีการกำหนดไอพีแอดแดรสแบบคงที่ โดยผู้ติดตั้งระบบ ทำหน้าที่กำหนด หมายเลข IP Address ให้แต่ละเครื่อง โดยห้ามกำหนด IP ซ้ำกัน หรือนอกเหนือจาก Work Group

ภายนอก

Routing Protocol

แก้

หลักการทำงานของเร้าท์เตอร์

แก้
          Routing Protocol คือโพรโทคอลที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน routing table ระหว่างอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆที่ทำงานในระดับ Network Layer (Layer 3) เช่น Router เพื่อให้อุปกรณ์เหล่านี้สามารถส่งข้อมูล (IP packet) ไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทางได้อย่างถูกต้อง โดยที่ผู้ดูแลเครือข่ายไม่ต้องแก้ไขข้อมูล routing table ของอุปกรณ์ต่างๆตลอดเวลา เรียกว่าการทำงานของ Routing Protocol ทำให้เกิดการใช้งาน dynamic routing ต่อระบบเครือข่าย

เร้าท์ติ้งเทเบิล

แก้
           จะประกอบด้วยเรคอร์ดหลายๆเรคอร์ดที่มีฟิลด์สำคัญต่างๆ เรคอร์ดนี้จะคล้ายกับเรคอร์ดในฐานข้อมูล แต่ในเชิงวิชาเน็ตเวิร์กจะเรียกเรคอร์ดนี้ว่า เร้าติ้งเอ็นทรี (Routing entry) ภายในตารางเร้าติ้งเทเบิลจะประกอบด้วย เร้าติ้งเอ็นทรีอยู่หลายบรรทัดเรียงต่อกัน ซึ่งมีฟิลด์สำคัญต่างๆดังนี้
           1.แหล่งที่มาของเร้าติ้งเอ็นทรี ว่าเรียนรู้มาจากเร้าติ้งโปรโคคอลใด หรือมาจากการเพิ่มเร้าติ้งโดยผู้ดูแลระบบ
           2.เป้าหมายปลายทาง ซึ่งเป็นได้ทั้งเน็ตเวิร์กแอดเดรสในคลาสหลักและในคลาสย่อย เช่น เน็ตเวิร์กแอดเดรส 10.0.0.0 ซึ่งป็นเน็ตเวิร์กแบบเต็มคลาส A และ 10.10.1.0/24 ซึ่งเป็นซับเน็ตแอดเดรสที่ซอยย่อยมาจากเน็ตเวิร์กคลาส A
          3.Administrative Distance (AD) เป็นตัวเลขบอกถึงลำดับความสำคัญหรือความน่าเชื่อถือของเร้าติ้งเอ็นทรีนี้ (trustworthiness)
          4.ค่าเมตริกหรือเรียกอีกอย่างว่าค่า Cost ของเส้นทางนี้ ซึ่งแต่ละเร้าติ้งโปรโตคอลจะมีหลักการกำหนดค่า Cost แตกต่างกัน
          5.แอดเดรสของเร้าเตอร์ตัวถัดไป (Next Hop Router) เพื่อส่งแพ็กเก็ตไปยังซับเน็ตแอดเดรสปลายทาง
          6.อินเตอร์เฟซของเร้าเตอร์ที่ใช้เป็นทางออกไปยังเร้าเตอร์ตัวถัดไป หรือไปยังซับเน็ตแอดเดรสปลายทาง เรียกว่า Outgoing Interface
          7.เร้าติ้งนี้ถูกสร้างมานานแค่ไหน

Static Routing Protocol

แก้
             การกำหนดค่าแบบคงที่เข้าไปในตัวเร้าเตอร์ เพื่อบอกให้เร้าเตอร์ทราบว่าหากต้องการจะส่งแพ็กเก็ตไปยังซับเน็ตแอดเดรสต่างๆจะต้องส่งไปหาเร้าเตอร์ตัวถัดไป(Next Hop Address) ตัวไหน หรือจะให้เร้าเตอร์ส่งออกไปทางอินเตอร์เฟซใด ซึ่งวิธีการนี้หากมีเร้าเตอร์จำนวนมากและมีซับเน็ตแอดเดรสต่างๆจำนวนมาก ผู้ดูแลเน็ตเวิร์กก็จะต้องใช้เวลามากในการค่อยๆเพิ่ม Static Route เข้าไปในเร้าติ้งเทเบิลของเร้าเตอร์ทุกตัวด้วยตัวเอง แต่วิธีการนี้ค่า AD หรือค่าลำดับความสำคัญสูงกว่าแบบ ไดนามิกเร้าติ้ง คือ จะพิจารณาสแตติกเร้าก่อนพิจารณาเส้นทางจากไดนามิกเร้า 

Dynamic Routing Protocol

แก้
           เป็นการสั่งให้รันเร้าติ้งโปรโตคอลขึ้นมา จะช่วยลดภาระของผู้ดูแลระบบเน็ตเวิร์กและทำให้การจัดการเน็ตเวิร์กเป็นไปได้อย่างง่ายดาย เมื่อรันเร้าติ้งโปรโตคอลขึ้นบนเร้าเตอร์แล้วทำกำหนดการเร้าติ้งโปรโตคอลไปยังอินเตอร์เฟซใดของเร้าเตอร์บ้าง จากนั้นเร้าเตอร์แต่ละตัวจะช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการทำให้ฐานความรู้ในเร้าติ้งเทเบิลมีความสมบูรณ์ และที่สำคัญเร้าติ้งโปรโตคอลยังสามารถตรวจจับความเปลี่ยนแปลงต่างๆในเน็ตเวิร์กโทโพโลยี และปรับปรุงเร้าติ้งเทเบิลให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของเน็ตเวิร์กโทโพโลยีโดยอัติโนมัติ  ซึ่งความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เช่น เร้าเตอร์เพื่อนบ้านดาวน์ลง อินเตอร์ เฟซของเร้าเตอร์ดาวน์ หรือ WAN Link ในเน็ตเวร์กมีปัญหา ซึ่งเป็นความสามารถที่หาไม่ได้ในการใช้

งานสแตติกเร้าต์ การปรับตัวเองอย่างทันท่วงทีนี้จึงเป็นที่มาของไดนามิกเร้าต์.

อ้างอิงแหล่งข้อมูล

แก้

http://551116.blogspot.com/2012/08/network-component-sms-atm-internet.html https://meeruang.wordpress.com https://sites.google.com/site/ojijhtvljf/xngkh-prakxb-khxng-rabb-kherux-khay-khxmphiwtexr http://archive.wunjun.com/technictani/1/95.html https://wirathadkamblog.wordpress.com/229-2/ https://yyweb123.wordpress.com/2011/09/10/network-interface-card/ http://www.itcomtech.net/article-all/73-operating-system.html https://powornprat52.wordpress.com/A2-network-devices/ http://www.it-guides.com/training-a-tutorial/network-system/what-is-firewall https://powornprat52.wordpress.com -network-devices/ https://sites.google.com/site/ojijhtvljf/xngkh-prakxb-khxng-rabb-kherux-khay-khxmphiwtexr http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=likecisco&month=27-05-2011&group=1&gblog=1 http://kampol.htc.ac.th/web1/subject/com_network/sheet/ch1_2_47.htm http://www.108like.com/computer/Network_Topologies.html http://www.nuch45.freeservers.com/2.htm http://ipadressa.weebly.com/ip-address-36173637-2-364936103610.html http://jodoi.org/router%20protocal.html