ผู้ใช้:Jirapong chantorn/กระบะทราย

ที่มาของคลังสาธารณะประเทศฝรั่งเศส

แก้

ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันจึงมีการพัฒนาสถาบันขึ้นมาหลายแห่งเพื่อทำหน้าที่สนับสนุนกา เพื่อให้สภามีความเข้มแข็ง

ศตวรรษที่17กษัตริย์ฝรั่งเศสมีความต้องการใช้เงินจำนวนมากมีคนชั้นสูงต้องการมีตำแหน่งในสภา จึงนำไปสู่การซื้อตำแหน่งๆ โดยการทำการกตกลงกับกษัตริย์เพื่อเป็นการยืนยันว่าจะได้รับตำแหน่งเหล่านั้นอย่างแน่นอนการกระทำดังกล่าวจะเป็นตำแหน่งของชนชั้นสูงที่เรียกว่าอีลีท ปีคศ. 1604 มีการสร้างระบบภาษีใหม่ขึ้นมาที่มีชื่อว่าภาษีพอเล็ต ซึ่งจะสนับสนุนให้ผู้ที่เป็นสมาชิกของสภาสามารถตั้งสำนักงานจัดเก็บภาษีนี้ในนามของสภาได้เพื่อส่งเงินให้กับรัฐบาลกษัตริย์โดยถือว่าสิทธิ์ในการตั้งสานักงานเก็บภาษีสามารถสืบทอดมรดกกับตระกูลโดยผู้ตั้งสำนักงานจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งสำหรับการจัดทำสำนักงานวิธีการนี้ดำเนินมาจนถึงศตวรรษที่ 18 เจ้าของสำนักงานในนามสภาจะได้รับสถานะทางสังคมผ่านการรับสิทธิในการแต่งงานกับตระกูลขุนนางกลุ่มโนเบิ้ลที่เป็นตระกูลเก่าแก่อันเป็นกลุ่มที่ทาหน้าที่ปกป้องบ้านเมืองสาเหตุนี้ปีคศ. 1700 สมาชิกของสภาส่วนใหญ่จึงกลายสภาพเป็นผู้ที่ร่ำรวย

ช่วงระยะเวลาการปกครองของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 (ปกครองระหว่างช่วงปีคศ. 1715-1774) และพระเจ้าหลุยส์ที่ 6 (ปกครองระหว่างช่วงปีคศ. 1774-1792) ได้มีที่ปรึกษาเพื่อทำหน้าที่เหมือนรัฐมนตรีในปัจจุบันเพื่อกำหนดนโยบายของรัฐและเสนอโครงการต่างเพื่อแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจและการเมืองแก่พระเจ้าแผ่นดินที่สมควรกล่าวถึงในที่นี้คือเทอร์กอร์ และเน็คเคอร์ ทั้งสองท่านนี้เป็นผู้ที่เสนอแนะให้มีการปฏิรูปปรับปรุงระบบภาษีของฝรั่งเศสใหม่โดยให้ทำการจัดเก็บภาษีจากชนชั้นสูงแต่วิธีนี้ไม่ความสำเร็จเกิดการประท้วงต่อต้านจากสภาหรือสภากฎหมายซึ่งสมาชิกของสภานี้ได้มาด้วยการคอรัปชั่นตำแหน่งเพื่อได้รับการแต่งตั้งจากกษัตริย์ฝรั่งเศส

ปัญหาทางด้านการเงินที่เกิดขึ้นกับท้องพระคลังกษัตริย์ฝรั่งเศสต้องขึ้นภาษีโดยมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้วางแผนดำเนินการทั้งหมดช่วงศตวรรษที่ 18 ราชวงศ์ฝรั่งเศสมีข้อบกพร่องในเรื่องการขาดความกระตือรือร้นในการแก้ไขปัญหาของประเทศและขาดเครื่องมือที่ใช้ในการติดตามนโยบายต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพดำเนินการมาตั้งแต่สมัยการปกครองของกษัตริย์หลุยส์ที่ 14 นับตั้งแต่ช่วงระยะเวลาสงครามกับสเปนหลังจากการสวรรคตของกษัตริย์หลุยส์ที่ 14 ผู้นำฝรั่งเศสได้เปลี่ยนไปใช้นโยบายในการหลีกเลี่ยงการขยายตัวของความขัดแย้งต่างๆที่จะนำไปสู่ความรุนแรงขนาดใหญ่ปีคศ. 1740 รัสเซียบุกเข้าโจมตีออสเตรียฝรั่งเศสถูกดึงเข้าสู่สงครามเพื่อช่วยเหลือต้านทานกองกาลังปรัสเซียเวียนนาและอังกฤษที่ร่วมเป็นพันธมิตรและเป็นศัตรูกับราชวงศ์ฮับเบิร์ก มาแต่เดิมการสงครามใช้เวลานานถึง 8 ปีโดยสิ้นสุดลงในปีคศ.1748 ปีคศ.1754 ฝรั่งเศสก็ทำสงครามอีกกับอังกฤษในบริเวณอเมริกาเหนือขณะเดียวกันบริเวณภายในทวีปยุโรปรัสเซียได้ทำสัมพันธไมตรีกับบริทิชโดยร่วมมือกันบังคับกษัตริย์หลุยส์ที่ 15 ให้ยกเลิกวัฒนธรรมที่เคยมีมาในอดีตเพื่อเป็นพันธมิตรกับออสเตรียโดยการปฏิวัติทางการเมืองหรือที่เรียกว่า "diplomatic revolution" เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในปีคศ. 1756 ซึ่งนำไปสู่สงครามเจ็ดปี กองทัพของพระเจ้าเฟ็ดเดอริคมหาราชเข้าโจมตีกองทัพฝรั่งเศสในขณะที่อังกฤษบุกเข้ายึดดินแดนฝรั่งเศสในคานาดา บริเวณคาริบเบียนและอินเดียช่วงการปกครองของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 (ปกครองระหว่างช่วงปีคศ. 1715-1774) ยังคงมีสงครามเกิดขึ้นต่อเนื่องกันอีกหลายครั้งถึงแม้ว่าบางอันจะมีมีผลกับการทำสัญญาสันติภาพแล้วก็ตามสาเหตุที่ทำให้ฝรั่งเศสต้องสูญเสียอินเดียและคานาดารวมทั้งสูญเสียตำแหน่งความเป็นผู้นำของยุโรปที่เคยเป็นมาในอดีตเหตุการณ์ครั้งนี้สะท้อนให้เห็นจากการทำสัญญาสงบศึกปารีสในปีคศ. 1763 ในปลายรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 จึงเริ่มเกิดการต่อต้านระบบการปกครองแบบกษัตริย์และวิธีการต่างๆที่ใช้ในการบริหารประเทศการปฏิวัติที่เริ่มต้นก่อตัวขึ้นในการเมืองส่วนหนึ่งมาจากความอ่อนแอของระบบศาลฝรั่งเศสในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ซึ่งมาจากการไม่มีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนและไม่มีศาลสูงสุดที่มีอำนาจเด็ดขาดไม่มีรัฐธรรมนูญที่ทำหน้าที่ทบทวนพระราชบัญญัติต่างๆแต่จะใช้ระบบที่ประณีประนอมเข้าแทนการปฏิวัติฝรั่งเศสนำไปสู่การล่มสลายระบอบกษัตริย์หลังจากนั้นฝรั่งเศสก็มีบรรยากาศที่เต็มไปด้วยการจลาจลมีกลุ่มการเมืองภาคประชาชนเกิดขึ้นมากมายโดยแต่ละกลุ่มต่างมีความขัดแย้งกันต่อมามีการก่อตั้งศาลยุติธรรมเพื่อการปฏิวัติ ณ กรุงปารีสได้มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อความปลอดภัยทั่วไปขึ้นมาโดยใช้ตำรวจเป็นกลไกในการขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ

นอกจากนี้ยังไม่มีความชัดเจนในบทบาทของความเห็นของสาธารณที่เรียกว่า “public opinion” ในประเด็นที่ว่ากลไกในการแสดงออกความคิดเห็นของประชาชนมีที่มาอย่างไรได้มีการสะท้อนความเห็นของสาธารณต่อนโยบายของรัฐบาลคณะปฏิวัติ ยุคการปกครองสมัยนโปเลียนโบนาปาร์ด (ปีคศ. 1804-1870) การปฏิวัติฝรั่งเศสครั้งแรกสิ้นสุดลงในปีคศ. 1799 เมื่อ นโปเลียนโบนาปาร์ดนำทหารบุกเข้ากรุงปารีสเพื่อปราบจลาจลและได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกษัตริย์ในปีคศ.1799 นโปเลียนได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นจักรพรรดินโปเลียนที่ I แห่งฝรั่งเศส ทำการปกครองฝรั่งเศสระหว่าง 15 สิงหาคมคศ. 1799 – 5 พฤษภาคมคศ. 1821 เป็นผู้นำทางการทหารและการเมือง ช่วงต้นศตวรรษที่ 19 การกระทำของเขามีผลต่อการการปฏิรูปการเมืองยุโรปทั้งหมดชื่อเสียงของเขาจึงปรากฏขึ้นในช่วงที่ฝรั่งเศสได้กลายเป็นสาธารณรัฐครั้งที่ I เป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในการวางแผนเพื่อให้ฝรั่งเศสบรรลุตามเป้าหมายแห่งความรุ่งเรืองปีคศ. 1799 ได้ทำรัฐประหารรัฐบาลฝรั่งเศสและแต่งตั้งตนเองเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดินคนแรก หลังจากนั้นรัฐสภาฝรั่งเศส ได้ประกาศแต่งตั้งให้เป็นจักรพรรดิแห่งฝรั่งเศส รัฐบาลฝรั่งเศสมีความพยายามที่จะทำระบบการจัดเก็บภาษีที่มีประสิทธิภาพเพื่อเป็นรายได้ให้แก่รัฐเพื่อนำมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายของรัฐบาลภาษีทัลลี เป็นแหล่งที่มาของรายได้หลักของราชวงศ์โดยผู้ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีประเภทนี้ได้แก่กลุ่มนักบวชชนชั้นสูงที่เป็นพวกโนเบิ้ลและพนักงานที่ทำงานให้กับมงกุฏราชกุมารบุคลากรทางด้านการทหารผู้พิพากษาอาจารย์มหาวิทยาลัยและมีเมืองที่ได้รับการยกเว้นคือปารีสการประเมินภาษีที่ต้องเสียและการจัดเก็บภาษีกษัตริย์ฝรั่งเศสได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ผู้ได้รับความไว้วางใจสำหรับการกำหนดภาษีที่จัดเก็บจะมีลักษณะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ที่ได้รับการมอบหมายเป็นผู้กำหนดโดยใช้วิจารณาญาณของพวกเขาเป็นคนกำหนดเช่นในบริเวณเขตบริททานีแลงกัวด็อกและเบอร์กันดี สมัยกษัตริย์หลุยส์ที่ 14 ได้ทรงสร้างระบบภาษีเพิ่มเติมที่เรียกว่าคาปิเตชั่น ใช้ครั้งแรกในปีคศ. 1695 ซึ่งทำให้ทุกคนต้องจ่ายภาษีรวมไปถึงพวกชนชั้นสูงที่เรียกว่าโนเบิ้ลและกลุ่มนักบวชนิกายโรมันคาทอลิคแต่กลุ่มชนชั้นสูงจะได้เปรียบในการจ่ายภาษีมากกว่าชนชั้นอื่นๆ

ปีคศ. 1749 ช่วงการปกครองของกษัตริย์หลุยส์ที่ 15 ได้มีการทำฐานภาษีใหม่ที่ยึดพื้นฐานบนการคิดสัดส่วนที่ต้องจ่ายให้รัฐในสัดส่วน 1/20 เท่าของผลผลิตที่ทำขึ้นเพื่อนามาช่วยลดการขาดดุลค่าใช้จ่ายของราชวงศ์และระบบภาษีนี้ได้ถูกใช้อย่างต่อเนื่องตลอดช่วงระบอบการปกครองแบบเก่าที่เรียกว่า “the ancien régime” การหาเงินของรัฐยังมีแหล่งที่มาของรายรับอื่นๆอีกได้แก่การเก็บค่าธรรมเนียมจากตำแหน่งต่างๆของรัฐเช่นการเก็บค่าธรรมเนียมจากสมาชิกของสภา พนักงานของศาลแขวงและเจ้าหน้าที่การเงินของรัฐ

ต่อมาพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ขึ้นครองราชย์หลังจากที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 เสด็จสวรรคตพระองค์บริหารราชการแผ่นดินโดยการแต่งตั้งที่ปรึกษาเพื่อให้ข้อเสนอแนะราชการต่างๆแก่พระองค์เป็นช่วงที่ฝรั่งเศสประสบปัญหาทางด้านการเงินที่เกิดขึ้นกับท้องพระคลังกษัตริย์ฝรั่งเศสจาเป็นต้องขึ้นภาษีกษัตริย์ฝรั่งเศสได้มอบหมายให้รัฐมนตรีคลังเป็นผู้วางแผนดำเนินการทั้งหมดซึ่งรัฐมนตรีคลังนั้นไม่ได้มีรากฐานมาจากชนชั้นสูงแต่ดั้งเดิม

[1]

โครงสร้างและระบบการคลัง

แก้

แหล่งที่มาของรายได้

แก้

แหล่งที่มาของรายรับขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แบ่งออกเป็น 3 ประเภทกว้างๆ ได้ดังต่อไปนี้

1.ภาษีอากร ภาษีอากรถือเป็นรายได้สำคัญรายได้หลักอีกแหล่งหนึ่งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่จะเป็นหลักประกันความเป็นอิสระทางการคลังของท้องถิ่น ซึ่งแบ่งออกเป็น2 ประเภท ดังต่อไปนี้

1.1. ภาษีอากรทางตรง

รายได้จากภาษีทางตรง ประกอบด้วย4 ประเภท ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งสามารถกำหนดอัตราภาษีส่วนนี้ได้โดยองค์กรของรัฐบาลกลางที่เรียกว่า สำนักเศรษฐกิจการคลัง สังกัดกระทรวงงบประมาณ มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องภาษีท้องถิ่นทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดฐานภาษีให้ท้องถิ่น ส่งให้ท้องถิ่นกำหนดอัตราภาษีต่อไป แล้วส่งต่อข้อมูลดังกล่าวมายังรัฐเพื่อทำการคำนวณภาษี ซึ่งรัฐก็จะส่งแบบเสียภาษีให้กับผู้เสียภาษีแต่ละราย และทำหน้าที่จัดเก็บและตรวจสอบภาษีโดยสำนักงานสรรพากรแห่งชาติ จัดสรรคืนให้ท้องถิ่นแต่ละแห่ง ดังนี้

1.1.1.ภาษีเพื่อการพักอาศัย ภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลไม่ว่าจะเป็นเจ้าของ ผู้เช่า หรือผู้ครอบครองโรงเรือนซึ่งมีเครื่องเรือนพร้อม ไม่ว่าบุคคลนั้นจะพักอาศัยอยู่ชั่วคราวหรือถาวรก็ตาม ซึ่งภาษีส่วนนี้จะมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 26.2 ของรายได้จากภาษีทางตรงทั้งหมด
ปฏิทินการจัดเก็บภาษีที่อยู่อาศัย

  • ปลายเดือนธันวาคม รัฐบัญญัติว่าด้วยงบประมาณประจำปี ซึ่งจะกำหนดเพดานภาษีไว้ เพื่อให้ท้องถิ่นกำหนดได้ไม่เกินอัตราภาษีนั้น
  • เดือนกุมภาพันธ์ แต่ละ อปท. จะได้รับบันทึกเอกสารจาก Public Finances General Directorate หรือ DGFiPเป็นหน่วยงานของรัฐบาลกลางที่รับผิดชอบ โดยเป็นบันทึกเกี่ยวกับฐานภาษีที่ใช้คำนวณในแต่ละท้องถิ่น และส่วนที่เป็นเงินชดเชย ซึ่งข้อมูลที่ได้รับจากส่วนกลางนี้ อปท.จะนำไปเป็นข้อมูลในการกำหนดงบประมาณของ อปท. ว่าอัตราภาษีจำนวนเท่าใด โดยในวันที่ 31 มีนาคม ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการออกเสียงงบประมาณของท้องถิ่นในสภาท้องถิ่น อปท. จะส่งข้อมูลเหล่านี้คืนส่วนกลาง
  • เดือน เมษายน – พฤษภาคม หน่วยงานกลางจะทำหน้าที่ควบคุมและตรวจสอบความถูกต้องของอัตราภาษีของแต่ละ อปท.ว่าอยู่ในเพดานที่รัฐกำหนดไว้หรือไม่
  • เดือน กรกฎาคม – สิงหาคม หน่วยงานกลางจะทำหน้าที่คำนวณภาษีของผู้เสียภาษีแต่ละราย
  • เดือนกันยายน รัฐจัดส่งแบบเสียภาษีให้แก่ผู้เสียภาษีแต่ละคน และวันที่ 15 พฤศจิกายน ถือว่าเป็นวันสุดท้ายในการเสียภาษี ถ้าไม่ดำเนินการเสียภาษีหลังจากนี้ จะได้รับจดหมายจากรัฐบาลกลาง โดยเพิ่มอัตราเสียภาษีอีกร้อยละ 10 ซึ่งถ้ายังไม่จ่ายจะดำเนินการยึดเงินจากบัญชีธนาคาร โดยบัญชีธนาคารของทุกคนในฝรั่งเศสรัฐบาลกลางจะมีหลักฐานเก็บไว้

จากปฏิทินภาษีดังกล่าว จะเห็นได้ว่า กว่า อปท. จะได้รับการจัดสรรเงินคืนต้องพ้นกำหนดวันที่ 15 พฤศจิกายน ทั้งนี้อปท. ออกเสียงข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อกำหนดอัตราภาษีตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม ถือเป็นช่องว่างของช่วงระยะเวลาที่ยาวนาน จึงมีผลกระทบต่อระบบรายได้ การเงินการคลังของแต่ละ อปท. จึงได้มีการออกแบบระบบการให้เงินล่วงหน้า ขึ้นมาให้รัฐบาลกลางจัดสรรเงินแก่ อปท.ล่วงหน้าเพื่อให้มีงบประมาณในการดำเนินงานกิจการของ อปท.นั้น

1.1.2.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน จะเรียกเก็บจากเจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างโดยคำนวณจากการประเมินค่าเช่าเฉลี่ยของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นๆ ภาษีส่วนนี้จะมีสัดส่วนอยู่ประมาณร้อยละ 25.1

1.1.3.ภาษีบำรุงท้องที่ จะเรียกเก็บจากเจ้าของที่ดินซึ่งไม่มีโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินนั้น โดยคำนวณจากราคาประเมินค่าเช่าเฉลี่ยของที่ดิน สัดส่วนของภาษีบำรุงท้องถิ่นจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4.4

1.1.4.ภาษีวิชาชีพและธุรกิจ จะเรียกเก็บจากนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาที่เป็นผู้ประกอบการทางด้านอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม เจ้าของธุรกิจ หรือผู้ประกอบวิชาชีพอิสระต่างๆ ภาษีส่วนนี้จะมีสัดส่วนสูงสุดคือประมาณร้อยละ 44.3

1.2. ภาษีอากรทางอ้อม เป็นรายได้ที่หน่วยการปกครองท้องถิ่นแต่ละแห่งเรียกเก็บในรูปแบบค่าเช่าค่าอากรและค่าธรรมเนียมต่างๆในรูปแบบการให้บริการเพิ่มเติม เช่น ค่าระวางขนส่ง, ค่าธรรมเนียมเพื่อการลงทุน, ค่าธรรมเนียมอาคารสูง,ภาษีป้าย,ค่าธรรมเนียมการต่อทะเบียนรถยนต์,ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขับขี่เป็นต้น นอกจากนี้ยังเรียกเก็บในรูปของค่าบริการที่ท้องถิ่นหรือองค์กรความร่วมมือในรูปวิสาหกิจต่างๆเป็นผู้จัดทำบริการเช่นค่าบริการกำจัดขยะและของเสีย,ค่าไฟฟ้า เป็นต้นรายได้ชนิดนี้ถือเป็นรายได้ที่อิสระที่สุดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะอยู่ในที่ห่างไกลจากส่วนกลางเช่นเทศบาลชนบทที่มีป่าไม้ในครอบครอง นอกจากนี้รายได้ชนิดนี้ขึ้นอยู่กับทรัพย์สินขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นว่ามีมากน้อยเพียงใด

2.เงินอุดหนุนจากรัฐ แต่ละปีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะได้รับการสนับสนุนทางเงินจากรัฐโดยทั่วไปประกอบด้วย3 รูปแบบ ดังต่อไปนี้

2.1.เงินอุดหนุนเพื่อการดำเนินงาน เงินอุดหนุนประเภทนี้เป็นลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไป มีเป้าหมายเพื่อชดเชยรายได้ของหน่วยการปกครองท้องถิ่นเพื่อการดำเนินงาน ซึ่งในแต่ละปีรัฐจะเป็นผู้กำหนดสัดส่วนเงินอุดหนุนส่วนนี้ตามฐานการคำนวณต่างๆ เช่น อัตราการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม, จำนวนผู้อยู่อาศัยและสภาพของชุมชน เป็นต้น จากตัวเลขในปี ค.ศ.1995 หน่วยการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาลจะได้รับเงินอุดหนุนส่วนนี้มากที่สุด (78.9%) รองลงมาได้แก่จังหวัด (16.9%) และภาค (4.2%) ตามลำดับ

2.2. เงินอุดหนุนเพื่อการลงทุน เงินอุดหนุนประเภทนี้เป็นลักษณะของการสนับสนุนทางการเงินในรายจ่ายที่อยู่ในระบบบัญชีเพื่อการลงทุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งฐานการจัดสรรเงินส่วนนี้จะแตกต่างกันไปตามลักษณะและรูปแบบของหน่วยการปกครองท้องถิ่น เช่น เทศบาลที่มีประชากรมากกกว่า 2,000 คน และองค์กรความร่วมมือระหว่างเทศบาล จะได้รับตามสัดส่วนของงบลงทุน ส่วนการปกครองระดับจังหวัดจะได้รับตามโครงการเพื่อการลงทุนโดยตรง โดยพิจารณาตามจำนวนผู้ยากไร้ในจังหวัดนั้นๆ รวมถึงความจำเป็นในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่เทศบาล เป็นต้น โดยกว่าครึ่งหนึ่งของเงินอุดหนุนด้านนี้จะจัดสรรให้กับเทศบาล ส่วนจังหวัดและภาคจะมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน

2.3. เงินอุดหนุนเพื่อการกระจายอำนาจ (donation globale de décentralisation - DGD) เงินอุดหนุนประเภทนี้ริเริ่มขึ้นภายหลังกระบวนการกระจายอำนาจ เพื่อให้ท้องถิ่นมีเงินงบประมาณเพียงพอต่อการดำเนินการตามอำนาจและภารกิจหน้าที่ ที่ได้รับการกระจายอำนาจ โดยส่วนใหญ่จะเป็นเงินอุดหนุนด้านการใช้จ่ายในภารกิจใหม่ๆ การฝึกอบรมบุคลากร และการลงทุนในด้านโรงเรียน โดยจังหวัดถือเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นที่ได้รับเงินอุดหนุนประเภทนี้มากที่สุด (เนื่องจากเป็นองค์กรที่รับภารกิจหน้าที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดภายหลังกระบวนการกระจายอำนาจ) คือประมาณร้อยละ 74.1 รองลงมาได้แก่ภาค ส่วนเทศบาลได้รับเงินอุดหนุนส่วนนี้น้อยที่สุด

3.เงินกู้ยืม (emprunts) ก่อนกระบวนการกระจายอำนาจในปี ค.ศ.1982 ท้องถิ่นมีข้อจำกัดในการกู้ยืมเงินเพื่อใช้ในการดำเนินกิจการ แต่ในปัจจุบันท้องถิ่นสามารถดำเนินการกู้ยืมเงินได้อย่างอิสระตามเงื่อนไขที่ปรากฎในท้องถิ่นทั่วๆไป โดยไม่จำเป็นต้องขออนุมัติหรือถูกกำหนดวงเงินกู้ยืมจากส่วนกลาง โดยแหล่งเงินทุนกู้ยืมที่สำคัญจะมาจากองค์กรที่รัฐจัดตั้งขึ้น คือ กองทุนเพื่อการออมทรัพย์และกู้ยืม (the Caisse des Dépots et Consignations) หรือ CDC โดยจะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินให้กับท้องถิ่น และทำหน้าที่ประสานงานกับธนาคารออมทรัพย์และแหล่งทุนอื่นๆ ซึ่งแหล่งทุนที่สำคัญได้แก่ กองทุนเพื่อการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

[2]

แหล่งที่มาของรายจ่าย

แก้

1.รายจ่ายตามลักษณะเศรษฐศาสตร์ ประกอบด้วย2 ส่วนคือ
1.1.รายจ่ายเพื่อการดำเนินงานเป็นรายจ่ายที่ต้องจ่ายเป็นประจำทุกปีเช่นรายจ่ายเพื่อการบำรุงรักษาอาคารสถานที่ ถนนหนทาง เงินเดือนค่าจ้าง ค่าครุภัณฑ์ รายจ่ายประกันสังคม รายจ่ายเกี่ยวกับนักศึกษาเงินอุดหนุนที่จ่ายให้กับองค์กรอื่นๆดอกเบี้ยเงินกู้ที่องค์กรยืมมาเป็นต้น รายจ่ายประเภทนี้คิดเป็นร้อยละ68.29ของรายจ่ายทั้งหมดของเทศบาล
1.2.รายจ่ายเพื่อการลงทุนเป็นรายจ่ายที่จ่ายเป็นครั้งคราว เช่น รายจ่ายที่ใช้ซื้อที่ดินสิ่งปลูกสร้าง รายจ่ายที่ใช้เงินต้นของเงินกู้ เป็นต้น

2.รายจ่ายตามลักษณะทางกฎหมาย
2.1 รายจ่ายที่จำเป็น คือรายจ่ายที่ต้องใช้หนี้ในทันที และรายจ่ายที่กฎหมายระบุไว้ชัดเจน เช่นค่าครุภัณฑ์ ค่าจ้างและเงินเดือน เป็นต้น รายจ่ายนี้ต้องบรรจุไว้ในงบประมาณในจำนวนที่เพียงพอต่อรายจ่ายที่มีจำนวนมาก ไม่เช่นนั้นรัฐบาลกลางจะเข้ามาแทรกแซงทำให้องค์กรมีอิสระในการตัดสินใจได้น้อย
2.2 รายจ่ายที่ต้องห้าม เป็นรายจ่ายที่กฎหมายบัญญัติกำหนดห้าม หรือรายจ่ายที่ไม่มีส่วนสัมพันธ์กับผลประโยชน์ของเทศบาล จังหวัด ภาคและมณฑล เช่น เงินที่องค์กรจ่ายให้กับศาสนา ถือว่าขัดกับมาตรา 2 แห่งกฎหมาย ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2448 หรือจ่ายให้กับเอกชนที่ไม่ผลประโยชน์กับองค์กร ถือว่าเป็นรายจ่ายที่ต้องห้าม

ระบบงบประมาณ

แก้

กรอบงบประมาณ

1 งบประมาณเพื่อการดำเนินงาน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้

1.1.งบประมาณรายจ่ายเพื่อการดำเนินงาน ได้แก่ เงินเดือน ค่าจ้างบุคลากร ค่าครุภัณฑ์ค่าประกันสังคมรายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเงินอุดหนุนที่ท้องถิ่นจ่าย เพื่อที่จะสามารถใช้จ่ายงบประมาณเพื่อการดำเนินงานได้

1.2.งบประมาณรายรับเพื่อการดำเนินงาน ได้แก่ภาษีท้องถิ่นเงินช่วยเหลือของรัฐ รายรับที่มาจากการบริหารจัดการการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น ใบแจ้งหนี้ค่าน้ำ ค่าธรรมเนียมการใช้สระว่ายน้ำ ค่าธรรมเนียมในการเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ต่างๆ หรือคูปองค่าอาหารโรงเรียน

ตัวอย่างงบประมาณรายจ่ายและรายรับเพื่อการดำเนินงานของเทศบาล (ปี 2009)
รายจ่ายเพื่อการดำเนินงาน รายรับเพื่อการดำเนินงาน
ค่าใช้จ่ายพนักงาน 40% ภาษีท้องถิ่น 46%
การชำระเงินทางสังคมและเงินอุดหนุน 15% ภาษีอื่นๆ 11%
รายจ่ายการดำเนินงานอื่นๆ 29% เงินอุดหนุนจากรัฐบาล 29%
การสนับสนุนทางการเงินในส่วนเงินทุน 16% รายได้อื่นๆ 14%



2.งบประมาณเพือการลงทุน มีลักษณะเดียวกับงบประมาณเพื่อการดำเนินงาน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

2.1.งบประมาณรายจ่ายเพื่อการลงทุนได้แก่เงินรายจ่ายจริงจากการลงทุนที่ดำเนินการจัดซื้อสิ่งปลูกสร้าง ที่ดิน วัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง เงินกู้ หรือเงินช่วยเหลือ เพื่อการลงทุนที่จ่าย ให้กับอปท.

2.2.งบประมาณรายรับเพื่อการลงทุนได้แก่เงินกู้เงินช่วยเหลือด้านการลงทุนที่รัฐจัดสรรให้ หรือเงินช่วยเหลือที่ได้จาก อปท.อื่น

ตัวอย่างงบประมาณรายจ่ายและรายรับเพื่อการลงทุนของเทศบาล (ปี 2009)
รายจ่ายเพื่อการลงทุน รายรับเพื่อการลงทุน
การชำระคืนเงินกู้ 18% รัฐบาลกลางและเงินอุดหนุน ภาษีท้องถิ่น 32%
เงินอุดหนุนการลงทุน 6% ภาษีอื่นๆ 11%
ค่าใช้จ่ายในการลงทุน 70% เงินกู้ 23%
รายจ่ายเพื่อการลงทุนอื่นๆ 16% การจัดหาเงินทุนจากส่วนปฏิบัติการ 36%

หลักการงบประมาณที่สำคัญ

แก้

1. หลักความสมดุลระหว่างรายรับ – รายจ่าย

ดำเนินการในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ไม่สามารถใช้ดำเนินการในระดับรัฐบาลกลางหรือการประกันสังคมเนื่องจากในระดับรัฐบาลกลางหรือการประกันสังคมเป็นลักษณะของงบเกินดุลหรือขาดดุลหรือเท่าดุลผลของหลักความสมดุลคือห้ามจัดทำหรืออนุมัติงบประมาณที่มีลักษณะเกินดุลรวมทั้งแต่ละส่วนของงบประมาณจะต้องมีลักษณะเฉพาะหรือมีอิสระต่อกันเช่นกรณีการห้ามกู้ยืมเงินเพื่อนำไปใช้ในการให้เงินช่วยเหลือในส่วนของการลงทุนอื่นๆ ในลักษณะที่เป็น เงินค่าจ้างหรือค่าตอบแทนของบุคลากร

ข้อยกเว้น คือ สามารถอนุมัติงบประมาณเพื่อการดำเนินงานในลักษณะเกินดุลเพื่อนำไปใช้เป็นงบประมาณเพื่อการลงทุนก่อสร้างสาธารณูปโภค

2.หลักการทองคำ

ห้ามกู้เงินใหม่มาใช้คืนเงินกู้เก่าเป็นหลักการที่นำไปใช้ค่อนข้างเคร่งครัดไม่อนุญาตให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำเงินที่กู้ยืมมาไปลงทุนในระบบสาธารณูปโภคองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องคืนเงินที่กู้มาโดยจะต้องมีรายรับเฉพาะที่ถูกกำหนดไว้ แล้วนำเงินนี้ไปใช้คืน ไม่ใช่ไปกู้เงินใหม่ ซึ่งถือว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย [3]

กระบวนการและขั้นตอนการจัดทำงบประมาณประจำปี

แก้

กระบวนการจัดทำงบประมาณ มีหลักสำคัญ คือ หลักระยะเวลา 1 ปีงบประมาณ หลักนี้ มีข้อพิจารณา คือ แต่ละปีงบประมาณจะต้องถูกจัดเตรียมและถูกเสนอโดยฝ่ายบริหาร เช่น นายกเทศมนตรี หรือประธาน อบจ. งบประมาณจำเป็นต้องได้รับอนุมัติจากสภาของท้องถิ่นเพื่อจัดเก็บภาษี ก่อนวันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี เช่น ในปีงบประมาณ 2011 ก็จะต้องได้รับการอนุมัติก่อนวันที่ 31 มีนาคม 2011 การกำหนดว่าปฏิทินงบประมาณของอปท. จะต้องเป็นก่อนวันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี เนื่องมาจาก อปท. จำเป็นต้องได้รับข้อมูล ข่าวสารจากรัฐ เพื่อจะได้เตรียมการจัดทำงบประมาณจึงไม่สามารถกำหนดให้เป็นช่วงต้นปีหรือปลายปีได้เช่นในกรณีของงบประมาณ ปี 2011 ของรัฐบาลกลางจะได้รับการอนุมัติจากรัฐสภา ในวันที่ 29 ธันวาคม 2010เพื่อเป็นการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลที่จะนำไปใช้ในการจัดเตรียมงบประมาณของ อปท. ซึ่งมีการอนุมัติก่อนวันที่ 31มีนาคม 2011 เป็นต้น งบประมาณของ อปท. จะไม่ได้รับอนุมัติจากสภา อปท. ทั้งหมดในครั้งเดียว แต่จะแบ่งออก เป็น 2ขั้นนตอน ได้แก่

ขั้นตอนที่ 1 การอนุมัติในรายละเอียด คือ อนุมัติแต่ละเภทของงบประมาณรายจ่าย

ขั้นตอนที่ 2 การอนุมัติในหมวดรายจ่าย ซึ่งเป็นงบประมาณที่มีนขนาดใหญ่กว่า โดยอนุมัติเป็นหมวดๆ ไป เช่น งบประมาณรายจ่ายเพื่อการดำเนินงาน เช่น จะมีหมวด 011 ที่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับ ค่าจ้าง เงินเดือนของบุคลากร เป็นต้น

1. ฝ่ายบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกประเภทวางแผนจัดทำเอกสารร่างงบประมาณรายรับ-รายจ่ายเป็นประจำทุกปี โดยทำเอกสารคาดการณ์ล่วงหน้า

2. ต้องผ่านการพิจารณาอนุมัติจากสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกประเภท ก่อนวันที่ 31 มีนาคม ของปี

3. ยื่นแผนงบประมาณรายรับ-รายจ่ายให้กับตัวแทนของรัฐบาล คือกระทรวงงบประมาณ เป็นหน่วยงานย่อยของกระทรวงเศรษฐกิจ การคลัง และการค้าต่างประเทศ

4. มีการตรวจสอบงบประมาณรายรับ-รายจ่าย โดยศาลตรวจเงินแผ่นดิน

5. ผ่านการพิจารณานาจากศาลตรวจเงินแผ่นดิน ให้รัฐมนตรีเป็นผู้มีอำนาจสั่งจ่าย

6. สมุห์บัญชี เป็นเจ้าหน้าที่ของกระทรวงงบประมาณ มีหน้าที่เป็นผู้จ่ายเงิน แต่ไม่ได้มีหน้าที่ควบคุม

7. ผู้ที่มีหน้าที่ควบคุมงบประมาณรายรับ-รายจ่าย หรือผู้ที่ได้รับเงิน คือสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกประเภท

การบริหารงบประมาณ

แก้

การบริหารงบประมาณถือเป็นความเฉพาะของประเทศฝรั่งเศสในการจัดการกับงบประมาณที่ได้รับการบริหารงบประมาณในนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนเช่นรัฐอปท.ตัวแทนของมหาชนจำเป็นต้องดำเนินการตามหลักการแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ระหว่างผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเงินและสมุหบัญชีผู้มีหน้าที่จ่ายเงินต้องมีการแบ่งแยกหน้าที่ไม่อย่างนั้นจะเกิดความไม่เป็นกลางในการทำหน้าที่เราเข้าใจกันแล้วว่าผู้มีอำนาจจ่ายเงิน คือ ผู้ตัดสินใจสั่งจ่ายเงิน แตกต่างจากผู้จ่ายเงิน คือ สมุห์บัญชีสาธารณะมีอำนาจเพียงผู้เดียวในการจ่ายเงินซึ่งเป็นข้าราชการของกระทรวงงบประมาณเห็นได้ชัดว่ามีการแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ชัดเจนระหว่างผู้มีอำนาจในการสั่งจ่ายเงินและผู้มีอำนาจในการจ่ายเงินในส่วนของผู้มีอำนาจในการสั่งก็มาดูตามแต่ละประเภทของ อปท.เห็นได้ว่าในระดับรัฐ ก็จะเป็นรัฐมนตรีที่มีอำนาจสั่งจ่าย ในหน่วยงานท้องถิ่นก็จะเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดหรือตัวแทนของรัฐในระดับท้องถิ่นในส่วนของอปท.ในระดับเทศบาลก็จะเป็นนายกเทศมนตรี ในเขตสหการ เป็นประธาน ในส่วนของ อบจ. เป็นประธานภาคก็เป็นประธานเช่นกัน ในส่วนของตัวแทนบริษัทมหาชนเป็นผู้อำนวยการที่มีอำนาจสั่งจ่าย เงินของ อปท. เป็นเงินที่ได้มาจากเงินช่วยเหลือ และรายได้ที่ อปท.เก็บได้ สมุห์บัญชี เป็นผู้จ่ายเงินจะเป็นข้าราชการ สังกัดกระทรวงงบประมาณ นี่คือ อีกส่วนหนึ่งที่พิจารณาว่า การควบคุมงบประมาณ มีทั้งภายนอกและภายในกรณีประเทศไทยการควบคุมภายในจะควบคุมโดยสำนักงบประมาณ หรือโดยกรมบัญชีกลางส่วนการควบคุมภายนอกจะควบคุมโดยสตง.แต่ที่พูดถึงท้องถิ่น ในส่วนของท้องถิ่นคือ สมุห์บัญชี เป็นผู้มีอำนาจจ่ายเงินแต่ไม่ได้เป็นผู้ควบคุม

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

แก้

หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำร่างงบประมาณประจำปีของรัฐบาลฝรั่งเศส องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกประเภทจะต้องวางแผนงบประมาณรายรับ-รายจ่าย เป็นประจำทุกปีโดยจัดทำเป็นเอกสารคาดการณ์ล่วงหน้าที่จัดทำขึ้นโดยฝ่ายบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโ ดยต้องผ่านการพิจารณาอนุมัติจากสภาท้องถิ่นเพื่อนำไปใช้บังคับ ระบบบัญชีงบประมาณโดยทั่วไปจะแยกออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

1.ระบบบัญชีงบประมาณเพื่อการดำเนินการ ได้แก่ ระบบงบประมาณรายรับ - รายจ่ายเพื่อใช้ในกิจการด้านงบประจำ การจัดซื้อจัดจ้างค่าจ้างและค่าตอบแทนบุคลากรและการใช้จ่ายเพื่อจัดทำภารกิจโดยทั่วไป

2.ระบบบัญชีงบประมาณเพื่อการลงทุน ได้แก่ ระบบงบประมาณรายรับ-รายจ่ายเพื่อใช้ในกิจการที่เป็นการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ หรือมีระยะเวลาดำเนินการยาวนาน เช่น งานด้านการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น โดยทั่วไป รายจ่ายเพื่อการดำเนินการจะเป็นสัดส่วนหลักของการใช้จ่ายในภาคท้องถิ่น กล่าวคือ ประมาณร้อยละ 60 - 70 ส่วนที่เหลือจะเป็นรายจ่ายเพื่อการลงทุน หน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลนโยบายการเงินของประเทศฝรั่งเศส

ศาลตรวจเงินแผ่นดินภาคซึ่งมีลักษณะเป็นการควบคุมให้ถูกต้องหรือชอบด้วยกฎหมายทั้งในด้านระบบบัญชีระบบงบประมาณและการบริหารงบประมาณขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการคลังให้กับท้องถิ่นเพื่อให้มีการปฏิบัติที่ถูกต้องภายหลังกฎหมายกลางเกี่ยวกับการกระจายอำนาจได้ออกบังคับใช้ในปีค.ศ.1982ได้มีการสร้างกลไกควบคุมทางการคลังขึ้นมาใหม่โดยใช้ระบบการควบคุม"ความชอบด้วยกฎหมาย" เช่นเดียวกันกับประเด็นทางปกครองที่มีศาลปกครอง นั่นคือ ศาลตรวจเงินแผ่นดินภาค (la chambresrégionales des comptes)เพื่อทำหน้าที่ควบคุมดูแลด้านการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทดแทนอำนาจในการควบคุมโดยตรงของรัฐบาลที่ถูกยกเลิกปัจจุบันมีอยู่ทั้งหมด 26 แห่ง กระจายอยู่ในทุกภาคของฝรั่งเศส มีอำนาจหน้าที่ใน 3 ประการ ดังต่อไปนี้

1.การควบคุมบัญชี ศาลตรวจเงินแผ่นดินมีหน้าที่ควบคุมและตรวจสอบบัญชีรายรับ-รายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่าเป็นไปโดยถูกต้องตาม โดยจะตรวจสอบเอกสารหลักฐานการใช้จ่ายทุกชนิดของหน่วยการปกครองท้องถิ่น บทบาทในด้านนี้จึงคล้ายกับเป็น "ผู้สอบบัญชี" ของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

2.การควบคุมงบประมาณ การควบคุมด้านนี้มีลักษณะเป็นการควบคุมระเบียบวิธีงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่ามีการดำเนินการโดยถูกต้องหรือไม่ซึ่งการควบคุมจำเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างตัวแทนของรัฐกับศาลตรวจเงินแผ่นดินภาค

3.การควบคุมการบริหารงบประมาณ บทบาทในด้านนี้มีลักษณะคล้ายกับเป็น "ที่ปรึกษาทางการคลัง"ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้การบริหารงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นไปอย่างถูกต้อง

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

แก้

รัฐธรรมนูญของฝรั่งเศสฉบับปัจจุบันมีผลบังคับใช้ครั้งแรกเมื่อปีค.ศ.1958แต่ก็มีการแก้ไขหมวดที่จำเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญปีค.ศ.2003มีผลกระทบโดยตรงต่อการกระจายอำนาจการคลังของฝรั่งเศสโดยเป็นการยกเลิกกฎหมายการคลังท้องถิ่นให้เป็นหลักการทางรัฐธรรมนูญ บริหารและตุลาการหลักการใหม่นี้เป็นการเพิ่มหลักการกระจายอำนาจทางการคลัง4 ประการคือ


1.หลักการความเป็นอิสระทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นการถ่ายโอนอำนาจโดยรัฐให้อิสระกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการกำหนดนโยบายทางการคลังแต่รัฐบาลจะมีองค์กรคอยกำกับดูแลกล่าวคือรัฐบาลยึดหลักแทรกแซงให้น้อยที่สุด 2.หลักการกำหนดฐานภาษีและจำนวนภาษี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิในการกำหนดฐานภาษีและจำนวนภาษีซึ่งเรียกเก็บจาการดำเนินกิจกรรมต่างๆของประชาชนและนำรายได้ไปพัฒนาท้องถิ่นต่อไป 3.หลักการถ่ายโอนอำนาจการคลังกับกรอบความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐให้งบประมาณสอดคล้องกับความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4.หลักการขจัดความเหลื่อมล้ำทางการคลังระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การได้งบประมาณไม่เท่ากันทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับรากหญ้าเกิดความขาดแคลนมาตรการขจัดความเหลื่อมล้ำมีอยู่ 3 ระดับ ได้แก่

  • ระดับแนวราบ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับสูงจะตั้งกองทุนช่วยเหลือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับรากหญ้า
  • ระดับแนวตั้ง ให้จัดเงินบริจาคให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับรากหญ้า
  • ระดับใกล้ชิด ใช้ในกรณีกำหนดขอบเขตอำนาจใหม่เพื่อจะได้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินอย่างรวดเร็ว

ประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฉบับนี้เป็นส่วนสำคัญในการวางรากฐานการกระจายอำนาจทางการคลังเนื่องด้วยเป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงประเภท ขอบเขต อำนาจหน้าที่ และการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในส่วนที่เกี่ยวกับการกระจายอำนาจ

[4]

ระบบคุ้มครองทางสังคม

แก้

โดยหลักการแล้วจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบยกเว้นให้เป็นภาระหน้าที่ของรัฐบาลกลางในเรื่องที่เกี่ยวกับความเป็นเอกภาพระดับชาติและเทศบาลอาจจะมีอำนาจในเรื่องที่เกี่ยวกับอนามัยและหน่วยป้องกันโรคระบบคุ้มครองทางสังคมเป็นการป้องกันไม่ให้ประชาชนตกอยู่ในสภาวะความเสี่ยงในการดำรงชีวิตโดยเฉพาะในกระแสเศรษฐกิจโลก จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายทางสังคมเพื่อรองรับสภาวะการว่างงานแรงงานผิดกฎหมายการย้ายถิ่นจากชนบทไปสู่ในเมือง รองรับสังคมผู้สูงอายุ เป็นโยบายที่อยู่ในภาพรวม เป็นการจัดการบริการสังคม ครอบคลุมเป้าหมายต่างๆการประกันสุขภาพหลักประกันเมื่อเกษียณอายุเหล่านี้เป็นนโยบายเร่งด่วนที่จะมีการพัฒนาต่อไปเรื่อยๆมีการพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมแบบสายกลางยังให้ความสำคัญกับทุนนิยมและไม่ละเลยระบบสวัสดิการสังคมให้ความสำคัญกับการคุ้มครองทางสังคมในชนบทเมืองและรองรับสังคมผู้สูงอายุซึ่งประเทศฝรั่งเศสได้มีสวัสดิภาพทางสังคม ได้แก่

1.การประกันสังคม ระบบประกันสังคมของประเทศเริ่มก่อตั้งในปี1945ผลประโยชน์ตอบแทนยึดหลักการชำระเงินก่อนแล้วเบิกคืนทีหลัง ซึ่งกองทุนได้มาจากเงินสมทบของลูกจ้างและนายจ้าง 67%(29% ของ GDP) และอีก 16% ได้มาจากภาษี และผลประโยชน์จัดสรรเป็นบำนาญให้แก่ผู้เกษียณอายุ 49.2% สาธารณสุข27.2% สงเคราะห์ครอบครัว12.8% และสมทบกองเงินสงเคราะห์การจ้างงาน(คนว่างงาน การฝึกอาชีพ) 8.4% การที่จำนวนผู้เกษียณอายุราชการเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ประกอบอาชีพ ประกอบกับความก้าวหน้าทางการแพทย์ ทำให้ระบบประกันสังคมฝรั่งเศส ประสบภาวะขาดทุนสะสม และกองทุนลดลง (609.8 ล้านยูโร ในปี 1999 เปรียบเทียบกับ 2.03 พันล้านยูโรใน ปี 1998)

2.สาธารณสุข ปี1999ประเทศฝรั่งเศสใช้จ่ายเงิน 132.7 พันล้านยูโร สำหรับการรักษาพยาบาล ซึ่ง 75% ได้รับการคุ้มครองจากระบบประกันสังคม (SécuritéSociale) โดยภาคเอกชน และบริษัทประกันภัยมีส่วนร่วมมากขึ้น แต่สืบเนื่องมาจาก ผลของความต้องการบริการทางการแพทย์ ระบบประกันสุขภาพสาธารณะ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบประกันสังคม ยังคงประสบภาวะขาดทุนสะสมถึง 0.91 พันล้านยูโร แม้ว่าจะมีการปฏิรูปไปแล้วก็ตาม

[5]

อ้างอิง

แก้
  1. เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และพัฒนาการของระบบการปกครองท้องถิ่นในฝรั่งเศส โปรดดู Alan Norton, International Handbook of Local and Regional Government: A Comparative Analysis of Advanced Democracies (Hants: Edward Elgar, 1994), pp. 121 - 128. ส่วนความเปลี่ยนแปลงในมิติต่างๆ ทั้งก่อนและหลังกระบวนการกระจายอำนาจ โปรดดู Vivien A. Schmidt, Democratizing France (Cambridge: Cambridge University Press, 1990).
  2. นันทวัฒน์ บรมานันท์, การปกครองท้องถิ่นฝรั่งเศส, หน้า 112.
  3. นันทวัฒน์ บรมานันท์, การปกครองท้องถิ่นฝรั่งเศส (กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายศึกษา, 2544), หน้า 58.
  4. OECD, OECD in Figures: Statistics on the Member Countries,(OECE Observer 2002/Supplement
  5. http:/ / edufrance. bangkok. free. fr/ chap18. html