ผู้ใช้:JamieMcKay/ทดลองเขียน

อายาวัสกา แก้

อายาวัสกา (Ayahuasca) มีชื่อมาจากภาษาแคชชัว (Quechua) ว่า ayawaska[1] ซึ่ง aya แปลว่าวิญญาณ (soul) และ waska แปลว่าเถาวัลย์[2] เป็นเครื่องดื่มที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท ปรุงขึ้นจากการต้มเถาวัลย์อายาวัสกา (Banisteriopsis caapi) กับพืชชนิดอื่นๆ เช่นใบชะครูนา (chacruna: Psychotria viridis) ใช้เป็นยาสมุนไพรในพิธีกรรมทางจิตวิญญาณของชนเผ่าพื้นเมืองในลุ่มน้ำอเมซอนในทวีปอเมริกาใต้[3] ในเถาวัลย์อายาวัสกามีสารประเภทอัลคาลอยด์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวยับยั้งเอมไซม์โมโนอามีนออกซิเดส (monoamine oxidase inhibitor: MAOI) ส่วนในพืชชนิดอื่นที่นำมาต้มรวมกันจะมีสารไดเมธธายทริบตามีน (dimethyltryptamine: DMT) ซึ่งเป็นสารธรรมชาติที่มีอยู่ในสัตว์และพืชจำนวนมาก รวมทั้งในร่างกายคนด้วย มีฤทธิ์ต่อระบบประสาททั้งในการเห็นภาพและความรู้สึกนึกคิด โดยปกติแล้วสาร DMT นี้จะถูกเอมไซม์ในระบบทางเดินอาหารในร่างกายคนย่อยสลายไปก่อนที่จะออกฤทธิ์ ดังนั้นสารประเภท MAOI ในอายาวัสกาจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้ DMT ไม่ถูกย่อยสลายไปและออกฤทธิ์ผ่านการดื่มได้[4]

ประวัติและการเผยแพร่ แก้

มีหลักฐานชี้ว่ามีการใช้อายาวัสกามาตั้งแต่ราว 1000 ปีก่อนสามัญศักราช (ประมาณ 3000 ปีมาแล้ว) เป็นอย่างน้อย เช่นการพบสารตกค้างจากอายาวัสกาในภาชนะที่ค้นพบในถ้ำทางตะวันตกเฉียงใต้ของโบลิเวียในปี 2010[5][6] ในช่วงศตวรรษที่ 16 ผู้เผยแพร่ศาสนาคริสต์จากสเปน (ประเทศผู้เข้ามายึดครองดินแดนในอเมริกาใต้) ได้เข้ามาพบชนเผ่าพื้นเมืองทางฝั่งตะวันตกของลุ่มน้ำอเมซอน (ปัจจุบันคือประเทศเปรูและเอกวาดอร์) ใช้อายาวัสกา แล้วเขียนอธิบายในรายงานฉบับแรกๆ ว่าเป็น "ฝีมือของปีศาจ"[7] ในศตวรรษที่ 20 นักเขียนชื่อวิลเลียม เอส เบอร์รูจส์ (William S. Burroughs) ได้อ่านบทความของริชาร์ด อีวานส์ โชลส์ (Richard Evans Schultes) เกี่ยวกับเรื่องอายาวัสกา จึงได้ออกตามหาอายาวัสกาในขณะที่เขากำลังเดินทางไปทั่วอเมริกาใต้ในช่วงปี 1950 ด้วยความหวังว่าจะสามารถช่วยบรรเทาหรือแก้อาการเสพติดฝิ่นได้[8] อายาวัสกาเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางเมื่อพี่น้องตระกูลแมคเคนนาตีพิมพ์ประสบการณ์ของพวกเขาในป่าอเมซอนในหนังสือ True Hallucinations ซึ่งภายหลัง เดนนิส แมคเคนนา ได้ศึกษาเภสัชวิทยา พฤกษศาสตร์ และสมบัติทางเคมีของอายาวัสกาและโอคูเฮ (oo-koo-he) จนกลายมาเป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาโทและปริญญาเอกของเขา[9] ริชาร์ด อีวานส์ โชลส์ ยอมให้โคลดิโอ นารันโฮ (Claudio Naranjo) จิตแพทย์ชาวชิลี และผู้บุกเบิกด้านจิตวิทยาบำบัดแบบองค์รวม ล่องเรือแคนูขึ้นไปตามลำน้ำอเมซอนเพื่อศึกษาอายาวัสกากับชาวพื้นเมืองชาวอเมริกาใต้ ในยุคปี 1970 และได้นำตัวอย่างเครื่องดื่มกลับมาเพื่อวิเคราะห์และตีพิมพ์บทความเชิงวิทยาศาสตร์ฉบับแรกถึงผลของสารอัลคาลอยด์ที่ออกฤทธิ์[10]

ในปี 2008 สถาบันวัฒนธรรมแห่งชาติเปรูได้ประกาศให้พิธีกรรมที่ใช้อายาวัสกาของชาวพื้นบ้านเป็น "หนึ่งในเสาหลักพื้นฐานอันเป็นเอกลักษณ์ของประชาชนผู้อาศัยอยู่ในเขตป่าอเมซอน" และเป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศเปรูที่ควรสงวนรักษาไว้[11] และในประเทศบราซิลก็กำลังมีการผลักดันให้การใช้อายาวัสกาในพิธีกรรมทางศาสนาเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศ[12]

การปรุงยา แก้

การปรุงอายาวัสกาเริ่มจากการนำท่อนเถาวัลย์อายาวัสกามาทุบให้ละเอียดและฉีกเป็นฝอย แล้วนำมาวางเรียงเป็นชั้นๆในหม้อต้มสลับกับพืชชนิดอื่นที่มีสาร DMT เช่น  Psychotria viridis (chacruna), Diplopterys cabrerana (chaliponga, chacropanga) หรือ Mimosa tenuiflora ใส่น้ำแล้วต้มอย่างต่อเนื่องประมาณ 2-4 วันจนได้เป็นน้ำสีน้ำตาลเข้ม[13] เครื่องดื่มที่ได้นี้จากมีความเข้มข้นของสาร DMT และ MAOI สูง ซึ่งสารทั้งสองชนิดนี้จะต้องทำงานร่วมกันโดย MAOI จะทำหน้าที่ยับยั้งไม่ให้เอมไซม์ในกระเพาะอาหารย่อยสลาย DMT และร่างกายก็จะสามารถดูดซึมสาร DMT เข้าสู่กระแสเลือดและสู่สมองต่อไปได้ ตามประเพณีแล้วผู้ปรุงจะเก็บใบชะครูนาทางด้านล่างของต้นในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น (เชื่อกันว่าเป็นเวลาที่ในใบชะครูนาจะมีสาร DMT สูงที่สุด) และทำพิธีสวดมนต์

ผลของยา แก้

ผู้ที่ดื่มอายาวัสกามักจะพบกับประสบการณ์ในเชิงศาสนาที่มีความลึกลับซับซ้อน และเกิดการเปิดโลกทางจิตวิญญาณ เข้าใจถึงจุดประสงค์ของการเกิดมาบนโลก ธรรมชาติที่แท้จริงของเอกภพและจักรวาล และเข้าใจถึงการเป็นคนดีที่สุดที่พวกเขาจะเป็นได้ได้อย่างลึกซึ้ง[14] หลายคนเรียกว่าเป็นการตื่นรู้ทางจิตวิญญาณ ถึงขนาดเรียกว่าเป็นการเกิดใหม่ (rebirth)[15] และบ่อยครั้งที่ผู้ดื่มมักจะรู้สึกถึงการเข้าถึงมิติทางจิตวิญญาณในชั้นที่สูงขึ้น และติดต่อสื่อสารกับวิญญาณหรือสิ่งมีชีวิตต่างมิติที่เป็นเหมือนผู้นำทางหรือผู้บำบัด[16]

หลังจากดื่มอายาวัสกาอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้จนอาเจียน ซึ่งทั้งพ่อหมอ (shaman) และผู้ใช้ที่มีประสบการณ์จำนวนมากมองว่า การอาเจียนคือส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของประสบการณ์การดื่ม เพราะเป็นการชำระล้างพลังงานทางลบและอารมณ์ความรู้สึกเชิงลบที่ถูกสั่งสมมาตลอดชีวิต[17] การชำระล้างยังสามารถแสดงออกในรูปแบบการขับถ่ายทางทวารหนักด้วย การดื่มอายาวัสกายังอาจก่อให้เกิดความเครียดทางจิตและอารมณ์ความรู้สึกอย่างรุนแรง แต่จะเป็นแค่ชั่วขณะเท่านั้น อาการชั่วคราวจากการดื่มที่พบคือ ร่างกายสั่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ความสับสนทางระบบประสาท หนาวสั่น เหงื่อออก จิตสงบ ผ่อนคลาย วิงเวียนศีรษะ ชักกระตุก ยังไม่มีรายงานถึงผลเสียในระยะยาว[18][19]

มีรายงานการเสียชีวิตที่เชื่อมโยงกับการดื่มอายาวัสกา[20][21][22][23] บางรายอาจเกิดจากการไม่คัดกรองผู้ที่เป็นโรคทางหัวใจ การทำปฏิกิริยากับยาบางชนิด เช่นยาบรรเทาอาการซึมเศร้า ยาเสพติดเพื่อสันทนาการบางประเภท คาเฟอีน นิโคติน และพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์อื่นๆ ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง

อ้างอิง แก้

  1. Sanz-Biset, Jaume; Cañigueral, Salvador (2013-01-09). "Plants as medicinal stressors, the case of depurative practices in Chazuta valley (Peruvian Amazonia)". Journal of Ethnopharmacology (ภาษาอังกฤษ). 145 (1): 67–76. doi:10.1016/j.jep.2012.09.053. ISSN 0378-8741.
  2. Teofilo Laime Ajacopa, Diccionario Bilingüe Iskay simipi yuyayk'ancha, La Paz, 2007 (Quechua-Spanish dictionary)
  3. Mirante, Daniel (2008-08-31). "On the Origins of Ayahuasca". Ayahuasca.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-12-07.
  4. Riba, Jordi; Valle, Marta; Urbano, Gloria; Yritia, Mercedes; Morte, Adelaida; Barbanoj, Manel J. (2003-07-01). "Human Pharmacology of Ayahuasca: Subjective and Cardiovascular Effects, Monoamine Metabolite Excretion, and Pharmacokinetics". Journal of Pharmacology and Experimental Therapeutics (ภาษาอังกฤษ). 306 (1): 73–83. doi:10.1124/jpet.103.049882. ISSN 0022-3565. PMID 12660312.
  5. "Ancient hallucinogens found in 1,000-year-old shamanic pouch". Culture (ภาษาอังกฤษ). 2019-05-06. สืบค้นเมื่อ 2020-12-07.
  6. Miller, Melanie J.; Albarracin-Jordan, Juan; Moore, Christine; Capriles, José M. (2019-06-04). "Chemical evidence for the use of multiple psychotropic plants in a 1,000-year-old ritual bundle from South America". Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America. 116 (23): 11207–11212. doi:10.1073/pnas.1902174116. ISSN 0027-8424. PMC 6561276. PMID 31061128.
  7. Reichel-Dolmatoff 1975, p. 48 as cited in Soibelman 1995, p. 14.
  8. "The Yage Letters", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2020-09-22, สืบค้นเมื่อ 2020-12-07
  9. "Dennis J. McKenna, PH.D | Heffter Research Institute". web.archive.org. 2014-04-29. สืบค้นเมื่อ 2020-12-07.
  10. Naranjo, Claudio. ([1974, ©1973]). The healing journey: new approaches to consciousness ([1st ed.] ed.). New York,: Pantheon Books. ISBN 0-394-48826-1. OCLC 677314. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)
  11. Beyer, Steve (2008-08-16). "Ayahuasca: Peruvian National Cultural Heritage". Ayahuasca.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-12-08.
  12. Ph.D, Henrique Fernandes Antunes (2020-07-28). "Is Ayahuasca Cultural Heritage of Brazil?". Chacruna (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-12-08.
  13. "What is Ayahuasca?". Spirit Vine Ayahuasca Retreat Center (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-12-07.
  14. Gorman, Peter. (2010). Ayahuasca in my blood : 25 years of medicine dreaming (1st ed ed.). [Lexington, KY]: Gorman Bench Press. ISBN 978-1-4528-8290-1. OCLC 670426000. {{cite book}}: |edition= has extra text (help)
  15. Campos, Don Jose (2011). The Shaman & Ayahuasca: Journeys to Sacred Realms.
  16. Metzner, Ralph (1999). Ayahuasca: Human Consciousness and the Spirits of Nature. pp. 46–55.
  17. Campos, Don Jose (2011). The Shaman & Ayahuasca: Journeys to Sacred Realms.
  18. Gable, Robert S. (2007). "Risk assessment of ritual use of oral dimethyltryptamine (DMT) and harmala alkaloids". Addiction (ภาษาอังกฤษ). 102 (1): 24–34. doi:10.1111/j.1360-0443.2006.01652.x. ISSN 1360-0443.
  19. Schultz, Mitch (2010). DMT: The Spirit Molecule.
  20. Sklerov, Jason; Levine, Barry; Moore, Karla A.; King, Theodore; Fowler, David (2005-11). "A fatal intoxication following the ingestion of 5-methoxy-N,N-dimethyltryptamine in an ayahuasca preparation". Journal of Analytical Toxicology. 29 (8): 838–841. doi:10.1093/jat/29.8.838. ISSN 0146-4760. PMID 16356341. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  21. "British backpacker dies after taking hallucinogenic brew in Colombia". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2014-04-26. สืบค้นเมื่อ 2020-12-08.
  22. "Politie stopt healingsessie na dood Hongaar". De Limburger (ภาษาเฟลมิช). สืบค้นเมื่อ 2020-12-08.
  23. "American Found Dead After Taking Ayahuasca". www.peruviantimes.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-12-08.