ผู้ใช้:Ifake66/กระบะทราย

ชื่อ - สกุล : นายธนพล กรวาทิน
ชื่อเล่น : แชมป์
รหัสนักศึกษา 551531022041-5

ข้อมูลส่วนตัว

แก้

ที่อยู่ปัจจุบัน

แก้

บ้านเลขที่ 222/97 ตำบล โคกกรวด อำเภอเมืองนครราชสีมา นครราชสีมา 30280

ปัจจุบันศึกษาที่

แก้

กำลังศึกษาที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 3

ตำแหน่งงานที่สนใจ

แก้

เจ้าหน้าที่ระบบคอมพิวเตอร์ เพราะ ช่วยในเรื่องของการดูแลคอมพิวเตอร์ บำรุงรักษาอุปกรณ์ต่างๆ

บทความด้านไอที

แก้

1.ปรับพฤติกรรม การใช้ไอที ให้ชีวิตดีขึ้น

แก้

วันนี้มาเริ่มต้นโดยตั้งค่าการใช้อุปกรณ์ไอทีที่อยู่ใกล้ตัว ให้ปลอดภัยมากขึ้น ป้องกันเหตุอาชญากรรมทางไอทีและอินเทอร์เน็ต ซึ่งอาจทำให้ข้อมูลบนอุปกรณ์ไอทีของคุณไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือไม่ก็ข้อมูลบน Social Network อย่าง facebook , twitter รวมถึงบริการฝากไฟล์ Cloud ของคุณอาจถูกเจาะระบบ ขโมยข้อมูล หรือไฟล์ลับส่วนตัวกลายเป็นสาธารณะได้

ตั้งค่าคอมพิวเตอร์ให้ปลอดภัย - หมั่นอัพเดตซอฟต์แวร์ให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดเพื่อความปลอดภัย - ติดตั้งซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์แท้ - ตั้งรหัสผ่านการ Login เข้าสู่คอมพิวเตอร์ อย่าปล่อยให้เข้าสู่หน้า desktop โดยอัตโนมัติ

การตั้งค่า Social Network ให้ปลอดภัย - ตั้งค่าความปลอดภัยของ facebook รายละเอียดคลิกที่นี่ - Login แล้วอย่าลืม Logout เมื่อไม่ใช้ เพื่อความปลอดภัยป้องกันคนอื่นสวมรอยใช้แทนเรา - ควรตั้งค่าการรักษาความปลอดภัย ด้วยการตรวจสอบความถูกต้อง 2 ขั้นตอน

การตั้งค่ามือถือแท็บเล็ต ให้ปลอดภัย - อย่าทำการ root เครื่องหรือ jailbreak เครื่อง ซึ่งจะนำพาแอพปลอม หรือแอพแฝงไวรัสเข้าสู่เครื่องได้ง่ายขึ้น - ติดตั้งแอพ AntiVirus และอัพเดตให้ฐานข้อมูลไวรัสสม่ำเสมอและควรสแกนเป็นประจำ - เลิกใช้เน็ต ควรปิด 3G, 4G , Wi-fi ทุกครั้ง

ตั้งค่าบริการฝากไฟล์บน cloud ให้ปลอดภัย - ควรตั้งรหัสผ่าน passcode บนแอพ google drive , onedrive , dropbox อีกชั้นสำหรับมือถือ - ถ้าเป็นไปได้ควรตั้งค่า ตรวจสอบความถูกต้อง 2 ขั้นตอน เพื่อเพิ่มความปลอดภัยมากขึ้น - ไม่ควรฝากไฟล์ที่สำคัญมากขึ้น Cloud

การใช้เว็บ e-banking ให้ปลอดภัย - อย่าคลิกลิงค์ธนาคารที่ปรากฏบนอีเมล หากอยากรู้ให้พิมพ์ url เข้าชมเว็บไซต์ธนาคารเอง - หมั่นตรวจสอบเงินในบัญชีธนาคาร ทั้งการปรับสมุดบัญชีและ เช็คผ่านทางเว็บไซต์ e-banking - อย่าโหลดแอพธนาคารปลอม ที่โหลดจากนักพัฒนารายอื่นที่ไม่ใช่แบรนด์ธนาคาร


2.Cloud Computing Security

แก้

ในปัจจุบันนี้ทุกท่านคงจะได้ยินคำว่า Cloud Computing หรือการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ กันมาบ้างแล้ว ซึ่งเป็นการนำคำว่า Cloud หรือกลุ่มเมฆ เป็นสัญลักษณ์แทน Internet และ Computing ก็หมายถึงการประมวลผล เมื่อนำมารวมกันก็คือ การประมวลผลผ่าน Network หรือ Internet นั่นเอง

ดังนั้น Cloud Computing ก็คือรูปแบบของการประมวลผลที่มีความสามารถในการทำงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลสารสนเทศ ที่มีการจัดสรรในรูปแบบของบริการ (as a service) ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงบริการต่างๆ จากผู้ให้บริการใดบริการหนึ่งกับผู้ใช้ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ โดยผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้องรับทราบว่ามีเซิร์ฟเวอร์ติดตั้งอยู่ที่ไหนและมากเท่าใด สนใจเพียงแต่บริการที่ได้รับเท่านั้น

ซึ่งประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีแบบ Cloud computing ก็คือ - Scalability : ความสามารถในการปรับเปลี่ยนขนาด สามารถขยายหรือลดโครงสร้าง ยืดหยุ่นตามความต้องการใช้งานจริงในแต่ละช่วงเวลา และสามารถทำงานร่วมกับแพลทฟอร์มที่หลากหลายได้

- Reliability : ความเชื่อถือได้ โดยการที่สามารถดึง resource ในการประมวลผลจากหลายแหล่ง ทำให้ระบบพร้อมให้บริการตลอดเวลา (Redundant) ป้องกันการล่มของระบบได้

- Performance : เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและมีความเสถียรของระบบ แต่อาจต้องมีระบบสื่อสารบนอินเตอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพด้วย

- Minimized Capital expenditure : ลดต้นทุนและลดภาระต้นทุนเกี่ยวกับการติดตั้งและบำรุงรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และซอฟท์แวร์ประมวลผลขนาดใหญ่

- Device and Location Independence : อุปกรณ์และสถานที่ตั้งไม่ขึ้นต่อกัน ผู้ใช้สามารถเรียกดูข้อมูลได้จากทุกแห่งทั่วโลกที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ และสามารถใช้อุปกรณ์ได้หลากหลายรูปแบบ (คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่)


แม้ว่าเทคโนโลยีการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆจะมีประโยชน์มากมายก็ตาม แต่ก็อาจมีประเด็นด้านความปลอดภัย หลายด้านอาทิเช่น เมื่อมีการส่งข้อมูลขององค์กรไปยังเครือข่ายสาธารณะ จะเชื่อมั่นได้อย่างไรว่าการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายมีความปลอดภัย? ในทุกขั้นตอนของการส่งข้อมูล การประมวลผล การรักษาผลลัพธ์ที่ได้นั้นเราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าข้อมูลดังกล่าวเชื่อถือได้ ผู้ให้บริการมีมาตรการเก็บรักษาข้อมูลของลูกค้าอย่างไร? มั่นใจได้อย่างไรว่าผู้ให้บริการจะรับผิดชอบต่อข้อมูลของเรา และข้อมูลที่ประมวลผลเสร็จแล้วจะถูกเก็บไว้เป็นความลับ? ซึ่งเป็นประเด็นที่ทำให้ผู้ใช้บริการยังขาดความมั่นใจและเชื่อมั่นในการใช้งานดังกล่าวได้ แต่อย่างไรก็ตามก็ได้เกิดหน่วยงาน Cloud Security Alliance (CSA) เพื่อมีหน้าที่ในการจัดทำวิจัยและเผยแพร่ความรู้ในประเด็นด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบการประมวลผลแบบ Cloud โดยเฉพาะ ซึ่งได้มีการจัดอันดับภัยคุกคาม เทคโนโลยี และการเพิ่มความมั่นคงปลอดภัยสำหรับระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (Security Technology for Cloud Computing) สร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้งานระบบ Cloud ได้มากยิ่งขึ้นและในปัจจุบันนี้ผู้ให้บริการด้านความปลอดภัยก็ได้มีการนำ Cloud Computing มาเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการลูกค้าเช่นกันอาทิเช่น

- Trend Micro กับเทคโนโลยีป้องกันไวรัสแบบ Cloud Security ซึ่งสามารถให้บริการเกี่ยวกับ Anti-Virus, Anti-Spam Anti-Spyware, Web Threat Protection (ป้องกันภัยคุกคามทางเว็บไซต์), Parental Controls (โปรแกรมควบคุมสำหรับผู้ปกครอง) และ Data Theft Prevention (การป้องกันโจรกรรมข้อมูล) เรียกได้ว่าครบเครื่องความปลอดภัยที่ต้องการ

- Symantec ได้มีการให้บริการทางด้านความปลอดภัยผ่านเทคโนโลยี Cloud Computing ในนาม Symantec.cloud โดยมีบริการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับ Anti-Virus, Anti-Spam, Email Continuity, Email Archiving, Web Security Service, Content Control เป็นต้น ซึ่งนับได้ว่าเป็นผู้ให้บริการการรักษาความปลอดภัยที่ยอมรับในระดับโลก ทำให้ผู้ใช้สามารถวางใจได้มากยิ่งขึ้นว่าข้อมูลที่สำคัญยิ่งขององค์กร

- McAfee ก็ได้มีการเปิดตัว McAfee Cloud Platform ในการรักษาความปลอดภัยทั้งอีเมล์ขาเข้า-ขาออก Web และ identity traffic โดยเป้าหมายคือการตรวจจับทราฟฟิกทั้งหมดที่เกิดขึ้นระหว่างธุรกิจและระบบบน Cloud

- Panda ก็ไม่น้อยหน้าได้มีการอัพเดทเวอร์ชั่นล่าสุด Panda Cloud Antivirus 1.1.0 Final เป็นโปรแกรมสแกนไวรัสรูปแบบใหม่ในการกำจัด Virus, Spyware หรือ Malware โดยระบบใหม่นี้เปลี่ยนแนวคิดของโปรแกรมเดิม ๆ คือ การออกแบบให้โปรแกรมมีขนาดเล็ก เบา กินพื้นที่ และทรัพยากรเครื่องน้อย ในขณะเดียวกันได้ย้ายการทำงานหลักๆ ออกไปทำงานบน Cloud server แทน ไม่ว่าจะเป็น Real-time protection, fully scanning และข้อมูลของไวรัสที่ออกมาใหม่ ๆ

ซึ่งในอนาคตอันใกล้ เราอาจจะเป็นได้ทั้งผู้ให้บริการหรือผู้ใช้บริการผ่าน Cloud Computing ก็เป็นได้ ดังนั้นจึงอยากให้เราตระหนักถึงความปลอดภัยด้วย โดยควรครอบคลุมถึงความปลอดภัยในการเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์ (Server access security), ความปลอดภัยในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต (Internet access security), ความปลอดภัยในการเข้าถึงฐานข้อมูล (Database access security), ความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว (Data privacy security) และ ความปลอดภัยในการเข้าถึงโปรแกรมต่าง ๆ (Program access Security) และนอกจากนี้ สิ่งที่ผู้ให้บริการสามารถทำให้ได้ก็คือ การรับประกันสัญญา หรือกำหนดมาตรฐานการดูแลระบบ และยึดมั่นในมาตรฐานนั้น หรือมี Certification เพื่อสร้างความมั่นใจต่อลูกค้าต่อไป


3.Windows 10 พร้อมสำหรับ USB 3.1 Type-C อย่างเต็มที่ในตลาดอุปกรณ์

แก้

Microsoft ได้เตรียมข้อมูลแถลงการสนับสนุน USB 3.1 Type-C กับการเข้ากันได้บน Windows 10 ในการประชุม WinHec Hardware Development ที่จีนในเดือนมีนาคมที่กำลังจะถึงนี้โดยที่ Windows 10 จะสามารถรองรับ USB ในแบบ Dual Role และ Type-C ซึ่งช่วยให้การเชื่อมต่อแบบใช้สายกับอุปกรณ์โมบายในรูปแบบใหม่ๆ ทำได้ดีขึ้น โดยเฉพาะการตอบสนองร่วมกับโน้ตบุ๊คหรือพีซีและจอแสดงผล โดยใช้ USB Type-C โดยที่จะมีรายละเอียดของเทคโนโลยีในการสนับสนุนอย่างถูกต้อง

โดยในปีที่แล้วนับเป็นครั้งแรกที่เราได้เห็น USB 3.1 Type-C โดยสิ่งที่เกิดขึ้นคือ การเป็นปลั๊กขนาดเล็กที่กำลังเติบโตขึ้นในตลาด โดยจะถูกนำมาใช้บนอุปกรณ์เป็นฮาร์ดแวร์หลักที่จะเห็นได้บนเมนบอร์ดหลายค่าย ไม่ว่าจะเป็น ASUS ที่ให้ความสนใจและนำมาใช้ในอันดับต้นๆ รวมถึง ASRock และ MSI โดยที่การเชื่อมต่อ USB 3.1 นั้น อาจจะมีค่อนข้างจำกัดสำหรับการใช้งาน แต่ในบางรุ่นอาจมาพร้อมการ์ดที่เป็นส่วนขยายพอร์ตดังกล่าวให้เพิ่มมากขึ้นได้

ทำไมอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับ USB 3.1 Type-C จึงเป็นที่ต้องการ ส่วนหนึ่งก็เพราะมีขนาดเล็กและเชื่อมต่อได้อย่างรวดเร็ว จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า ใครจะไม่ต้องการเชื่อมต่อสมาร์ทโฟนที่ใช้ให้แสดงผลยังจอภายนอกได้อย่างง่ายดายบ้าง ข่าวของการเข้ากันได้ของซอฟต์แวร์ Windows 10 เป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพียงแต่บรรดาอุปกรณ์ที่ใช้ USB 3.1 Type-C ดูจะยังหาได้ยากในตลาดเวลานี้ ซึ่งก็หวังว่าเราจะได้พบอุปกรณ์โมเดลใหม่ๆ ที่ใช้การเชื่อมต่อดังกล่าวในเร็ววัน เพื่อเติมเต็มความต้องการของผู้ใช้ในเวลานี้


LAN Technology

แก้

แบบบัส ( BUS Topology )

แก้

เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนสายสัญญาณหลักเส้นเดียว ที่เรียกว่า BUS ทีปลายทั้งสองด้านปิดด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Teminator ไม่มีคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ
คอมพิวเตอร์เครื่องใดหยุดทำงาน ก็ไม่มีผลกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย


ข้อดี ของการเชื่อแบบบัส คือ


- สามารถติดตั้งได้ง่าย เนื่องจากเป็นโครงสร้างเครือข่ายที่ไม่ซับซ้อน
- การเดินสายเพื่อต่อใช้งาน สามารถทำได้ง่าย
- ประหยัดค่าใช้จ่าย กล่าวคือ ใช้สายส่งข้อมูลน้อยกว่า เนื่องจากสามารถเชื่อมต่อกับสายหลักได้ทันที
- ง่ายต่อการเพิ่มสถานีใหม่เข้าไปในระบบ โดยสถานีนี้สามารถใช้สายส่งข้อมูลที่มีอยู่แล้วได้


ข้อเสียของการเชื่อแบบบัส คือ


- ถ้ามีสายเส้นใดเส้นหนึ่งหลุดไปจากสถานีใดสถานีหนึ่ง ก็จะทำให้ระบบเครือข่ายนี้หยุดการทำงานลงทันที
- ถ้าระบบเกิดข้อผิดพลาดจะหาข้อผิดพกลาดได้ยาก โดยเฉพาะถ้าเป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่


แบบดาว ( Star topology )

แก้

เป็นการเชื่อมต่อสถานีหรือจุดต่าง ๆ ออกจากคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางหรือคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่เรียกว่า File Server แต่ละสถานีจะมีสายสัญญาณเชื่อมต่อกับศูนย์กลาง ไม่มีการใช้สายสัญญาณร่วมกัน
เมื่อสถานีใดเกิดความเสียหายจะไม่มีผลกระทบกับสถานีอื่น ๆ ปัจจุบันนิยมใช้อุปกรณ์ HUB เป็นตัวเชื่อมต่อจากคอมพิวเตอร์แม่ข่ายหรือคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง


ข้อดีของการเชื่อมแบบดาว


- ง่ายต่อการใช้บริการ เพราะมีศูนย์กลางอยู่ที่คอมพิวเตอร์แม่ข่ายอยู่เครื่องเดียวและเมื่อเกิดความเสียหายที่คอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นก็จะไม่มีผลกระทบอันใดเพราะใช้สายคนละเส้น


ข้อเสียของการเชื่อมแบบดาว


- ต้องใช้สายสัญญาณจำนวนมาก เพราะแต่ละสถานีมีสายสัญญาณของตนเองเชื่อมต่อกับศูนย์กลางจึงเหมาะสมกับเครือข่ายระยะใกล้มาก กว่าการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล
การขยายระบบก็ยุ่งยากเพราะต้องเชื่อมต่อสายจากศูนย์กลางออกมา ถ้าศูนย์กลางเสียหายระบบจะใช้การไม่ได้


แบบวงแหวน ( Ring Topology )

แก้

เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายเป็นรูปวงแหวนหรือแบบวนรอบ โดยสถานีแรกเชื่อมต่อกับสถาน สุดท้าย การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายจะต้องผ่านทุกสถานี โดยมีตัวนำสารวิ่งไปบนสายสัญญาณของแต่ละสถานี
ต้องคอยตรวจสอบข้อมูลที่ส่งมา ถ้าไม่ใช่ของตนเองต้องส่งผ่านไปยังสถานีอื่นต่อไป


ข้อดีของการเชื่อมแบบแหวน


- ใช้สายสัญญาณน้อยกว่าแบบดาว เหมาะกับการเชื่อมต่อด้วยสายสัญญาณใยแก้วนำแสง เพราะส่งข้อมูลทางเดียวกันด้วยความเร็วสูง


ข้อเสียของการเชื่อมแบบแหวน


- ถ้าสถานีใดเสียระบบก็จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้จนกว่าจะแก้ไขจุดเสียนั้น และยากในการตรวจสอบว่ามีปัญหาที่จุดใดและถ้าต้องการเพิ่มสถานีเข้าไปจะพกหระทำได้ยากด้วย


แบบเมชหรือแบบตาข่าย (Mesh Topology)

แก้

รูปแบบเครือข่ายแบบนี้ ปกติใช้ในระบบเครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network) ลักษณะการสื่อสารจะมีการต่อสายหรือการเดินของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือโหนดไปยังโหนดอื่น ๆ ทุก ๆ ตัว
ทำให้มีทางเดินข้อมูลหลายเส้นและปลอดภัยจากเหตุการณ์ที่จะเกิดจากการล้มเหลวของระบบ แต่ระบบนี้จะมีค่าใช้จ่ายมากกว่าระบบอื่น ๆ เพราะต้องใช้สายสื่อสารเป็นจำนวนมาก


ข้อดีของการเชื่อมแบบเมชหรือแบบตาข่าย


- ในกรณีสายเคเบิ้ลบางสายชำรุด เครือข่ายทั้งหมดยังสมารถใช้ได้ ทำให้ระบบมีเสถียรภาพสูง นิยมใช้กับเครือข่ายที่ต้องการเสถียรภาพสูง และเครือข่ายที่มีความสำคัญ


ข้อเสียของการเชื่อมแบบเมชหรือแบบตาข่าย


- สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และสายเคเบิ้ลมากกว่าการต่อแบบอื่น ๆ
- ยากต่อการติดตั้ง เดินสาย เคลื่อนย้ายปรับเปลี่ยนและบำรุงรักษาระบบเครือข่าย


WAN Technology

แก้

Circuit switching

แก้

ความหมายของ Circuit switching

แก้


Circuit switching เทคนิคในการสื่อสารข้อมูลจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง เมื่อมีการเชื่อมต่อกันแล้วจะติดต่อกันได้ตลอดเวลา ผู้อื่นจะแทรกเข้ามาไม่ได้เลย จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะปลดวงจรออก ตัวอย่างง่าย ๆ
เช่นการติดต่อทางสายโทรศัพท์ เมื่อเริ่มพูดกันได้แล้ว คนอื่นจะต่อสายแทรกเข้ามาไม่ได้ จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะวางหูลง (ปลดวงจร)

หลักการทำงาน Circuit switching

แก้


1) เมื่อสถานีA ต้องการส่งข้อมูลให้กับ สถานีB จะต้องมีการสร้างเส้นทางเสียก่อน โดยที่ฝั่งที่รับข้อมูลจะต้องตอบว่าพร้อมรับข่าวสาร (Establishment/ Connection)
2) เมื่อสร้างเส้นทางการส่งข้อมูลเรียบร้อย ตลอดเวลาของการสื่อสารจะใช้เส้นทางเดิมตลอดและไม่มีบุคคลอื่นมาใช้เส้นทาง
3) มีอัตราความเร็วในการส่งเท่ากันทั้งด้านรับและด้านส่ง
4) มีการทำ Error Control และ Flow Control ทุกๆ ชุมสาย
5) ในขณะทำการส่งข้อมูล ข้อมูลจะถูกส่งด้วยความเร็วคงที่ และไม่มีการหน่วงเวลา(Delay)
6) เมื่อส่งข้อมูลเสร็จจะยกเลิกเส้นทางที่ได้เชื่อมต่อขึ้นมาเพื่อให้เครื่องอื่นได้ใช้เส้นทางได้

ตัวอย่างระบบ Circuit switching

แก้


-โมเด็มและระบบโทรศัพท์ (Modem and Telephone System)\
- สายคู่เช่า (Leased Line)
- ISDN (Integrated Services Digital Network)
- DSL (Digital Subscriber line)
- เคเบิลโมเด็ม (Cable Modem)

ลักษณะการเชื่อมต่อ

แก้


เชื่อมต่อทางกายภาพของวงจรระหว่างจุดต่อจุด (point-to-point)

ข้อดี Circuit switching

แก้


- ปริมาณในการส่งข้อมูลได้ อัตราการส่งข้อมูล ความเร็วในการส่งข้อมูลจะคงที่ อัตราเดิม
- Delay ที่เกิดขึ้นจะเรียกว่า propagation delay คือเวลาที่ข้อมูลวิ่งอยู่ในสายสัญญาณ – เร็วเท่าแสง
- Delay ที่ node คือเวลาที่ข้อมูลวิ่งระหว่าง node อาจเป็น delay ที่เกิดเนื่องจากการประมวลผลอะไรบางอย่าง ถือว่าน้อยมากจนถือว่าไม่สำคัญ เพราะว่ามันแทบจะไม่เกิด

ข้อเสีย Circuit switching

แก้


-หากคอมพิวเตอร์หรือเทอร์มินัลติดต่อกับศูนย์ข้อมูล ในการเรียกค้นข้อมูลเป็นระยะจะทำให้มีช่วงเวลาที่สายสัญญาณ ไม่มีการใช้และผู้อื่นก็ใช้ไม่ได้ ธรรมชาติของการใช้งานไม่ได้ออกแบบ
มาให้ใช้งานพร้อมกันอย่างเต็มประสิทธิภาพ เช่น ระบบโทรศัพท์ 100 เลขหมาย จะสามารถใช้งานพร้อมๆกันได้ไม่ถึง 50%
- การเชื่อมโยงอุปกรณ์ระหว่างสถานีต้นทางกับปลายทางต้องตกลงและใช้มาตรฐานเดียวกัน
- การติดต่อสื่อสารข้อมูลนี้ผู้ใช้จะต้องมีระบบซอฟต์แวร์ในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเอง เพราะชุมสายจะไม่มีระบบตรวจสอบข้อมูลในชุมสายทำหน้าที่เพียงการสวิตช์วงจรให้เท่านั้น
Circuit Switching นั้นออกแบบมาเพื่อส่งข้อมูลทางเสียง
- อัตราการส่งข้อมูลจะเป็นตัวจำกัดอุปกรณ์ที่ต่อพ่วงเนื่องจากถูกออกแบบมาเพื่อส่งข้อมูลทางเสียงในอัตราที่มนุษย์สามารถรับรู้ ได้
- มีขีดจำกัดแน่นอนอยู่แล้วที่ระบบ Hardware
- ยากและลงทุนสูงในการ Upgrade backbone


Packet switching

แก้

ความหมายของ Packet switching

แก้


เทคนิคในการแบ่งข้อมูลออกเป็นกลุ่ม (Packet) แต่ละกลุ่มจะมีความยาวเท่ากัน (ปกติ 100บิต)ข้อมูลจะหาทิศทางเดินไปได้เอง โดยที่สายหนึ่ง ๆ จะสามารถใช้กันได้หลายคน เมื่อถึงที่ปลายทางข้อมูลก็จะกลับ ไปรวมกันเอง

หลักการทำงาน Packet switching

แก้


1) เมื่อ สถานี A ต้องการส่งข้อมูลให้กับสถานีB จะมีการแบ่งข้อมูลออกเป็น Packet ย่อยก่อนจะถูก ส่งออกไป
2) ส่งข้อมูลโดยใช้ชุมสาย PSE (Packet switching exchange) ควบคุมการรับส่ง
3) ทำ Error control หรือ Flow Control ที่ PSE
4) ด้านรับและด้านส่งมีอัตราความเร็วที่ไม่เท่ากันได้
5) ใช้เทคนิค Store - and - Forward ในการส่งข้อมูล ผ่าน PSE

ตัวอย่างระบบ Packet switching

แก้


เป็นเทคโนโลยีพื้นฐานที่ใช้ในการ ส่งข้อมูลภายในสำหรับระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน ระบบที่เป็น Package switch เช่น Frame relay เป็นระบบโทรศัพท์แบบดิจิตอล และ ATM
เป็นระบบการส่งข้อมูลประเภท ภาพและเสียง (multimedia)

ลักษณะการเชื่อมต่อ Packet switching

แก้


ส่งแต่ละแพกเกตด้วยเส้นทางต่างๆที่เชื่อมโยงกันเป็นตาข่าย และทำการรวมแต่ละแพคเกตกลับคืนเมื่อถึงจุดหมายแล้ว

ข้อดี Packet switching

แก้


- Flexibility โครงข่ายดังกล่าวนี้ทำให้ใช้งานพร้อมกันหลาย ๆ ระบบได้ โดยงานประยุกต์แต่ละระบบไม่ยุ่งเกี่ยวกัน แต่ใช้ผ่านชุมสายเดียวกัน
- Robustness มีความแข็งแกร่ง ถ้าเส้นทางใดเส้นทางหนึ่งเสียหายก็สามารถใช้เส้นทางอื่นได้ อุปกรณ์ต้นทางกับปลายทาง สามารถส่งด้วยความเร็วที่ต่างกันได้เพราะชุมสายจะเป็นผู้แปลงสัญญาณ ให้ความเร็วเข้ากันได้
- Responsiveness มีการรับประกันความถูกต้องของข้อมูลที่รับส่งทำให้ระบบมีความเชื่อถือสูง สามารถใช้ในระบบที่โต้ตอบด้วยความเร็วได้ ตัว IMP สามารถที่จะทำงานเพิ่มเติมบางอย่างได้
เช่น การตรวจสอบความ ผิดพลาดก่อนที่จะส่งต่อไป หรืออาจทำการเปลี่ยนรหัสก่อนก็ได้

ข้อเสีย Packet switching

แก้


-บางครั้งถ้ามีปริมาณPacket จำนวนมากเข้ามาพร้อมกันจะทำให้ IMPทำงานไม่ทัน อาจทำให้มีบางPacket สูญหายไปได้ - มี delay เกิดขึ้นในระหว่างที่ส่งข้อมูล
= ความยาวของ package / ขนาดของ overhead datarate ขนาดของ package มีขนาดไม่แน่นอน
-Package แต่ละ package อาจวิ่งไปคนละเส้นทางได้ แต่ละเส้นทางจะมี delay ไม่เท่ากัน ซึ่งทำให้เกิดปัญหา package ที่ส่งมาที่หลังมาถึงก่อน ฝ่ายรับต้องมีวิธีจัดการกับ package ที่ยุ่งยากขึ้น
-ถ้ามี delay มากจะเกิดความแออัดในเครือข่าย
- มี overhead เกิดขึ้นในการส่งข้อมูล โดย overhead ที่เกิดขึ้นคือที่อยู่ของปลายทาง, sequence ซึ่งทำให้ส่งข้อมูลได้น้อย ทำให้ประสิทธิภาพในการส่งลดลง


OSI model + TCP/ IP mode

แก้
_ OSI Model _ _________ TCP/IP __________
7 Application Application FTP,Telnet,HTTP,
SMTP,SNMP,DNS,etc
6 Presentation Application FTP,Telnet,HTTP,
SMTP,SNMP,DNS,etc
5 Session Application
Host-to-Host
TCP UDP
4 Transport Host-to-Host TCP UDP
3 Network Internet ICMP,IGMP
Ip
2 Data link Network Access Not Specified
1 Physical Network Access Not Specified

หน้าที่การทำงานของชั้นสื่อสาร

แก้
ลำดับชั้น ชื่อชั้นสื่อสาร หน้าที่ของชั้นสื่อสาร
1. Physical เคลื่อนย้ายข้อมูลระดับบิตจากโหนดหนึ่งไปยังโหนดถัดไป
2. Data link เคลื่อนย้ายเฟรมจากโหนดหนึ่งไปยังโหนดถัดไป
3. Network ส่งมอบแพ็กเก็ตจากโฮสต์หนึ่งไปยังโฮสต์ปลายทาง
4. Transport ส่งมอบข่างสารจากโปรเซสต้นทางไปยังโปรเซสปลายทาง
5. Session ควบคุมการสื่อสารและการซิงโครไนซ์
6. Presentation แปลงข้อมูล เข้ารหัสข้อมูล และบีบอัดข้อมูล
7. Application จัดการงานบริการให้แก่ผู้ใช้