ผู้ใช้:Evemallika/กระบะทราย

การปฏิรูประบบราชการของประเทศสหรัฐอเมริกา

กำเนิดระบบราชการ

แก้

การบริหารภาครัฐมีมานานเท่ากับอายุการปกครองของสังคมมนุษย์ ประมาณ 9,000 ปี การบริหารภาครัฐเกิดจากการตั้งถิ่นฐานทำการเกษตร เกิดชนชั้นผู้บริหารที่คอยมอบงานให้คนอื่นทำ คอยจัดระบบประสานงาน รักษาระดับชั้นและใช้อำนาจบังคับบัญชาให้เหมาะสม สังคมตะวันตกเริ่มมีระบบราชการจริงๆ ประมาณ 4,000 ปีก่อนในดินแดนอียิปต์โบราณ สังคมอียิปต์เป็นสังคมนักก่อสร้าง ได้ใช้การจัดองค์กรสร้างอารยธรรม เริ่มจากพัฒนาการจัดหาพื้นที่เฝ้าดูน้ำท่วมและรู้จักทดน้ำ สร้างปฏิทิน เข้าใจดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ การสำรวจประชากรและการจดบันทึกค่าใช้จ่ายของรัฐบาลทำให้เกิดชนชั้นผู้บริหารอย่างถาวร สมัยกลางมีรูปแบบการบริหารของระบบราชการ คือ ราชสำนัก เป็นการมอบหน้าที่ในการบริหารงานให้อัศวินเพื่อนร่วมรบหรือราชวงศ์ของกษัตริย์ ราชสำนักจะทำงานในหน้าที่รัฐบาลเกือบทุกอย่าง เช่น จัดหาสินค้า บริหารการคลังและเก็บหลักฐาน คอยติดตามกษัตริย์ที่เสด็จไปที่ต่างๆ เป็นต้น ตามที่เกิดจากระบบศักดินา ซึ่งมีกษัตริย์เป็นผู้พระราชทานอำนาจให้ขุนนางและเจ้าที่ดิน การพัฒนาของระบบราชการสมัยใหม่เกิดขึ้นเมื่อกษัตริย์ต้องการพัฒนาชาติ จึงเริ่มตั้งคนช่วยเหลือในการทำงานในแต่ละด้าน เป็นการรวมอำนาจเข้าสู่กษัตริย์ ทำให้กษัตริย์มีอำนาจมากกว่าขุนนาง การเกิดระบบราชการเป็นการพัฒนา 2 ด้าน ด้านหนึ่งเป็นการปลดปล่อยกษัตริย์ออกจากอำนาจของขุนนาง และด้านที่สองเป็นการบริหารราชการอาณาจักรของกษัตริย์ให้มีประสิทธิภาพ อาณาจักรทั้งหมดถูกรวมเข้าด้วยกัน ฝ่ายทหารมีหน้าที่ปกป้องอาณาจักรและขยายอาณาจักร ส่วนฝ่ายอาณาจักรคอยสนับสนุนและพัฒนาประสิทธิภาพทหาร การพัฒนานี้เริ่มตั้งแต่ยุคศักดินา (feudalism) จนถึงยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (absolute monarchy)และยุคการเกิดรัฐชาติ (nation-state) [1]


ความเป็นมาของคำว่า “ระบบราชการ’’

แก้

คำว่า “ระบบราชการ (Bureaucracy)’’ เป็นคำที่คิดขึ้นในสมัยต้นศตวรรษที่ 18 โดยนักเศรษฐศาสตร์กลุ่มฟิซิโอแครต (Phisiocrate) ชาวฝรั่งเศส ชื่อ “เดอ กูร์เนย์ (de gournay)’’ คำว่าระบบราชการมีความหมายเพียงว่า ไม่ใช่เป็นการปกครองแบบกษัตริย์ (monarrchy) ไม่ใช่อภิชนาธิปไตย หรือประชาธิปไตย แต่เป็นการปกครองโดยเจ้าหน้าที่ คำที่คล้ายกับคำว่าระบบราชการ คือ คำว่า “ระบบบูโร (burosystem)” ซึ่งเป็นคำที่ใช้ในสมัย ปรัสเซีย หมายถึง การจัดสรรหน้าที่ให้แก่กรม กองต่างๆให้ชัดเจน เพราะหลังจากที่ปรัสเซียตกอยู่ภายใต้อำนาจของนโปเลียนเมื่อปี ค.ศ. 1806 มีการปฏิรูปการบริหารใหม่ภายใต้การยึดครองของคาร์ล วอม สไตน์ (Carl vom stein) ในช่วงปี ค.ศ. 1807-1810 โดยแบ่งงานออกเป็นกระทรวง จัดตั้งหน่วยงานย่อยๆ จัดสรรงานและหน้าที่ กระบวนการแบ่งงานและกำหนดหน้าที่นี้เรียกว่า “ระบบบูโร”

ระบบราชการของปรัสเซียมีมานานแล้ว ลักษณะเด่นของระบบราชการสมัยนั้น คือ  ยังไม่มีประสิทธิภาพ  คาร์ล วอม สไตน์ เคยวิจารณ์ระบบราชการนี้ว่า ขาดน้ำใจ  ขาดการมีส่วนร่วมจากประชาชนและค่อนข้างจะเป็นเผด็จการ  นอกจากนั้น ยังชอบกฎระเบียบ จู้จี้และชักช้า  ข้าราชการมีคุณสมบัติ 4 อย่าง คือ เป็นมนุษย์เงินเดือน (Salaried  people) เจ้าตำรา (book-learned)  ไม่มีสนใจใคร (disinterested) และเป็นมนุษย์สำนักงาน (bureau  people) ที่ไม่มีทรัพย์สินส่วนตัว ทำให้ราชการทำงานเหมือนเครื่องจักร มุ่งเอาแต่เงินเดือนและเพิ่มเงินเดือน  การเจ้าตำราทำให้ข้าราชการสนใจแต่ตำรา ไม่เข้าใจโลกความเป็นจริง  ส่วนการเป็นมนุษย์สำนักงานทำให้ข้าราชการเป็นอีกชนชั้นหนึ่ง  และทางด้านการไม่มีทรัพย์สินทำให้ข้าราชการไม่รู้สึกยินดียินร้ายด้วย[2]






ทฤษฎีระบบราชการ

แก้

ทฤษฎีระบบราชการ “Bureaucracy” เป็นทฤษฎีที่มีความสำคัญมากต่อวงการศึกษาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์ บุคคลที่เสนอแนวคิดการจัดองค์การแบบระบบราชการ (Bureaucracy) ท่านแรกคือ แม็ค เวเบอร์ (Max Weber) นักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน (ค.ศ.1864- ค.ศ.1920) เป็นผู้ที่มีผลงานปรากฏในสาขาวิชาต่างๆ เช่น สาขาวิชากฎหมาย เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคมวิทยา รัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์ เขาได้รับยกย่องว่าเป็นบิดารัฐประศาสนศาสตร์ของยุโรป[3] ทฤษฎีระบบราชการของแม็ค เวเบอร์ การออกแบบโครงสร้างขององค์การในอุดมคติของ แม็ค เวเบอร์ เป็นนักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน เป็นบุคคลแรกที่เสนอแนวคิดเกี่ยวกับโครงสร้างขององค์การในรูปแบบอุดมคติหรือระบบราชการ ซึ่งเขาเป็นตัวแบบโครงสร้างขององค์การที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการจัดองค์การ เขาสร้างในแง่มุมของนักวิชาการหรือปัญญาชนที่คิดว่ารูปแบบองค์การในอุดมคติ หรือองค์การขนาดใหญ่ที่เป็นทางการ สาระสำคัญขององค์การแบบราชการในทัศนะของแม็ค เวเบอร์ มีลักษณะเด่นดังนี้

  1. หลักการแบ่งงานกันทำตามความถนัด (Division of work)
  2. การจัดโครงสร้างองค์การลดหลั่นไปตามลำดับชั้น (Hierarchy)
  3. การมีกฎระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีปฏิบัติ (Rules Regulation and Procedures)
  4. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นแบบทางการหรือไม่ยึดถือตัวบุคคล (Impersonal Relationship)
  5. คุณสมบัติทางด้านวิชาชีพ (Professional Qualities)
  6. ความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน (Career Aspects)
  7. อำนาจหน้าที่[4]

ลักษณะพื้นฐานของระบบราชการของสหรัฐอเมริกา

แก้

รูปแบบการปกครองประเทศ ประเทศสหรัฐอเมริกามีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ซึ่งมาจากการเลือกตั้งทางอ้อมจากประชาชน ประธานาธิบดีทำหน้าที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารและเป็นผู้บังคับบัญชาของกองทัพ ประธานาธิบดีมีอำนาจในการแต่งตั้งบุคคลที่ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในฝ่ายบริหาร รัฐสภาของประเทศสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย 2 สภา (Congress) คือวุฒิสภา (The Senate) และสภาผู้แทนราษฎร (The House of Representatives) ทั้งสองสภานี้เป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติของรัฐบาลสหพันธรัฐ (Federal Government) หรือรัฐบาลกลาง หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบงานการปฏิรูประบบราชการ 1.สำนักงานและการจัดการและงบประมาณ(Office of Management and Budget (OMB)) เป็นหน่วยงานที่สังกัดอยู่กับสำนักงานของประธานาธิบดี (The executive Office of the President (EOP)) สำนักงานการจัดการและงบประมาณมีหน้าที่ดังต่อไปนี้

  1. ให้ความช่วยเหลือประธานาธิบดีในการทำงบประมาณและการจัดทำแผนการคลังของรัฐบาล
  2. ปรับปรุงการบริหารงาน และการจัดการของโครงการต่างๆของรัฐบาล
  3. ทบทวนและปรับปรุงกฎระเบียบของทางราชการที่มีผลกระทบโดยตรงต่อประชาชน
  4. ให้คำแนะนำแก่รัฐบาลในการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการว่าจ้างของรัฐบาล การออกกฎระเบียบ และขั้นตอนการทำงานต่างๆ
  5. ให้คำแนะนำแก่รัฐบาลในการกำหนดนโยบายการบริหารการคลังการแถลงกิจการเกี่ยวกับการคลัง การจัดการระบบการคลัง การจัดการด้านสินเชื่อและเงินสด และ กลไกการควบคุมทางด้านการคลัง

2.สำนักงานการจัดการด้านบริหารงานบุคคล (Office of Personnel Management (OPM)) จัดตั้งขึ้นปี ค.ศ.1978 มีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปราชการพลเรือน ดังนี้

  1. การดำเนินการตามระบบการจ้างงานของรัฐบาลสหพันธรัฐรวมถึงการคัดเลือกบุคคล การทดสอบฝึกอบรม และการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง
  2. ดำเนินการตามระบบเกษียณอายุราชการพลเรือน และดำเนินการตามกองทุนสำหรับคนพิการ

3. หน่วยบริหารบริการทั่วไป (General Services Administration (GSA)) เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการจัดการเกี่ยวกับการก่อสร้างและการบำรุงรักษาสถานที่ราชการ มีหน้าที่ในการดูแลการจัดซื้อ จัดจ้างพัสดุ อุปกรณ์อำนวยคามสะดวกในการเดินทางให้บริการเกี่ยวกับการจัดการด้านข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์และให้บริการเกี่ยวกับโทรคมนาคม 4. หน่วยบริการด้านการจัดการคลัง (Financial Management Service (FMS)) เป็นหน่วยงานที่สังกัดกระทรวงการคลัง (Department of the Treasury) มีหน้าที่ ดังนี้

  1. ปรับปรุงการจัดการเกี่ยวกับการติดต่อทางการเงินการคลังของรัฐบาล
  2. ปรับปรุงการจัดการทางด้านสินเชื่อของรัฐบาล
  3. การออกเช็คของกระทรวงการคลัง และการโยกย้ายเงินโดยผ่านคอมพิวเตอร์
  4. ดูแลระบบบัญชีกลางโดยจัดให้มีการรายงานสถานะทางการเงินเป็นระยะๆ
  5. รวบรวมใบเสร็จและหลักฐานการเงินทั้งหลายของรัฐบาล[5]






วิวัฒนาการของระบบราชการสหรัฐอเมริกา

แก้

ในอดีตประเทศสหรัฐอเมริกาประกาศเอกราช และมีการร่างรัฐธรรมนูญ และมีการจัดตั้งกระทรวงต่างๆที่สำคัญขึ้น เป็นการเริ่มต้นของการเป็นประเทศที่พัฒนาระบบการเมืองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยแบบสหพันธรัฐโดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข สหรัฐอเมริกาเน้นความสำคัญที่ระบบการเมืองการปกครอง ให้ความสนใจเรื่องเอกราช เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน มุ่งเน้นให้ความสำคัญในการบัญญัติรัฐธรรมนูญ ในเวลาต่อมา จำนวนหน่วยงานราชการและจำนวนข้าราชการมีเพิ่มมากขึ้น เพื่อสนองความต้องการสาธารณะที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว อัตราการขยายตัวของหน่วยงานและการจ้างข้าราชการเพิ่มสูงขึ้นในช่วงสงครามกลางเมือง และช่วงเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมเจริญเติบโตขึ้น ทำให้ระบบราชการมีขนาดใหญ่และซับซ้อนมากขึ้น การปฏิบัติงานมีความล้าช้าและไม่มีประสิทธิภาพ และเริ่มมีการนำระบบอุปถัมภ์เข้ามาใช้ในการบริหารราชการ โดยผู้นำระบบ คือ ประธานาธิบดีแอนดรู แจ๊คสัน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 วู๊ดโรว์ วิลสัน(Woodrow Wilson) เห็นความสำคัญของระบบบริหารราชการได้เข้ารับดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ระบบราชการจึงขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นในระบบราชการ เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 เกิดภาวะวิกฤตของประเทศทำให้ข้าราชการและจำนวนหน่วยราชการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วขนาดของระบบราชการใหญ่และซับซ้อนมากขึ้น ในอดีตประมาณปี ค.ศ. 1933 การตัดสินใจและอำนาจบริหารระบบราชการขึ้นอยู่กับผู้บริหารระดับสูงจำนานน้อย แต่ในเวลาต่อมา ปี ค.ศ. 1976 ผู้บริหารระดับสูงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และอำนาจการตัดสินใจขึ้นอยู่กับผู้บริหาร ทำให้การปฏิบัติงานล่าช้าและขาดประสิทธิภาพมากขึ้น การปฏิรูประบบราชการครั้งสำคัญ มีดังต่อไปนี้ สมัยประธานาธิบดี แฟรงคลิน ดี รูสเวล (Franklin D Roosevelt) ได้จัดตั้งคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ ทำหน้าที่ปรับโครงสร้างของฝ่ายบริหาร และเสนอให้มีการจัดตั้งสำนักงานของประธานาธิบดี (The Executive Office of the President) สมัยประธานาธิบดีจิมมี่ คาร์เตอร์ ( Jimmy Carter )มีการบัญญัติกฎหมายปฏิรูปข้าราชการพลเรือน ปี ค.ศ.1978 โดยการแยกสำนักงานข้าราชการพลเรือน ออกเป็น 2 หน่วยงาน คือ OPM (The Office of Personnel Management) ทำหน้าที่ด้านการบริหารงานบุคคลและรับเรื่องร้องทุกข์จากข้าราชการ สมัยประธานาธิบดี โรแนล เรแกน (Ronal Reagan) ได้จัดตั้ง “Grace Commission’’ ขึ้น โดยแต่งตั้งนักบริหารจากภาคเอกชนมาเป็นกรรมการในการปฏิรูประบบราชการ คณะกรรมการได้เสนอรายงานเกี่ยวกับความสิ้นเปลืองในการบริหารงานของระบบราชการ และเสนอแนะวิธีเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบราชการ สมัยประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือ ประธานาธิบดี บิล คลินตัน (Bill clinton) วิธีดำเนินการปฏิรูประบบราชการของคลินตัน คือ การจัดตั้งหน่วยงาน NPR (The National Perforrmance Review) เพื่อทบทวนการปฏิบัติงานของระบบราชการ และแสวงหาวิธีการลดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานของระบบราชการ รวมทั้งปรับปรุงคุณภาพในการบริการสาธารณะ และปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับประชาชาชน[6]










การปฏิรูประบบราชการของประเทศสหรัฐอเมริกา

แก้

การปฏิรูประบบราชการก่อนสมัยประธานาธิบดีบิล คลินตัน การปฏิรูประบบราชการในประเทศสหรัฐอเมริกามีประวัติศาสตร์ยาวนาน ประธานาธิบดีหลายท่านได้ตระหนักถึงความจำเป็นและความสำคัญในการดำเนินการปฏิรูประบบราชการของประเทศสหรัฐอเมริกาตลอดมา ตัวอย่างเช่น สมัยของประธานาธิบดี แฟรงกลิน ดี โรสเวล (Franklin D Roosevelt) ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการการปฏิรูประบบราชการ เพื่อทำหน้าที่ในการปรับโครงสร้างของฝ่ายบริหาร และมีนายหลุย บรอนโล (Louis Brownlow) เป็นประธานาธิบดีได้เสนอการจัดตั้งสำนักงานของประธานาธิบดีขึ้น (The Executive Office of the President) เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางด้านการบริหารงานให้กับประธานาธิบดี ต่อมาในปี ค.ศ. 1947 รัฐสภาได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาการจัดโครงสร้างของฝ่ายบริหาร คือ “The Hoover Commission’’ ได้เรียกร้องให้มีการเพิ่มศักยภาพด้านการจัดการของสำนักงานประธานาธิบดี โดยมีข้อเสนอ ดังนี้

  1. สามารถจัดโครงสร้างและอัตรากำลังของสำนักงานประธานาธิบดีได้โดยไม่มีขอบเขตจำกัด
  2. จัดสำนักงบประมาณให้มีความเข็มแข็งมากขึ้น
  3. จัดตั้งหน่วยงานด้านการบริหารงานบุคคลภายในสำนักงานประธานาธิบดี
  4. กำหนดให้ประธานาธิบดีมีฝ่ายเลขานุการที่เข้มแข็ง เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างประธานาธิบดีและผู้ใต้บังคับบัญชา โดยออกกฎหมายการจัดองค์การใหม่ และมีการจัดตั้งกระทรวงสาธารณะสุข การศึกษาและสวัสดิ์การขึ้นในปี ค.ศ. 1953

การปฏิรูประบบราชการที่สำคัญเกิดขึ้นอีกครั้งในสมัยประธานาธิบดี Jimmy Carter ได้แก่ การออกกฎหมายปฏิรูปราชการพลเรือนในปี ค.ศ. 1978 สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ คือ การแยกสำนักงานข้าราชการพลเรือน (Civil Service Commission) ออกเป็น 2 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานจัดการด้านการบริหารงานบุคคล (The Office of Personnel Management (OPM)) ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือด้านการบริหารงานบุคคล และหน่วยงานที่สอง ได้แก่ คณะกรรมการป้องกันระบบคุณธรรม (Merit system Protection Board) มีหน้าที่รับเรื่องร้องทุกข์จากข้าราชการ ในประวัติศาสตร์การปฏิรูประบบราชการในสมัยสหรัฐอเมริกา พบว่า ขอเสนอแนะส่วนมากของคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการที่ได้นำเสนอต่อประธานาธิบดีและรัฐสภาส่วนมากไม่ได้นำไปปฏิบัติ เช่น ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการที่เรียกว่า “Secound Hoover Commission” เสนอแนะให้ภาคราชการเลิกทำงานด้านบริการและกิจกรรมที่แข่งขันกับภาครัฐ การปฏิรูประบบราชการในสมัยแรกของประธานาธิบดี บิล คลินตัน ประธานาธิบดีบิล คลินตัน ได้แสดงตั้งแต่เริ่มเข้ารับตำแหน่งว่ารัฐบาลของเขามีเจตนาแน่วแน่ที่จะปฏิรูประบบราชการของสหพันธรัฐ ในเดือนกุมพาพันธ์ ค.ศ. 1993 ) ประธานาธิบดีบิล คลินตัน ได้ประกาศลดอัตรากำลังของระบบราชการสหพันธรัฐลงประมาณ 100,000 คน ภายใน 3 ปี และได้ประกาศว่าจะลดอัตรากำลังในทำเนียบขาว 25% หรือประมาณ 350 คน ทำให้เหลือข้าราชการในทำเนียบขาวเพียง 1,044 คน วิธีการดำเนินการปฏิรูประบบราชการของประธานาธิบดีบิล คลินตัน คือ ไม่ได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ แต่ได้จัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาเรียกว่า ‘’หน่วยทบทวนการปฏิบัติงานแห่งชาติ’’ (The National Performance Review (NPR)) ภายใต้การนำของรองประธานาธิบดีอัล กอร์ ในปลายเดือนเมษายน ค.ศ.1993 หน่วยงานนี้ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ 200 คน ประมาณ 80% เป็นข้าราชการประจำ หน่วยงานนี้มีนางอีเรน เคหมาก เป็นหัวหน้าและมี “Reinventing Government” เป็นที่ปรึกษาอาวุโส ปรัชญาในการดำเนินการปฏิรูประบบราชการของ NPR ได้แก่ การแสวงหาวิธีการทำให้รัฐบาลสามารถทำงานได้ดีขึ้นแต่เสียค่าใช้จ่ายน้อยลง ในความคิดเห็นของรองประธานาธิบดีอัล กอร์ วัตถุประสงค์พื้นฐานในการปฏิรูประบบราชการ คือ ปรับปรุงคุณภาพของบริการและปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับประชาชนอเมริกัน และรัฐบาลต้องพึ่งพาประสบการณ์ความรู้และความสามารถของข้าราชการในรัฐบาลสหพันธรัฐ เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการปฏิรูประบบราชการ การปฏิรูประบบราชการในสมัยที่สองของประธานาธิบดีบิล คลินตัน ภายหลังจากประธานาธิบดี คลินตัน (Bill clinton) ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีของประเทศสหรัฐอเมริกาอีกสมัยหนึ่งเมื่อ ค.ศ. 1997 ได้มีการเปลี่ยนชื่อ NPR (National Performance Review) เป็น the National Partnerships for Reinventing Government แต่ยังใช้คำย่อ NRP อยู่ ประธานาธิบดีบิล คลินตัน ได้จัดการประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อซักซ้อมความเข้าใจของรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายการปฏิรูประบบราชการ เมื่อ 11 มกราคม 1997 เอกสารแถลงการณ์นโยบายการปฏิรูประบบราชการเรียกว่า “Blair Hourse Papers” มีหลักการสำคัญสามประการ ดังนี้ ประการแรก การให้บริการที่ดีเยี่ยม ในปี ค.ศ. 1993 เรียกร้องให้บริการต่อลูกค้าของรัฐบาลกลางมีมาตรฐานเท่ากับการให้บริการที่ดีที่สุดของบริษัทในภาคธุรกิจเอกชน เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเอาชนะใจลูกค้าและเอาใจใส่ต่อความต้องการของลูกค้า หน่วยงานของรัฐบาลกลางต้องรู้จักรักษามาตรฐานของบริการและให้ความสำคัญต่อการวัดผลงานให้เป็นรูปธรรมและการประชาสัมพันธ์ผลงาน ประการที่สอง การสนับสนุนให้รัฐบาลกลางร่วมมือกับชุมชนในการแก้ไขปัญหา (Foster Partnership and Community Solutions) รัฐบาลกลางต้องหาวิธีการที่จะทำให้ชุมชนยินยอมปฏิบัติตามกฎระเบียบของรัฐบาลด้วยความเต็มใจ โดยรัฐบาลไม่ต้องบังคับ วิธีการสร้างความร่วมมือมีหลายวิธีเช่น การปรับปรุงกฎระเบียบให้ทันสมัยและอ่านเข้าใจง่าย ให้เจ้าหน้าที่ออกมาร้างพันธมิตรกับชาวบ้าน การใช้วิธีเจรจาต่อรองแทนการสั่งการ และให้ความสำคัญกับผลงานมากกว่าการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ประการที่สาม การปฏิรูปเพื่อให้รู้จักการทำงานให้สำเร็จด้วยค่าใช้จ่ายที่น้อยลงมีหลักสองประการ คือ หลักแรกต้องให้ฝ่ายปฏิบัติงานหลักที่เป็นผู้ให้บริการโดยตรงกับลูกค้า หลักการที่สอง คือ สร้างขวัญและกำลังใจให้แก่คนงาน เพื่อสร้างความกระตือรือร้นที่จะทำงานอย่างเต็มที่[7] '









การกำหนดทิศทางการปฏิรูประบบราชการในอนาคต

แก้

ในอนาคต NRP มีความเห็นเรื่องการปฏิรูประบบราชการตามนโยบายของ NRP ต้องดำเนินต่อไป เช่น การให้ความสำคัญต่อการปรับปรุงหน่วยงานของรัฐที่มุ่งสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าและมุ่งผลลัพธ์ของการปฏิบัติงานที่เป็นรูปธรรม การปฏิรูประบบราชการต้องอาศัยความร่วมมือของเอกชน รัฐบาล รัฐบาลท้องถิ่น และรัฐบาลมลรัฐ การปฏิรูประบบราชการต้องคำนึงถึงความพอใจของลูกค้า ต้องสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าเป็นระยะๆ การปฏิรูประบบราชการจะทำให้ชาวอเมริกามีความเชื่อมั่นและศรัทธาต่อการทำงานของรัฐบาลมากขึ้น ความพยายามอีกประการหนึ่งของรัฐบาลอเมริกาคือต้องการเป็นผู้นำของโลกในการปฏิรูประบบราชการ ผู้ให้สัมภาษณ์ท่านหนึ่งเล่าว่าทุกปีจะมีผู้แทนจากประเทศต่างๆ มาดูงานที่ NRP ประมาณ 200 ครั้งบางประเทศขอให้ NRP ไปช่วยวางแผนการปฏิรูประบบราชการของตนเอง จนกระทั่ง NRP ได้เสนอความคิดการจัดประชุมในระดับโลก (Global Forum) การประชุมเกิดขึ้นครั้งแรกที่ Washington D.C. เมื่อ ค.ศ.1997 ครั้งที่สองที่ Buenos Aires ประเทศ Argentina เมื่อ ค.ศ. 1999 และครั้งที่สามที่ Naples,ltaly ในวันที่ 15-17 มีนาคม 2001 การจัดงานการปฏิรูประบบราชการของประเทศสหรัฐอเมริกาจะเป็นอย่างไรในอนาคตขึ้นอยู่กับนโยบายของประธานาธิบดีคนใหม่คือ George W.Bust ผู้ให้สัมภาษณ์หลายท่านคิดว่าปรัชญาการปฏิรูประบบราชการยังคงให้ความสำคัญกับหลักการทำงานให้ดีขึ้น ใช้เงินให้น้อยลง วิธีการจัดระบบงานราชการจะเป็นอย่างไรนั้น ยังไม่อาจทราบได้ รองประธานาธิบดี Al Gore จัดตั้ง NRP ให้เป็นหน่วยงานชั่วคราวที่ระดมสมองจากหลายหน่วยงาน ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา มีหน่วยงานต่างๆเข้ามาช่วยทำงานถึง 14,000 คน หมุนเวียนกันมาประชุม NRP ในระยะเวลาสั้นๆไม่กี่เดือน จุดเด่นของ NRP คือเป็นกลไกที่ทำงานอย่างอิสระจากระบบราชการที่ขึ้นตรงต่อรองประธานาธิบดีใน NRP[8]

  1. ดร.เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ,กำเนิดระบบราชการและการปฏิรูปในยุคคลาสสิก,พิมพ์ครั้งที่1,กรุงเทพฯ,สงวนกิจการพิมพ์,2546,974-91642-8-8
  2. ดร.เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ,กำเนิดระบบราชการและการปฏิรูปในยุคคลาสสิก,พิมพ์ครั้งที่1,กรุงเทพฯ,สงวนกิจการพิมพ์,2546,974-91642-8-8
  3. ศิริพงษ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา,แนวคิดและทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์,พิมพ์ครั้งที่2,เชียงใหม่,ห้างหุ้นส่วนจำกัด ธนุชพริ้นติ้ง,2551,978-974-10-0382-2 กระโดดขึ้น ↑
  4. รองศาสตราจารย์ (ระดับ9)วิเชียร วิทยอุดม,แนวคิดรัฐประศาสนศาสตร์และทฤษฎีระบบราชการ,พิมพ์ครั้งที่1,กรุงเทพฯ,บริษัทธีระฟิล์มและไซเท็กซ์จำกัด,2551,978-974-10-7047-3
  5. สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ สำนักงาน ก.พ.,การปฏิรูประบบราชการของต่างประเทศ,นนทบุรี,โรงพิมพฺ์สหมิตรพริ้นติ้ง,2544
  6. ศาตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์,การเมืองอเมริกา,พิมพ์ครั้งที่3,สำนักพิมพ์เสมาธรรม,2544,974-231-088-2
  7. สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ สำนักงาน ก.พ.,การปฏิรูประบบราชการของต่างประเทศ,นนทบุรี,โรงพิมพฺ์สหมิตรพริ้นติ้ง,2544
  8. สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ สำนักงาน ก.พ.,การปฏิรูประบบราชการของต่างประเทศ,นนทบุรี,โรงพิมพฺ์สหมิตรพริ้นติ้ง,2544