ผู้ใช้:Donchai noy/กระบะทราย

วัดนันตาราม





ที่ตั้ง อยู่เลขที่ ๑ หมู่ ๑๓ บ้านทุ่งบานเย็น ต.หย่วน อ.เชียงคำ จ.พะเยา ๕๖๑๑๐





วัดนันตาราม ตั้งอยู่บริเวณตลาดเทศบาลตำบลเชียงคำ ไม่ปรากฎว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยใด เป็นวัดประจำชุมชนชาวไทยใหญ่ เดิมเรียก วัดจองคา เพราะมุงด้วยหญ้าคา (คำว่า จอง เป็นภาษาไทยใหญ่ หมายถึงวัด) พุทธศาสนิกชนชาวไทยใหญ่เป็นผู้สร้าง โดย พ่อหม่องโพธิ์ขิ่น บริจาคที่ดิน เนื้อที่ ๓ ไร่เศษ เป็นสถานที่ก่อสร้าง พ่อเฒ่าอุบล เป็นประธานในการก่อสร้างจนสำเร็จเรียบร้อย มีฐานะเป็นอารามหรือสำนักสงฆ์ ประชาชนทั่วไปนิยามเรียก วัดจองเหนือ เพราะอยู่ทางทิศเหนือของเทศบาลเชียงคำ สร้างวิหารไม้ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๗ แม่นางจ๋ามเฮิง ได้บริจาคที่ดิน เนื้อที่ ๕ ไร่ ๑ งาน ๗๒ ตารางวา สำหรับขยายอาณาเขตของวัด รวมเนื้อที่ทั้งสิ้น ๘ ไร่ ๑ งาน ๗๒ ตารางวา วิหารหลังปัจจุบัน พ่อเฒ่านันตา (อู๋) วงศ์อนันต์ คหบดีชสวไทยใหญ่ผู้มีศรัทธาแรงกล้าที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ได้บริจาคทรัพย์เพื่อบูรณะปฏิสังขรณ์ เสนาสนะและเป็นเจ้าภาพสร้างวิหารหลังใหม่แทนวิหารที่มุงหญ้าคา โดยว่าจ้างชาวไทยใหญ่มาออกแบบและทำการก่อสร้างเป็นวิหารไม้ทั้งหลัง รูปทรงแบบไทยใหญ่ หลังคาหน้าจั่วยกเป็นช่อชั้น ลดหลั่นกันสวยงามมุงด้วยแป้นเกร็ด (กระเบื้อง ไม้) เพดานประดับประดาด้วยกระจกสีลวดลายวิจิตรพิศดาร ไม้ซ้ำกัน เสาทั้ง ๖๘ ต้นลงรักปิดทอง ค่าก่อสร้าง ประมาณ ๔๕,๐๐๐ บาทเศษ อัญเชิญพระประธาน พระประธานในวิหารปัจจุบัน ไม่ทราบว่าสร้างในสมัยใด (คาดว่านำมาจากประเทศพม่า) พ่อเฒ่านันตาได้ว่าจ้างและ ไหว้วานชาวบ้านประมาณ ๘๐ คน อัญเชิญมาจาก วัดจองเหม่ถ่า ซึ่งเป็นวัดร้างในชุมชนไทยใหญ่เดิมที่อำเภอปง (ปัจจุบันเป็นสถานีอนามัยบ้านดอนแก้ว ตำบลออย อำเภอปง)เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย แกะสลักจากไม้สักทอง ทั้งต้น ลงลักปิดทอง ทรงเครื่องแบบไทยใหญ่ สวยงามมาก ขนาดหน้าตักกว้าง ๕๑ นิ้ว สูงจากฐานถึงยอดเกศา ๙ ศอก ประดิษฐานบนฐานไม้ มีแผงไม้กั้นด้านหลังประดับประดากระจกสีที่สวยงาม ประกอบด้วยไม้ฉลุและแกะสลักลายเครือเถา เทวดาและสัตว์ป่าหิมพานต์ การจัดงานฉลองวัดครั้งแรก การปฏิสังขรณ์ และก่อสร้างวัดจองคาครั้งใหญ่ใช้เวลาร่วม ๑๐ ปี จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๗๗ พ่อเฒ่า นันตา (อู๋) ได้เป็นประธานจัดงานฉลองครั้งใหญ่ขึ้น ระหว่างวันที่ ๑ – ๑๕ มีนาคม ๒๔๗๗ ๑๕ วัน ๑๕ คืน นอกจากการทำบุญ และจัดมหรสพสมโภชแล้ว ยังมีการตั้งโรงทาน แจกจ่ายวัตถุทานแก่ยาจกวณิพกและคนยากจนทั่วไปจำนวนมากอีกด้วย นับเป็นมหากุศลที่ ยิ่งใหญ่และเป็นครั้งแรกของวัดจองคำ ได้ชื่อ “ วัดนันตาราม”

..ที่ตั้งวัดนันตารามในปัจจุบันแต่เดิมเป็นวัดร้างมาก่อน ชาวบ้านถือว่าเป็นดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ มีผู้พบเห็นลำแสงประหลาดลอยขึ้นเหนือบริเวณดังกล่าวในคืนวันเพ็ญบ่อยๆ และยังมีต้นโพธิ์เก่าแก่ต้นหนึ่งเด่นเป็นสง่าอีกด้วย จึงไม่มีใครบุกรุกหรือครอบครองแต่อย่างใด และที่บริเวณนี้อยู่ติดกับบ้านพ่อเฒ่าอุบล และพ่อหม่องโพธิ์ขิ่น เมื่อมีพระภิกษุชาวไทยใหญ่เดินทางมาเยี่ยม จึงได้ปลูกเรือนพักชั่วคราวให้เป็นที่พำนักสงฆ์เหล่านั้น นานวันเข้าก็กลายเป็นที่รู้จักทั่วไปว่าเป็นที่พำนักสงฆ์ชาวไทยใหญ่ พ.ศ. ๒๔๕๐ พ่อหม่องโพธิ์ขิ่น ได้นำชาวบ้านทำการแผ้วถาง พัฒนาให้มีบริเวณกว้างยิ่งขึ้น รวมเนื้อที่ ๓ ไร่เศษ พ.ศ. ๒๔๕๑ พ่อหม่องโพธิ์ขิ่น ได้นิมนต์อูว์วัณณะ พระภิกษุชาวไทยใหญ่ซึ่งเดินทางมาจากเมืองตองจี รัฐฉาน ประเทศพม่า ให้จำพรรษาและได้สร้างวิหารไม้มุงด้วยหญ้าคา บริเวณใกล้ๆกับต้นโพธิ์ จึงเรียกชื่อโดยทั่วไปว่าวัดจองคา(วิหารมุงด้วยหญ่าคา) พ.ศ. ๒๔๖๗ แม่นางจ๋ามเฮิง บริจาคที่นา ประมาณ ๕ ไร่เศษ ให้กับวัดจองคา รวมเป็นเนื้อที่ ๘ ไร่ ๑ งาน ๗๒ ตารางวา (ตามโฉนดเลขที่ ๒๗ เลขที่ดิน ๕ หน้าสำรวจ ๒๗ ลงวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๑๔) พ.ศ.๒๔๖๘ พ่อเฒ่านันตา(อู๋)วงค์อนันต์ ได้เป็นเจ้าภาพสร้างวิหารไม้สักหลังใหม่(หลังที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้) พ.ศ.๒๔๗๖ ได้อัญเชิญพระพุทธรูปไม้สักทอง พระประธานวิหารวัดจองเหม่ถ่า อ.ปง จ.พะเยา ซึ่งเป็นวัดของชาวไทยใหญ่ที่ถูกทิ้งร้าง มาประดิษฐานเป็นพระประธานในวิหารหลังใหม่ และในระหว่างวันที่ ๑-๑๕ มีนาคม ๒๔๗๗ ได้จัดงานฉลองวัดเป็นครั้งแรก และเปลี่ยนชื่อวัดจองคา เป็นวัดนันตาราม เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พ่อเฒ่านันตา(อู๋)และตระกูลวงศ์อนันต์ พ.ศ.๒๕๑๔ ยกฐานะจากวัดในการปกครองของสงฆ์ไทยใหญ่มาเป็นวัดมหานิกายในคณะสงฆ์ไทย และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๑๔ พ่อเฒ่านันตา(อู๋)วงศ์อนันต์ ผู้สร้างวัดนันตาราม (จองเหนือ)

..ตระกูลวงศ์อนันต์ของพ่อเฒ่านันตา(อู๋) เป็นตระกูลเก่าแก่ตระกูลหนึ่ง พ่อเฒ่านันตา(อู๋)วงศ์อนันต์ เป็นชาวชนเผ่าปะโอ เกิดที่เมืองจี ซึ่งเป็นเมืองหลวงของไทยใหญ่(บริเวณรัฐฉาน สาธารณรัฐเมียนม่าร์ในปัจจุบัน) พ่อเฒ่านันตา(อู๋) แต่เดิมเป็นพ่อค้าสามรถพูดได้หลายภาษา อพยพมาอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่(บ้านวัวลาย) มักนำผ้าใหม อัญมณีและเครื่องประดับ มาขายให้ชาวเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง แพร่ น่าน จนเป็นที่รู้จักของบรรดาผู้ครองนครสมัยนั้นเป็นอย่างดี โดยเฉพาะเจ้าผู้ครองนครน่าน(ไม่ทราบพระนาม) ได้ยกหลานสาวพระมเหสีองค์หนึ่ง(ไม่ทราบนาม)ให้เป็นภริยา (ต่อมาลูกหลานได้เรียกนามท่านว่า แม่เฒ่าก่ำ) โดยมอบหมายให้เป็นผู้แทนดูแลผลประโยชน์จากการทำไม้ กับบริษัทบอมเบย์เบอร์ม่าร์ ในเขตพื้นที่เชียงม่วน ปง ดอกคำใต้ จุน เชียงคำ เทิง และเชียงของ(กิจการทำไม้ขายให้กับฝรั่งเศล) จึงได้อพยพครองครัวมาอยู่ที่เชียงคำ และมีศรัทธาอย่างแรงกล้าจึงได้สร้างวัดนันตารามที่เห็นในปัจจุบันนี้ขึ้นมาไว้ใน พระศาสนานี้…
เว็บไซต์กูเกิล