ผู้ใช้:Chawapbebe/ทดลองเขียน

พระราชบัญญัติ

ให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร

พุทธศักราช ๒๔๘๑



ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

(ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร

ลงวันที่ ๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๐)

อาทิตย์ทิพอาภา

พล.อ.เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน

ตราไว้ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๘๑

เป็นปีที่ ๕ ในรัชกาลปัจจุบัน


                  โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า สมควรตราประมวลรัษฎากรเพื่อปรับปรุงการ

รัษฎากรตามหลักความเป็นธรรมแก่สังคม


                  จึงมีพระราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของ

สภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้


                  มาตรา ๑  พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า “พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่ง

ประมวลรัษฎากร พุทธศักราช ๒๔๘๑”


                  มาตรา ๒*  ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๘๒

เป็นต้นไป

                  *[รก.๒๔๘๒/-/๑/๑ เมษายน ๒๔๘๒]


                  มาตรา ๓  ให้ใช้ประมวลรัษฎากรตามที่ตราไว้ต่อท้ายพระราชบัญญัตินี้เป็น

กฎหมายตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๘๒ เป็นต่อไป เว้นแต่บทบัญญัติในลักษณะ ๒

หมวด ๖ ว่าด้วยอากรแสตมป์นั้น ให้ใช้เป็นกฎหมายตั้งแต่ วันที่ ๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๒

เป็นต้นไป


                  มาตรา ๔  นับแต่วันใช้พระราชบัญญัตินี้ ให้ยกเลิก
                  (๑) พระราชบัญญัติเงินรัชชูปการ พุทธศักราช ๒๔๖๘
                  (๒) พระราชบัญญัติลักษณะเก็บเงินค่านา ร.ศ.๑๑๙
                  (๓) พระราชบัญญัติลักษณะการเก็บภาษีค่าที่ไร่อ้อย พุทธศักราช ๒๔๖๔
                  (๔) พระราชบัญญัติเปลี่ยนวิธีเก็บภาษียา ร.ศ.๑๑๙
                  (๕) ประกาศพระราชทานยกเงินอากรสวนใหญ่ค้างเก่าและเดินสำรวจต้นผลไม้

ใหม่ สำหรับเก็บเงินอากรสวนใหญ่ รัตนโกสินทรศก ๑๓๐

                  (๖) พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ พุทธศักราช ๒๔๗๕
                  (๗) พระราชบัญญัติภาษีการค้า พุทธศักราช ๒๔๗๕
                  (๘) พระราชบัญญัติภาษีการธนาคารและการประกันภัย พุทธศักราช ๒๔๗๖
                  (๙) บรรดาพิกัดอัตรา ข้อบังคับ กฎ ประกาศและบทกฎหมายอื่น ซึ่งออกเพื่อ

แก้ไขเพิ่มเติมหรือดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

                  และนับตั้งแต่วันใช้บทบัญญัติในลักษณะ ๒ หมวด ๖ แห่งประมวลรัษฎากร

ว่าด้วยอากรแสตมป์ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติอากรแสตมป์ พุทธศักราช ๒๔๗๕ กับบรรดาพิกัด

อัตรา ข้อบังคับ กฎและบทกฎหมายอื่น ซึ่งออกเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมหรือดำเนินการตามพระราช

บัญญัตินั้น


                  มาตรา ๕  บรรดาพระราชบัญญัติ ประกาศ พิกัดอัตรา ข้อบังคับกฎและบท

กฎหมายที่ให้ยกเลิกตามความในมาตรา ๔ วรรคแรกนั้น ยังคงให้ใช้บังคับได้ในการเก็บภาษีอากร

จำนวนพุทธศักราชต่าง ๆ ก่อนใช้ประมวลรัษฎากร

                  ส่วนพระราชบัญญัติ พิกัดอัตรา ข้อบังคับกฎ และบทกฎหมายที่ให้ยกเลิกตาม

ความในมาตรา ๔ วรรคสุดท้าย ก็ยังคงให้ใช้บังคับได้ ในการเก็บอากรที่จะพึงเรียกเก็บได้ก่อนใช้บท

บัญญัติในลักษณะ ๒ หมวด ๖ แห่งประมวลรัษฎากรว่าด้วยอากรแสตมป์


                  มาตรา ๖  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตาม

พระราชบัญญัตินี้


ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

         พิบูลสงคราม
        นายกรัฐมนตรี










ประมวลรัษฎากร

ลักษณะ ๑

ข้อความเบื้องต้น



                  มาตรา ๑  กฎหมายนี้ให้เรียกว่า “ประมวลรัษฎากร”


                  มาตรา ๒  ในประมวลรัษฎากรนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
                  “รัฐมนตรี” หมายความว่า  รัฐมนตรีผู้มีหน้าที่รักษาการตามประมวลรัษฎากรนี้
                  “อธิบดี” หมายความว่า  อธิบดีหัวหน้ากรมในกระทรวงการคลัง ซึ่งควบคุมการ

เก็บรัษฎากรประเภทต่าง ๆ ดังกำหนดไว้ในประมวลรัษฎากรนี้ และหมายความรวมถึงผู้ทำการแทน

ด้วย

                  “ข้าหลวงประจำจังหวัด” หมายความว่า  ข้าหลวงประจำจังหวัดปกครองท้องที่

และหมายความรวมถึงผู้ทำการแทนด้วย

                  “อำเภอ” หมายความว่า  กรมการอำเภอปกครองท้องที่
                  “นายอำเภอ” หมายความว่า  นายอำเภอหรือปลัดกิ่งประจำท้องที่ และหมาย

ความรวมถึงผู้ทำการแทนด้วย

                  “ที่ว่าการอำเภอ” หมายความว่า  ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอประจำท้องที่


                  มาตรา ๓  บรรดารัษฎากรประเภทต่าง ๆ ซึ่งเรียกเก็บตามประมวลรัษฎากรนี้ ให้

รัฐบาลมีอำนาจนำความกราบบังคมทูลเพื่อให้ทรงตราพระราชกฤษฎีกาลดอัตราเพื่อให้เหมาะสม

กับเหตุการณ์ในบางท้องที่ได้


                  มาตรา ๔  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีหน้าที่รักษาการตามประมวล

รัษฎากรนี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงแต่งตั้งเจ้าพนักงาน กำหนดส่วนลดและกิจการอื่น ๆ

เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามบทแห่งประมวลรัษฎากรนี้

                  กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้


ลักษณะ ๒

ภาษีอากรฝ่ายสรรพากร

หมวด ๑

บทเบ็ดเสร็จทั่วไป



                  มาตรา ๕  ภาษีอากรซึ่งบัญญัติไว้ในลักษณะนี้ ให้อยู่ในอำนาจหน้าที่และการ

ควบคุมของกรมสรรพากร


                  มาตรา ๖  ในกรณีทั้งปวงซึ่งคณะบุคคลเป็นผู้มีหน้าที่ และคณะนั้นมิใช่นิติ

บุคคล ให้ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการคณะนั้นเป็นผู้รับผิดชอบ


                  มาตรา ๗  บรรดารายการ รายงาน หรือเอกสารอื่นซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจด

ทะเบียนเป็นนิติบุคคลต้องทำยื่นนั้น ให้กรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้จัดการเป็นผู้ลงลายมือชื่อ


                  มาตรา ๘  หมายเรียก หรือหนังสืออื่น ซึ่งมีถึงบุคคลใดตามลักษณะนี้ จะให้นำ

ไปส่งในเวลากลางวันระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก หรือจะส่งโดยทางไปรษณีย์ลง

ทะเบียนก็ได้

                  ถ้าให้นำไปส่ง เมื่อผู้ส่งไม่พบผู้รับ จะส่งให้แก่บุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว

และอยู่ในบ้านหรือสำนักงานของผู้รับก็ได้

                  ถ้าไม่สามารถจะส่งหมายหรือหนังสืออื่นตามวิธีดังกล่าวข้างต้น จะส่งโดยวิธีปิด

หมายหรือหนังสือในที่ซึ่งเห็นได้ถนัดที่ประตูบ้านหรือสำนักงานของผู้รับ หรือโฆษณาในหนังสือ

พิมพ์ท้องที่ก็ได้

                  เมื่อได้ส่งหมายหรือหนังสืออื่นตามวิธีดังกล่าวข้างต้น ให้ถือว่าเป็นอันได้รับแล้ว


                  มาตรา ๙  ถ้าจำเป็นต้องคำนวณเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราสยาม

เพื่อปฏิบัติตามลักษณะนี้ ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งกระทรวงการคลังประกาศเป็นคราว ๆ


                  มาตรา ๑๐  เจ้าพนักงานผู้ใดโดยหน้าที่ราชการตามลักษณะนี้ ได้รู้เรื่องกิจการ

ของผู้เสียภาษีอากร หรือของผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง ห้ามมิให้นำออกแจ้งแก่ผู้ใด หรือยังให้ทราบกันไปโดย

วิธีใด เว้นแต่จะมีอำนาจที่จะได้โดยชอบด้วยกฎหมาย


                  มาตรา ๑๑  เว้นแต่จะมีบทบัญญัติหรืออธิบดีจะสั่งเป็นอย่างอื่น ให้นำเงินภาษี

อากรไปเสีย ณ ที่ว่าการอำเภอ และการเสียภาษีอากรนั้นให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จ

รับเงินซึ่งนายอำเภอได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว


                  มาตรา ๑๒  ภาษีอากรซึ่งต้องเสียตามลักษณะนี้ ถ้าเมื่อถึงกำหนดชำระแล้วมิได้

เสีย ให้ถือเป็นภาษีอากรค้าง

                  เพื่อให้ได้รับชำระค่าภาษีอากรค้าง ให้เป็นอำนาจของข้าหลวงประจำจังหวัด

หรือนายอำเภอโดยเฉพาะที่จะสั่งยึดและสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากร

โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง แต่สำหรับนายอำเภอนั้น จะใช้อำนาจสั่งขายทอดตลาด

ได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากข้าหลวงประจำจังหวัด


                  วิธีการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินดังกล่าวในวรรคก่อน ให้ปฏิบัติตาม

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม

                  เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดดังกล่าวแล้ว ให้หักค่าธรรมเนียมกับค่าใช้จ่ายใน

การยึดและขาย และเงินภาษีอากรค้าง ถ้ามีเงินเหลือ ให้คืนให้แก่เจ้าของทรัพย์สิน


                  มาตรา ๑๓  เจ้าพนักงานผู้ใดฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา ๑๐ มีความผิดต้องระวาง

โทษปรับไม่เกิน ๕๐๐ บาท หรือจำคุกไม่เกิน ๖ เดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ


หมวด ๒

วิธีการเกี่ยวแก่ภาษีอากรประเมิน



                  มาตรา ๑๔  ภาษีอากรประเมิน คือที่มีระบุไว้ในหมวดนั้น ๆ ว่าเป็นภาษีอากร

ประเมิน


                  มาตรา ๑๕  ให้ใช้บทบัญญัติในหมวดนี้บังคับแก่การภาษีอากรประเมินทุก

ประเภท


                  มาตรา ๑๖  เจ้าพนักงานประเมิน หมายความว่า  เจ้าพนักงานซึ่งรัฐมนตรี

แต่งตั้ง


ส่วน ๑

การยื่นรายการและการเสียภาษีอากร



                  มาตรา ๑๗  การยื่นรายการ ให้ยื่นภายในเวลาที่กำหนดไว้ในหมวดว่าด้วยภาษี

อากรต่าง ๆ และตามแบบแสดงรายการที่อธิบดีกำหนด

                  ถ้าอธิบดีต้องการรายงานประจำปี หรือบัญชีงบดุลหรือบัญชีอื่น ๆ ประกอบแบบ

แสดงรายการใด ก็ให้สั่งเรียกได้ กับให้อธิบดีมีอำนาจสั่งผู้ต้องเสียภาษีอากรให้มีสมุดบัญชีพิเศษ

และให้กรอกข้อความที่ต้องการลงในสมุดบัญชีนั้นได้ เพื่อสะดวกแก่การคำนวณเงินภาษีอากรที่

ต้องเสียตามลักษณะนี้ เมื่ออธิบดีมีคำสั่งตามที่ว่ามานี้ ผู้ยื่นรายการหรือผู้ต้องเสียภาษีอากรต้อง

ปฏิบัติตาม


                  มาตรา ๑๘  รายการที่ยื่นเพื่อเสียภาษีอากรนั้น ให้อำเภอหรือเจ้าพนักงาน

ประเมินเป็นผู้ประเมินตามที่กำหนดไว้ในหมวดภาษีอากรนั้น ๆ และเมื่อได้ประเมินแล้ว ให้แจ้ง

จำนวนภาษีอากรที่ประเมินไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากร ในกรณีนี้จะอุทธรณ์การประเมินก็ได้

                  มาตรา ๑๙  เว้นแต่จะมีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในลักษณะนี้ ถ้าภายในเวลา ๓

ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการแล้ว ปรากฏแก่เจ้าพนักงานประเมินว่าผู้ใดแสดงรายการตามแบบที่ยื่น

ไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นราย

การนั้นมาไต่สวนและออกหมายเรียกพยาน กับสั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานนั้นนำสมุดบัญชีหรือ

พยานหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้ แต่ต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๕ วัน นับแต่วันส่ง

หมาย

                  มาตรา ๒๐  เมื่อได้จัดการตามมาตรา ๑๙ และทราบข้อความแล้ว เจ้าพนักงาน

ประเมินมีอำนาจที่จะแก้จำนวนเงินที่ประเมินไว้เดิม และแจ้งจำนวนเงินซึ่งต้องชำระอีกไปยังผู้ต้อง

เสียภาษีอากร ในกรณีนี้จะอุทธรณ์การประเมินก็ได้


                  มาตรา ๒๑  ถ้าผู้ต้องเสียภาษีอากรไม่ปฏิบัติตามหมายหรือคำสั่งของ

เจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา ๑๙ หรือไม่ยอมตอบคำถามเมื่อซักถาม เจ้าพนักงานประเมินมี

อำนาจประเมินเงินภาษีอากรตามที่รู้เห็นว่าถูกต้อง และแจ้งจำนวนเงินซึ่งต้องชำระอีกไปยังผู้ต้อง

เสียภาษีอากร ในกรณีนี้ห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมิน

                  แต่ในกรณีส่งหมายโดยวิธีหนึ่งวิธีใดดังบัญญัติไว้ในมาตรา ๘ วรรค ๒ และ ๓

นั้น ถ้าภายในกำหนด ๑๕ วัน นับแต่วันส่งหมาย ผู้อุทธรณ์แสดงให้เป็นที่พอใจแก่เจ้าหน้าที่ผู้รับ

อุทธรณ์ได้ว่า มีเหตุสุดวิสัยกระทำให้ไม่ทราบการส่งหมาย ก็ให้มีสิทธิอุทธรณ์ได้


                  มาตรา ๒๒  ในการประเมินตามมาตรา ๒๐ หรือมาตรา ๒๑ ผู้ต้องเสียภาษี

อากรอาจต้องรับผิดเสียเสียเงินอีกร้อยละ ๒๐ แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้น เงินนี้ให้ถือเป็นค่าภาษี

อากร


                  มาตรา ๒๓  ผู้ใดไม่ยื่นรายการ เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัว

ผู้นั้นมาไต่สวน และออกหมายเรียกพยาน กับสั่งให้ผู้ไม่ยื่นรายการหรือพยานนั้นนำสมุดบัญชีหรือ

พยานหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้ แต่ต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อย ๕ วัน นับแต่วันส่ง

หมาย


                  มาตรา ๒๔  เมื่อได้จัดการตามมาตรา ๒๓ และทราบข้อความแล้ว เจ้าพนักงาน

ประเมินมีอำนาจประเมินเงินภาษีอากร และแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ต้องชำระไปยังผู้ต้องเสียภาษี

อากร ในกรณีนี้จะอุทธรณ์การประเมินก็ได้


                  มาตรา ๒๕  ถ้าผู้ได้รับหมายหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินไม่ปฏิบัติตาม

หมายหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน ตามมาตรา ๒๓ หรือไม่ยอมตอบคำถามเมื่อซักถาม

เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเงินภาษีอากรตามที่รู้เห็นว่าถูกต้อง และแจ้งจำนวนภาษี

อากรไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากร ในกรณีนี้ห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมิน

                  แต่ในกรณีส่งหมายโดยวิธีหนึ่งวิธีใดดังบัญญัติไว้ในมาตรา ๘ วรรค ๒ และ ๓

นั้น ถ้าภายในกำหนด ๑๕ วัน นับแต่วันส่งหมาย ผู้อุทธรณ์แสดงให้เป็นที่พอใจแก่เจ้าหน้าที่ผู้รับ

อุทธรณ์ได้ว่า มีเหตุสุดวิสัยกระทำให้ไม่ทราบการส่งหมาย ก็ให้มีสิทธิอุทธรณ์ได้


                  มาตรา ๒๖  เว้นแต่จะมีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในลักษณะนี้ ในการประเมินตาม

มาตรา ๒๔ หรือมาตรา ๒๕ ผู้ต้องเสียภาษีอากรอาจต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มขึ้นอีก ๒ เท่าจำนวนเงิน

ภาษีอากร เงินนี้ให้ถือเป็นค่าภาษีอากร


                  มาตรา ๒๗  เงินภาษีอากรที่บุคคลใดจะต้องเสียหรือนำส่งตามบทบัญญัติใน

หมวดต่าง ๆ แห่งลักษณะนี้ ต้องเสียหรือนำส่งภายในเวลา ตามแต่จะมีบทบัญญัติในหมวดนั้น ๆ

กำหนดไว้ ส่วนเงินภาษีอากรที่อำเภอหรือเจ้าพนักงานประเมินแจ้งให้เสีย ถ้าไม่มีบทบัญญัติใน

หมวดต่าง ๆ แห่งลักษณะนี้กำหนดเวลาไว้เป็นอย่างอื่น ก็ต้องเสียภายในเวลา ๓๐ วัน นับแต่วันได้

รับแจ้งจำนวน ถ้าไม่เสียภายในกำหนดที่ว่ามานี้ ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ ๒๐ แห่งเงินภาษีอากรที่

ต้องเสียนั้น เงินนี้ให้ถือเป็นค่าภาษีอากร


ส่วน ๒

การอุทธรณ์



                  มาตรา ๒๘  การอุทธรณ์นั้น ให้อุทธรณ์ตามแบบที่อธิบดีกำหนด


                  มาตรา ๒๙  ในการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรที่อำเภอมีหน้าที่ประเมิน ให้

อุทธรณ์ได้ตามเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้

                  (๑) ให้อุทธรณ์การประเมินของอำเภอต่อเจ้าพนักงานประเมินภายในกำหนด

๑๕ วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมิน

                  (๒) เว้นแต่ในกรณีห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา ๒๑ หรือมาตรา ๒๕ ให้อุทธรณ์การ

ประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่อข้าหลวงประจำจังหวัดภายในกำหนด ๑๕ วัน นับแต่วันได้รับ

แจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ หรือรับแจ้งการประเมินมาตรา ๒๐ หรือมาตรา ๒๔

                  (๓) เว้นแต่ในกรณีห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา ๓๓ ให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์

ของข้าหลวงประจำจังหวัดต่อศาลภายในกำหนด ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์


                  มาตรา ๓๐  ในการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรที่อำเภอไม่มีหน้าที่ประเมิน

ให้อุทธรณ์ได้ตามเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้

                  (๑) เว้นแต่ในกรณีห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา ๒๑ หรือมาตรา ๒๕ ให้อุทธรณ์การ

ประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่ออธิบดี หรือข้าหลวงประจำจังหวัดตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

ภายในกำหนด ๑๕ วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินตามมาตรา ๑๕ มาตรา ๒๐ หรือมาตรา ๒๔


                  (๒) เว้นแต่ในกรณีห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา ๓๔ ให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของอธิบดี

หรือข้าหลวงประจำจังหวัดต่อศาลภายในกำหนด ๑๕ วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์


                  มาตรา ๓๑  การอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีอากร เว้นแต่กรณีอุทธรณ์

การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา ๒๐

                  กรณีอุทธรณ์การประเมินตามมาตรา ๒๐ ผู้อุทธรณ์ต้องเสียภาษีอากรตามคำ

วินิจฉัยอุทธรณ์ ภายในกำหนด ๓๐ วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ถ้าไม่เสียภายใน

กำหนดนี้ ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ ๒๐ แห่งเงินภาษีอากรที่ต้องเสีย เงินนี้ให้ถือเป็นค่าภาษีอากร


                  มาตรา ๓๒  เพื่อการวินิจฉัยอุทธรณ์ เจ้าพนักงานประเมิน ข้าหลวงประจำ

จังหวัด หรืออธิบดี มีอำนาจออกหมายเรียกผู้อุทธรณ์มาไต่สวน ออกหมายเรียกพยาน กับสั่งให้ผู้

อุทธรณ์หรือพยานนั้นนำสมุดบัญชีหรือพยานหลักฐานอย่างอื่นควรแก่เรื่องมาแสดงได้ แต่ต้องให้

เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๐ วัน นับแต่วันส่งหมาย


                  มาตรา ๓๓  ผู้อุทธรณ์คนใดไม่ปฏิบัติตามหมายหรือคำสั่งของเจ้าพนักงาน

ประเมิน ข้าหลวงประจำจังหวัดหรืออธิบดีตามมาตรา ๓๒ หรือไม่ยอมตอบคำถามเมื่อซักถาม ผู้นั้น

หมดสิทธิที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อไป


                  มาตรา ๓๔  คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของเจ้าพนักงานประเมิน ข้าหลวงประจำจังหวัด

หรืออธิบดี ให้แจ้งไปยังผู้อุทธรณ์เป็นหนังสือ


ส่วน ๓

บทกำหนดโทษ



                  มาตรา ๓๕  ผู้ใดฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา ๑๗ เว้นแต่จะแสดงว่าได้มีเหตุสุดวิสัย

ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท


                  มาตรา ๓๖  ผู้ใดโดยรู้อยู่แล้วหรือจงใจไม่ปฏิบัติตามหมายหรือคำสั่งของ

เจ้าพนักงานประเมิน ข้าหลวงประจำจังหวัด หรืออธิบดี ที่ออกตามมาตรา ๑๙ มาตรา ๒๓ มาตรา

๓๒ หรือไม่ยอมตอบคำถามเมื่อซักถาม ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๕๐๐ บาท


                  มาตรา ๓๗  ผู้ใด
                  (๑) โดยรู้อยู่แล้วหรือจงใจแจ้งข้อความเท็จหรือให้ถ้อยคำเท็จ หรือตอบคำถาม

ด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดง เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรตาม

ลักษณะนี้ หรือ

                  (๒) โดยความเท็จ โดยเจตนาละเลย โดยฉ้อโกงหรืออุบาย หรือโดยวิธีการอื่นใด

เช่นว่านี้ หลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร

                  ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท หรือจำคุกไม่เกิน ๖

เดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ


หมวด ๓

ภาษีเงินได้



ส่วน ๑

ข้อความทั่วไป



                  มาตรา ๓๘  ภาษีเงินได้นี้อยู่ในประเภทภาษีอากรประเมิน และให้เจ้าพนักงาน

ประเมิน เป็นผู้ประเมินเกี่ยวกับภาษีในหมวดนี้


                  มาตรา ๓๙  ในหมวดนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
                  “เงินได้พึงประเมิน” หมายความว่า  เงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีตามหมวด

นี้

                  “เงินได้สุทธิ” หมายความว่า  เงินได้พึงประเมินซึ่งหักจำนวนเงินที่ยอมให้หักและ

ลดหย่อนตามหมวดนี้ออกแล้ว

                  “ปีภาษี” หมายความว่า  ปีตามปฏิทินหลวง
                  “ภาษีปกติ” หมายความว่า  ภาษีเก็บจากเงินได้ในอัตราปกติและส่วนแห่งอัตรา

ปกติ

                  “ภาษีเสริม” หมายความว่า  ภาษีเก็บจากเงินได้ในอัตราเพิ่มเติม
                  “ภาษีเงินได้” หมายความว่า  ภาษีปกติ หรือภาษีเสริม หรือทั้งสองอย่างรวมกัน


ส่วน ๒

การเก็บภาษีจากบุคคลธรรมดา



                  มาตรา ๔๐  เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทต่อไปนี้
                  (๑) เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จบำนาญ เงินค่าธรรมเนียม เงินค่า

นายหน้า เงินค่าเช่าบ้าน บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยมิต้องเสียค่าเช่า หรือประโยชน์เพิ่มอย่างอื่นซึ่ง

นายจ้างจ่ายหรือให้แก่ลูกจ้างของตนเป็นค่าจ้างแรงงาน

                  (๒) เบี้ยประชุม บำเหน็จกรรมการ เงินหรือประโยชน์เพิ่มอย่างอื่นที่ได้เนื่องจาก

หน้าที่ตำแหน่งงานที่ทำ

                  (๓) เงินปีพระบรมวงศานุวงศ์ เงินได้มีลักษณะเป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัย

กรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล และเงินที่ได้รับเป็นส่วนแบ่งหรือส่วนแจกของผล

กำไรหรือดอกเบี้ย จากเงินทุนหรือทรัพย์สินอันเป็นทรัสต์

                  (๔) ดอกเบี้ยจากพันธบัตร จากเงินกู้ยืม หรือจากเงินฝาก หรือเงินที่ได้รับตาม

ประเภทที่ระบุไว้ในมาตรา ๖๕

                  (๕) เงินได้เนื่องในการให้เช่าทรัพย์สิน รวมทั้งประโยชน์อย่างอื่นที่ให้กันแทนเงิน

เนื่องในการให้เช่านั้น

                  (๖) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม

สถาปัตยกรรม การบัญชี หรือวิชาชีพอิสระอื่น ซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้

                  (๗) เงินได้จากการรับเหมาทำการโยธา เช่นการรับเหมาทำทาง ชลประทาน

ประปา ปลูกสร้างโรงเรือน และการก่อสร้างอย่างอื่น ๆ

                  (๘) เงินได้จากอาชีพอื่น ๆ เช่นการเกษตร การพาณิชย์ การขนส่ง การหัตถกรรม

การศิลปกรรม การช่างฝีมือ และการอุตสาหกรรมอื่น ๆ ตามที่จะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิด

ไว้

                  เงินได้ประเภทที่ระบุไว้ข้างต้น ถ้าได้จากภายนอกสยาม จะเป็นเงินได้พึง

ประเมินนำเข้ามาในสยาม


                  มาตรา ๔๑  ผู้อยู่ในสยามที่มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ ในปีภาษีที่ล่วง

มาแล้ว ต้องเสียภาษีเงินได้ตามบทบัญญัติในส่วนนี้

                  ผู้ที่มิได้อยู่ในสยาม ถ้ามีเงินได้พึงประเมินตามาตรา ๔๐ ที่ได้ในสยาม ต้องเสีย

ภาษีเงินได้ตามบทบัญญัติในส่วนนี้

                  ผู้ใดอยู่ในสยามชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะ รวมเวลาทั้งหมดถึง ๖ เดือน

ในปีภาษีปีใด ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้อยู่ในสยามตามาตรานี้


                  มาตรา ๔๒  เงินได้ในลักษณะดังจะกล่าวต่อไปนี้ไม่ต้องรวมคำนวณเป็นเงินได้

พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๑) และ (๒) คือ

                  (๑) เบี้ยทดแทนรายจ่ายพิเศษหรือประโยชน์เพิ่มอันจ่ายโดยสุจริตเป็นโสหุ้ยอัน

ระบุเฉพาะ ซึ่งผู้รับตำแหน่งหน้าที่งานหรือลูกจ้างต้องจ่ายในการปฏิบัติการตามหน้าที่และจ่ายทั้ง

หมดในการนั้น และโดยจำเป็นแก่การนั้น รวมทั้งเบี้ยทดแทนรายจ่ายหรือประโยชน์เพิ่มในลักษณะ

ดังว่ามานี้ ซึ่งรัฐบาลกำหนดไว้ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยอัตราค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงเดินทาง

                  (๒) เงินค่าเดินทางซึ่งนายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างและจ่ายทั้งหมดโดยจำเป็นเพื่อการ

เดินทางจากต่างถิ่นในการเข้ารับงานเป็นครั้งแรก หรือในการกลับถิ่นเดิม เมื่อการจ้างได้สิ้นสุดลง

แล้ว

                  (๓) ในกรณีที่นายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญากันโดยสุจริตก่อนใช้พระราช

บัญญัติภาษีเงินได้ พุทธศักราช ๒๔๗๕ มีข้อกำหนดว่านายจ้างจะชำระเงินบำเหน็จ เงินค่าธรรม

เนียม เงินค่านายหน้า หรือเงินโบนัส ให้แก่ลูกจ้างเป็นจำนวนเดียว เมื่อการงานที่จ้างได้สิ้นสุดลง

แล้ว แม้เงินเต็มจำนวนนั้นจะได้ชำระภายหลังที่ใช้บทบัญญัติในส่วนนี้ก็ดี เงินบำเหน็จ เงินค่า

ธรรมเนียม เงินค่านายหน้า หรือเงินโบนัส ส่วนที่เป็นค่าจ้างแรงงานอันได้ทำในเวลาก่อนใช้พระราช

บัญญัติภาษีเงินได้ พุทธศักราช ๒๔๗๕ นั้น ไม่ต้องรวมคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมิน


                  มาตรา ๔๓  เงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๕) ยอมให้หักค่าใช้จ่ายดังต่อไป

นี้

                  (๑) ถ้าเป็นบ้าน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น หรือแพ ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็น

การเหมาร้อยละ ๒๐ สำหรับชดเชยค่าเช่าที่ดิน เบี้ยประกันภัย ค่าซ่อมแซม และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ

และยังยอมให้หักดอกเบี้ยจำนองสำหรับทรัพย์สินนั้นเท่าที่จ่ายจริงได้อีกด้วย

                  (๒) ถ้าเป็นที่ดินใช้ในการเกษตรกรรม ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ

๑๐ สำหรับชดเชยค่าบำรุงที่ดินและค่าเช่าที่ดิน และยังยอมให้หักดอกเบี้ยจำนองสำหรับทรัพย์สิน

นั้นเท่าที่จ่ายจริงได้อีกด้วย

                  (๓) ถ้าเป็นที่ดินที่มิได้ใช้ในการเกษตรกรรม ยอมให้หักดอกเบี้ยจำนองสำหรับ

ทรัพย์สินนั้นเท่าที่จ่ายจริง

                  (๔) ถ้าเป็นทรัพย์สินที่อาจจำนองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

นอกจากที่กล่าวมาแล้วใน (๑) (๒) และ (๓) ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ ๑๐ สำหรับ

ชดเชยเบี้ยประกันภัย ค่าซ่อมแซม และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ และยังยอมให้หักดอกเบี้ยจำนองสำหรับ

ทรัพย์สินนั้นเท่าที่จ่ายจริงได้อีกด้วย

                  (๕) ถ้าเป็นทรัพย์สินอย่างอื่นนอกจากที่กล่าวมาแล้ว ใน (๑) (๒) (๓) และ (๔)

ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ ๕ สำหรับชดเชยค่าซ่อมแซม และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ


                  มาตรา ๔๔  เงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๖) ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการ

เหมาร้อย ๒๕ สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในกิจการของวิชาชีพอิสระ


                  มาตรา ๔๕  เงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๗) ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการ

เหมาร้อยละ ๙๐ สำหรับชดเชยค่าวัตถุสิ่งของ ค่าแรงงาน และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นแก่กิจการรับเหมา

ทำการโยธา


                  มาตรา ๔๖  เงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๘) ยอมให้หักค่าใช้จ่ายตามที่จะ

ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดไว้ให้หักได้สำหรับการอาชีพหรือสาขาของการอาชีพใด เพื่อให้เหมาะ

สมตามสภาพแห่งท้องที่ ทั้งนี้ให้เป็นการเหมาไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๗๕ แห่งเงินได้พึงประเมินตามที่จะ

ได้กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกานั้น


                  มาตรา ๔๗  เงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ เมื่อได้หักค่าภาระและค่าใช้จ่าย

ตามที่จะพึงหักได้แล้ว ให้ได้รับการลดหย่อนอีก ดังต่อไปนี้

                  (๑) ผู้ต้องเสียภาษีแต่ละคน ลดหย่อนให้เป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัว ๖๐๐ บาท
                  (๒) ผู้ต้องเสียภาษีที่มีภริยาหรือสามี ลดหย่อนให้ผู้ต้องเสียภาษีนั้นแต่ละคน

เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับภริยาหรือสามี แล้วแต่กรณี ๓๐๐ บาท

                  (๓) ผู้ต้องเสียภาษีที่บุตร ลดหย่อนให้เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับบุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติ

ภาวะหรือไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถอันอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูและยังมีชีวิต

อยู่ คนละ ๒๐๐ บาท แต่ทั้งนี้ลดหย่อนให้แก่บิดาหรือมารดาผู้ซึ่งปกครองบุตรนั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

แต่ฝ่ายเดียว หรือทั้งสองฝ่ายเท่า ๆ กันเท่าที่จะทำได้ เว้นแต่ทั้งสองฝ่ายตกลงกันขอแบ่งส่วนการรับ

การลดหย่อน ก็ลดหย่อนให้ตามส่วนที่ตกลงกัน

                  การลดหย่อนใน (๒) และ (๓) ให้ได้รับตลอดทั้งปีไม่ว่าจะมีสามีภริยาหรือบุตร

ในเวลาใดระหว่างปี หรือสามีภริยาหรือบุตรในระหว่างปีก็ตาม

                  แต่มิให้ผู้ต้องเสียภาษีแต่ละคนได้รับการลดหย่อนตามที่ว่ามานี้เกิน ๒,๔๐๐

บาท


                  มาตรา ๔๘  เงินได้พึงประเมินเมื่อได้หักค่าภาระ ค่าใช้จ่าย และลดหย่อน ออก

ตามความในมาตรา ๔๒ ถึงมาตรา ๔๗ แล้ว เหลือเท่าใด เป็นเงินได้สุทธิที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในขั้น

ต่าง ๆ โดยอัตราดังต่อไปนี้

                  (๑) จำนวนเงินได้สุทธิตั้งแต่ ๑,๒๐๐ บาทลงมา ให้เสีย ๑ ใน ๘ แห่งอัตราภาษี

ปกติ

                  (๒) จำนวนเงินได้สุทธิที่เกินกว่า ๑,๒๐๐ บาทขึ้นไปถึง ๒,๔๐๐ บาท ให้เสีย ๑

ใน ๔ แห่งอัตราภาษีปกติ สำหรับจำนวนเงินนั้น

                  (๓) จำนวนเงินได้สุทธิที่เกินกว่า ๒,๔๐๐ บาทขึ้นไปถึง ๓,๖๐๐ บาท ให้เสีย ๑

ใน ๒ แห่งอัตราภาษีปกติ สำหรับจำนวนเงินนั้น

                  (๔) จำนวนเงินได้สุทธิเกินกว่า ๓,๖๐๐ บาท ขึ้นไปถึง ๖,๐๐๐ บาท ให้เสีย ๕

ใน ๘ แห่งอัตราภาษีปกติ สำหรับจำนวนเงินนั้น

                  (๕) จำนวนเงินได้สุทธิที่เกินกว่า ๖,๐๐๐ บาทขึ้นไป ให้เสียในอัตราภาษีปกติ

สำหรับจำนวนเงินนั้น

                  (๖) จำนวนเงินได้สุทธิที่เกินกว่า ๑๒,๐๐๐ บาทขึ้นไป ให้เสียภาษีเสริมอีกตาม

อัตราภาษีเสริม สำหรับจำนวนเงินนั้น

                  อัตราภาษีปกติและภาษีเสริมให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีเงินได้

ท้ายหมวดนี้

                  ถ้าภาษีเงินได้ที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินแล้ว มีจำนวนต่ำกว่า ๑๐

สตางค์ เป็นอันไม่ต้องเรียกเก็บ


                  มาตรา ๔๙  เงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๕) ซึ่งได้มีการชำระค่าภาษี

โรงเรือนและที่ดิน หรือภาษีเรือโรงร้านตึกแพนั้น ไม่ต้องเสียภาษีปกติ แต่ต้องเสียภาษีเสริม เมื่อยอด

เงินได้สุทธิทุกประเภทตามมาตรา ๔๐ ที่ได้รับทั้งสิ้นมีจำนวนรวมกันเกินกว่า ๑๒,๐๐๐ บาท

                  ในการคำนวณยอดเงินได้สุทธิเพื่อเสียภาษีเสริมตามความในวรรคก่อน ให้คิด

หักค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน หรือภาษีเรือโรงร้านตึกแพที่ได้ชำระแล้วออกเสียก่อน เมื่อจำนวนที่

เหลือนั้นเกินกว่า ๑๒,๐๐๐ บาท จึงให้เสียภาษีเสริม


                  มาตรา ๕๐  ให้บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคมหรือคณะบุคคลผู้จ่ายเงินได้

พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๑) (๒) (๓) หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงิน และหักไว้ตามวิธีต่อไป

นี้

                  ในการหักภาษีที่กล่าวแล้ว เฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐

(๑) ให้คูณเงินที่จ่ายด้วยจำนวนคราวที่จ่ายเพื่อให้ได้จำนวนเงินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี แล้วหัก

ค่าภาระ ค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนให้ตามส่วนนี้ ได้ผลลัพธ์เท่าใด ให้คำนวณภาษีตามอัตราภาษี

เงินได้จากผลลัพธ์นั้น ได้เงินภาษีเท่าใด ให้แบ่งออกเป็นส่วนโดยหารด้วยจำนวนคราวที่จ่าย เป็น

เงินเท่าใด ให้หักไว้เท่านั้น ส่วนเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๒) (๓) นั้น ให้หักตามอัตราภาษี

เงินได้

                  เมื่อถึงคราวจะจ่ายเงินครั้งสุดท้ายในปีหนึ่ง ๆ ให้บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท

สมาคม หรือคณะบุคคลดังกล่าวแล้วหักเงินครั้งสุดท้ายนั้นไว้ โดยเพิ่มหรือลดเงินตามที่จำเป็นเพื่อ

ให้ยอดเงินที่หักในปีนั้นพอดีกับจำนวนภาษีที่ต้องเสียตามยอดเงินได้สุทธิทั้งปี


                  มาตรา ๕๑  เจ้าพนักงานประเมินอาจส่งหนังสือแจ้งความแก่บุคคล ห้างหุ้นส่วน

บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคล ให้ยื่นบัญชีจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๑) (๒) (๓) หรือ

พยานหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่อง เพื่อตรวจสอบการหักภาษีณที่จ่ายได้ตามที่เห็นสมควร และผู้ได้

รับหนังสือแจ้งความต้องปฏิบัติตามภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งความ ถ้าไม่ปฏิบัติ

ตาม เจ้าพนักงานประเมินมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาล ให้ออกคำสั่งบังคับให้ผู้ได้รับหนังสือแจ้งความ

ปฏิบัติตาม


                  มาตรา ๕๒  บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคลซึ่งมีหน้าที่หัก

ภาษีตามมาตรา ๕๐ ต้องนำเงินภาษีไปส่งณที่ว่าการอำเภอภายใน ๗ วัน นับแต่วันที่จ่ายเงิน


                  มาตรา ๕๓  ในกรณีที่รัฐบาลเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๑)

ให้เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานกระทรวงการคลังผู้จ่ายเงินได้ ที่จะตรวจสอบให้แน่ว่าจำนวนเงินภาษี

ที่จะต้องหักนั้น ได้คำนวณและจดมาในฎีกาเบิกแล้ว และให้เป็นหน้าที่ที่จะหักเงินจำนวนนั้นก่อน

จ่าย


                  มาตรา ๕๔  ถ้ามิได้หักและนำเงินภาษีส่งตามจำนวนถูกต้อง ผู้จ่ายเงินตาม

มาตรา ๕๐ และมาตรา ๕๓ ต้องรับผิดร่วมกันกับบุคคลผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระ


                  มาตรา ๕๕  อำนาจการเก็บเงินภาษีโดยวิธีหักไว้ตามมาตรา ๕๐ และมาตรา

๕๓ มิให้เป็นเหตุเสื่อมสิทธิของเจ้าพนักงานประเมินในการที่จะเรียกเก็บเงินภาษีนั้นโดยวิธีอื่น


                  มาตรา ๕๖  บุคคลทุกคน เว้นแต่ผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้

ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ ถ้ามีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเป็นจำนวน

เกินกว่า ๖๐๐ บาท ให้ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมา

แล้ว พร้อมทั้งข้อความอื่น ๆ ตามแบบที่อธิบดีกำหนดต่อเจ้าพนักงานซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งภายใน

เดือนพฤษภาคมทุก ๆ ปี


                  มาตรา ๕๗  ถ้าผู้มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเป็นจำนวนเกินกว่า

๖๐๐ บาท เป็นผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความ

สามารถ ให้เป็นหน้าที่ของผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้พิทักษ์หรือผู้อนุบาล ต้องปฏิบัติตามความใน

มาตรา ๕๖


                  มาตรา ๕๘  ภายในเดือนเมษายน ทุก ๆ ปี
                  (๑) ให้หัวหน้ากรมทุกกรมในราชการ และหัวหน้าสาขาราชการตามท้องที่ยื่น

รายการตามแบบที่อธิบดีกำหนดไปยังเจ้าพนักงานประเมิน แสดงรายการจ่ายเงินได้พึงประเมินตาม

มาตรา ๔๐ (๑)

                  (๒) ให้บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคลอื่นผู้มีหน้าที่หักภาษี

เงินได้ตามมาตรา ๕๐ ยื่นรายการตามแบบที่อธิบดีกำหนดไปยังเจ้าพนักงานประเมิน แสดงรายการ

เกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๑) (๒)


                  มาตรา ๕๙  พร้อมกับการนำเงินภาษีส่งตามมาตรา ๕๒ ให้บุคคล ห้างหุ้นส่วน

บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคลอื่นยื่นรายการตามแบบที่อธิบดีกำหนด แสดงการหักภาษีเป็นราย

ตัวผู้มีเงินได้พึงประเมิน


                  มาตรา ๖๐  เพื่อประโยชน์แห่งการคำนวณยอดเงินได้พึงประเมินของผู้เสียภาษี

ให้ถือว่าเงินภาษีที่ได้หักและนำส่งตามมาตรา ๕๐ มาตรา ๕๒ และมาตรา ๕๓ เป็นเงินได้พึง

ประเมินที่ผู้ต้องเสียภาษีได้รับ ส่วนจำนวนเงินภาษีที่หักและนำส่งไว้นั้น ให้ถือเป็นเครดิตของผู้ต้อง

เสียภาษีในการคำนวณภาษีในยอดเงินได้สุทธิ

                  มาตรา ๖๑  บุคคลทุกคนซึ่งมีนามในหนังสือสำคัญใด ๆ ว่าเป็นเจ้าของทรัพย์

สินอันระบุไว้ในหนังสือสำคัญนั้น ๆ ต้องรับผิดเสียภาษีในยอดเงินได้ทั้งสิ้นจากทรัพย์สินนั้น โดยมิ

คำนึงว่าจะต้องโอนเงินได้แต่ส่วนใดให้แก่บุคคลอื่นด้วยเหตุใด ๆ หรือไม่ ถ้าต้องโอนให้แก่บุคคลอื่น

ผู้มีนามเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นมีสิทธิหักเงินภาษีจากจำนวนเงินซึ่งต้องโอนให้แก่บุคคลอื่นตาม

ส่วน

                  มาตรา ๖๒  ในกรณีผู้ไม่บรรลุนิติภาวะ ผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ

หรือเสมือนไร้ความสามารถ บุคคลที่ตั้งตัวแทนจัดการทรัพย์สิน หรือผู้รับประโยชน์จากทรัสต์ เป็นผู้

มีเงินได้สุทธิถึงจำนวนต้องเสียภาษี ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล ผู้พิทักษ์ ตัวแทนหรือทรัสตี แล้ว

แต่กรณีเป็นผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติการตามบทบัญญัติแห่งส่วนนี้เสมือนเป็นตัวผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

ผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ บุคคลที่ตั้งตัวแทนหรือผู้รับ

ประโยชน์จากทรัสต์นั้น


                  มาตรา ๖๓  บุคคลใดถูกหักภาษีไว้ณที่จ่ายและนำส่งแล้วเป็นจำนวนเงินเกิน

กว่าที่ควรต้องเสียภาษีตามส่วนนี้ บุคคลนั้นมีสิทธิได้รับเงินจำนวนที่เกินนั้นคืนแต่ต้องยื่นคำร้องต่อ

เจ้าพนักงานประเมินภายใน ๓ ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งได้ถูกหักภาษีเกินไป


                  มาตรา ๖๔  ถ้าเงินภาษีที่ต้องเสียตามบทบัญญัติแห่งส่วนนี้สำหรับปีใด มี

จำนวนเกินกว่า ๕๐๐ บาท ผู้ต้องเสียภาษีจะชำระเป็น ๒ งวด ๆ ละเท่า ๆ กันก็ได้ แต่เงินงวดที่ ๑

ต้องชำระภายในกำหนดเวลาตามมาตรา ๒๗ และงวดที่ ๒ ภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันได้รับแจ้ง

จำนวน


ส่วน ๓

การเก็บภาษีจากบริษัท และหุ้นส่วนนิติบุคคล



                  มาตรา ๖๕  เงินได้ต้องเสียภาษีในส่วนนี้ คือ
                  (๑) ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยพันธบัตร หรือดอกเบี้ยเงินกู้ ที่จ่าย
                  (๒) เงินปันผล หรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่จ่าย เงินโบนัสที่จ่ายแก่ผู้ถือหุ้นรวม

ทั้งเงินลดทุนซึ่งจ่ายหรือเงินเพิ่มทุน ซึ่งตั้งจากกำไรที่ได้มา หรือเงินรายได้ที่กันไว้ของบริษัทหรือหุ้น

ส่วนนิติบุคคล

                  (๓) ผลประโยชน์ที่ได้จากการยุบ บริษัท หรือหุ้นส่วนนิติบุคคลไปควบเข้ากันกับ

บริษัทหรือหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่นหรือการรับช่วงกัน หรือการเลิก ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน


                  มาตรา ๖๖  บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายสยาม

หรือที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและกระทำกิจการในสยาม ต้องเสียภาษีในจำนวนเงินได้

ตามบทบัญญัติในส่วนนี้


                  มาตรา ๖๗  บริษัทหรือหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ

และกระทำกิจการในที่อื่น ๆ รวมทั้งสยาม ให้เทียบยอดเงินได้ก่อนหักรายจ่ายที่บริษัทหรือหุ้นส่วน

นิติบุคคลนั้นได้จากกิจการในสยาม กับยอดเงินได้ก่อนหักรายจ่ายทั้งหมด เมื่อเทียบเป็นส่วนเท่าใด

ให้คำนวณเงินได้ต้องเสียภาษีตามส่วนนั้น

                  แต่ในกรณีดังต่อไปนี้ เงินที่นำมาเทียบส่วนนั้น แทนที่จะใช้เงินได้ก่อนหักราย

จ่าย ให้ใช้เงินต่อไปนี้เทียบกันตามกรณี คือ

                  (๑) ถ้าบริษัทหรือหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นธนาคารรับฝากเงิน ให้ใช้เทียบยอดเงิน

ฝากในบัญชีกระแสรายวันและเงินฝากประจำในสยาม กับยอดเงินฝากทั้งสิ้นในประเภทดังกล่าว

แล้วของธนาคารในวันปิดบัญชีของระยะบัญชี ๑๒ เดือนที่สิ้นสุดในครั้งหลังที่สุดก่อนจ่ายเงินได้ต้อง

เสียภาษี

                  ถ้าบริษัทหรือหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นธนาคารแลกเงิน ให้ใช้เทียบยอดเงินของ

กิจการแลกเงิน

                  ถ้าบริษัทหรือหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นธนาคารทั้งรับฝากเงินและแลกเงิน ให้ใช้

เทียบยอดเงินอย่างหนึ่งอย่างใดที่กล่าวแล้ว ซึ่งคิดได้เป็นเงินภาษีมากกว่า

                  (๒) ถ้าเป็นบริษัทหรือหุ้นส่วนนิติบุคคลประกอบกิจการเครดิตฟองซิเอร์ ให้ใช้

เทียบยอดเงินให้กู้โดยมีอสังหาริมทรัพย์เป็นประกันและลงทุนหากำไรในอสังหาริมทรัพย์ซึ่งค้าง

บัญชีในวันปิดบัญชีของระยะบัญชี ๑๒ เดือนที่สิ้นสุดลงในครั้งหลังที่สุดก่อนจ่ายเงินได้ต้องเสีย

ภาษี

                  (๓) ถ้าเป็นบริษัทหรือหุ้นส่วนนิติบุคคลประกอบกิจการออมสิน ให้ใช้เทียบยอด

เงินที่ยังค้างบัญชีเป็นเครดิตของผู้ส่งในวันปิดบัญชีของระยะบัญชี ๑๒ เดือนที่สิ้นสุดลงในครั้งหลัง

ที่สุดก่อนจ่ายเงินได้ต้องเสียภาษี

                  (๔) ถ้าเป็นบริษัทหรือหุ้นส่วนนิติบุคคลประกอบกิจการประกันภัย ให้ใช้เทียบ

ยอดเงินเบี้ยประกันภัยที่เก็บได้


                  มาตรา ๖๘  การเสียภาษีตามความในส่วนนี้ ให้เสียตามอัตราภาษีปกติในบัญชี

อัตราภาษีเงินได้ท้ายหมวดนี้ ณที่ว่าการอำเภอภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่ ๆ ประชุมใหญ่อนุมัติ

บัญชีและงบดุล


                  มาตรา ๖๙  ภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่ ๆ ประชุมใหญ่อนุมัติบัญชีและงบดุลทุก

ปี ให้บริษัทหรือหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นรายการต่อเจ้าพนักงานประเมินตามแบบที่อธิบดีกำหนด แสดง

รายการเกี่ยวกับเงินได้ต้องเสียภาษีตามมาตรา ๖๕ และยอดเงินต่าง ๆ ตามมาตรา ๖๗



                  มาตรา ๗๐  พร้อมกับการชำระเงินภาษีตามความใน มาตรา ๖๘ ให้บริษัทหรือ

หุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นรายการต่ออำเภอตามแบบที่อธิบดีกำหนด แสดงรายการเกี่ยวกับจำนวนเงิน

ภาษีและเงินได้ต้องเสียภาษี


                  มาตรา ๗๑  เมื่อได้รับคำสั่งอธิบดี ให้บริษัทหรือหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นรายการต่อ

เจ้าพนักงานประเมินตามแบบที่อธิบดีกำหนด แสดงนามและสำนักที่อยู่ของผู้ถือหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร

หรือผู้ให้กู้ และจำนวนเงินปันผล เงินโบนัส เงินดอกเบี้ย เงินส่วนแบ่งผลกำไร เงินที่จ่ายในการลด

ทุน เพิ่มทุน หรือการยกเลิกซึ่งบริษัทหรือหุ้นส่วนนิติบุคคลจ่ายหรือต้องจ่าย


                  มาตรา ๗๒  ในกรณีที่บริษัทหรือหุ้นส่วนนิติบุคคลเลิกจากกัน และมีเงินภาษี

ต้องเสีย ให้ผู้ชำระบัญชีผู้จัดการและกรรมการเป็นผู้มีหน้าที่ร่วมกันต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานประเมิน

ทราบการเลิกของบริษัทหรือหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันเลิกกัน ถ้าบุคคลดังกล่าว

แล้วไม่ปฏิบัติตามนี้อาจต้องรับผิดเสียเงินภาษีเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีที่ต้องเสีย เงินนี้ให้

ถือเป็นค่าภาษี

                  ในกรณีที่บริษัทหรือหุ้นส่วนนิติบุคคลเลิกกันดังกล่าวแล้ว และมีเงินภาษีต้อง

เสีย ให้ผู้ชำระบัญชี ผู้จัดการและกรรมการเป็นผู้มีหน้าที่ร่วมกัน ต้องชำระเงินภาษีตามบทบัญญัติ

ในส่วนนี้ภายใน ๗ วัน นับแต่วันชำระบัญชีเสร็จ


                  มาตรา ๗๓  ในกรณีที่บริษัทหรือหุ้นส่วนนิติบุคคลยุบไปควบเข้ากันกับบริษัท

หรือหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่น หรือรับช่วงกัน และมีภาษีต้องเสีย ให้บริษัทหรือหุ้นส่วนนิติบุคคลใหม่อัน

ได้ควบกันเข้ากันหรือรับช่วงนั้น เป็นผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้


                  มาตรา ๗๔  บริษัทหรือหุ้นส่วนนิติบุคคลใดประกอบกิจการวิชาชีพอิสระซึ่งตาม

กฎหมายหรือว่าโดยสภาพย่อมเป็นกิจการที่จะพึงทำได้แต่บุคคลธรรมดาผู้รู้วิชานั้น บริษัทหรือหุ้น

ส่วนนิติบุคคลนั้นต้องยื่นรายการแสดงข้อความเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๖) ที่

บริษัทหรือหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นได้รับทั้งสิ้น แล้วให้เรียกเก็บภาษีจากบริษัทหรือหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น

โดยยอมให้หักค่าใช้จ่ายตามมาตรา ๔๔ โดยอนุโลม และคิดภาษีตามอัตราที่เก็บจากบุคคล

ธรรมดา


                  มาตรา ๗๕  รัฐบาลอาจนำความกราบบังคมทูลเพื่อให้ทรงตราพระราช

กฤษฎีกายอมให้หักค่าให้จ่ายสำหรับบริษัทหรือหุ้นส่วนนิติบุคคลบางชนิด ทั้งนี้เป็นการเหมาไม่ต่ำ

กว่าร้อยละ ๗๕ แห่งเงินได้ก่อนหักรายจ่ายของบริษัทหรือหุ้นส่วนบุคคลนั้น ตามที่จะได้กำหนดไว้

ในพระราชกฤษฎีกา

                  เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกาเช่นนั้นแล้ว และในกรณีที่มีเหตุสงสัยว่าบริษัทหรือหุ้น

ส่วนนิติบุคคลได้มีเงินได้ในกิจการพอที่จะจัดปันตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๖๕ ได้ ก็ให้อธิบดีมี

อำนาจที่จะประเมินเงินได้สุทธิของบริษัท หรือหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น โดยหักค่าใช้จ่ายตามพระราช

กฤษฎีกานั้น และให้เก็บภาษีตามอัตราภาษีปกติในจำนวนเงินได้สุทธินั้น ในกรณีนี้ให้ชำระภาษี

ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันได้รับทราบการประเมิน ถ้าไม่ชำระภายในกำหนด ให้นำมาตรา ๒๗ มาใช้

บังคับโดยอนุโลม


                  มาตรา ๗๖  บุคคลใดจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือบริษัทหุ้นส่วนนิติบุคคลก็ตาม ที่

ประกอบกิจการในสยาม เป็นลูกจ้างหรือทำการแทน หรือมีการติดต่อในกิจการที่ทำกับบริษัทหรือ

หุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ เป็นเหตุให้บริษัทหรือหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น

ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในสยาม ให้ถือว่าบริษัทหรือหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่าง

ประเทศนั้น ได้ประกอบกิจการในสยาม และถ้าอธิบดีออกหนังสือแจ้งความไปยังบุคคลที่ประกอบ

กิจการในสยามแสดงให้ทราบว่าได้ถือเอาบุคคลนั้นเป็นตัวแทนของบริษัทหรือหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้ง

ขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ให้บุคคลนั้นมีหน้าที่ต้องปฏิบัติการตามบทบัญญัติในส่วนนี้

                  แต่บุคคลที่ประกอบกิจการในสยามดังกล่าวแล้ว ชอบที่จะเสนอข้อเท็จจริงและ

หลักฐานต่ออธิบดี แสดงว่าตนไม่ควรต้องรับผิดดังกล่าวข้างต้นได้ เมื่ออธิบดีได้วินิจฉัยเห็นสมควร

ประการใด และได้สั่งการแล้ว ให้เป็นอันยุติเด็ดขาดเพียงนั้น


บัญชีอัตราภาษีเงินได้



                  (๑) อัตราภาษีปกติ ร้อยละ ๘
                  (๒) อัตราภาษีเสริมเป็นดังนี้
                        (ก) จำนวนเงินได้สุทธิเกินกว่า ๑๒,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๑๕,๐๐๐ บาท

ร้อยละ ๔ แห่งจำนวนเงินที่เกินกว่า ๑๒,๐๐๐ บาท

                        (ข) จำนวนเงินได้สุทธิเกินกว่า ๑๕,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท

ร้อยละ ๖ แห่งจำนวนเงินที่เกินกว่า ๑๕,๐๐๐ บาท

                        (ค) จำนวนเงินได้สุทธิเกินกว่า ๒๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๓๐,๐๐๐ บาท

ร้อยละ ๗ แห่งจำนวนเงินที่เกินกว่า ๒๐,๐๐๐ บาท

                         (ง) จำนวนเงินได้สุทธิเกินกว่า ๓๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท

ร้อยละ ๙ แห่งจำนวนเงินที่เกินกว่า ๓๐,๐๐๐ บาท

                         (จ) จำนวนเงินได้สุทธิเกินกว่า ๕๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกินกว่า ๑๐๐,๐๐๐

บาท ร้อยละ ๑๒ แห่งจำนวนเงินที่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท

                         (ฉ) จำนวนเงินได้สุทธิเกินกว่า ๑๐๐,๐๐๐ บาท ร้อยละ ๑๕ แห่งจำนวนเงิน

ที่เกินกว่า ๑๐๐,๐๐๐ บาท


หมวด ๔

ภาษีโรงค้า



                  มาตรา ๗๗  ภาษีโรงค้านี้อยู่ในประเภทภาษีอากรประเมิน และให้อำเภอเป็นผู้

ประเมินเกี่ยวกับภาษีตามหมวดนี้


                  มาตรา ๗๘  ในหมวดนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
                  “ร้านค้า” หมายความว่า  สถานที่ซึ่งใช้ในการประกอบหรือดำเนินกิจการค้า

ตามที่จะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดแห่งการค้านั้นไว้

                  ร้านค้าดังกล่าวในวรรคก่อนนั้น หมายความรวมทั้งโรงเรือน ตึกหรือแพ ตลอด

จนที่ดินที่ใช้เกี่ยวเนื่องกับโรงเรือน ตึกหรือแพนั้นในการประกอบหรือดำเนินกิจการค้า

                  “โรงเรือนอุตสาหกรรม” หมายความว่า  โรงสีที่ทำการโม่หรือย่อยหินที่ทำการขุด

แร่หรือโรงอุตสาหกรรมอื่นที่ใช้เครื่องจักรหรือเครื่องกลทำให้เกิดกำลัง หรือแปลงวัตถุดิบให้เป็นรูป

อื่น หรือแปลงวัตถุที่ได้แปลงมาแล้วด้วยการฝีมือ หรือด้วยเครื่องจักรหรือเครื่องกล ให้เปลี่ยนสภาพ

เป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ตามที่จะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดแห่งอุตสาหกรรมนั้นไว้

                  “โรงค้า” หมายความว่า  ร้านค้าหรือโรงอุตสาหกรรม หรือทั้งสองอย่างรวมกัน
                  “ค่ารายปี” หมายความว่า  จำนวนเงินซึ่งร้านค้าสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ถ้า

ร้านค้าใดมีข้อตกลงเรียกเก็บค่าเช่าหรือเรียกเก็บเป็นเงินกินเปล่า หรือเงินค่าประกันวินาศภัย หรือ

เรียกเก็บเป็นเงินอย่างอื่นเนื่องในการได้ใช้ร้านค้า ก็ให้ถือเอาจำนวนเงินที่เรียกเก็บนั้นเป็นเกณฑ์

อย่างหนึ่งในการประเมินเงินที่สมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ

                  “ปีภาษี” หมายความว่า  ปีตามปฏิทินหลวง
                  “ป้าย” หมายความว่า  ป้ายชื่อยี่ห้อหรือเครื่องหมายของโรงค้า ซึ่งแสดงเป็นตัว

อักษรหรือเครื่องหมายอย่างอื่น โดยการเขียน แกะ สลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏโดยวิธีอื่น ทั้งนี้ไม่

ว่าจะกระทำบนแผ่นกระดาษ แผ่นไม้ แผ่นกระจก กำแพง ผนัง ผ้า หรือวัตถุอื่น ซึ่งแสดงไว้ที่โรงค้า

หรือบริเวณใกล้เคียงกับโรงค้า


                  มาตรา ๗๙  ภาษีโรงค้าให้คิดจาก
                  (๑) ป้ายตามอัตราที่ระบุไว้ในพิกัดอัตราฉบับที่ ๑ ท้ายหมวดนี้
                  (๒) (ก) ถ้าเป็นร้านค้า ให้คิดจากค่ารายปีตามอัตราที่ระบุไว้ในพิกัดอัตราฉบับที่

๒ ท้ายหมวดนี้

                        (ข) ถ้าเป็นโรงงานอุตสาหกรรม ให้คิดจากกำลังที่เครื่องจักรอาจทำการได้

และจำนวนลูกจ้าง ตามอัตราที่ระบุไว้ในพิกัดฉบับที่ ๓ ท้ายหมวดนี้



                  มาตรา ๘๐  บุคคลธรรมดา บริษัทและหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้ประกอบกิจการใน

โรงค้าในสยาม เป็นผู้ต้องเสียภาษีตามหมวดนี้ ในปีภาษีที่ประกอบกิจการนั้น


                  มาตรา ๘๑  ภายในเดือนพฤษภาคมทุก ๆ ปี ให้ผู้ต้องเสียภาษียื่นรายการข้อ

ความเพื่อการเสียภาษีตามมาตรา ๗๙ ตามแบบที่อธิบดีกำหนด ต่ออำเภอ ณ ที่ว่าการอำเภอ


                  มาตรา ๘๒  ภาษีที่ต้องเสียตามหมวดนี้ ให้เสียภายใน ๑๕ วันนับแต่วันที่ได้รับ

แจ้งการประเมิน


                  มาตรา ๘๓  ถ้าเงินภาษีที่ต้องเสียตามหมวดนี้สำหรับปีใดมีจำนวนเกินกว่า

๕๐๐ บาท ผู้ต้องเสียจะชำระเป็น ๒ งวด ๆ ละเท่า ๆ กันก็ได้ แต่เงินงวดที่ ๑ ต้องชำระภายใน

กำหนดเวลาตามมาตรา ๘๒ และงวดที่ ๒ ภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมิน


                  มาตรา ๘๔  เมื่อปรากฏแก่เจ้าพนักงานประเมินว่าค่ารายปีซึ่งอำเภอประเมิน

เงินภาษีนั้นผิดจากเกณฑ์แห่งการคำนวณค่ารายปี ดังที่ได้บัญญัติไว้ในหมวดนี้ เจ้าพนักงาน

ประเมินมีอำนาจที่จะประเมินภาษีใหม่ได้ภายในเวลา ๒ ปี นับแต่วันที่ถึงกำหนดเสียภาษี

                  ถ้าในการประเมินใหม่นั้นปรากฏว่าได้เรียกเก็บภาษีเกินไป ก็ให้สั่งคืนเงินส่วนที่

เกินให้แก่ผู้ต้องเสียภาษี

                  ถ้าการประเมินใหม่ปรากฏว่าจะต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นอีก ก็ให้เจ้าพนักงาน

ประเมินแจ้งจำนวนเงินที่ต้องเสียเพิ่มไปยังผู้ต้องเสียภาษี และแจ้งเหตุที่ต้องเสียเพิ่มขึ้นอีกนั้นด้วย

ในการนี้ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๙ มาตรา ๒๐ และ มาตรา ๒๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

                  ในกรณีดังกล่าวไว้ ในวรรค ๓ ให้ผู้ต้องเสียภาษีชำระจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสีย

เพิ่มภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจำนวน


                  มาตรา ๘๕  ผู้ใดเริ่มประกอบกิจการที่จะต้องเสียภาษีตามมาตรา ๗๙ (๒) ใน

ระหว่างวันที่ ๑ เมษายน ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ในปีภาษีปีใด ต้องยื่นรายการเพื่อเสียภาษีภายใน

๖๐ วัน นับแต่วันเริ่มประกอบกิจการนั้น และต้องเสียภาษีกึ่งอัตราที่กำหนดไว้ในพิกัดอัตราฉบับที่

๒ และที่ ๓ ท้ายหมวดนี้

                  ผู้ใดเริ่มประกอบกิจการดังกล่าวข้างต้นในระหว่างวันที่ ๑ ตุลาคม ถึงวันที่ ๓๑

มีนาคม ในปีภาษีปีใด ไม่ต้องยื่นรายการเสียภาษีในปีนั้น

                  ผู้ใดประกอบกิจการในร้านค้าที่เข้าลักษณะยกเว้นภาษีตามพิกัดอัตราฉบับที่ ๒

ท้ายหมวดนี้มาก่อน แต่ในระหว่างปีภาษีปีใดได้เปลี่ยนแปลงหรือขยายร้านค้า ทำให้กลับเข้า

ลักษณะต้องเสียภาษี ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้เริ่มประกอบกิจการตั้งแต่วันที่หลุดพ้นจากลักษณะยกเว้น

ภาษี


                   มาตรา ๘๖  เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบหรือไต่สวน ให้อำเภอหรือ

เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจที่จะเข้าไปในสถานที่ของผู้ใดต่อหน้าผู้นั้นหรือผู้แทนในเวลากลางวัน

ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกได้ อำเภอหรือเจ้าพนักงานประเมินจะเรียกผู้ชำนาญการ

พิเศษไปเป็นผู้ช่วยก็ได้ ผู้ถูกตรวจสอบหรือไต่สวนหรือผู้แทนจะต้องให้ความสะดวกตามสมควร


                  มาตรา ๘๗  การเสียภาษีสำหรับป้ายตามมาตรา ๗๙ (๑) นั้น ถ้าผู้ใดมีป้ายขึ้น

ระหว่างปีก็ดี เปลี่ยนหรือแก้ไขป้ายใหม่ทำให้ภาษีที่ต้องเสียสำหรับป้ายที่เปลี่ยนหรือแก้ไขใหม่นั้นมี

จำนวนสูงกว่าภาษีที่ต้องเสียสำหรับป้ายเดิมก็ดี ให้ผู้นั้นมาแจ้งและยื่นรายการเพื่อเสียภาษีสำหรับ

ป้ายนั้นต่ออำเภอ และเสียภาษีภายใน ๑๕ วัน


                  มาตรา ๘๘  ใบเสร็จค่าภาษีโรงค้านั้นต้องแสดงไว้โดยเปิดเผยในโรงค้า


                  มาตรา ๘๙  วิธีคิดกำลังที่เครื่องจักรอาจทำการได้เป็นอย่างสูงสุดใน ๒๔ ชั่วโมง

ก็ดี กำลังสูงสุดของเครื่องจักรคิดเป็นแรงม้าก็ดี ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์การประเมินตามพิกัดอัตราฉบับที่

๓ ท้ายหมวดนี้ ให้กำหนดขึ้นโดยกฎกระทรวง


                  มาตรา ๙๐  ผู้ใดฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา ๘๖ ผู้นั้นมีความผิดระวางโทษปรับไม่

เกิน ๑๐๐ บาท


                  มาตรา ๙๑  ผู้ใดไม่แจ้งต่ออำเภอ เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา ๘๗ ผู้นั้นมี

ความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑๐๐ บาท


                  มาตรา ๙๒  ผู้ใดเสียภาษีสำหรับโรงค้าแล้วไม่เอาใบเสร็จแสดงไว้โดยเปิดเผยใน

โรงค้าเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๘๘ ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๕๐ บาท


พิกัดอัตราฉบับที่ ๑

ป้าย



                  ๑. อัตราภาษีเรียกเก็บนั้นให้คิดตามพื้นที่ของป้าย ดังต่อไปนี้
                       (ก) ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย พื้นที่ป้ายทุก ๕๐๐ ตารางเซนติเมตรหรือเศษต่อ

๑ บาท

                       (ข) ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ หรือเครื่องหมายอื่น พื้นที่

ป้ายทุก ๕๐๐ ตารางเซนติเมตร หรือเศษต่อ ๒๕ สตางค์ แต่ถ้าในป้ายนั้น พื้นที่สำหรับอักษรไทย

น้อยกว่าพื้นที่สำหรับอักษรต่างประเทศหรือเครื่องหมายอื่น ให้คิดตามอัตรา (ก)


                        (ค) ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน พื้นที่ป้ายทุก ๕๐๐ ตารางเซนติเมตรหรือเศษต่อ

๑๐ สตางค์

                  ๒. ป้ายทุกป้ายต้องเสียอย่างน้อยป้ายละ ๑ บาท
                  ๓. พื้นที่ของป้ายไม่ว่าจะมีรูปร่างลักษณะอย่างใด ให้คำนวณดังนี้
                       (ก) ถ้าเป็นป้ายมีขอบเขตกำหนดได้ ให้เอาส่วนกว้างที่สุดคูณด้วยส่วนยาว

ที่สุดของขอบเขตป้ายเป็นตารางเซนติเมตร

                       (ข) ถ้าเป็นป้ายไม่มีขอบเขตกำหนดได้ ให้ถือส่วนกว้างที่สุดเท่ากับส่วนกว้าง

ของตัวอักษรหรือเครื่องหมายนอกที่สุดที่ประกอบเป็นป้ายเพิ่มขึ้นอีก ๑๐ เซนติเมตรและถือส่วน

ยาวที่สุดเท่ากับส่วนยาวของตัวอักษรหรือเครื่องหมายนอกที่สุดที่ประกอบเป็นป้ายเพิ่มขึ้นอีก ๑๐

เซนติเมตร แล้วคูณส่วนกว้างกับส่วนยาวเป็นตารางเซนติเมตร


พิกัดอัตราฉบับที่ ๒

ร้านค้า



                  ๑. ภาษีที่เรียกเก็บนั้น ให้ใช้ค่ารายปีในปีที่ล่วงมาแล้วของร้านค้าเป็นหลักเกณฑ์

การประเมิน แต่ในกรณีที่เป็นร้านค้าสร้างขึ้นใหม่ ใช้เป็นครั้งแรกในปีภาษีใดก็ดี หรือเป็นร้านค้าที่มิ

ได้สร้างใหม่ แต่ไม่ทราบค่ารายปีในปีที่ล่วงมาแล้วและไม่สามารถตรวจสอบได้ก็ดี ให้ใช้ค่ารายปีใน

ปีภาษีนั้นเองเป็นหลักเกณฑ์การประเมิน

                  ๒. ภาษีให้เรียกเก็บตามอัตรา ดังต่อไปนี้
                      (ก) ร้านค้าที่ผู้ต้องเสียภาษีไม่ได้อาศัยอยู่ ร้อยละ ๘ แห่งค่ารายปี
                      (ข) ร้านค้าเฉพาะร้านที่ผู้ต้องเสียภาษีอาศัยอยู่ร้อยละ ๖ แห่งค่ารายปี
                      (ค) ร้านค้าที่มีค่ารายปีไม่ถึง ๑๒๐ บาท ให้ยกเว้นภาษีสำหรับส่วนร้านค้า แต่

ทั้งนี้มิให้เป็นการยกเว้นในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการใช้ร้านค้าหลายร้าน และค่ารายปีแห่งร้านค้า

เหล่านั้น รวมกันมีจำนวนตั้งแต่ ๑๒๐ บาทขึ้นไป


พิกัดอัตราฉบับที่ ๓

โรงอุตสาหกรรม



                  ๑. ภาษีให้เรียกเก็บตามอัตรา ดังต่อไปนี้
                  (ก) โรงสี
                        (๑) กำลังที่เครื่องจักรอาจทำการได้เป็นอย่างสูงสุดใน ๒๔ ชั่วโมงในปีที่ล่วง

มาแล้ว คิดเป็นเกวียน ๆ ละ ๒ บาทต่อปี


                        (๒) จำนวนลูกจ้างในปีที่ล่วงมาแล้ว คิดถัวเฉลี่ยเป็นรายเดือนคนละ ๑ บาท

ต่อปี

                  (ข) ที่ทำการโม่หรือย่อยหิน ที่ทำการขุดแร่หรือโรงอุตสาหกรรมอย่างอื่น
                        (๑) กำลังสูงสุดของเครื่องจักรในปีที่ล่วงมาแล้ว คิดเป็นแรงม้า แรงม้าละ

๒ บาทต่อปี

                        (๒) จำนวนลูกจ้างในปีที่ล่วงมาแล้ว คิดถัวเฉลี่ยเป็นรายเดือน คนละ ๑

บาทต่อปี

                        (๓) ถ้าใช้แต่เครื่องจักรหรือลูกจ้างอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่อย่างเดียว ก็ให้

เรียกเก็บภาษีตาม (๑) หรือ (๒) เพียงอย่างเดียว แล้วแต่กรณี

                  ๒. ในกรณีเริ่มประกอบกิจการในโรงอุตสาหกรรมระหว่างวันที่ ๑ เมษายน และ

วันที่ ๓๐ กันยายนในปีภาษีปีใด ให้ใช้หลักเกณฑ์การประเมินดังต่อไปนี้

                  (ก) โรงสี
                        (๑) กำลังที่เครื่องจักรอาจทำการได้เป็นอย่างสูงสุดใน๒๔ ชั่วโมงในเดือน

แรกที่ทำการคิดเป็นเกวียน

                        (๒) จำนวนลูกจ้างในเดือนแรกที่ทำการ คิดถัวเฉลี่ยเป็นรายวัน
                   (ข) ที่ทำการโม่หรือย่อยหิน ที่ทำการขุดแร่หรือโรงอุตสาหกรรมอย่างอื่น
                        (๑) กำลังสูงสุดของเครื่องจักรในเดือนแรกที่ทำการ คิดเป็นแรงม้า
                        (๒) จำนวนลูกจ้างในเดือนแรกที่ทำการ คิดถัวเฉลี่ยเป็นรายวัน
                        (๓) ถ้าใช้แต่เครื่องจักรหรือลูกจ้างอย่างใดอย่างหนึ่งแต่อย่างเดียว ก็ให้เรียก

เก็บภาษีตาม (๑) หรือ (๒) เพียงอย่างเดียว แล้วแต่กรณี

                  ๓. ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการในโรงอุตสาหกรรมขายเฉพาะแต่ผลที่ผลิตในการ

อุตสาหกรรมนั้น ไม่ว่าจะขายที่โรงอุตสาหกรรมนั้นเองหรือที่ร้านค้าซึ่งมีไว้สำหรับการขายนั้นก็ตาม ภาษีโรงค้าที่ต้องเสียตามมาตรา ๗๙ (๒) นั้น คงให้เสียแต่เฉพาะแต่สำหรับส่วนโรงอุตสาหกรรม


หมวด ๕

ภาษีการธนาคาร การเครดิตฟองซิเอร์ การออมสิน

และการประกันภัย



                  มาตรา ๙๓  ภาษีในหมวดนี้อยู่ในประเภทภาษีอากรประเมินและให้

เจ้าพนักงานประเมินเป็นผู้ประเมินเกี่ยวกับภาษีตามหมวดนี้


                  มาตรา ๙๔  ในหมวดนี้เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
                  “ปีภาษี” หมายความว่า  ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ถึง วันที่ ๓๑ ธันวาคม


                  “ธนาคาร” หมายความว่า  บุคคลที่กระทำกิจการค้าอย่างหนึ่งอย่างใด ดัง

ต่อไปนี้

                  (๑) เปิดเครดิตโดยรับฝาก หรือเก็บเงินจากผู้อื่นอันผู้รับเครดิตอาจจ่ายหรือส่ง

ไปที่อื่น โดยวิธีใช้ดร๊าฟ เช็ค หรือคำสั่ง

                  (๒) ทำกิจการแลกเงิน คือ ออก ซื้อ หรือขายตั๋วเงินหรือส่งเงินไปต่างประเทศเอง

โดยโทรเลขหรือจดหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง


                  มาตรา ๙๕  ธนาคารประกอบกิจการในสยามต้องเสียภาษีในกิจการแลกเงินใน

สยามในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว ตามอัตราต่อไปนี้

                  ถ้ากิจการแลกเงินของธนาคารในปีภาษีปีใด มีจำนวนเงิน
                  (ก) เกินกว่า ๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท เสียภาษี ๕,๐๐๐ บาท
                  (ข) เกินกว่า ๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท เสียภาษี ๔,๐๐๐

บาท

                  (ค) เกินกว่า ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกินกว่า ๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท เสียภาษี

๓,๐๐๐ บาท

                  (ง) เกินกว่า ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท เสียภาษี ๒,๐๐๐

บาท

                  (จ) ไม่เกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท เสียภาษี ๑,๐๐๐ บาท


                  มาตรา ๙๖  เครดิตฟองซิเอร์ต้องเสียภาษีในอัตราเดือนละ ๑/๔๘ แห่งหนึ่งใน

ร้อยของจำนวนเงินที่ให้กู้ โดยมีอสังหาริมทรัพย์เป็นประกัน และจำนวนเงินที่ลงไปเพื่อหากำไรใน

อสังหาริมทรัพย์ในสยามในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วจำนวนเงินที่ว่านี้คือยอดเงินที่ค้างบัญชีในวันสุดท้าย

ของเดือนแต่การชำระภาษีนั้นให้ชำระปีละครั้ง


                  มาตรา ๙๗  กิจการออมสินต้องเสียภาษีในอัตราเดือนละ ๑/๓๖ แห่งหนึ่งในร้อย

ของยอดเงินที่ยังค้างบัญชีเป็นเครดิตของผู้ส่งในสยามในวันสุดท้ายของเดือนในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว

แต่การชำระภาษีนั้นให้ชำระปีละครั้ง

                  คลังออมสินและสหกรณ์ซึ่งมิได้หากำไรนั้นยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี


                  มาตรา ๙๘  กิจการประกันภัยอย่างใด ๆ ในสยามต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ

๑ แห่งจำนวนเงินเบี้ยประกันภัยที่เก็บได้ในระหว่างปีที่ล่วงมาแล้ว ไม่ว่าเบี้ยประกันภัยนั้นจะส่งเป็น

เงิน เครดิต หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้แทนเงิน แต่เบี้ยประกันภัยที่คืนให้แก่ผู้เอาประกันภัย ภายใน ๖ เดือน

นับแต่วันส่งเพราะเหตุไม่รับประกันภัยก็ดี คืนไปโดยเหตุอื่นก็ดี มิให้นับเข้าในจำนวนเงินอันต้องเสีย

ภาษี และถ้าผู้กระทำกิจการประกันภัยใดเสียเงินภาษีแล้วนำประกันภัยซึ่งรับไว้ไปให้ผู้อื่นประกัน

ต่อ ๆ ไป ผู้ประกันต่อนั้น ไม่ต้องเสียภาษี

                  มาตรา ๙๙  บุคคลธรรมดา บริษัทหรือหุ้นส่วนนิติบุคคล ประกอบกิจการ

ธนาคาร เครดิตฟองซิเอร์ กิจการออมสิน หรือกิจการประกันภัยในสยาม เป็นผู้ต้องเสียภาษีตาม

หมวดนี้


                  มาตรา ๑๐๐  ภายในวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ทุกปี ให้ผู้ต้องเสียภาษีตามหมวดนี้ยื่น

รายการตามแบบที่อธิบดีกำหนดเกี่ยวกับจำนวนเงินต่าง ๆ ต่อเจ้าพนักงานประเมิน


                  มาตรา ๑๐๑  เมื่อได้รับแบบแสดงรายการแล้ว ให้เจ้าพนักงานประเมินประเมิน

จำนวนเงินภาษี แล้วแจ้งให้ผู้เสียภาษีทราบ


                  มาตรา ๑๐๒  การตรวจสอบหรือการไต่สวนเกี่ยวกับภาษีในหมวดนี้ ให้นำบท

บัญญัติมาตรา ๘๖ และมาตรา ๙๐ มาใช้บังคับโดยอนุโลม


หมวด ๖

อากรแสตมป์



                  มาตรา ๑๐๓  ในหมวดนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
                  “ตราสาร” หมายความว่า  เอกสารที่ต้องเสียอากรตามหมวดนี้
                  “กระดาษ” หมายความตลอดถึงแผ่นหนังฟอกหรือสิ่งอื่น ๆ ซึ่งใช้เขียนตราสาร
                   “แสตมป์” หมายความว่า  แสตมป์ปิดทับหรือแสตมป์ดุนบนกระดาษซึ่งกำหนด

ลักษณะโดยกฎกระทรวง

                  “กระทำ” เมื่อใช้เกี่ยวกับตราสาร หมายความว่า  การลงลายมือชื่อตามบท

บัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

                  “ปิดแสตมป์” หมายความว่า  การปิดแสตมป์ทับกระดาษ หรือการมีแสตมป์ดุน

บนกระดาษ

                  “ขีดฆ่า” หมายความว่า  การกระทำเพื่อมิให้ใช้แสตมป์ได้อีก โดยในกรณี

แสตมป์ปิดทับ ได้ลงลายมือชื่อหรือลงชื่อห้างร้านบนแสตมป์ หรือขีดเส้นคร่อมฆ่าแสตมป์ที่ปิดทับ

กระดาษและลงวันเดือนปีที่กระทำสิ่งเหล่านี้ด้วย ในกรณีแสตมป์ดุน ได้เขียนบนตราสารให้แสตมป์

ดุนปรากฏอยู่ในด้านหน้าของตราสารนั้น

                  “ปิดแสตมป์บริบูรณ์” ในกรณีแสตมป์ปิดทับ หมายความว่าได้เสียอากรโดยปิด

แสตมป์ทับกระดาษ ก่อนกระทำหรือในทันทีที่ทำตราสารเป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ได้เสีย และได้

ขีดฆ่าแสตมป์นั้นแล้ว ในกรณีแสตมป์ดุน หมายความว่าได้เสียอากรโดยใช้กระดาษมีแสตมป์ดุน

เป็นราคาแสตมป์ไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและได้ขีดฆ่าแล้ว

                  “ใบรับ” หมายความว่า
                  (ก) บันทึก หรือหนังสือใด ๆ ที่เป็นหลักฐานแสดงว่าได้รับ ได้รับฝากหรือได้รับ

ชำระเงินหรือตั๋วเงิน หรือ

                  (ข) บันทึก หรือหนังสือใด ๆ ที่เป็นหลักฐานแสดงว่าหนี้หรือสิทธิเรียกร้องได้ชำระ

หรือปลดให้แล้ว

                  บันทึก หรือหนังสือที่กล่าวนั้นจะมีลายมือชื่อของบุคคลใด ๆ หรือไม่ ไม่สำคัญ
                  “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า  เจ้าพนักงานซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง


ส่วน ๑

การเสียอากร



                  มาตรา ๑๐๔  ตราสารที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายหมวดนี้ ต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ตาม

อัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีนั้น


                  มาตรา ๑๐๕  ในกรณีต่อไปนี้ ผู้ขาย ผู้ให้เช่าซื้อหรือผู้รับเงิน ต้องออกใบรับเงิน

ให้แก่ผู้ซื้อ ผู้เช่าซื้อ หรือผู้จ่ายเงินทุกคราว จะได้มีการเรียกร้องให้ออกใบรับหรือไม่ก็ตาม

                  (๑) การให้เช่าซื้อทรัพย์สินทุกชนิด ซึ่งมีราคาเช่าซื้อเกิน ๕ บาท
                  (๒) การขายซึ่งมีราคารายละเกิน ๕ บาท จากโรงค้า ถ้าโรงค้านั้นต้องเสียภาษี

โรงค้าตามมาตรา ๗๙ (๒)

                  (๓) การขายซึ่งคราวหนึ่ง ๆ มีราคาเกิน ๑๐๐ บาท
                  (๔) การรับเงินเนื่องในการโพยก๊วนทุกราย ไม่จำกัดว่าเป็นจำนวนเงินเท่าใด
                  ถ้าการเช่าซื้อหรือการขายที่กล่าวข้างต้นมีเงื่อนไข ให้ชำระราคาภายหลังงวด

เดียวหรือหลายงวด ให้ออกใบรับทุกคราวที่ได้รับเงิน

                  มาตรานี้ไม่ใช้บังคับในกรณีที่ขายสินค้าซึ่งทำในราชอาณาจักรส่งออกไป

จำหน่ายนอกราชอาณาจักร


                  มาตรา ๑๐๖  ใบรับอันต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ที่ต้องออกให้เมื่อถูกเรียกร้องนั้น

เมื่อผู้มีส่วนได้เสียเรียกร้อง ผู้มีหน้าที่ออกใบรับต้องออกให้


                  มาตรา ๑๐๗  เว้นแต่ที่บัญญัติในมาตรา ๑๑๑ ถ้าไม่มีข้อตกลงเป็นอย่างอื่นผู้มี

หน้าที่เสียอากรและผู้มีหน้าที่ขีดฆ่าให้เป็นไปตามบัญชีท้ายหมวดนี้

                  ถ้าผู้มีหน้าที่ขีดฆ่าเขียนหนังสือไม่เป็น จะให้ผู้อื่นเขียนวันเดือนปีแทนก็ได้
                  ถ้าผู้มีหน้าที่ขีดฆ่าไม่ยอมขีดฆ่า หรือไม่มีตัวอยู่ที่จะทำการขีดฆ่าได้ให้ผู้ทรงตรา

สารหรือผู้ถือเอาประโยชน์ขีดฆ่าแทนได้


                  มาตรา ๑๐๘  ถ้าทำตราสารหลายลักษณะตามที่ระบุในบัญชีท้ายหมวดนี้บน

กระดาษแผ่นเดียวกัน หรือเป็นฉบับเดียวกัน เช่นเช่าและกู้ยืมรวมกันไว้หรือทำตราสารลักษณะ

เดียวกันหลายเรื่องบนกระดาษแผ่นเดียวกัน หรือเป็นฉบับเดียวกัน เช่น ขายของสิ่งหนึ่งให้แก่คน

หนึ่ง และขายอีกสิ่งหนึ่งให้แก่อีกคนหนึ่ง ซึ่งตามสภาพควรจะแยกกัน ต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ให้

ครบทุกลักษณะหรือทุกเรื่องโดยปิดแสตมป์บริบูรณ์เป็นรายตราสารแยกไว้ให้ปรากฏว่าตราสารใด

อยู่ที่ใด และแสตมป์ดวงใดสำหรับตราสารลักษณะหรือเรื่องใด


                  มาตรา ๑๐๙  สัญญาใดเป็นตราสาร ซึ่งเกิดขึ้นโดยมีหนังสือโต้ตอบกันและมิได้

ปิดแสตมป์บริบูรณ์ ถ้าพิสูจน์ได้ว่า หนังสือฉบับหนึ่งฉบับใดที่จำเป็นในการทำให้เกิดสัญญานั้นขึ้น

ได้ปิดแสตมป์ครบจำนวนอากรและขีดฆ่าแสตมป์แล้ว ให้ถือว่าสัญญานั้นได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว


                  มาตรา ๑๑๐  คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสารใด แม้จะได้ปิดแสตมป์สำหรับคู่ฉบับ

หรือคู่ฉีกนั้นตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้แล้วก็ดี ถ้ามิได้นำตราสารต้นฉบับหรือพยานหลักฐานมา

แสดงให้เป็นที่พอใจว่าตราสารต้นฉบับนั้นได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว มิให้ถือว่าคู่ฉบับหรือคู่ฉีกนั้น

ได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนอากรสำหรับตราสารต้น

ฉบับและขีดฆ่าแล้ว


                  มาตรา ๑๑๑  ถ้าตราสารที่ต้องเสียอากรได้ทำขึ้นนอกสยาม ให้เป็นหน้าที่ของผู้

ทรงตราสารคนแรกในสยามต้องเสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนอากรและขีดฆ่าภายใน ๓๐

วัน นับแต่ได้รับตราสารนั้น ถ้าไม่ปฏิบัติตามนี้ให้ถือว่าเป็นตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์

                  ถ้ามิได้ปฏิบัติตามความในวรรคก่อน ผู้ทรงคนใดคนหนึ่งแห่งตราสารต้องเสีย

อากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนอากรและขีดฆ่าก่อน แล้วจึงจะยื่นตราสารเพื่อให้จ่ายเงิน รับรอง

สลักหลัง โอน หรือถือเอาประโยชน์ได้

                  ผู้ทรงตราสารคนใดได้ตราสารตามความในมาตรานี้มาไว้ในครอบครองก่อนพ้น

กำหนดที่กล่าวไว้ในวรรค ๑ ผู้ทรงคนนั้นจะเสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนอากรและขีดฆ่าก็ได้

โดยมีสิทธิไล่เบี้ยจากผู้ทรงคนก่อน ๆ


                  มาตรา ๑๑๒  ถ้าตั๋วเงินที่ยื่นให้ชำระเงินมิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ ผู้รับตั๋วจะเสีย

อากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนอากรและขีดฆ่า และใช้สิทธิไล่เบี้ยจากผู้มีหน้าที่เสียอากร หรือหัก

ค่าอากรจากเงินที่จะชำระก็ได้







ส่วน ๒

เบ็ดเตล็ด



                  มาตรา ๑๑๓  ตราสารใดมิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ ผู้มีหน้าที่เสียอากร หรือผู้ทรง

ตราสารหรือผู้ถือเอาประโยชน์ชอบที่จะยื่นตราสารนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อขอเสียอากรได้ เมื่อ

พนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับตราสารแล้ว ให้อนุมัติให้เสียอากรภายในบังคับแห่งบทบัญญัติต่อไปนี้

                  ๑. ถ้าตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์นั้น เป็นตราสารที่กระทำขึ้นในสยาม

เมื่อผู้ขอเสียอากร ได้ยื่นตราสารนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อเสียอากรภายใน ๑๕ วัน นับแต่วัน

ต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ ก็ให้อนุมัติให้เสียเพียงอากรตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้ เว้นแต่จะเป็น

ตราสารที่เสียอากรเพียง ๕ สตางค์หรือต่ำกว่าหรือเป็นตั๋วแลกเงินตั๋วสัญญาใช้เงิน เช็ค หรือใบรับ

เงิน

                  ๒. ถ้ากรณีเป็นอย่างอื่น ก็ให้อนุมัติให้เสียอากร และให้เรียกเก็บเงินเพิ่มอากร

ดังต่อไปนี้อีกด้วย

                      (ก) ถ้าปรากฏต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่า ตราสารมิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์เป็น

เวลาไม่พ้นกำหนด ๙๐ วัน นับแต่วันต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ ให้เรียกเก็บเงินเพิ่มอากรเป็น ๒ เท่า

จำนวนอากร หรือเป็นเงิน ๔ บาท แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า

                      (ข) ถ้าปรากฏต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่า ตราสารมิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์เป็น

เวลาพ้นกำหนด ๙๐ วันนับแต่วันต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว ให้เรียกเก็บเงินเพิ่มอากรเป็น ๕ เท่า

จำนวนอากร หรือเป็นเงิน ๑๐ บาท แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า


                  มาตรา ๑๑๔  ถ้าการตรวจสอบตามมาตรา ๑๒๓ ได้ความจริงว่าตราสารใดมิได้

ปิดแสตมป์บริบูรณ์เป็นเวลายังไม่พ้น ๙๐ วัน นับแต่วันต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ พนักงานเจ้าหน้าที่มี

อำนาจเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรเป็น๓ เท่าจำนวนอากร หรือเป็นเงิน ๑๐ บาท แล้วแต่อย่างใดจะมาก

กว่า ถ้าพ้น ๙๐ วัน นับแต่ต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ไปแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเรียกเก็บเงิน

เพิ่มอากรเป็น ๖ เท่าจำนวนอากร หรือเป็นเงิน๒๕ บาท แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า


                  มาตรา ๑๑๕  เงินอากรและเงินเพิ่มอากรที่กล่าวในมาตรา ๑๑๓ และมาตรา

๑๑๔ นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดการเรียกเก็บจากผู้มีหน้าที่เสียอากรก่อน ถ้าไม่ได้เงินจากผู้มีหน้า

ที่เสียอากร จึงให้จัดการเรียกเก็บจากผู้ทรงตราสารหรือผู้ถือเอาประโยชน์แห่งตราสารนั้น


                  มาตรา ๑๑๖  วิธีเสียเงินอากรและเงินเพิ่มอากรดังบัญญัติไว้ในมาตรา ๑๑๓

และมาตรา ๑๑๔ ให้เสียโดยวิธีชำระเป็นตัวเงินต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อได้รับชำระเงินแล้ว ให้

พนักงานเจ้าหน้าที่สลักหลังตราสารแสดงการรับเงินอากรและเงินเพิ่มอากรถ้ามี ตลอดทั้งนามและ

ตำบลที่อยู่ของผู้เสียเงิน แล้วลงนามพนักงานเจ้าหน้าที่และวันเดือนปีไว้เป็นสำคัญ

                  มาตรา ๑๑๗  ตราสารที่มีผู้เสียอากร หรือเสียอากรและเงินเพิ่มอากรตามความ

ในมาตรา ๑๑๓ และมาตรา ๑๑๔ นั้น ให้ถือว่าเป็นตราสารที่ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว ส่วนเงินเพิ่ม

อากรที่เรียกเก็บ ก็ให้ถือว่าเป็นค่าอากร


                  มาตรา ๑๑๘  ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้ต้นฉบับคู่ฉบับคู่ ฉีกหรือ

สำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบ

จำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้ และขีดฆ่าแล้ว แต่ทั้งนี้ ไม่เป็นการเสื่อมสิทธิที่จะเรียกเงิน

เพิ่มอากรตามมาตรา ๑๑๓ และมาตรา ๑๑๔


                  มาตรา ๑๑๙  ตราสารซึ่งเจ้าพนักงานรัฐบาลหรือเทศบาลต้องลงนามหรือรับรู้ก็

ดี ตราสารซึ่งต้องทำต่อหน้าเจ้าพนักงานรัฐบาลหรือเทศบาลก็ดี ตราสารซึ่งต้องให้เจ้าพนักงาน

รัฐบาลหรือเทศบาลลงบันทึกก็ดี ห้ามมิให้เจ้าพนักงานลงนามรับรู้ ยอมให้ทำหรือบันทึกไว้จนกว่า

จะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้ และขีดฆ่าแล้ว แต่ทั้งนี้

ไม่เป็นการเสื่อมสิทธิที่จะเรียกเงินเพิ่มอากรตามมาตรา ๑๑๓ และมาตรา ๑๑๔


                  มาตรา ๑๒๐  ผู้ใดได้เสียอากรหรือค่าเพิ่มอากรโดยมิใช่เป็นผู้มีหน้าที่เสีย ผู้นั้นมี

สิทธิไล่เบี้ยเอาค่าอากรหรือค่าเพิ่มอากรซึ่งตนได้เสียไปจากบุคคลผู้มีหน้าที่เสียได้


                  มาตรา ๑๒๑  ถ้าฝ่ายที่จะต้องเสียอากรเป็นรัฐบาลสยามหรือเจ้าพนักงาน

ผู้กระทำงานของรัฐบาลโดยหน้าที่ หรือบุคคลผู้กระทำในนามของรัฐบาล อากรเป็นอันไม่ต้องเสีย


                  มาตรา ๑๒๒  ผู้ใดได้เสียค่าอากรหรือค่าเพิ่มอากรเกินไปไม่น้อยกว่า ๒ บาท

สำหรับตราสารลักษณะเดียวหรือเรื่องเดียว ผู้นั้นชอบที่จะทำคำร้องเป็นหนังสือยื่นต่อพนักงาน

เจ้าหน้าที่ เมื่ออธิบดีเห็นว่าเกินไปจริงก็ให้คืนค่าอากรหรือค่าเพิ่มอากรที่เกินไปนั้นแก่ผู้เสียอากรได้

แต่คำร้องที่กล่าวนั้นต้องยื่นภายในเวลา ๖ เดือน นับแต่วันเสียอากรหรือค่าเพิ่มอากรและต้อง

ประกอบด้วยคำชี้แจงหรือเอกสารซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่หรืออธิบดีเห็นสมควรให้ยื่นสนับสนุนคำร้อง


                  มาตรา ๑๒๓  เมื่อมีเหตุอันสมควร พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในสถานที่

ทำการค้าหรือสำนักงานใด ๆ ในเวลากลางวันระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกและทำการ

ตรวจสอบตราสารว่าได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว หรือไม่ กับมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้มีหน้าที่เสีย

อากร ผู้ทรงตราสาร หรือผู้ถือเอาประโยชน์แห่งตราสารและพยานหลักฐานอันควรแก่เรื่องมา ไต่สวนได้





ส่วน ๓

บทลงโทษ



                  มาตรา ๑๒๔  ผู้ใดมีหน้าที่เสียอากรหรือขีดฆ่าแสตมป์เพิกเฉยหรือปฏิเสธไม่เสีย

อากร หรือไม่ขีดฆ่าแสตมป์ ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑๐๐ บาท


                  มาตรา ๑๒๕  ผู้ใดจงใจกระทำหรือทำตราสารให้ผิดความจริง เพื่อหลีกเลี่ยงไม่

ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งหมวดนี้ ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๒๐๐ บาท


                  มาตรา ๑๒๖  ผู้ใดจงใจลงวันเดือนปีที่ขีดฆ่าแสตมป์เป็นเท็จ ผู้นั้นมีความผิด

ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๒๐๐ บาท หรือจำคุกไม่เกิน ๓ เดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ


                  มาตรา ๑๒๗  ผู้ใดไม่ออกใบรับในการขายหรือให้เช่าซื้อตามที่บัญญัติไว้ใน

มาตรา ๑๐๕ ก็ดี เมื่อถูกเรียกร้องให้ออกใบรับอันต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ ปฏิเสธหรือเพิกเฉยเสียไม่

ออกใบรับให้ เป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๑๐๖ ก็ดี ออกใบรับซึ่งไม่ปิดแสตมป์ให้ครบจำนวนอากรก็ดี ผู้

นั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑๐๐ บาท


                  มาตรา ๑๒๘  ผู้ใดโดยรู้อยู่แล้วหรือจงใจไม่ปฏิบัติตามหมายของพนักงาน

เจ้าหน้าที่ซึ่งออกตามมาตรา ๑๒๓ หรือไม่ยอมตอบคำถามเมื่อซักถาม ผู้นั้นมีความผิดต้องระวาง

โทษปรับไม่เกิน ๕๐๐ บาท


                  มาตรา ๑๒๙  ผู้ใด ทำการค้าหรือขายแสตมป์ที่ใช้แล้วหรือที่มีกฎกระทรวง

ประกาศให้เลิกใช้เสียแล้ว ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท หรือจำคุกไม่เกิน

๑ ปี หรือทั้งปรับทั้งจำ












บัญชีอัตราอากรแสตมป์



                  [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย]


































หมวด ๗

อากรมหรสพ



                  มาตรา ๑๓๐  ในหมวดนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
                  “มหรสพ” หมายความว่า  การแสดง การเล่น หรือ การกีฬา การประกวด หรือ

การกระทำใด ๆ ที่จัดขึ้นเพื่อเก็บเงินจากผู้ดู

                  “เข้าดู” หมายความตลอดถึงการเข้าดู เข้าฟัง หรือ เข้ามีส่วนแสดงมหรสพ
                  “ผู้ดู” หมายความว่า  บุคคลที่เข้าดู
                  “ค่าดู” หมายความว่า  เงินที่ผู้ดูต้องจ่ายเป็นค่าตั๋ว
                  “ตั๋ว” หมายความว่า  บัตรหรือหนังสืออนุญาตที่ออกให้แก่ผู้ดู
                  “แสตมป์” หมายความว่า  แสตมป์ของรัฐบาลซึ่งกำหนดลักษณะโดยกฎ

กระทรวง

                  “แสตมป์ดุน” หมายความว่า  แสตมป์ที่ดุนบนตั๋วด้วยแม่พิมพ์ซึ่งรัฐบาลทำและ

มีกำหนดลักษณะโดยกฎกระทรวง

                  “ขีดฆ่า” หมายความว่า  การกระทำเพื่อมิให้ใช้แสตมป์ได้อีก โดยขีดเส้นคร่อม

ฆ่าแสตมป์และลงวันเดือนปีที่ขีดคร่อม

                  “เจ้าของ” หมายความว่า  ผู้จัดให้มีมหรสพ และผู้รับผิดชอบดำเนินการมหรสพ
                  “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า  เจ้าพนักงานซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง


                  มาตรา ๑๓๑  ตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๓ เป็นต้นไป ให้เรียก

เก็บอากร เรียกว่าอากรมหรสพตามจำนวนค่าดู หรือตามลักษณะตั๋วที่ใช้ตามอัตราในบัญชีท้าย

หมวดนี้


                  มาตรา ๑๓๒  การเสียอากร ให้เสียโดยใช้แสตมป์ปิดตั๋ว และขีดฆ่า หรือโดยใช้

ตั๋วมีแสตมป์ดุน และให้เสียเป็นรายตัวผู้ดู

                  ถ้าตั๋วทำเป็นเล่มออกให้แก่ผู้ดู ต้องเสียอากรตามจำนวนค่าดูในตั๋วทุกฉบับ
                  ถ้าเป็นตั๋วออกให้สำหรับเข้าดูได้หลายครั้ง ให้เสียอากรตามจำนวนเงินค่าดูที่

ปรากฏในตั๋วนั้น


                  มาตรา ๑๓๓  ให้เจ้าของเป็นผู้ที่มีหน้าที่เสียอากรและให้มีหน้าที่ขีดฆ่า หรือจัด

ให้ผู้อื่นขีดฆ่าแสตมป์ที่ปิดบนตั๋วก่อนมอบตั๋วให้ผู้ดูหรือผู้ซื้อไป

                  แต่ตั๋วไม่เสียค่าดูนั้น ให้ผู้ถือตั๋วเข้าดูเป็นผู้มีหน้าที่เสียอากรและขีดฆ่าแสตมป์ที่

ปิดบนตั๋ว


                  มาตรา ๑๓๔  มหรสพที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ไม่อยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติแห่งบท

บัญญัติในหมวดนี้

                  (๑) มหรสพที่เก็บเงิน เพื่อบำรุงสาธารณประโยชน์โดยเฉพาะ และโดยไม่หัก

รายจ่ายจากเงินที่เก็บได้

                  (๒) มหรสพในงานที่วัดจัดขึ้นภายในเขตวัดเป็นเทศกาลประจำปี
                  (๓) มหรสพซึ่งเก็บค่าดูเป็นอัตราสูงสุดไม่เกิน ๕ สตางค์
                  (๔) มหรสพซึ่งรัฐมนตรีกำหนดไว้ในกฎกระทรวง


                  มาตรา ๑๓๕  นอกจากจะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ห้ามมิให้เจ้าของ

หรือบุคคลที่เจ้าของแต่งตั้งคอยรับตั๋วอนุญาตให้ผู้ใดเข้าดู เว้นแต่

                  (๑) มีตั๋วปิดแสตมป์ซึ่งขีดฆ่าแสดง ว่าเสียอากรครบถ้วนแล้ว หรือ
                  (๒) มีตั๋วมีแสตมป์แสดงว่าเสียอากรครบถ้วนแล้วหรือ
                  (๓) ผู้ดูเป็นเด็กซึ่งไม่ต้องเสียค่าเข้าตามระเบียบการของเจ้าของ แต่เด็กนั้นต้อง

มีอายุไม่เกิน ๗ ขวบ และสูงไม่เกิน ๑ เมตร

                  (๔) ผู้มีหน้าที่ทำการเกี่ยวกับมหรสพซึ่งโดยลักษณะหน้าที่ ผู้นั้นไม่ต้องเสียค่าดู


                  มาตรา ๑๓๖  ตั๋วนั้นต้องทำด้วยกระดาษอ่อน และอย่างน้อยต้องมีอักษรไทยให้

ปรากฏข้อความต่อไปนี้

                  (๑) ชื่อสถานที่สำหรับมหรสพ หรือเจ้าของ หรือคณะมหรสพ
                  (๒) กำหนดวันเข้าดู
                  (๓) ราคาตั๋ว
                  (๔) ชั้นที่ดู (ถ้ามี)
                  ถ้าเป็นตั๋วไม่เสียค่าดูออกให้สำหรับเข้าดูฉบับละครั้งเดียว ให้ระบุจำนวนผู้ดู

แทนกำหนดวันเข้าดูและราคาตั๋วถ้าออกให้สำหรับเข้าดูฉบับละหลายครั้งให้ระบุระยะเวลาเข้าดู

และจำนวนผู้ดู แทนกำหนดวันเข้าดูและราคาตั๋ว


                  มาตรา ๑๓๗  ให้เจ้าของหรือบุคคลซึ่งเจ้าของแต่งตั้งคอยรับตั๋วจากผู้ดูซึ่งต้องมี

ตั๋วอันต้องเสียอากร


                  มาตรา ๑๓๘  ให้เจ้าของหรือผู้ได้รับแต่งตั้งตามมาตรา ๑๓๗ ฉีกตั๋วในขณะที่ได้

รับจากผู้ดู โดยอย่างน้อยต้องให้แสตมป์ที่ปิดอยู่หรือแสตมป์ดุนขาดเป็นสองตอน แล้วเก็บไว้ส่วน

หนึ่ง ส่วนของตั๋วที่เก็บไว้นั้น ต้องรักษาไว้ไม่น้อยกว่า ๓ วัน เว้นแต่ตั๋วที่ออกให้สำหรับเข้าดูหลาย

ครั้ง



                  มาตรา ๑๓๙  ห้ามมิให้เจ้าของซื้อแสตมป์หรือตั๋วมีแสตมป์ดุนจากที่อื่น นอก

จากณที่ว่าการอำเภอหรือที่ซึ่งรัฐมนตรีกำหนดไว้


                  มาตรา ๑๔๐  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในสถานที่มหรสพได้ เท่าที่

จำเป็นเพื่อตรวจสอบการปฏิบัติตามบทบัญญัติในหมวดนี้ได้

                  นอกจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามความในวรรคก่อน พนักงานฝ่ายปกครองหรือ

ตำรวจมีอำนาจเข้าไปในสถานที่สำหรับมหรสพเพื่อตรวจตรารักษาความสงบเรียบร้อยได้


                  มาตรา ๑๔๑  ให้อธิบดี มีอำนาจกำหนดวิธีการให้เจ้าของปฏิบัติเพื่อให้การเสีย

อากรในหมวดนี้เป็นไปโดยรัดกุมและให้เจ้าของปฏิบัติการตามนั้น


                  มาตรา ๑๔๒  ผู้ใดฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา ๑๓๓ หรือ มาตรา ๑๓๕ มีความผิด

ต้องระวางโทษปรับไม่เกินรายละ ๕๐ บาท หรือจำคุกไม่เกิน ๖ เดือน


                  มาตรา ๑๔๓  ผู้ใดฝ่าฝืนบัญญัติมาตรา ๑๓๖ มาตรา ๑๓๗ มาตรา ๑๓๘

มาตรา ๑๓๙ หรือมาตรา ๑๔๑ ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑๐๐ บาท


บัญชีอัตราอากรมหรสพ



                  ๑. ตั๋วราคาสูงกว่า    ๕ สตางค์ แต่ไม่เกิน ๑๐ สตางค์ เก็บอากร ๒ สตางค์
                  ๒. ตั๋วราคาสูงกว่า ๑๐ สตางค์ แต่ไม่เกิน ๑๕ สตางค์ เก็บอากร  ๓ สตางค์
                  ๓. ตั๋วราคาสูงกว่า ๑๕ สตางค์ แต่ไม่เกิน ๒๐ สตางค์ เก็บอากร  ๔ สตางค์
                  ๔. ตั๋วราคาสูงกว่า ๒๐ สตางค์ แต่ไม่เกิน ๒๕ สตางค์ เก็บอากร  ๕ สตางค์
                  ๕. ตั๋วราคาสูงกว่า ๒๕ สตางค์ แต่ไม่เกิน ๓๕ สตางค์ เก็บอากร  ๖ สตางค์
                  ๖. ตั๋วราคาสูงกว่า ๓๕ สตางค์ แต่ไม่เกิน ๕๐ สตางค์ เก็บอากร   ๘ สตางค์
                  ๗. ตั๋วราคาสูงกว่า ๕๐ สตางค์ แต่ไม่เกิน ๗๕ สตางค์ เก็บอากร ๑๐ สตางค์
                  ๘. ตั๋วราคาสูงกว่า ๗๕ สตางค์ แต่ไม่เกิน ๑๐๐ สตางค์ เก็บอากร ๑๕ สตางค์
                  ๙. ตั๋วราคาตั้งแต่ ๑๐๐ สตางค์ขึ้นไปเก็บอากร ๕ สตางค์ ทุก ๒๕ สตางค์ หรือ

เศษของ ๒๕ สตางค์

                  ๑๐. ตั๋วไม่เสียค่าดู เก็บอากรตามราคาชั้นที่ดูเป็นรายครั้ง และรายบุคคลที่เข้าดู






ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร



บัตรที่ทางราชการออกให้เข้าดูไม่ต้องเสียค่าดู



ลักษณะ ๓

เงินช่วยบำรุงท้องที่



                  มาตรา ๑๔๔  ให้เรียกเก็บเงินช่วยบำรุงท้องที่สำหรับบำรุงความผาสุกของ

ราษฎรในท้องที่ เงินนี้ให้เรียกว่า “เงินช่วยบำรุงท้องที่”


                  มาตรา ๑๔๕  การเรียกเก็บเงินช่วยบำรุงท้องที่ซึ่งบัญญัติไว้ในลักษณะนี้ ให้อยู่

ในอำนาจหน้าที่และการควบคุมของกรมสรรพากร


                  มาตรา ๑๔๖  ในลักษณะนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
                  “ที่ดิน” ให้กินความถึงทางน้ำ บ่อน้ำ สระน้ำ ฯลฯ
                  “เจ้าพนักงานสำรวจ” หมายความว่า  เจ้าพนักงานซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง


                  มาตรา ๑๔๗  เงินช่วยบำรุงท้องที่นั้น เมื่อเก็บมาได้เท่าใด ให้จ่ายบำรุงท้องที่

ตามเกณฑ์ดังนี้

                  (๑) บำรุงท้องที่ภายในเขตตำบลร้อยละ ๖๐
                  (๒) บำรุงท้องที่ภายในเขตอำเภอร้อยละ ๒๐
                  (๓) บำรุงท้องที่ภายในเขตจังหวัดร้อยละ ๒๐
                  (๔) ถ้าเงินช่วยบำรุงท้องที่นี้เก็บในเขตเทศบาล ก็ให้บำรุงท้องที่ภายในตำบลใน

เขตเทศบาลนั้นร้อยละ ๕๐ และ บำรุงท้องที่โดยทั่วไปภายในเขตเทศบาลนั้นร้อยละ ๕๐


                  มาตรา ๑๔๘  การใช้จ่ายเงินช่วยบำรุงท้องที่นี้ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีจะได้

กำหนดไว้ในกฎกระทรวง


                  มาตรา ๑๔๙  บุคคลใดมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หรือครอบครองอยู่ในที่ดินซึ่งไม่เป็น

กรรมสิทธิ์ของเอกชนคนใด บุคคลนั้นมีหน้าที่เสียเงินช่วยบำรุงท้องที่ปีละ ๑ ครั้ง สำหรับที่ดินแปลง

นั้น ตามประเภทชั้นของที่ดินและอัตราในบัญชีท้ายลักษณะนี้


                  มาตรา ๑๕๐  ส่วนของที่ดินซึ่งจะต้องเสียเงินช่วยบำรุงท้องที่นั้น คือส่วนซึ่ง

เหลือจากที่จัดเป็นที่อยู่อาศัยสำหรับผู้ต้องเสียเงินบำรุงท้องที่ ซึ่งยอมให้หักออกได้ดังนี้

                  ก. ถ้าที่ดินนั้นเป็นที่อยู่อาศัยสำหรับผู้ต้องเสียเงินช่วยบำรุงท้องที่ที่นั้นเอง ให้หัก

ออกได้ ๔๐๐ ตารางเมตร

                  ข. ถ้าผู้ต้องเสียเงินช่วยบำรุงท้องที่ที่ภริยาหรือสามีอยู่ร่วมด้วย ให้หักเพิ่มอีก

๔๐๐ ตารางเมตร

                  ค. ถ้ามีบุตรอยู่ร่วมด้วย ให้หักเพิ่มอีก ๒๐๐ ตารางเมตร ต่อ ๑ คน
                  ง. เฉพาะที่นอกเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนครให้หักเพิ่มสำหรับสวนครัว

และคอกสัตว์อีก ๔๐๐ ตารางเมตร


                  มาตรา ๑๕๑  ที่ดินแปลงใดตั้งอยู่ในทำเลค้าซึ่งราคาปานกลางของที่ดินในทำเล

นั้นสูงกว่าไร่ละ ๑๐,๐๐๐ บาท ให้ถือว่าที่ดินนั้นไม่ใช่ที่ดินสำหรับอยู่อาศัย และไม่ได้รับการยกเว้น

ตามมาตรา ๑๕๐


                  มาตรา ๑๕๒  ที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกันกับโรงเรือนซึ่งต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่

ดินหรือภาษีโรงร้าน ตึก แพ นั้น ให้ยกเว้นไม่ต้องเสียเงินช่วยบำรุงท้องที่


                  มาตรา ๑๕๓  ที่ดินดังต่อไปนี้ให้ยกเว้นไม่ต้องเสียเงินช่วยบำรุงท้องที่
                  (๑) พระราชวังอันเป็นส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
                  (๒) สาธารณสมบัติของแผ่นดิน และที่ดินของรัฐบาลซึ่งใช้ในกิจการของรัฐบาล

หรือสาธารณะโดยมิได้หาผลประโยชน์

                  (๓) ที่ดินของเทศบาล ซึ่งใช้ในกิจการของเทศบาลหรือสาธารณะโดยมิได้หาผล

ประโยชน์

                  (๔) ที่ดินที่ใช้เฉพาะการพยาบาลสาธารณะ การศึกษาสาธารณะหรือการกุศล

สาธารณะ

                  (๕) ที่ดินที่ใช้เฉพาะในศาสนกิจ ศาสนาโดยศาสนาหนึ่ง หรือพระอาราม หรือ

สำนักสงฆ์ หรือที่ธรณีสงฆ์ หรือสถานวัดบาทหลวงสถานพักสอนศาสนา หรือที่ศาลเจ้า

                  (๖) สุสาน และฌาปนสถาน
                  (๗) ที่ดินทำทางรถไฟ การประปา หรือการไฟฟ้า
                  (๘) ที่ดินซึ่งรัฐมนตรีออกกฎกระทรวงยกเว้น


                  มาตรา ๑๕๔  ให้คณะกรรมการจังหวัดตั้งกรรมการพิจารณาตีราคาปานกลาง

ของที่ดินในตำบลหนึ่ง ๆ ประกอบด้วยบุคคลในท้องที่นั้น ดังต่อไปนี้

                  (๑) ในกรณีที่ดินในเขตเทศบาลให้มีนายอำเภอ ๑ ผู้ทรงวุฒิ ๑ และเทศมนตรี

หรือผู้แทน ๑

                  (๒) ในกรณีที่ดินนอกเขตเทศบาลให้มีนายอำเภอ ๑ ผู้ทรงวุฒิ ๑ และกำนัน ๑
                  ถ้าราคาที่ดินในเขตนั้นแตกต่างกันมาก ก็ให้กำหนดเขตเป็นหน่วย ๆ ภายใน

ตำบลนั้นเพื่อประโยชน์แก่การตีราคาปานกลางให้เที่ยงธรรม


                  มาตรา ๑๕๕  การตีราคาปานกลางนั้นมิให้คำนวณราคาโรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง

หรือสิ่งเพาะปลูกเข้าด้วย


                  มาตรา ๑๕๖  เมื่อคณะกรรมการตีราคาปานกลางแล้วให้เสนอการตีราคานั้นต่อ

คณะกรมการจังหวัดพิจารณา แล้วให้คณะกรมการจังหวัดนำเข้าปรึกษาสภาจังหวัด เมื่อสภา

จังหวัดเห็นชอบด้วยหรือแก้ไขประการใดแล้ว ก็ให้คณะกรรมการจังหวัดประกาศประเภทและชั้น

ของที่ดินนั้นไว้ณศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอและตำบลนั้น ๆ


                  มาตรา ๑๕๗  การกำหนดชั้นของที่ดินคราวหนึ่ง ๆ ให้ใช้ได้ไม่เกิน ๕ ปี
                  ภายในเวลา ๕ ปีนับแต่วันประกาศ เมื่อมีเหตุแสดงว่าราคาที่ดินที่ได้ตีราคาไว้

นั้นเปลี่ยนแปลงไปมาก ผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้สั่งให้คณะกรมการ

จังหวัดกำหนดชั้นของที่ดินนั้นเสียใหม่ หรือคณะกรมการจังหวัดจะกำหนดชั้นของที่ดินนั้นใหม่เสีย

เองก็ได้ และต้องปฏิบัติตามความในมาตรา ๑๕๖

                  ถ้ามีการกำหนดชั้นของที่ดินใหม่ตามความในวรรค ๒ ให้การกำหนดชั้นใหม่นี้มี

ผลปฏิบัติในปีรุ่งขึ้นเป็นต้นไป


                  มาตรา ๑๕๘  การสำรวจรังวัดพื้นที่ดินและการแจ้งให้ผู้ต้องเสียเงินช่วยบำรุง

ท้องที่มาเสียเงิน ให้ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง


                  มาตรา ๑๕๙  ในการสำรวจรังวัดพื้นที่ดิน ให้ผู้ต้องเสียเงินช่วยบำรุงท้องที่ชี้เขต

บอกจำนวนพื้นที่ดิน และให้ความสะดวกแก่เจ้าพนักงานสำรวจตามสมควร


                  มาตรา ๑๖๐  ผู้ใดไม่ชี้เขตหรือไม่ยอมบอกจำนวนพื้นที่ดิน หรือชี้เขตหรือบอก

จำนวนพื้นที่ดินขาดจากจำนวนที่เป็นจริง เจ้าพนักงานสำรวจอาจสำรวจเอาเองตามที่รู้เห็นว่า

ถูกต้อง

                  มาตรา ๑๖๑  ที่ดินซึ่งใช้ในการเพาะปลูกพืช ถ้าการเพาะปลูกในบริเวณนั้นเสีย

หายมากผิดปกติ หรือทำไม่ได้ด้วยเหตุอันพ้นวิสัยที่จะป้องกันได้โดยทั่วไป ให้คณะกรรมการจังหวัด

มีอำนาจพิจารณายกเว้นหรือลดหย่อนเงินช่วยบำรุงท้องที่ได้ตามสมควร

                  ที่ดินซึ่งใช้ในการเพาะปลูกพืชดังกล่าวในวรรคก่อน จะต้องเป็นที่ดินนอกเขตเทศ

บาลเมือง หรือเทศบาลนคร หรือนอกเขตทำเลค้า



                  ที่ดินซึ่งใช้ในการเพาะปลูกพืชตามที่อำเภอกำหนดให้ถ้าการเพาะปลูกในบริเวณ

นั้นเสียหายมากผิดปกติ หรือทำไม่ได้ด้วยเหตุพันวิสัย ให้ยกเว้นไม่ต้องเสียเงินช่วยบำรุงท้องที่


                  มาตรา ๑๖๒  ที่ดินของเจ้าของเดียวและมีเขตติดต่อกัน ซึ่งถ้าคิดเงินช่วยบำรุง

ท้องที่ตามอัตราเต็มจำนวนเป็นเงินเกินกว่า ๑ บาทแล้ว แม้จะได้รับการลดหย่อนตามมาตรา ๑๖๑

ก็ต้องเสียเงินช่วยบำรุงท้องที่อย่างต่ำปีละ ๑ บาท และถ้าเงินช่วยบำรุงท้องที่ซึ่งต้องเสียมีเศษต่ำ

กว่า ๕ สตางค์ ให้ปัดขึ้นเป็น ๕ สตางค์


                  มาตรา ๑๖๓  ให้ผู้ต้องเสียเงินช่วยบำรุงท้องที่เสียเงินนั้นภายใน ๓๐ วัน นับแต่

วันแจ้งให้เสียเงินตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ในการนี้ให้นำมาตรา ๑๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม


                  มาตรา ๑๖๔  เมื่อกรรมสิทธิหรือสิทธิครอบครองของผู้เสียเงินช่วยบำรุงท้องที่ได้

โอนตกไปยังบุคคลอื่นโดยเหตุใด ๆ ก็ตาม ให้ผู้รับโอนมีหน้าที่ร่วมกันในการเสียเงินช่วยบำรุงท้องที่


                  มาตรา ๑๖๕  ผู้ใดจงใจไม่ยอมชี้เขตหรือไม่บอกจำนวนพื้นที่ดิน หรือจงใจชี้เขต

หรือบอกจำนวนพื้นที่ดินขาดจากจำนวนที่เป็นจริง หรือขัดขวางเจ้าพนักงานสำรวจ ผู้นั้นมีความผิด

ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๕๐ บาท


                  มาตรา ๑๖๖  เงินช่วยบำรุงท้องที่ซึ่งต้องเสียตามลักษณะนี้ เมื่อถึงกำหนดแล้ว

ไม่เสีย ให้ถือว่าเป็นเงินค้าง

                  เพื่อให้ได้รับเงินค้างดังกล่าวนี้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๘ มาตรา ๑๒ มาใช้

บังคับโดยอนุโลม
















บัญชีประเภทและชั้นของที่ดิน

ประเภท ๑ ที่ดินนอกเขตเทศบาล



                  [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย]
































ประเภท ๒ ที่ดินในเขตเทศบาล



                  [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย]


































ประเภท ๓



                  ที่ดินซึ่งตั้งอยู่ภายในรัศมี ๒๐๐ เมตรของที่ตั้งสถานีรถไฟ ที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ ที่

ตั้งโรงทหาร หรือที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมของรัฐบาล หรือสถานที่อื่นตามที่จะได้มีพระราชกฤษฎีกา

กำหนดไว้ให้แบ่งเป็นชั้น และเรียกเก็บเงินช่วยบำรุงท้องที่เท่ากับที่ดินในเขตเทศบาล


หมายเหตุ ๑. ที่ดินต้องเสียเงินช่วยบำรุงท้องที่ เศษของไร่ให้คิดในอัตราลดลงตามส่วน

            ๒. เศษของ ๑ ตารางวาให้ปัดขึ้นเป็น ๑ ตารางวา
            ๓. เศษของ ๕ สตางค์ให้ปัดขึ้นเป็น ๕ สตางค์


ลักษณะ ๔

เงินช่วยการประถมศึกษา



                  มาตรา ๑๖๗  ให้เรียกเก็บเงินสมทบช่วยการประถมศึกษาสำหรับใช้จ่ายในการ

บำรุงการประถมศึกษาแห่งชาติเงินนี้ให้เรียกว่า “เงินช่วยการประถมศึกษา”


                  มาตรา ๑๖๘  เงินช่วยการประถมศึกษา ซึ่งบัญญัติไว้ในลักษณะนี้ ให้อยู่ใน

อำนาจหน้าที่และการควบคุมของกรมสรรพากร


                  มาตรา ๑๖๙  เงินช่วยการประถมศึกษานี้ให้ใช้จ่ายเฉพาะในการบำรุงการ

ประถมศึกษา

                  การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ การสำรวจตรวจสอบ การเรียกเก็บ การใช้ และ

การควบคุมเงินช่วยการประถมศึกษานี้ ให้เป็นไปตามกฎกระทรวง


                  มาตรา ๑๗๐  ชายที่บรรลุนิติภาวะทุกคนที่มีอยู่ในราชอาณาจักรต้องเสียเงิน

ช่วยการประถมศึกษาเป็นจำนวนเงินคนละ ๑ บาทต่อ ๑ ปี

                  ปีตามความในวรรคก่อน ให้นับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน


                  มาตรา ๑๗๑  เงินช่วยการประถมศึกษานี้ต้องชำระต่ออำเภอหรือพนักงาน

เจ้าหน้าที่ในท้องที่ซึ่งผู้ต้องเสียเงินช่วยการประถมศึกษามีภูมิลำเนา แต่ถ้าเป็นการจำเป็นเพราะมิ

ได้อยู่ในท้องที่นั้นเป็นระยะเวลานาน หรือมีเหตุอย่างอื่นซึ่งไม่เป็นการสะดวก หรือมิใช่เป็นผู้ที่อยู่

เป็นที่ ก็ให้ชำระต่ออำเภอที่ตนอยู่ในขณะนั้น แต่ถ้าได้เงินช่วยการประถมศึกษาต่างท้องที่ ซึ่งตนไม่

มีภูมิลำเนา ต้องแสดงใบเสร็จต่ออำเภอซึ่งตนมีภูมิลำเนาภายใน ๓๐ วันนับตั้งแต่วันกลับมา


                  มาตรา ๑๗๒  เงินช่วยการประถมศึกษาให้เสียในระหว่างเวลาตั้งแต่ต้นเดือน

ตุลาคมเป็นต้นไปจนถึงสิ้นเดือนมีนาคมทุกปี


                  มาตรา ๑๗๓  ผู้ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรก่อนสิ้นเดือนกรกฎาคมของปีที่กล่าว

ในมาตรา ๑๗๐ ปีใด ต้องนำเงินช่วยการประถมศึกษาไปชำระต่ออำเภอก่อนสิ้นเดือนมีนาคม หรือ

ภายในกำหนด ๖๐ วัน นับแต่วันที่เข้ามาในราชอาณาจักรของปีนั้น แล้วแต่อย่างใดจะเป็น

ประโยชน์แก่ตน

                  มาตรานี้มิให้ใช้สำหรับผู้ซึ่งเคยอยู่ในราชอาณาจักรมาแล้วในปีนั้นและออกไป

โดยยังมิได้เสียเงินช่วยการประถมศึกษา


                  มาตรา ๑๗๔  บุคคลต่อไปนี้ยกเว้นไม่ต้องเสียเงินช่วยการประถมศึกษา
                  (๑) ผู้ที่มีอายุครบห้าสิบห้าปีบริบูรณ์ในปีที่จะต้องเสียเงินช่วยการประถมศึกษา
                  (๒) ภิกษุ สามเณร
                  (๓) บาทหลวง ครูสอนศาสนาคริสเตียน ผู้สอนศาสนาอิสลาม ตามเกณฑ์และ

วิธีการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง

                  (๔) ทหารหรือตำรวจประจำการหรืออยู่ในกองหนุนประเภท ๑ หรือผู้ที่พ้น

ราชการทหารประเภท ๑ ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร

                  แต่การยกเว้นทั้งนี้มิให้รวมถึง
                        (ก) นายทหาร นายตำรวจซึ่งเคยรับเงินเดือนตั้งแต่ ๘๐ บาทขึ้นไป หรือ

กำลังรับอยู่

                        (ข) คนกองหนุนหรือคนพ้นราชการทหารหรือตำรวจซึ่งเคยรับราชการฝ่าย

พลเรือนหรือเทศบาลเคยได้รับเงินเดือนตั้งแต่ ๘๐ บาทขึ้นไป หรือกำลังรับอยู่

                  (๕) ผู้ที่ต้องรับอาญาอยู่ในเรือนจำ
                  (๖) บุคคลทุพพลภาพหาเลี้ยงชีพไม่ได้ ซึ่งอำเภอเห็นสมควรยกเว้น
                  (๗) บุคคลผู้ได้บริจาคเงินช่วยการประถมศึกษาคราวเดียวเป็นจำนวนเงินตั้งแต่

๒๕ บาทขึ้นไป

                  (๘) กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และสารวัตรกำนัน


                  มาตรา ๑๗๕  ผู้ที่พ้นจากการยกเว้นก่อนสิ้นเดือนกรกฎาคมของปีที่กล่าวใน

มาตรา ๑๗๐ ปีใด ต้องนำเงินช่วยประถมศึกษาไปชำระต่ออำเภอก่อนสิ้นเดือนมีนาคมหรือภายใน

กำหนด ๖๐ วัน นับแต่วันที่พ้นจากการยกเว้นของปีนั้น แล้วแต่อย่างใดจะเป็นประโยชน์แก่ตน


                  มาตรา ๑๗๖  ผู้ไม่ชำระเงินช่วยการประถมศึกษาภายในกำหนดตามมาตรา

๑๗๒ มาตรา ๑๗๓ มาตรา ๑๗๕ ต้องเสียเงินช่วยการประถมศึกษาเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว


                  มาตรา ๑๗๗ ให้อำเภอมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ที่มีเหตุพอจะเชื่อว่ายังไม่ได้

เสียเงินช่วยการประถมศึกษาและพยานหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาสอบถามได้


                  มาตรา ๑๗๘  ผู้ใดไม่นำใบเสร็จไปแสดงต่ออำเภอเป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา

๑๗๑ ก็ดี ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือไม่ตอบคำถามเมื่อซักถาม เป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา ๑๗๗ ก็

ดี ไม่แจ้งรายการสำรวจตรวจสอบเมื่ออำเภอสอบถาม เป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา ๑๖๙ ก็ดี ผู้นั้นมี

ความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๒๐ บาท


                  มาตรา ๑๗๙  เงินช่วยบำรุงการประถมศึกษา ซึ่งต้องเสียตามลักษณะนี้ เมื่อถึง

กำหนดชำระแล้วมิได้เสีย ให้ถือว่าเป็นเงินค้าง

                  เพื่อให้ได้รับเงินค้างดังกล่าวมานี้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๘ มาตรา ๑๒ มา

บังคับโดยอนุโลม



                                                                            ภคินี/แก้ไข
                                                                            ๑๓/๓/๒๕๔๕
                                                                                  A+B