ว่าด้วยความโดดเด่นของหัวเรื่อง
  • โปรดศึกษานโยบายที่ วิกิพีเดีย:ความโดดเด่น
  • สรุป: หัวเรื่องที่นำมาเขียนต้องมีอ้างอิงประกอบในบทความ โดยที่อ้างอิงนั้นมาจากแหล่งข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่อง (เช่น ไม่ให้เป็นเว็บของหน่วยงานที่เขียน) และมีความน่าเชื่อถือ (เช่น จากเว็บไซต์ข่าว, ไม่ใช่บล็อกหรือเพจบนเฟสบุค) หากไม่สามารถใส่อ้างอิงประเภทดังกล่าวประกอบได้ก็พูดได้ง่าย ๆ ว่าหัวเรื่องที่คุณจะเขียนขาดความโดดเด่น จึงไม่มีการกล่าวถึงในสื่ออื่นที่เพียงพอจะนำมาใช้เป็นแหล่งอ้างอิง


ว่าด้วยการ "เจ้านายให้มาเขียน"
  • โปรดศึกษานโยบาย WP:COI
  • สรุป: คุณไม่ควรเขียน ยกเว้นแต่จะสามารถเขียนโดยใช้อ้างอิงจากสื่ออันไม่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานมาประกอบได้


ว่าด้วย "ทำไมทีบทความนั้นยังมีเลย"
  • วิกิพีเดียดำเนินงานโดยอาสาสมัคร ซึ่งในวิกิพีเดียภาษาไทยมีอาสาสมัครน้อยมาก ในปัจจุบันยังคงมีหลายบทความที่ไร้คุณภาพและอาจต้องถูกลบที่อาสาสมัครมีประสบการณ์ยังไม่เห็นและมีโอกาสไปตรวจสอบ การมีบทความ "นั้น" บนวิกิพีเดีย ไม่ใช่เหตุผลงานจะสามารถมีบทความ "นี้" บนวิกิพีเดียได้ (เช่น เห็นมีบทความโรงเรียน ก เลยควรจะมีบทความโรงเรียน ข หรือ มีบทความคณะ ค ของมหาลัย จ จึงต้องมีบทความคณะ ง ของมหาลัย จ)


ว่าด้วย "ฉันก็เขียนตามรูปแบบของบทความนั้นนี่"
  • ในปัจจุบันยังคงมีหลายบทความที่ไร้คุณภาพและอาจต้องถูกลบที่อาสาสมัครมีประสบการณ์ยังไม่เห็นและมีโอกาสไปตรวจสอบ ซึ่งคุณไม่ควรนำมาเป็นแนวทางในการเขียน เพราะฉะนั้น หากจะหาบทความมาเทียบ ก็เทียบกับ วิกิพีเดีย:บทความคุณภาพ หรือ วิกิพีเดีย:บทความคัดสรร จะดีที่สุด ถ้าไม่ใช่ ขออาสาสมัครที่มีประสบการณ์ไปตรวจสอบ หรือขอเปรียบเทียบกับบทความเทียบเท่าบนวิกิพีเดียภาษาอังกฤษก่อน วิกิพีเดียดำเนินงานโดยอาสาสมัคร ซึ่งในวิกิพีเดียภาษาไทยมีอาสาสมัครน้อยมาก


ว่าด้วย "แหล่งอ้างอิงนี้เป็นเรื่องไม่จริง" หรือ "ฉันไม่ชื่อในแหล่งอ้างอิงนี้ในบทความ"
  • วิกิพีเดียไม่อนุญาตให้คุณลบข้อมูลที่มีอ้างอิงทิ้ง โปรดใส่ข้อมูลที่เป็นการปฏิเสธแหล่งอ้างอิงนั้นต่อท้าย พร้อมแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือของคุณ
  • เช่น เนื้อหาเดิม: "ในหนังสือ 1 ระบุว่า ก เป็นผู้ฆาตกรรม ข [อ้างอิง 1]" หากคุณต้องการปฏิเสธความน่าเชื่อถือของอ้างอิง 1 โปรดอย่าลบทิ้ง แล้วหาข้อมูลมาถกเถียงในบทความ เช่น เพิ่มเติมเป็น "ในหนังสือ 1 ระบุว่า ก เป็นผู้ฆาตกรรม ข [อ้างอิง 1] อย่างไรก็ตาม นักวิชาการ 2 ระบุว่าข้อมูลจากหนังสือ 1 มีความคาดเคลื่อน [อ้างอิง 2] และเอกสาร 3 ตั้งข้อสังเกตว่า ข ถูกฆาตกรรมโดย ค [อ้างอิง 3]" โดยอ้างอิง 2 และ 3 คืออ้างอิงที่น่าเชื่อถือของคุณที่จะมาหักล้างอ้างอิง 1 เป็นต้น
  • ตัวอย่าง ถ้าคุณเชื่อว่า ก ถูกฆาตกรรมโดย ค โดยคุณมีหลักฐานเป็น [อัางอิง 2]
    • เนื้อหาเดิม: "ก เสียชีวิตด้วยวัย 15 ปี โดย ก ถูกฆาตกรรมโดย ข [อ้างอิง 1] งานศพของ ก ถูกจัดที่วัด ฮ"
      •  ไม่สำเร็จ แก้ไขเป็น: "ก เสียชีวิตด้วยวัย 15 ปี งานศพของ ก ถูกจัดที่วัด ฮ" -- ไม่ได้ เนื่องจากลบเนื้อหาเดิมออก
      •  ไม่สำเร็จ แก้ไขเป็น: "ก เสียชีวิตด้วยวัย 15 ปี โดย ก ถูกฆาตกรรมโดย ค [อ้างอิง 2] งานศพของ ก ถูกจัดที่วัด ฮ" -- ไม่ได้ เนื่องจากลบเนื้อหาเดิมออก
      •  สำเร็จ แก้ไขเป็น "ก เสียชีวิตด้วยวัย 15 ปี โดยบางแหล่งระบุว่า ก ถูกฆาตกรรมโดย ข [อ้างอิง 1] ในขณะที่บางแหล่งระบุว่า ถูกฆาตกรรมโดย ค [อ้างอิง 2] งานศพของ ก ถูกจัดที่วัด ฮ"


วิกิพีเดียไม่ยอมรับแหล่งอ้างอิงที่มาจากเว็บบอร์ด เว็บบล็อก หรือกระทู้
  • เช่น พันทิป, เด็กดี (เฉพาะส่วนกระทู้พูดคุย), บล็อกแกงก์, โอเคเนชั่น, และเว็บกระทู้พูดคุยอื่น ๆ ห้ามนำมาใช้อ้างอิงบนวิกิพีเดียเด็ดขาด


ว่าด้วย "ข้อความจากบทความ/หนังสือเล่มนี้ (ที่นำมาเผยแพร่บนวิกิพีเดีย) ผิดกฎหมาย/หมิ่นประมาท"


โปรดพึงระลึกไว้ว่าการแก้ไขเหล่านี้ไม่เกิดประโยชน์, ทำให้โลกใบนี้ไม่น่าอยู่มากขึ้น และเสียเวลาคนอื่น
  1. การแก้ไขรายชื่อผู้ชนะให้เป็นบุคคลหรือทีมที่ตนเองเชียร์ ไม่ได้ทำให้บุคคลหรือทีมนั้นชนะจริง
  2. การลบข้อมูลเกี่ยวกับการเสียชีวิตของบุคคลหนึ่ง ๆ ไม่ได้ทำให้บุคคลนั้นกลับมามีชีวิต
  3. การลบข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ไม่ได้ทำให้เหตุการณ์นั้นถูกย้อนหรือไม่เกิดขึ้นจริง
  4. การใส่วันเกิดหรือเหตุการณ์ชีวิตของลูกคุณบนวิกิพีเดีย อาจทำให้ลูกคุณมีความสุข บนความทุกข์ของบุคคลอื่น (คืออาสาสมัครวิกิพีเดียที่ต้องมาคอยลบ) เป็นการสอนให้ลูกคุณรู้จักเห็นแก่ตัวตั้งแต่เด็ก
  5. การใส่ชื่อใครก็ไม่รู้ในส่วน "บุคคลที่มีชื่อเสียง" หรือ "ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง" ไม่ได้ทำให้คุณมีชื่อเสียง แต่อาจจะมีอาสาสมัครวิกิพีเดียที่ต้องมาคอยลบ มาจำและจองเวรชื่อนั้น
  6. การก่อสงครามอินเทอร์เน็ต (หรือเฟลมวอร์) กับชาติอื่น กลุ่มอื่น คู่ตรงข้าม ควรไปสวบกันบนแพลตฟอร์มอื่น ไม่ใช่ที่นี่ ใครจะมาอ่านที่คุณทิ้งระเบิดไว้หรือ? ถามจริง
ว่าด้วยบทความเนมสเปซ "วิกิพีเดีย"

กรุณาหยุดย้ายบทความไปยังเนมสเปซ "วิกิพีเดีย" (ชื่อบทความจะขึ้นต้นด้วย "วิกิพีเดีย:...") เพราะเนมสเปซนี้สงวนไว้สำหรับเนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายและการบริหารบนวิกิพีเดียเท่านั้น หากต้องการย้ายบทความจากเนมสเปซ ฉบับร่าง ไปบทความเนมสเปซหลัก โปรดเลือกเนมสเปซ "(หลัก)" ตอนย้ายหน้า ขอบคุณมากครับ

ว่าด้วยบทความเนมสเปซ "พูดคุย"

กรุณาหยุดใส่เนื้อหาต่าง ๆ ที่ไม่ใช่การพูดคุยสอบถามหารือ บนเนมสเปซ "พูดคุย" (ชื่อหนัาจะขึ้นต้นด้วย "พูดคุย:...") เพราะเนมสเปซนี้สงวนไว้สำหรับพูดคุย สอบถาม หารือ เท่านั้น ขอบคุณมากครับ

ว่าด้วยหน้าผู้ใช้มาไว้ขายของ

สวัสดีครับ จากหน้าผู้ใช้ของคุณ ([ลิงค์ ฉบับอัปเดตล่าสุด เวลา, วันที่]) มีเนื้อหาที่ขัดต่อนโยบายหน้าผู้ใช้ ซึ่งห้ามไม่ให้ใช้เพื่อประชาสัมพันธ์หรือโปรโมทสิ่งใด ๆ บนวิกิพีเดีย ("วิกิพีเดียไม่ใช่แท่นประชาสัมพันธ์") ขอความร่วมมือลบข้อมูลดังกล่าวออกและแทนที่ด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับผู้ใช้ ตามที่มีอธิบายไว้ใน วิกิพีเดีย:หน้าผู้ใช้ มิฉะนั้นหน้าอาจถูกดำเนินการลบโดยทันที ขอบคุณมากครับ

คอมมอนส์

แก้
ว่าด้วยการอัปโหลดภาพขึ้นวิกิพีเดีย
 
แนวทางสำหรับตรวจสอบว่าภาพของคุณสามารถอัปโหลดขึ้นโครงการของคอมมอนส์ได้หรือไม่
  • ภาพที่ใช้ในวิกิพิเดียเป็นภาพที่ลิงค์มาจากโครงการวิกิมีเดียคอมมอนส์ (หรือ "คอมมอนส์" ซึ่งเป็นโครงการพี่น้องของวิกิพีเดียที่มีไว้สำหรับเก็บรวบรวมภาพที่สามารถใช้ได้ภายใต้สิขสิทธิ์แบบ "ครีเอทีฟคอมมอนส์" ซึ่งพูดโดยย่อคือไม่หวังผลเชิงค้าขายจากการเผยแพร่ชิ้นงานในลิขสิทธิ์นี้) โดยภาพที่จะอัปโหลดบนนั้นได้ต้องเป็นภาพที่ (1) คุณสร้างสรรค์เอง ไปถ่ายมาเอง ด้วยตัวเอง หรือ (2) เป็นรูปที่ผู้อื่นเผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ครีเอทีฟคอมมอนส์ (ลักษณะนี้จะมีเขียนระบุไว้ชัดเจนในภาพหรือใต้ภาพ) หรือ (3) เป็นภาพของผู้อื่นแต่เป็นของเก่าจนเข้าสู่พับลิกโดเมนแล้ว (โดยทั่วไปคือ 150 ปี, แต่ชิ้นงานในไทยโดยทั่วไปอยู่ที่ 50 ปี (ตามกฎหมายเกี่ยวกับพับลิกโดเมนของไทย) ภาพที่แนบมาด้วยนี้เป็นแนวทางสำหรับตรวจสอบว่าภาพของคุณสามารถอัปโหลดขึ้นโครงการของคอมมอนส์ได้หรือไม่ คุณสามารถคลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดเต็ม
  • อย่างไรก็ตาม ภาพบางส่วนบนวิกิพีเดียเป็นภาพที่ไม่เข้าข่ายข้างต้น (เช่น ภาพตราสัญลักษณ์ โลโก ปกอัลบัม โปสเตอร์ภาพยนตร์ ปกหนังสือ ภาพสกรีนช็อต ฯลฯ) คือล้วนเป็นภาพที่มีลิขสิทธิ์ แต่สามารถแจ้งขอให้อัปโหลดได้ภายใต้นโยบาย WP:NFC ซึ่งภาพเหล่านี้จะถูกอัปโหลดขึ้นบนวิกิพีเดียภาษาไทย เพื่อใช้ในวิกิพีเดียภาษาไทยเท่านั้น (ไม่ได้อัปโหลดไปบนคอมมอนส์) กรุณาศึกษานโยบาย WP:NFC สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมส่วนนี้

copyvio!

แก้
 
แนวทางสำหรับตรวจสอบว่าภาพของคุณสามารถอัปโหลดขึ้นโครงการของคอมมอนส์ได้หรือไม่

สวัสดีครับ จากการอัปโหลดภาพล่าสุดของคุณพบว่าเป็นภาพที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น จึงขอแจ้งให้ทราบดังนี้ ภาพที่ใช้บนวิกิพิเดียเป็นภาพที่ลิงค์มาจากโครงการวิกิมีเดียคอมมอนส์ (หรือ "คอมมอนส์" ซึ่งเป็นโครงการพี่น้องของวิกิพีเดียที่มีไว้สำหรับเก็บรวบรวมภาพที่สามารถใช้ได้ภายใต้สิขสิทธิ์แบบ "ครีเอทีฟคอมมอนส์" ซึ่งพูดโดยย่อคือไม่หวังผลเชิงค้าขายจากการเผยแพร่ชิ้นงานในลิขสิทธิ์นี้) โดยภาพที่จะอัปโหลดบนนั้นได้ต้องเป็นภาพที่ (1) คุณสร้างสรรค์เอง ไปถ่ายมาเอง ด้วยตัวเอง หรือ (2) เป็นรูปที่ผู้อื่นเผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ครีเอทีฟคอมมอนส์ (ลักษณะนี้จะมีเขียนระบุไว้ชัดเจนในภาพหรือใต้ภาพ) หรือ (3) เป็นภาพของผู้อื่นแต่เป็นของเก่าจนเข้าสู่พับลิกโดเมนแล้ว (โดยทั่วไปคือ 150 ปี, แต่ชิ้นงานในไทยโดยทั่วไปอยู่ที่ 50 ปี (ตามกฎหมายเกี่ยวกับพับลิกโดเมนของไทย) ภาพที่แนบมาด้วยนี้เป็นแนวทางสำหรับตรวจสอบว่าภาพของคุณสามารถอัปโหลดขึ้นโครงการของคอมมอนส์ได้หรือไม่ คุณสามารถคลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดเต็ม