นโยบาย แก้

ความเป็นสากลของสารานุกรม แก้

ปัญหาที่พบบ่อยในวิกิพีเดียไทย เกี่ยวกับความเป็นสากลของสารานุกรม

กรณีบทความเขียนใหม่ แก้

  • เนื้อหาเอนเอียงไปทาง ความหมายในประเทศไทย
    • เช่น เนื้อหาใน โรงละครแห่งชาติ พูดถึงเฉพาะโรงละครแห่งชาติของประเทศไทย และไม่่ได้กล่าวถึงโรงละครแห่งชาติในความหมายทั่วไปเลย

กรณีบทความแปล แก้

  • เนื้อหาเอนเอียงไปทาง ความหมายในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร หรือประเทศที่พูดภาษาอังกฤษเป็นหลัก
  • การใช้คำ ตัวสะกด เสียงอ่าน เอนเอียงไปทางการใช้ในสหรัฐอเมริกา (หรือกลุ่มสังคมใด ๆ ที่อาจจะไม่ได้เป็นตัวแทนของการใช้โดยสากล)
    • ตรงนี้ นอกเหนือจากการยึดหลักหน่วยงานบัญญัติศัพท์ที่น่าเชื่อถือแล้ว ถ้ายังหาแหล่งอ้างอิงในภาษาไทยไม่ได้:
      • ในกรณีที่เป็นเรื่องเฉพาะถิ่น: น่าจะยึดตามการใช้ในท้องถิ่น ต้นตอ/รากของคำนั้น
      • ในกรณีที่เป็นเรื่องสากล หรือรับเข้ามาอยู่ในสังคมไทยแล้ว ก็ควรจะยึดเอาตามที่ภาษาไทย/คนไทยใช้กันมาก
      • สามารถสร้างหน้าเปลี่ยนทางสำหรับตัวสะกดแบบอื่น ๆ ได้

สาเหตุ แก้

สาเหตุของปัญหาส่วนหนึ่งน่าจะมาจาก

  1. การแปลบทความจากภาษาอังกฤษ (ซึ่งมีบทความวิกิพีเดียไทยปริมาณมาก ที่เริ่มต้นแบบนี้)
  2. วัฒนธรรมอเมริกันที่มีอิทธิพลอย่างสูงทั่วโลก
  3. สัดส่วนของผู้ร่วมเขียนบทความ (สัดส่วนประชากรจากพื้นที่ต่าง ๆ)
    • เป็นปัญหาชัดเจนในกรณีของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ และเป็นปัญหาต่อเนื่องมาถึงภาษาไทย (ข้อ 1)
      • ตรงนี้อาจจะยาก หากผู้เขียน/แปล ไม่ได้มีความรู้ที่ลึกซึ้งในเรื่องที่แปล ทำให้ไม่ทราบว่า ส่วนไหนของบทความที่มีเนื้อหาเป็นสากล และส่วนไหนที่ไม่ใช่
    • พบว่าผู้ร่วมเขียนที่เขียนบทความเยอะ ๆ ส่วนหนึ่งกำลังศึกษา/ได้รับการศึกษาจากประเทศที่พูดภาษาอังกฤษเป็นหลัก (เกี่ยวกับข้อ 1 และ 2)
      • จุดนี้น่าจะระวังได้ง่ายกว่า ถ้าตัวผู้เขียนแต่ละคนมีความตระหนักรู้ถึงปัญหา และระมัดระวัง ตรวจสอบ

ข้อเสนอ แก้

ทางแก้นั้น ยังไม่ชัดเจน แต่ควรจะเริ่มจาก สร้างความตระหนักในเรื่องนี้ก่อน รวมทั้งรณรงค์ความเป็นสากลของเนื้อหาในสารานุกรมวิกิพีเดีย

อ้างอิง แก้

ดู en:Wikipedia:WikiProject Countering systemic bias (en:WP:BIAS)

เงื่อนไขของบุคคลที่น่าจะถูกบรรจุในสารานุกรมได้ แก้

เพื่อเสนอใน วิกิพีเดีย:เงื่อนไขในการนับว่าเป็นสารานุกรม

นึก ๆ ไว้ก่อน ดีไม่ดี ครอบคลุมครบถ้วนหรือไม่ ก็แล้วแต่ ขออย่างเดียว ให้สม่ำเสมอ ไม่เลือกปฏิบัติ ถ้าเกิดว่ามีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ ก็น่าจะอยู่ในสารานุกรมได้เลย (แต่ถ้าไม่มี ก็อาจจะยังอยู่ได้ คุยก่อน ถ้าโอเคก็เพิ่มเติม/แก้ไขเงื่อนไข เพื่อให้ผู้ในสารานุกรมได้ ถ้าไม่โอเค ก็เอาออกไป หรือเอาไปรวมกับหัวข้อที่เกี่ยวข้อง เป็นหัวข้อย่อย)

  • นักกีฬา
    • นักกีฬาสมัครเล่น ติดทีมชาติ หรือเป็นตัวแทนประเทศ
    • นักกีฬาอาชีพ เล่นในระดับสโมสรอาชีพ หรือทัวร์นาเมนต์ชิงเงินรางวัล
  • นักวิชาการ
    • ตำแหน่งทางวิชาการ: สมาชิกราชบัณฑิตยสถาน หรือ ตำแหน่งศาสตราจารย์
    • ตำแหน่งบริหาร: อธิการบดี ผู้อำนวยการศูนย์ อธิบดี ประธาน/นายกสมาคมวิชาการ หรือเทียบเท่า
    • รางวัล: นักวิจัยดีเด่น ..
    • ความเป็นที่รู้จัก: เป็นผู้ดำเนินรายการทีวี วิทยุ สื่อกระแสหลัก คนทั่วไปรู้จัก
  • นักการเมือง
    • เคยเป็น หรือเป็น สส. สว. สจ. สข. ผู้ว่า รองผู้ว่า สสร. หัวหน้าพรรค หรือตำแหน่งสำคัญในพรรคการเมือง หรือเทียบเท่า
  • ศิลปิน นักร้อง นักแสดง
    • มีผลงานเชิงพาณิชย์ เช่น อัลบั้มเพลง เล่นภาพยนตร์ที่ฉายในโรงภาพยนตร์
    • ผลงานมีความสำคัญ หรือ เป็นตัวแทนของแขนง/แนวทางทางศิลปะที่เด่นชัด

นโยบายการใช้เลขไทย แก้

  • จะใช้เลขไทย ๑ ๒ ๓ เมื่อใด ?

ชื่อส่วนหลัก ๆ ที่มีเหมือน ๆ กันเกือบทุกบทความ แก้

  • ลิงก์ภายนอก / เว็บไซต์อื่น
  • อ้างอิง
    • วิธีการเขียนอ้างอิง รูปแบบ
    • ใช้ <references /> ให้หมด ?
  • ดูเพิ่ม / หัวข้อที่เกี่ยวข้อง ..

Reference Templates แก้

  • off-line source: book, journal, isbn, newspaper, ..
  • online source: web

Category Special Characters แก้

  • when to use [blank], *, !, #, .... special symbols for special category sorting
  • proposal
    • [blank] for the article with the same name as category
    • ! for list